พระพิฆเณศวร องค์เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ

             ~พระพิฆเณศวร องค์เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ~

 

 

  ( คำสวดบูชาพระคเณศ ในบริเวณวิทยาลัยนาฎศิลป )

โอมนะโม พระคะเณศายะ
นะโมนะมะ คันธะมาละ
สิทธาหะนัม กะพะมะนะ
สัมมาอะระหัง วันทามิ
สัมมาอะระหัง วันทามิ
สัมมาอะระหัง วันทาม

               

                 

                                              ~ ขอพรพระพิฆเณศ ~

                                โอม คะชานะนัม กูตะคะณาธฺเสวิตัมกะปิตะถะซัมพูผะละ
                    จารุภักษะณัม อุมาสุตัม โศกะวินาศศะการะกัม
                          นะมามิวิฆเนศวะระปาทะปังกะซัม?

             

        

          

        

              

                               ~ พระพิฆเณศวร ~

                     บุคคลผู้ใดยึดมั่นศรัทธาในองค์พระศรีคเณศ
                      น้อมจิตนมัสการต่อพระองค์ท่านว่า

                       โอม ศรี คเณ ศายะนะมะฮะ

                             ท่านย่อมได้รับการคุ้มครอง
                      และได้รับพระพรอันเป็นมหามงคล
                     ก่อให้เกิดความสำเร็จในกิจการต่างๆ
                       ที่ปรารถนาทุกประการ เทอญฯ

                         

                       

                                            ~ พระประวัติพระพิฆเณศวร ~

 

พระคเณศมีลักษณะปรากฎโดยทั่วไปคือ พระวรกายเป็นมนุษย์อ้วนเตี้ย พระอุทรพลุ้ย พระกรรณยาน พระเศียรเป็นช้างงาเดียว สีกายแดง มีสี่กร ถือบาศ และขอ บางแห่งว่าถือวัชระ จักร สังข์ คฑา ดอกบัว ทรงหนูเป็นพาหนะ

                                                         ~ ตำราทางอินเดีย ~

        พระคเณศทรงเป็นพระโอรสของพระศิวะ (พระอิศวร) กับพระนางอุมา (พระนางปารวตี) ผู้นับถือศาสนาฮินดูเชื่อว่า พระคเณศ เกิดจากเหงื่อไคลของพระนางอุมา ทรงนำมาปั้นเป็นหนุ่มรูปงามให้ทำหน้าที่เฝ้ารักษาทวารที่ประทับ และทรงกำชับว่ามิให้ผู้ใดล่วงล้ำเข้ามา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่พระนางสรงน้ำ วันหนึ่งพระศิวะเสด็จมา พระคเณศไม่ยอมให้เข้าในที่ประทับ จึงเกิดการต่อสู้กับพวกเทพบริวารซึ่งแพ้พระคเณศหมด พระวิษณุจึงต้องใช้อุบายล่อลวงจึงตัดเศียรพระคเณศได้ พระอุมาพิโรธมากเมื่อทรงทราบเรื่อง พระฤาษีนารทต้องมาไกล่เกลี่ย เพื่อให้พระคเณศฟื้นคืนชีวิตอีกครั้งหนึ่ง การทำให้พระคเณศฟื้นและศีรษะต่อติด จะต้องนำศีรษะของสิ่งมีชีวิตสิ่งแรกที่หาเจอ และจะต้องหันศีรษะไปทางทิศตะวันตก ดังนั้นพระนางจึงให้นำศีรษะของช้างซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตสิ่งแรกที่พบมาต่อ เศียร จากนั้นพระศิวะจึงประสาทพรให้มีอำนาจเหนือ เทพบริวารของพระองค์

                                                           ~ ตำราทางไทย ~

       ส่วนคนไทยเชื่อว่า พระคเณศคือพระขันธกุมาร พระองค์ทรงได้รับเทวบัญชาให้ไปปราบช้างน้ำชื่อ อสุรภังคี แต่จะต้องเข้าพิธีโสกันต์ก่อน ในวันพิธีมีการอัญเชิญพระพรหม และพระนารายณ์มาเจริญพระเกศา แต่พระนารายณ์บังเอิญบรรทมหลับสนิท พระอินทร์ต้องทรงปลุกด้วยเสียงมหาสังข์ พระนารายณ์ทรงทราบความได้พลั้งพระโอษฐ์ว่า ลูกหัวหาย จะนอนหลับให้สบายก็ไม่ได้ ทำให้เศียรของพระกุมารหลุดหายไป พระอิศวรจึงให้พระวิษณุกรรมไปยังโลกมนุษย์เพื่อตัดหัวคนที่ใกล้จะมรณะมาต่อ ให้ แต่ไม่มีเลย พบแต่ช้างที่นอนหันหัวไปทางทิศตะวันตก จึงตัดเอาหัวช้างมาต่อให้พระขันธกุมาร

                                                       ~ ตำราที่นิยมที่สุดคือ ~

          ในบรรดาเทพเทวดาที่พวกพราหมณ์นับถือนั้น นอกจากจะมีจอมเทพคือ พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหมและเหล่าทวยเทพทั่ว ๆ ไปแล้ว ยังมีเทพซึ่งมีรูปลักษณะแปลกอีกองค์หนึ่งคือมีกายเป็นมนุษย์ แต่มีเศียรเป็นช้าง เทพองค์นี้มีนามว่า พระพิฆเณศ

          กำเนิดที่มาของเทพองค์นี้ มีเล่าไว้มากมายหลายตำนาน และมีตำนานหนึ่งได้เล่าไว้ว่า ครั้งหนึ่งขณะพระอุมาชายาของพระอิศวรสรงน้ำอยู่ในสระภายในวิมานอยู่นั้น พระนางได้ขัดถูผิวและนำไคลที่หลุดจากผิวหนังนั้นมาปั้นเป็นรูป พร้อมเนรมิตรูปปั้นนั้นให้กลายเป็นเทพหนุ่มหน้าตางดงาม เนื่องด้วยเทพองค์นั้นกำเนิดจากไคลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย พระนางจึงรับเทพองค์นั้นเป็นโอรส และตั้งชื่อให้ว่า พระพิฆเณศ โดยมอบหมายหน้าที่ให้คอยเฝ้าประตูวิมานอย่างกวดขัน ห้ามมิให้ผู้ใดที่ไม่ได้รับอนุญาตจากพระนางล่วงล้ำเข้ามาเป็นอันขาด

           ขณะนั้นพระอิศวรมีพระประสงค์จะพบพระอุมาผู้เป็นชายา จึงเสด็จมาและจะเข้าไปพบพระนาง แต่พระพิฆเณศรักษาคำสั่งของพระมารดาโดยเคร่งครัดมิยอมให้พระอิศวรเข้าไป พระอิศวรทรงกริ้วจึงสั่งให้เหล่าภูติผีซึ่งเป็นบริวารเข้าไปสังหารพระพิฆเณศ แต่เหล่าภูติผีกลับเป็นฝ่ายปราชัยถูกขับไล่หนีไป เหล่าเทพเทวดาเห็นดังนั้นก็โกรธแค้นแทนพระอิศวรผู้เป็นจอมเทพของตน พากันรวบรวมกำลังเข้าสู้รบกับพระพิฆเณศ แต่ก็หาเอาชนะได้ไม่

            พระอุมาทรงทราบว่าเหล่าเทพมารุมทำร้ายพระโอรสก็เนรมิตเทพนารีสองนางมาช่วย ทั้งสองนางใช้อิทธิฤทธิ์ดึงดูดศาสตราวุธของเหล่าเทพให้ลอยพุ่งมาที่ร่างนาง เสียเองไม่มีศาสตราวุธของเทพองค์ใดจะผ่านไปต้องพระพิฆเณศได้ เหล่าเทพเห็นว่าไม่มีทางจะเอาชนะได้จึงใช้อุบายของสงบศึก เทพนารีทั้งสองเห็นว่าศึกสงบลงแล้วก็กลับไปเฝ้าพระอุมา พระอิศวรจึงถึงโอกาสนั้นพุ่งตรีศูล (สามง่าม) ไปตัดเศียรของพระพิฆเณศขาดหายไปทันที

           ครั้นพระอุมาทราบว่าพระพิฆเณศถูกสังหารก็กริ้วยิ่งนักเนรมิตเทพนารีขึ้นมา ใหม่อีกหนึ่งพันองค์ ยกไปต่อสู้กับพระอิศวรและเหล่าเทพเป็นการแก้แค้น จนสวรรค์สะเทือนเลื่อนลั่น

           เหล่าบรรดาฤาษีเห็นว่าหากปล่อยให้สู้กันต่อไปเห็นทีว่าเหล่าเทพต้องเพลี่ยง พล้ำต่อฤทธิ์ของพระอุมาเป็นแน่ จึงพากันไปวิงวอนขอให้เลิกรบรากัน พระอุมารับปากว่าจะสงบศึกแน่นอนหากพระพิฆเณศฟื้นคืนชีพขึ้นมา พระอิศวรนั้นไม่ต้องการสู้รบกับชายาจึงรีบสั้งให้เหล่าเทพเทวาเดินทางไปยัง ทิศเหนือ เมื่อพบสิ่งมีชีวิตที่นอนหันศรีษะไปทางทิศตะวันตกก็ให้ตัดศรีษะมา เพื่อจะนำไปต่อแทนเศียรพระพิฆเณศที่ขาดหายไป

           เทวดาพากันไปค้นหาตามคำสั่ง และพบช้างตัวหนึ่งนอนหลับหันหัวไปทางทิศตะวันตก จึงตัดหัวช้างนั้นไปถวาย พระอิศวรนำไปต่อกับร่างพระพิฆเณศกลับฟื้นคืนชีวิตขึ้นมา

           พระอุมาเห็นพระพิฆเณศฟื้นคืนชีวิตก็ดีพระทัย แม้ว่าจะมีเศียรเป็นช้างก็ตาม พระนางจึงสงบศึกและนำพระพิฆเณศไปขอขมาต่อพระอิศวรผู้เป็นดุจบิดา และขมาต่อเหล่าเทพที่ได้กระทำการล่วงเกิน

           พระศิวะและเหล่าเทพไม่ถือโกรธ มอบให้พระพิฆเณศเป็นจอมเทพปกครองเหล่ามาร และยกย่องให้เป็นเทพแห่งศิลปต่าง ๆ ทั้งยังเป็นเทพแห่งอุปสรรคอีกด้วยสามารถบันดาลให้เกิดหรือรอดพ้นจากอุปสรรค ได้ ผู้ที่จะประกอบกิจการใด ๆ จึงมันจะทำการบูชาพระพิฆเณศก่อนเสมอ

            

       

 

                                      ~ พระพิฆเณศพุงแตก ~

           พระพิฆเณศนั้นโปรดเสวยขนมต้มมากจึงมีรูปร่างอ้วนลงพุง และก็ค่อนข้างแปลกตรงที่ว่าเป็นช้างตัวใหญ่ แต่ทรงหนูเป็นพาหนะ

           โดยครั้งหนึ่งพระองค์เสวยขนมต้มที่คนนำมาบูชาเข้าไปเป็นจำนวนมาก และขี่หนูเพื่อจะกลับไปยังวิมาน แต่จู่ ๆ ก็มีงูยักษ์ตัวหนึ่งเลื้อยผ่านมาทำให้หนูสะดุ้งตกใจ พระพิฆเณศซึ่งประทับอยู่บนหลังหนู ก็เสียหลักตกลงมากระแทกพื้นจนท้องแตก ขนมต้มที่เสวยเข้าไป ก็ทะลักออกมาเกลื่อนกลาด พระพิฆเณศจึงเก็บขนมต้ม เหล่านั้นยัดใส่เข้าไปในท้องตามเดิม และจับงูใหญ่ตัวต้นเหตุนั้นมารัดพุงเอาไว้ไม่ให้ขนมต้มทะลักออกมา รูปพระพิฆเณศจึงมักจะมีงูเป็นสายสังวาลย์ (แทนรัดพุง)

           พระจันทร์และเห็นเหตุการณ์นี้โดยตลอด และอดขบขันไม่ได้ จึงส่งเสียงหัวเราะลั่น พระพิฆเณศได้ฟังก็พิโรธยิ่งนักที่พระจันทร์บังอาจมาหัวเราะเยาะ จึงถอดงาขว้างไปถูกพระจันทร์อย่างแรงจนรัศมีที่เจิดจ้าดับลง ราตรีก็พลันมืดมิดสนิทลงด้วยไร้แสงจันทร์ยามค่ำคืน เทวดาทั้งหลายกลัวโลกเดือนร้อน จึงพากันกล่าวประณามพระจันทร์และชวนกันไปอ้อนวอนต่อพระพิฆเณศ พระองค์จึงคลายความโกรธลดโทษให้พระจันทร์ไม่ต้องไร้แสงตลอดกาล แต่จะมีกำหนดที่แสงเกิดความเสื่อมสว่างมากสว่างน้อย ทำให้เกิดข้างขึ้น ข้างแรมดังที่เป็นทุกวันนี้

           เมื่อเอ่ยถึงเทพเจ้าที่มีหัวเป็นช้าง คนทั่วไปก็จะหมายไปถึงพระพิฆเณศ แต่ตำนานกล่าวไว้ว่าเทพที่เป็นช้างนั้นไม่ใช่มีแต่พระพิฆเณศเท่านั้น แต่ยังมีเทพอีกองค์ซึ๋งมีเศียรเป็นช้างเช่นกันนามว่า พระโกญจนาเนศวร (โกน-จะ-นา-เน-สวน) มีรูปร่างคล้ายคลึงกับพระพิฆเณศมาก แต่ที่มือนั้นจะมีช้างตระกูลต่าง ๆ อุบัติขึ้นมา ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าแห่งช้าง เป็นที่เคารพบูชาของควาญช้างและผู้ทำพิธีเกี่ยวกับช้างยิ่งนัก และจะนำรูปของพระองค์มาร่วมในพิธีด้วยเสมอ

            

              

                               ~ พระนามของพระพิฆเณศ ~

 

พระนามของพระคเณศมีจำนวนมาก บางพระนามแสดงกำเนิด บางพระนามแสดงลักษณะประจำพระองค์ บางพระนามแสดงสถานะ หน้าที่ของพระองค์ เชื่อกันว่าผู้ใดสามารถสวดท่องพระนามสำคัญของพระองค์ หรือท่องนามพระองค์ได้ ๑๐๘ พระนามจะเกิดความเป็นศิริมงคล ทำการใดก็จะสำเร็จ รอดพ้นจากอุปสรรคข้อขัดข้องทั้งมวล พระนามของพระคเณศ ได้แก่

หมวด ก.

- กปิล หมายความว่า ผู้มีรัศมีสีน้ำเงิน และสีเหลือง


หมวด ค.

- คชครณก หมายความว่า ผู้เสมือนช้าง
- คชมุข หมายความว่า ผู้มีหน้าเป็นช้าง
- คชวัทน หมายความว่า ผู้มีหน้าเป็นช้าง
- คชานน หมายความว่า ผู้มีหน้าเป็นช้าง
- คณกรีฑา หมายความว่า ผู้เยี่ยมยอด หรือผู้สูงสุดแห่งหมู่คณะ
- คณนาถ หมายความว่า ผู้เยี่ยมยอด หรือผู้สูงสุดแห่งหมู่คณะ
- คณนายก หมายความว่า ผู้เยี่ยมยอด หรือผู้สูงสุดแห่งหมู่คณะ
- คณบดี หมายความว่า ผู้เยี่ยมยอด หรือผู้สูงสุดแห่งหมู่คณะ
- คณปติ หมายความว่า ผู้เยี่ยมยอด หรือผู้สูงสุดแห่งหมู่คณะ พระนามนี้พระศิวะประทาน โดยทรงมอบให้เป็นใหญ่เหนือบรรดาคณะบริวารของพระศิวะ
- คณปุคว หมายความว่า เหมือนผู้นำฝูงโค คือเป็นหัวหน้าคณะบริวารพระศิวะ
- คณาธยช หมายความว่า ผู้เยี่ยมยอด หรือผู้สูงสุดแห่งหมู่คณะ
- คเณศวร์ หมายความว่า ผู้ยิ่งใหญ่ในคณะเทพ
- คเนศ หมายความว่า ผู้ยิ่งใหญ่ในคณะเทพ
- คริมุข หมายความว่า ผู้มีหน้าเป็นช้าง
- คุหาครช หมายความว่า ผู้เป็นพี่ชายของพระขันธกุมาร


หมวด ท.

- ทวิเทหก หมายความว่า ผู้มีร่างกายสองส่วน
- ทไวมตุระ หมายความว่า ผู้มีมารดาสององค์คือ พระอุมา และแม่ช้าง


หมวด ธ.

- ธูมรวรรณ หมายความว่า ผู้มีผิวกายเหมือนเมฆ หรือควัน
- ธูมราภ หมายความว่า ผู้มีผิวดำแดง
- ธูมรเกตุ หมายความว่า ธงประจำพระองค์มีสีเหมือนเมฆ หรือควัน


หมวด พ.

- พิฆเณศ หมายความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งอุปสรรค
- พิฆเณศวร หมายความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งอุปสรรค
- พิลไลยาร์ หมายความว่า โอรสแห่งเทพ และชนกชนนีแห่งจักรวาลคือพระศิวะ และพระอุมา


หมวด ภ.

- ภาละจันทร หมายความว่า หน้าผากมีพระจันทร์เหมือนอาภรณ์


หมวด ม.

- มโหทร หมายความว่า ผู้มีท้องใหญ่
- มุสิกอาสน์ หมายความว่า ขี่หนู


หมวด ร.

- รักตตุณฑะ หมายความว่า ผู้มีงวงแดง


หมวด ล.

- ลัมหกรรณ หมายความว่า ผู้มีหูยาน ผู้มีหูใหญ่
- ลัมโพทร หมายความว่า ผู้ท้องพลุ้ย
- ลัมโพทะ หมายความว่า ผู้มีท้องพลุ้ย


หมวด ว.

- วักรตุณฑะ หมายความว่า ผู้มีงวงคดโค้ง
- วิกฏ หมายความว่า ผู้ที่ดีที่สุด
- วิกัฏ หมายความว่า ผู้พิการ
- วิฆนนายก หมายความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งอุปสรรค
- วิฆนนาศกะ หมายความว่า ผู้ขจัดอุปสรรค ผู้ปัดเป่าความขัดข้อง
- วิฆนนาศน์ หมายความว่า ผู้ขจัดอุปสรรค ผู้ปัดเป่าความขัดข้อง
- วิฆนบดี หมายความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งอุปสรรค
- วิฆนานตกะ หมายความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งอุปสรรค
- วิฆนายกะ หมายความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งอุปสรรค
- วิฆนราช หมายความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งอุปสรรค
- วิฆนหารี หมายความว่า ผู้ขจัดอุปสรรค ผู้ปัดเป่าความขัดข้อง
- วิฆเนศ หมายความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งอุปสรรค
- วิฆเนศวร หมายความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งอุปสรรค


หมวด ศ.

- ศูรปกรรณ หมายความว่า ผู้มีหูเหมือนกระจาด


หมวด ส.

- สิทธิธาดา หมายความว่า ผู้อำนวยความสำเร็จ ผู้ประทานความสำเร็จ
- สิทธิบดี หมายความว่า ผู้อำนวยความสำเร็จ ผู้ประทานความสำเร็จ
- สุมุข หมายความว่า หน้าตาสวยงาม


หมวด ห.

- เหรัมพะ หมายความว่า ผู้ป้องกัน ผู้คุ้มครอง


หมวด อ.

- อักหูรถะ หมายความว่า ผู้ทรงหนูเป็นพาหนะ
- อาขุรถ หมายความว่า ผู้ทรงหนูเป็นพาหนะ
- อาครช หมายความว่า พี่ชาย ผู้เป็นพี่ชายของพระขันธกุมาร
- เอกทันต์ หมายความว่า ผู้มีงาเดียว เหตุเพราะเกิดต่อสู้กับปรศุราม ถูกปรศุรามขว้างด้วยขวานซึ่งได้รับประทานจากพระอิศวร พระคเณศทรงจำได้ว่าเป็นขวานของพระบิดาจึงไม่คิดต่อสู้ต่อไป ขวานโดนงาข้างซ้ายหัก

                             

                                               ~ ชมบารมีองค์พระพิฆเณศ ~

                   

                        

                  

                     

                    

                 

                 

                                               

                        

.. ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจากhttp://mahathep.exteen.com/20051004/entry

Credit: http://mahathep.exteen.com/20051004/entry
16 ธ.ค. 52 เวลา 19:35 14,851 15 148
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...