รู้เรื่อง...!!!

 

ภาษาเพชร


ภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรีหรือภาษาเมืองเพชร เป็นภาษาถิ่นที่สำเนียงเพี้ยนออกไปจากภาษาภาคกลางที่กรุงเทพฯ สำเนียงชาวเพชรบุรีมีลักษณะเฉพาะตัว เป็นสำเนียงที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ หากจะฟังสำเนียงชาวเพชรบุรีแท้ๆ จะอยู่ในเขตอำเภอบ้านลาด และอำเภอใกล้เคียง

      รูปแบบประโยคของภาษาเมืองเพชรมีลักษณะพิเศษ โดยเฉพาะการปฏิเสธ จะใช้คำว่า "ไม่" ตามหลังคำกริยา และเปลี่ยนระดับเสียงคำกริยา เช่น กิ๊นไม่ (ไม่กิน), เอ๊าไม่ (ไม่เอา), มี้ไม่ (ไม่มี), ป๊วดไม่ (ไม่ปวด) นอกจากนี้ สำเนียงการออกเสียงสระยังมีลักษณะเฉพาะตัว เช่น คำว่า น้ำ ออกเสียงสั้นตามสระ - ำ ไม่นิยมออกเสียงยาวเป็นน้าม เหมือนคนกรุงเทพฯ

      นอกจากนี้ยังมีภาษาถิ่นบางคำที่มีลักษณะเฉพาะ อาทิ 
- ขริบ (ตัดเล็บด้วยกรรไกร) จะใช้คำว่า หิ้ม 
- ดง จะใช้คำว่า อบไอน้ำหม้อข้าว เมื่อหุงสุกแล้วเพื่อให้ข้าวระอุสุกโดยไม่เปียก 
- มาก จะใช้คำว่า โข 
- ริน,เท จะใช้คำว่า หล่อ 
- ที่บรรจุข้างสานด้วยไม้ไผ่, พ้อม จะใช้คำว่า กะล่อม 
- น้ำตาลสด จะใช้คำว่า น้ำตาลใส 
- รอง จะใช้คำว่า รอ เช่น รองน้ำจะใช้คำว่า รอน้ำ 
- ดึงรั้ง จะใช้คำว่า รา 
- ถังบรรจุน้ำ จะใช้คำว่า กระป๋อง (บางแห่งเรียกกระแป๋ง) ชามกะละมัง บางแห่งเรียก ชามแหม็ง ชามกะละแม็ง ชามแหม่ง 
- ซิ จะใช้คำว่า ดุ๊ เช่น กินดุ๊ หมายถึง กินซิ

 http://

Credit: สหายไร่กล้วย
#ภาษาเพชร
pinit_tar
เด็กกองถ่าย
29 ก.ย. 54 เวลา 02:21 6,605 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...