Amazing Earth : โลกสุดพิศวง

 

 

Mauna Loa ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดของโลก

 

 

ภูเขาไฟ Mauna Loa

 


บริเวณอ่าว Hilo Bay ด้านตะวันออกของเกาะฮาวาย เบื้องหลังคือ ภูเขาไฟ Mauna Loa 


ภูเขาไฟเกิดมาพร้อมๆกับโลก เมื่อ 4.5 ล้านปี เป็นพลังงานสร้างสรร จากธรรมชาติ การเกิดของภูเขา ป่าไม้ แร่หินชนิดต่างๆ ก๊าซต่างๆเกี่ยวเนื่อง จากภูเขาไฟทั้งสิ้น โลกวิทยาศาสตร์ได้เริ่มศึกษาเรื่อง ภูเขาไฟ เมื่อ 150 ปีนี้เอง

จึงได้เข้าใจ การปลดปล่อยพลังงาน ประเภท และขนาดภูเขาไฟมากขึ้น สามารถเฝ้าระวังอันตรายจากภูเขาไฟ โดยศึกษาข้อมูลจาก กากโลหะ (Scoria) ที่ระเบิดออกมาจากภูเขาไฟ

บริเวณกลางตอนใต้ ของเกาะฮาวาย ภูเขาไฟ Mauna Loa ภาษาชาวพื้นเมืองความหมายว่า Long Mountain (ภูเขาไฟสูง) ลักษณะทางกายภาพ Mauna Loa มีความสูงจาก ระดับน้ำทะเล 4 กม.ส่วนลาดลงไปใน ทะเลสูง 5 กม.

ส่วนฐาน อยู่ในที่ลุ่มพื้นมหาสมุทร 8 กม.(ความสูงทั้งสิ้น 17 กม.) รวมพื้นที่ของ
ภูเขาไฟประมาณ 5,271 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 85 % ของพื้นที่เกาะฮาวายนับ
ว่าเป็นภูเขาไฟ ที่ใหญ่ที่สุดของโลก

ภูเขาไฟ Mauna Loa เกิดระเบิดครั้งแรกเมื่อประมาณ 700,000 - 1,000,000 ปี ครั้งสุดท้ายปะทุขึ้นเมื่อ 24 มีนาคม -เมษายน ค.ศ.1984 มีการบันทึกไว้ ระเบิดทั้งสิ้น 33 ครั้ง ปัจจุบันยังปะทุอยู่ มีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยสถาบัน NOAA Mauna Loa Observatory ตลอดเวลา

References:
U.S, Geological Survey, Department of The Interior/USGS
Extreme Science



ตำแหน่งภูเขาไฟ Mauna Loa และ Mauna Kea บนเกาะฮาวาย

 


โครงสร้างภูเขาไฟบนเกาะฮาวาย มีฐานอยู่ใต้ทะเลลึก 

 

Dead Sea บริเวณต่ำที่สุดของโลก (ที่อยู่บนแผ่นดิน )

  

Dead Sea ส่วนที่เป็นผืนดินต่ำที่สุดของโลก

 


จุดพื้นต่ำสุดของโลก อยู่แนวขอบเขตชายแดน ประเทศจอร์แดนและอิสราเอลเรียกว่า Landlocked Salt Lake (ทะเลสาบน้ำเค็ม ที่ถูกล้อมรอบด้วยแผ่นดิน) ระดับต่ำกว่าน้ำทะเลประมาณ 400 เมตร ความยาว 80 กม.ความกว้าง 18 กม.

ทิศตะวันออก ติดจอร์แดน ทิศใต้บางส่วน และทิศตะวันตกตก ติดอิสราเอล ทิศเหนือบางส่วน ทิศตะวันตกบางส่วน ติดกับ West Bank เรียกว่า Dead Sea หรือ ทะเลแห่งความตาย

เพราะเกิดจากรอยแยก แผ่นเปลือกโลกมีร่องลึก เป็นบริเวณที่ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ มีความเค็มของน้ำกว่าน้ำทะเล ทั่วไป 6 เท่า ในความลึกระดับ 130 ฟิต สัดส่วนของเกลือ 332 กรัมต่อน้ำ 1 กก.(น้ำทะเลทั่วไป มีสัดส่วนเกลือ 332 กรัม ต่อ 1 กก.ในระดับ ความลึก 300 ฟิต)

จึงทำให้ปลาและสาหร่าย ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ความเข้มข้นความเค็มสูงมาก Dead Sea มีความหนาแน่น (Density) มากกว่าน้ำปกติ สามารถลงไปลอยตัวในน้ำได้โดยไม่จม บริเวณรอบๆเขต ไม่มีต้นไม้เกิดขึ้นได้ เนื่องจากลมและคลื่นได้หอบผลึกเกลือขึ้นมาปกคลุมทั่วไป เกลือ Dead Sea คือ แร่เกลือ (Mineral
Salts) เหมือนกับพบในทะเลทั่วไป แต่เข้มข้นกว่า ไม่เหมือนกับเกลือที่นำมาใช้รับประทาน

รายงานการเปลี่ยนแปลง Dead Sea ค.ศ.1920 ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 392 เมตร
ปริมาตรพื้นผิวทะเล 1,050 ตร.กม.ปี ค.ศ.1990 ต่ำกว่า ระดับน้ำทะเล 407เมตร
ปริมาตรพื้นผิวทะเล 600 ตร.กม. ปี ค.ศ.2000 ต่ำกว่า ระดับน้ำทะเล 420 เมตร
ปริมาตรพื้นผิวทะเล 515 ตร.กม.มีความเป็นไปได้ ในปี ค.ศ. 2400 อาจต่ำกว่า
ระดับน้ำทะเล 510 เมตร ปริมาตรพื้นผิวทะเล เหลือเพียง 455 ตร.กม.

แสดงถึงการเสียสมดุล ของธรรมชาติ ปัจจุบัน United Nations Environment เข้าไปแก้ไขปัญหาผลกระทบ ของระบบนิเวศอย่างใกล้ชิด

References:
A part of New York Times
Jordan Times
Programmed Developmental Office
in the world conservation union (IUCN) National
Jordan Encyclopedia
Britannica Extreme Science
 


Dead Sea ส่วนที่เป็นทะเลมีน้ำเค็มจัด
 


สามารถลอยตัวได้ ในทะเล Dead Sea
 


  Pacific มหาสมุทรใหญ่ และลึกที่สุดของโลก

ช่วงเวลาดวงอาทิตย์ตก เหนือมหาสุมทร Pacific Ocean มองจากสถานีอวกาศเหนือโลก 



Pacific Ocean มหาสมุทรใหญ่ที่สุดของโลก ขนาด 165 ล้าน ตร.กม.เทียบขนาดใหญ่เป็น 18 เท่า ของประเทศสหรัฐอเมริกา ครอบคลุมพื้นผิวโลก ประมาณ 1 ใน 3 โดยแนวชายฝั่งยาว 135,663 กม. ค่าเฉลี่ยความลึก 3.9 กม.

ด้านตอนเหนือ Pacific Ocean เป็นกระแสน้ำอุ่น ลักษณะการไหลตามเข็มนาฬิกาด้านตอนใต้เป็นกระแสน้ำเย็น หมุนกระแสน้ำทวนเข็มนาฬิกา แนวด้านตะวันออกของมหาสมุทรเป็น บริเวณแหล่งเกิดมรสุม มีผลกระทบมายังแถบเอเชีย

การสำรวจหาตำแหน่งลึกสุดของ Pacific โดยคณะนักสำรวจ ชาวอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1951 ด้วยเรือ Challenge II พบว่าบริเวณเกาะ Northern Mariana (อยู่ทาง ตอนใต้ของญี่ปุ่น) มีตำแหน่งลึกมาก ขณะนั้นสำรวจโดย วิธีหย่อนสายวัดลงสู่ก้นทะเล)

ภายหลังปี ค.ศ.1960 กองทัพเรือสหรัฐ ส่งเรือดำน้ำขนาดเล็ก Trieste ออกแบบสำหรับดำน้ำลึกพบว่าบริเวณดังกล่าว ลึก 10,923 เมตร ฉะนั้น Pacific จัดว่าเป็นมหาสมุทรขนาดที่ใหญ่ และลึกที่สุดของโลก

References:
Central Intelligence Agency USA
Extreme Science 



บริเวณ Northern Mariana (ภาพเล็กคือโครงสร้างเกาะ) 



เรือดำน้ำ Trieste สำรวจความลึกอย่างเป็นทางการครั้งแรก


Sahara ทะเลทรายใหญ่ที่สุดของโลก

ทะเลทราย Sahara บริเวณ M’Hamid Dunes ประทศ Morocco 



ขนาดพื้นที่กว้างใหญ่ 9,065,000 ตร.กม.ตั้งอยู่ทาง บริเวณตอนเหนือทวีปอัฟริกาคือ Sahara Desert ใหญ่กว่า Mojave Desert ในแคลิฟอร์เนียตอนใต้ 23 เท่านับเป็นทะเลทรายใหญ่ที่สุดของโลก

Sahara เชื่อมต่อหลายประเทศคือ โมร็อคโค แอลจีเรีย ตูนิเซีย มาลิ ลิเบีย อียิปต์ แคช มอลริทาเนีย ไนจีเรียและซูดาน

ประมาณ 15 % Sahara เป็นเนินทรายว่างเปล่า เหลืออีก 70 % เป็นหินกรวดซึ่งถูกพัดมาจากที่ราบสูง ที่เหลือส่วนน้อยนิดเป็นภูเขา และโอเอซิส (Oases) หรือ บริเวณที่มีต้นไม ้และน้ำกลางทะเลทราย

เป็นเรื่องยากจะพบพฤกษชาติในทะเลทราย สัตว์ที่อาศัยอยู่สามารถดำรงชีพได้ด้วยอาศัยแหล่งน้ำจากต้นตะบองเพชร เหตุที่ต้นตะบองเพชรมีน้ำเพราะได้เก็บกักจากหมอกซึ่งล่องลอยผ่าน มาจากชายฝั่งด้านทะเล

Reference:
The World Fact book,Central Intelligence Agency, USA.



Oases บริเวณบึง Mavo ในทะเลทราย Sahara
 


บางพื้นที่ในทะเลทราย Sahara เต็มไปด้วยหิน Back shale



Mid Atlantic Ridge แนวสันเขาใต้มหาสมุทรชื่อมต่อกัน ยาวที่สุดของโลก


แนวสันเขาใต้น้ำ Mid Atlantic Ridge



ภายใต้พื้นผิวมหาสมุทรนั้น มีภูเขาไฟใต้น้ำ ที่ราบลุ่มแนวสันเขา เหมือนกับบนบกเช่นพื้นดินของโลก ที่มีสันภูเขายาวต่อเนื่องนับหลายร้อยกิโลเมตร

แนวสันเขาเชื่อมต่อกันยาวที่สุดของโลก สำรวจพบคือ Mid-Atlantic Ridge แนว โค้งยาวจาก มหาสมุทรอาร์กติค ด้านขั้วโลกเหนือ ผ่านด้านใต้ของทวีปอัฟริกา มีความยาว 65,000 กม.ความลึกเฉลี่ย 2.5 กม.

นักวิทยาศาสตร์ใช้เวลาหลายปี ค้นคว้าบริเวณดังกล่าว เรื่องสนามพลังงานความร้อนใต้ผิวมหาสมุทร (TAG Hydrothermal Field) พบว่าพื้นที่ขนาด 5 x 5 ตร.กม.มีทั้งความร้อนสูง และความร้อนต่ำในเขตเดียวกัน

หมายความว่า บริเวณที่มีความร้อนสูง 363 °C รัศมีวงกว้าง เป็นที่เก็บกักความร้อน จากเปลือกโลกครั้นอดีตประมาณ 100,000 ปีที่แล้ว และในบริเวณที่อุณหภูมิความร้อนต่ำกว่า ใช้เวลานานประมาณ 20,000 ปี เพื่อลดค่าอุณหภูมิลง จากการหมุนเวียนของน้ำอย่างช้าๆ

ความแตกต่างการเปลี่ยนแปลง ผิวโลกจากแผ่นดินไหวของ Mid-Atlantic Ridge เป็นระบบโดยธรรมชาติ มีหลักฐานว่า การเปลี่ยนแปลงสนามพลังงานความร้อนใต้มหาสมุทรใช้ระยะเวลายาวนานมาก และมีผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
ต่อระบบนิเวศใต้ทะเล ในสภาพที่แตกต่างกันไป

References:
US. National Report to Iugg , American Geophysical Union
Britannica Encyclopedia
NOAA Ocean Explorer 


ขอบคุณที่รับชมค่ะ^^~
Credit: SunflowerCosmos
30 ก.ย. 54 เวลา 06:15 3,119 4 70
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...