NASA's Upper Atmosphere Research Satellite หรือชื่อ ดาวเทียม UARS satellite เป็นดาวเทียมวิจัยศึกษา ในชั้นบรรยากาศ มีวงโคจรระดับ 575 - 580 กม. จากพื้นโลก (ชั้นเทอร์โมสเฟียร์Thermosphere) โดยมีอายุใช้งาน 20 ปี ทั้งนี้มี น้ำหนักรวม 5.6 ตัน
ราว 6 ปี (15 ธันวาคม ค.ศ. 2005) เกิดความเสียหายควบคุมไม่ได้ จากสาเหตุ ระบบไฟฟ้าลัดวงจร และนักวิทยาศาสตร์ทราบล่วงหน้าแล้วว่า วันหนึ่งข้างหน้าดาวเทียมดวงนี้ อาจตกลงสู่พื้นโลกได้ ยังมีดาวเทียมที่ควบคุมไม่ได้อีกจำนวนนับพันดวง อันมีโอกาศตกสู่พื้นโลกได้อีกเช่นกัน ในลักษณะ ซากขยะในวงโคจร
(Orbital Debris)
NASA's Upper Atmosphere Research Satellite ในวงโคจร เหนือพื้นโลก
ภาพถ่าย ดาวเทียม UARS โดยนักดาราศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส ถ่ายภาพได้ก่อนตกหลายวัน
การประเมิณสถานการณ์อันตรายล่วงหน้า
เนื่องจากดาวเทียม UARS มีขนาดใหญ่ประมาณเท่ากับรถบัส และปัญหาที่ทราบล่วงหน้่าคือ ชิ้นส่วนที่เป็นองค์ประกอบของดาวเทียม ราว 150 ชิ้น ขณะตกลงสู่โลก ดาวเทียมจะดิ่งลงด้วยความเร็ว 16,000 ไมล์/ชม.เสียดสีกับชั้นบรรยากาศเผาไหม้หมด ก่อนตกสู่พื้นดิน
แต่ยังมีชิ้นส่วนของ ดาวเทียม UARS จำนวน 26 ชิ้น อาจหล่นลงสูงพื้นโลกซึ่งมีน้ำหนักรวม 532 กก. ส่วนใหญ่เป็น อุปกรณ์ที่มีส่วนประกอบของไททาเนียมTitanium และ Beryllium (เบริลเลียม) ที่เผาไหม้ไม่หมด
เมื่อตกสู่พื้นโลก อาจหล่นประทะ และทำอันตรายต่อชีวิะทรัพย์สินต่อประชากรโลกได้ ในจำนวน 26 ชิ้นดังกล่าว ชิ้นส่วนที่มีขนาดใหญ่ ที่สุดคือ SSPP structure (Titanium) หนัก 158.30 กก.และ SSPP gimbal (Titanium) หนัก 60.65 กก.โดยที่เหลือชิ้นอื่นๆ มีน้ำหนัก ระหว่าง 0.64 - 45.78 กก.
พื้นที่ครอบคลุมการตก ของดาวเทียม UARS จากการประเมินบื้องต้น (ก่อนตก)
ลักษณะการตกสู่พื้นโลกของ วัตถุประเภท Orbital Debris (ซากขยะในวงโคจร)
ขณะเสียดสีกับบรรยากาศ (หมายเหตุ มองในอวกาศ)
ครอบเขตการตกหล่นของชิ้นส่วนปและระดับการเตือนภัย
โดยสภาพภูมิประเทศของโลกนั้น ประกอบไปด้วยผืนน้ำ 70% ที่เหลือเป็นผืนดินดังนั้นความเป็นไปได้ ต่อโอกาสตกของชิ้นส่วนจากอวกาศทั่วไป มักจะตกสู่ผืนน้ำในมหาสมุทรเป็นส่วนใหญ่
สามารถจิตนาการเช่น การปาเป้าลูกดอกไปยังแผ่นวงกลม แต่ความแตกต่างอยู่ที่ขณะเข้าสู่บรรยากาศคือ ตำแหน่งกลับสู่โลก และตำแหน่งตกปะทะพื้นผิวโลก ซึ่งอาจห่างไกลกันคนละซีกโลกได้ นอกจากนั้นชิ้นส่วน อาจตกเป็นแนวยาวครอบคลุมพื้นที่หลายร้อยกิโลเมตร
ในกรณีของ ดาวเทียม UARS วิเคราะห์คาดการณ์ เบื้องต้นไว้ว่าอยู่ในพิกกัดที่+- 57 องศาเหนือ /ใต้ จากเส้นศูนย์สูตร จะครอบคลุมพื้นที่บนโลกมากถึง 196,935,000 ตารางไมล์
ครอบคลุมพื้นที่ แคนาดา - อัฟริกา - ออสเตรเลีย - แถบมหาสมุทร แปซิฟิค - มหาสมุทรแอตแลนติก - มหาสมุทรอินเดีย คาดการณ์ช่วงเวลาตก Eastern Daylight 3:45 a.m. หรือ 4:45 a.m.GMT หรือเวลา 11.45 น.ตาม เวลาในประเทศไทย วันเสาร์ที่ 24 กันยายน ค.ศ 2011
โดยเริ่มดิ่งจากแถบแคนาดา ผ่านเข้าเขต แคนาดา - อัฟริกา - ออสเตรเลีย ตามลำดับตำแหน่งตก จะเรียงรายยาวครอบคลุมรัศมี 500 ไมล์ (800 กม.) คาดการณ์ระดับความปลอดภัย ต่อสาธารณะชน (The risk to public safety or property is extremely small ) ประเมิณอยู่ในขั้นเพียง อันตรายเล็กน้อย คือ จะมีอันตรายน้อยเท่ากับ 1 ใน 3200 หรือ 0.00031 % โดยมีคำเตือนเพิ่มเติมว่า ลักษณะวัตถุที่ตก จะเป็นสิ่งที่มีสีดำ มีอุณหภูมิ 30 องศาเซนติเกรต และห้ามแตะต้องหรือเก็บชิ้นส่วน เพราะป็นสมบัติของรัฐบาลอเมริกา
ลักษณะการตกสู่พื้นโลกของ วัตถุประเภท Orbital Debris (ซากขยะในวงโคจร)
ขณะเสียดสีกับบรรยากาศ (หมายเหตุ มองจากพื้นโลก)
เศษชิ้นส่วน อุปกรณ์ที่มีส่วนประกอบของ Titanium และ Beryllium
ที่เผาไหม้ไม่หมด อาจมีลักษณะเช่นนี้
ข้อสรุปรายการการตกสู่โลก
NASA’s แจ้งปลดประจำการดาวเทียม Upper Atmosphere Research หลังจากตกสู่โลก ในเวลา 12 a.m. EDT (04.00 GMT) หรือราวๆ 11.00 น ตามเวลาในประเทศไทย ของวันเสาร์ที่ 24 กันยายน 2011 โดยตำแหน่งกลับสู่โลกในฟากฟ้าครอบคลุมพื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิค ที่ ละติจูด 14.1 องศาใต้ และ ลองติจูด 189.9 องศาตะวันออก (ลองติจูด 170.2 องศาตะวันตก)
โดย Orbital Debris (ซากขยะในวงโคจร) ตกไกลออกห่างกัน ไปทางขอบฟ้าซีกใต้ของโลก ระหว่าง 300-800 ไมล์ ขณะนี้ (1 ตุลาคม 2011) ยังไม่ได้รับรายงานความเสียหาย ต่อชีวิตและทรัพย์สินใดๆ ต่อประชากรโลกบนพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (Geographic area)
สำหรับชิ้นส่วนของ ดาวเทียม UARS อาจต้องใช้เวลาค้นหาอีกต่อไป เนื่องจากการตกสู่มหาสมุทร เป็นเรื่องยากที่จะพบชิ้นส่วนโดยทันที ทันใด
ทั้งนี้ข้อมูลอย่างเป็นทางการ การกลับสู่โลกของดาวเทียม UARS ทั้งหมด ต้องได้แจ้งรายงานในสถานะสุดท้าย (Final status report) อย่างเป็นทางการจากรัฐบาล หรือผู้ที่มีอำนาจ ในทางกฎหมายเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม การตกสู่โลกของดาวเทียม UARS ข้อมูลระหว่าง การคาดการณ์และความเป็นจริงหลังจากตกสู่โลกนั้น ถือว่าแม่นยำสูง คงมีเรื่องเวลาที่แตกต่างกันเล็กน้อยเท่านั้น ต้องยอมรับต่อประสิทธิภาพที่ดี ในการประเมิณสถานการณ์ดังกล่าว
แต่ในอนาคตโลกยังจะ ต้องผจญชาตะกรรมกับกรณีเช่นนี้อีกต่อไปอีก ดังนั้นจำต้องเข้าใจถึงอันตราย ที่หลีกเหลี่ยงไม่ได้ ซึ่งหากวันข้างหน้า มิได้ตกในเขตของมหาสุมทรเหมือนในคราวนี้
TPBS สัมภาษณ์ อ.ปีเตอร์ สุดธนกิจ เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2554
ดาวเทียมวิจัยชั้นบรรยากาศของ NASA ตกสู่พื้นโลก
References :
NASA Orbital Debris Program Office
U.S. Space Surveillance Network
National Aeronautics Space Administration
Johnson Space Center
เห็นบทความน่าสนใจ เลยนำมาฝากค่ะ
ขอบคุณที่รับชมค่ะ^^~
Credit:
SunflowerCosmos