วุ้นในลูกตาเสื่อม คนใช้คอมพิวเตอร์ต้องอ่าน!!

วุ้นในลูกตาเสื่อม คนใช้คอมพิวเตอร์ต้องอ่าน!!


คนที่เล่นคอมพ์เกือบทุกคน เป็นโรค 'วุ้นในลูกตาเสื่อม' ตอนนี้ในประเทศไทย มีคนเป็นโรคนี้ถึง 14 ล้านคนแล้ว จากข้อมูลทางหนังสือพิมพ์ (นี่เฉพาะแค่ที่มีข้อมูลบันทึกไว้ คนที่ไม่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นจะมากขนาดไหน?)

อาการก็คือ !
คุณจะเห็นเป็นคราบดำๆ เหมือนหยากใย่ ลอยไปลอยมาเหมือนคราบที่ติดกระจก จะเห็นชัดกต่อเมื่อ คุณมองไปยังภาพแบล็คกราวนด์ที่มีสีสว่าง เช่น ท้องฟ้าขาวๆ ฝาห้องขาวๆ ฝาห้องน้ำขาวๆ จะเห็นเป็นคราบดำๆ ลอยไปลอยมา ถ้าอาการมากกว่านั้นก็คือ ประสาทตาฉีกขาด คุณจะมองเห็นแสงแฟลชในที่มืด ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา (น่ากลัวมากๆ) และถึงขั้นนี้จะต้องผ่าตัด ซึ่งไม่มีอะไรรับประกันว่าจะดีเหมือนเดิม จะตาบอดหรือไม่?)
สาเหตุของโรคนี้คือ !
'การใช้สายตามากเกินไป' (เล่นคอม) แต่ก่อนโรคนี้จะเกิดกับผู้สูงอายุ หรือ คนที่มีอาชีพใช้ที่สายตามากๆ เช่น ช่างเจียระไนเพชรพลอย ! ที่ต้องใช้สายตาเพ่งมากๆ แต่เดี๋ยวนี้คนเป็นโรควุ้นในลูกตาเสื่อมกันมากเพราะ เล่นเนต หรือ เล่นคอม (คุณฟังไม่ผิดหรอก เดี๋ยวนี้คนเป็นโรคนี้กันมากเพราะเล่นคอมนี่แหละ)

ถามว่าทำไม คนเล่นเนต เล่นคอม ถึงเป็นกันมาก ?
ไม่ว่าคุณจะเล่นเนต, เล่นเกมส์, อ่านไดอารี่, อ่านบทความ, อ่านหนังสือหรืออะไรก็ตาม ที่อยู่บนจอคอมพิวเตอร์ ล้วนทำให้สายตาคุณเสียได้ทั้งสิ้นเพราะว่า ถ้าคุณอ่านหนังสือที่เป็นแผ่นกระดาษธรรมดาๆ 'ระยะห่างระหว่าง ลูกตา กับ ตัวหนังสือ จะคงที่ แน่นอนเพราะขอบของตัวหนังสือจะคมชัด ทำให้สมองกะระยะโฟกัสได้ถูกต้องแน่นอนกว่า กล้ามเนื้อและประสาทตาจึงทำงานค่อนข้างคงที่
แต่ ! ตัวหนังสือบนจอคอมพิวเตอร์นั้น มีลักษณะเป็นจุดๆ ประกอบกัน เหมือนแขวนลอยบนจอ ขอบของตัวหนังสือไม่คมชัด สมองจะสับสนในการปรับระยะโฟกัส ( เพราะจอแก้ว จะมีความหนาของแก้ว แต่เรามองผ่านมันไป ) (จอ LCD เราก็ต้องมองผ่านเข้าไปเหมือนกัน ตัวหนังสือไม่ได้ติดอยู่ด้านบนเหมือน อยู่บนแผ่นกระดาษ)
การปรับระยะโฟกัสจึงไม่แน่นอน บวกกับ ลักษณะการอ่านหนังสือในคอมนั้น จะต้องใช้เม้าส์จิ้ม ลากแถบด้านข้างจอ เพื่อเลื่อนบรรทัดหนังสือขึ้นลง เพื่อที่จะอ่านบรรทัดด้านล่างได้หรือไม่ก้อ ใช้ลูกหมุนที่อยู่บนเม้าส์หมุนเพื่อเลื่อนบรรทัดหนังสือ
แต่การเลื่อนบรรทัดนี้ ไม่เหมือนกับการอ่านหนังสือจากแผ่นกระดาษ ที่แขนกับคอเราจะปรับการมองขึ้นลงโดยอัตโนมัติ มีระยะที่แน่นอน สัมพันธ์กัน แต่ว่าการเลื่อนบรรทัดด้วยแถบด้านข้าง หรือลูกกลิ้งบนม้าส์นั้น มันจะมีลักษณะการเลื่อนแบบกระตุกๆ (คุณสังเกตุดู ) มันจึงทำให้ปวดตามากๆ เพราะจะต้องลากลูกตาเลื่อนตามบรรทัดที่กระตุกๆ นั้นไปตลอด บวกกับ การพิมพ์ตัวหนังสือนั้น บางทีคุณต้องก้มเพื่อมองนิ้ว ว่ากดตำแหน่งบนแป้นพิมพ์ถูกตัวอักษรหรือไม่ ทำให้เดี๋ยวก้ม เดี๋ยวเงย ลูกตาปรับโฟกัสบ่อยเกิน ทำให้ลูกตาทำงานหนัก กว่าจะพิมพ์งานเสร็จ คุณจะปวดตามากๆ ตัวอย่างเช่นกรณีเด็กนักศึกษา เร่งพิมพ์รายงานส่งอาจารย์ ติดต่อกันข้ามคืน ! สองสามวัน ตาจะปวดมากๆ
รวมทั้งเวลาการเปิดใช้โปรแกรม word ในการพิมพ์ตัวหนังสือมักจะมีสีพื้นที่เป็นสีขาวสว่าง (ที่นิยมก็คือ ตัวหนังสือสีดำบนพื้นสีขาว) สีพื้นที่สว่างจ้านี่เอง ทำให้ตาคุณจะเกิดอาการแพ้แสง ถ้ามีการพิมพ์ติดต่อกันนานๆ เพราะจ้องจอสีขาวนานเกินไป หรือไม่ก็คนที่ชอบเล่นเกมส์บ่อย ๆมักจะมีการปรับแสงสว่าง เพราะเวลาเล่นเกมส์ ภาพพื้นหลังของเกมส์มักจะมืดๆ



ภาพแสดงของจอประสาทตาที่หลุดลอกออกมาแยกชั้นออกจากส่วนหลังของลูกตา

สรุปก็คือ
1. การมองตัวหนังสือที่แขวนลอยอยู่ในจอ โฟกัสไม่แน่นอน กล้ามเนื้อลูกตาทำงานหนัก 'ทำให้สายตาเสีย'
2. การเลื่อนตัวหนังสือและแถบบรรทัด ในหน้าคอม หรือ หน้าเนต มันจะเลื่อนแบบเป็นกระตุกๆ ทำให้สายตาเสีย การกระตุกๆ ของแถบบรรทัดนี่เอง ที่ทำให้สายตาเสีย
3. การก้มๆเงยๆ มองแป้นพิมพ์ และมองจอคอม กลับไปกลับมา 'ทำให้สายตาเสีย '
4. การปรับจอภาพที่! มีแสงสว่างจ้า มากเกินไปโดยไม่รู้ตัว 'ทำให้สายตาเสีย' (คล้ายๆ กับการเปิดดูทีวี ในห้องมืดๆ เป็นประจำ แล้วทำให้สายตาเสียน่ะเอง อย่างเดียวกัน)
5. การใช้จอคอม ที่มีความกว้างมากเกิน !! (จอคอมกว้างๆ นั้น เหมาะสำหรับการดูภาพ ดูหนัง แต่ไม่เหมาะกับการดูตัวหนังสือ !!) เพราะว่า สายตาคนเรานั้นมีระยะการมองตัวอักษรที่ 1 ฟุต (12นิ้ว) แต่จอคอมสมัยใหม่ กลับมีความกว้าง 17 นิ้ว 19 นิ้ว หรือมากกว่านั้น ซึ่งมันกว้างเกิน
ระยะกวาดสายตามอง จากขอบหนึ่งไปสู่ อีกขอบหนึ่ง (ทำให้ปวดทั้งคอ ทั้งลูกตา)

ถามกลับไปว่า ทำไม กระดาษเอกสาร ที่ใช้ในการอ่านการเขียนทั่วไปจึงมีขนาด A4 ?
คำตอบ ก็คือ ความกว้างของกระดาษ A4 ไม่กว้างเกินไป กำลังพอดีกับการกวาดสายตามอง และเป็นคำตอบเดียวกับที่ว่าทำไมขนาดของจอคอมคุณที่ใช้ ไม่ควรเกิน 15 นิ้ว นั่นเอง

ส่วนมากคนทั่วไป มักจะคิดไม่ถึงว่า การเล่นคอมทุกวันนั้น จะเป็นสาเหตุใหญ่ที่สามารถทำให้ตาบอดได้ ถ้าเกิดอาการรุนแรงเพราะกว่าจะรู้ตัวแล้วไปหาหมอ หมอก็อาจจะบอกว่า คุณไม่สามารถรักษาหายได้แล้ว และต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น!!!

ผมจึงอยากจะฝากประโยคเอาไว้ให้คนที่เล่นคอมทุกคนว่า

‘คอมพิวเตอร์นั้น มีไว้สำหรับการค้นหามูล ไม่ได้มีไว้สำหรับการอ่านเป็นประจำ โดยเฉพาะการอ่านอะไรก้อตามที่ยาวๆ เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นไดอารี่หนังสือบนเนตคุณเสี่ยงทั้งนั้น เพราะฉะนั้นเราควรจะกลับมาอ่านหนังสือกระดาษกันเหมือนเดิมลืมเรื่องเล่นเนต เล่นคอมซะเพื่อสุขภาพตา’
ปกติที่เห็นใยแมงมุมดำๆ (เรียกว่า Floaters) เป็นผลจากการเสื่อมสลายของวุ้นในลูกตาจนเกิดเป็นตะกอนข้างใน ไม่ได้เป็นอันตรายครับ เมื่อเวลาผ่านไปตะกอนจะค่อยๆ ลอยออกจากลานสายตาไปอยู่บริเวณขอบๆ มากขึ้นจนเราจะไม่สังเกตเห็นมันไปเอง แต่คนที่เริ่มมีอาการเห็นแสงกระพริบ (Flashing) นั้นน่าสงสัยว่าอาจมีจอประสาทตาลอก (Retinal detachment) หรือวุ้นลูกตาลอก (Posterior vitreous detachment)

คนที่เพิ่งจะเริ่มสังเกตเห็นอาการนี้เป็นครั้งแรก แนะนำให้ไปพบจักษุแพทย์ครับ เพื่อตรวจดูว่าเริ่มมีจอประสาทตาลอก/วุ้นลูกตาลอกแล้วหรือยัง ถ้าแพทย์บอกว่ายังไม่มี เป็นแค่วุ้นลูกตาเสื่อมธรรมดา ก็สบายใจได้ แต่ไม่ใช่สบายจนลืมระวังตัวนะครับ ต้องคอยสังเกตตัวเองด้วยว่าถ้าเห็น Flashing กับ Floater ปริมาณมากกว่าเดิมแบบเฉียบพลัน ควรกลับไปพบแพทย์อีกครั้งครับ

ในคนปกติจะมีการเสื่อมสลายของวุ้นลูกตาอย่างช้าๆ อยู่ตลอดเวลาครับ แต่จะมีอาการเร็วหรือช้าก็ขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงของแต่ละคนอีก

คนที่มีสายตาสั้นมากๆ
เคยมีประวัติกระทบกระเทือนลูกตาอย่างรุนแรง
เคยมีการอักเสบหรือติดเชื้อภายในลูกตา
เคยได้รับการผ่าตัดต้อกระจก
คนที่มีวุ้นลูกตาลอกหรือจอประสาทตาลอกมาแล้วข้างหนึ่ง
คนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรควุ้นลูกตาเสื่อมหรือจอประสาทตาลอก

คนเหล่านี้ก็จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดการเสื่อมสลายของวุ้นลูกตาได้เร็วกว่าคนทั่วไป

การป้องกัน

จากที่ได้อ่านที่ดอสโพสไว้ การใช้สายตาให้น้อยลงก็อาจเป็นหนทางหนึ่งที่ป้องกันการเกิดได้นะ แต่ว่าในบทความของต่างประเทศส่วนใหญ่จะไม่ได้กล่าวถึงส่วนนี้ การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การรู้จักอาการของโรค และระวังตัวเองอยู่เสมอ เมื่อเริ่มสังเกตเห็น Flashing หรือ Floaters ก็ควรพบจักษุแพทย์ทันทีเพื่อตรวจให้แน่ใจว่าไม่มีจอประสาทตาหรือวุ้นลูก ตาลอกเกิดขึ้น เป็นการป้องกันไม่ให้โรคดำเนินไปถึงจุดที่อันตรายนั่นเอง

การเห็น Floater ถือเป็นความผิดปกติ นะครับ แต่การที่เพิ่งมองเห็นเป็นครั้งแรก ปริมาณไม่มากนัก และได้พบจักษุแพทย์เพื่อยืนยันแล้วว่าไม่มีการเกิดจอประสาทตาหรือวุ้นลูกตาล อก เป็นเพียงแค่วุ้นลูกตาเสื่อม นี่คือไม่อันตรายครับ

แต่ถ้าเห็นFloater หรือ Flashing ปริมาณมากขึ้นกว่าเดิม อันนี้ต้องเริ่มสงสัยครับว่าโรคได้ดำเนินต่อไปถึงขั้นที่มีการลอกแล้วหรือ เปล่า ถ้าปล่อยไว้นานโดยไม่ใส่ใจถึงปริมาณที่เพิ่มขึ้นอยู่ อาจเป็นอันตรายได้ ซึ่งต้องรีบพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจครับ

การป้องกันปัญหาสุขภาพจากการใช้คอมพิวเตอร์

จากการที่เราๆ ท่านๆ ต้องทำงานเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์เวลานานๆ แน่นอนย่อมมีผลเสียกับสุขภาพ ซึ่งมักจะมีอาการปวดตาและเมื่อยล้าของนัยน์ตาก็คงจะเคยเกิดกับผู้ที่ทำงาน หรือใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งจักษุแพทย์ได้พบว่ามีหลายๆ สาเหตุที่ทำให้นัยน์ตาต้องเสี่ยงภัยจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นผลทำให้เกิดอาการปวดตา ฉะนั้นจึงขอแนะนำการป้องกันปัญหาสุขภาพจากการใช้คอมพิวเตอร์ ดังนี้

1. นั่งในท่าที่เหมาะสม และห่างจากจอคอมพิวเตอร์ประมาณ 20-30 นิ้ว

2. จอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 20-26 องศา

3. จัดเอกสารที่ต้องใช้ดูประกอบไว้ใกล้กับจอเครื่องคอมพิวเตอร์จะได้ลดการส่าย ศีรษะไปมามาก และลดการเปลี่ยนระยะการดูของสายตาในระยะที่ต่างกันมาก

4. จัดแสง และแสงสะท้อนจากจอให้ลดลงในระดับที่ตาเรารู้สึกสบาย

5. อย่าให้มีฝุ่นเกาะจอคอมพิวเตอร์ ควรทำความสะอาดเสมอ

6. พักสายตา พักอิริยาบถทุกๆ 20 นาที เพื่อป้องกันตาเมื่อย

7. กะพริบตาบ้าง ถ้ารู้สึกแสบตา หรือใช้น้ำตาเทียมหยดเป็นครั้งคราว

8. จอภาพคอมพิวเตอร์ต้องโฟกัสชัดเจน ตัวหนังสือภาพในจอให้ปรับให้ชัดเสมอ

9. ผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปี และจำเป็นต้องใช้แว่นอ่านหนังสือ ควรใช้แว่นอ่านหนังสือที่เหมาะสม และไม่ควรใช้แว่น 2 ชั้น หรือแว่นไม่มีชั้น เพราะจะทำให้ต้องเงยหน้าอ่านข้อความในจอตลอด ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้ปวดต้นคอเพิ่มขึ้น

การทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ล้วนแล้วแต่ส่งผลเสียหายให้กับดวงตาของเรา ฉะนั้นนัยน์ตาของคนเรานับว่ามีค่ายิ่งควรแก่การทนุถนอมไว้ โดยการหลีกเลี่ยงต้นเหตุ และป้องกันปัญหาสุขภาพไว้ ในระหว่างทำงานอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือวิธีการอื่นๆ เพื่อช่วยให้ดวงตาอยู่กับเราตราบนานเท่านานตลอดไป




ต่อไปเป็นท่าการบริหารสำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน



credit Fwdder.com - วุ้นในลูกตาเสื่อม คนใช้คอมพิวเตอร์ต้องอ่าน!!
28 ก.ย. 54 เวลา 09:04 4,298 5 80
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...