ตัดแขน ตัดขาเด็ก ... สงครามกลางเมืองในเซียล่าลีโอน 11 ปีของความอำมหิต

วันนี้จะกล่าวถึงเรื่องของสงครามกลางเมืองในประ เทศเซียล่าลีโอนครับ ซึ่งเป็นสงครามที่กินระยะเวลายาวนานกว่า 11 ปี นับตั้งแต่ปี 1991-2002 ซึ่งสงครามในครั้งนี้ได้คร่าชีวิตประชาชนไปมากกว่า 7 หมื่นคน

สงครามกลางเมือง(Civil War) ในครั้งนี้นับได้ว่าเป็นอีกสงครามหนึ่งที่มีความอำมหิตมาก ตั้งแต่การ ปล้น เผาหมู่บ้าน การลักพาตัว การบังคับให้ใช้แรงงานอย่างหนักในเหมืองเพชร การข่มขืนกระทำชำเรา การตัดอวัยวะเช่น มือ แขน หรือ ขา การสังหารหมู่ เป็นต้น สงครามในครั้งนี้นับได้ว่าเป็นอีกสงครามหนึ่ง ที่กินระยะเวลานานมาก และสหประชาชาติ(UN) ได้เข้าแทรกแซงช้าเหลือเกิน ส่งผลให้ประเทศเซียล่าลีโอน(Sierra Leone)กลายเป็นประเทศที่มีสถานะล้มเหลว(Failed State) และประชาชนมีอายุขัยโดยเฉลี่ยต่ำที่สุดในโลก(ในช่วงเกิดเหตุ)

วันนี้ เราจะไปดู สาเหตุ ความเป็นมา ตลอดไปจนถึงภาพและบรรยากาศของสงครามจริงๆที่มีแต่ความอำมหิต และ"ผู้ที่แข่งแกร่งจริงๆเท่านั้นถึงจะอยู่รอด"


ก่อนที่เราจะไปซึมซับคามโหดร้ายในสงครามกลางเมืองในครั้งนี้ จะต้องไปรู้จักกับ ประเทศเซียล่าลีโอนในปัจจุบันคร่าวๆกันก่อนครับ

ประเทศเซียล่าลีโอน
ประเทศเซียล่าลีโอนเป็นประเทศหนึ่งที่ตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกาแถบตะวันตก
-ทิศเหนือติดกับสาธารณรัฐกินี
-ทิศใต้ติดกับประเทศไลบีเรีย
-ทิศตะวันออกติดมหาสมุทรแอตแลนติก

เนื้อที่
-มีเนื้อที่ประมาณ 71,740 ตารางกิโลเมตร

สภาพอากาศโดยทั่วไป
-มีสภาพอากาศโดยทั่วไปแบบแอฟริกา ร้อนชื้น มีฝนตกมากในหน้าฝน แต่ในช่วงหน้าหนาว ช่วงเดือนธันวาคม - เมษายน อากาศจะหนาวและแห้งแล้ง

ประชากร
-มีประชากรประมาณ 6.5 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วยชนเผ่าใหญ่ๆ 2 ชนเผ่าคือ ชนเผ่า เมนเด้(Mende people) กับ ชนเผ่า เทมเน่(Temne people)
1.ชนเผ่า เมนเด้(Mende people) มีสัดส่วนจำนวน 60% ของชาวเซียล่าลีโอนทั้งหมด
2.ชนเผ่า เทมเน่(Temne people) มีสัดส่วนจำนวน 40% ของชาวเซียล่าลีโอนทั้งหมด


เมืองหลวง
-กรุงฟรีทาวน์(Freetown)

ภาษา
-ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ

อุตสาหกรรมหลัก
-เพชร เป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศนี้ รายได้หลักของประเทศมาจากอุตสหกรรมเหมืองเพชร รองลงมาคือ โกโก้ กาแฟ

สินค้านำเข้า
-อาหารสำเร็จรูป เครื่องจักร น้ำมันสำเร็จรูป

นี่คือข้อมูลคร่าวๆของประเทศนี้ครับ หลังจากนั้นเราจะไปดูในเรื่องของควมเป็นมาต้นเหตุของสงครามกันครับ
 

........................................................................



ความเป็นมาของสงคราม
ทวีป แอฟริกาอย่างที่เราๆได้ทราบกันครับว่า ทวีปนี้มีปัญหาความขัดแย้งและสงครามกลางเมืองอยูเสมอๆ สาเหตุหนึ่งเกิดจากความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ปัญหาการศึกษา โรคภัยไข้เจ็บ ความอดอยาก และปัญหาการบริหารประเทศแบบไม่โปร่งใส เซียล่าลีโอนนั้นนับได้ว่าเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ยากจนมาก ประชากรส่วนใหญ่ของประทศเป็นเกษตรกรรม ซึ่งถ้าจะย้อนเวลากลับไป ประมาณ 50 ปีที่แล้ว เซียล่าลีโอนนั้นเป็นรัฐหนึ่งที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษครับ

เซีย ล่าลีโอนเคยเป็นอาณานิคมของอังดฤษมาตั้งแต่ก่อน จนหลังสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1961 จึงได้รับเอกราชจากอังกฤษ และได้เปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐ ในปี 1971
ภายหลังจากที่ได้ รับเอกราชแล้ว สถานการณ์ทางการเมืองก็ไม่สู้จะดีนัก มีการแย่งชิงอำนาจทางการเมือง โดยพรรครัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน จนในที่สุด เซียล่าลีโอนก็ได้รับการปกครองภายใต้ระบบพรรคการเมืองเดียวรัฐบาลที่ปกครอง ประเทศอยู่คือนาย Siaka Stevens ซึ่งได้ปกครองประเทศมาตั้งแต่ปี 1968-1985 ไม่สามารถแก้ไข้ปัญหาเศรษฐกิจ ความยากจน และถูกกล่าวหาว่าคอร์รัปชั่นอีกด้วย
ความขัดแย้งในประเทศดำเนินมา เรื่อยๆ โดยมีความคลางแคลงใจรัฐบาลในหมู่ประชาชน มีการเปลี่ยนรัฐบาลหลายครั้ง เมื่อรัฐบาลต่อๆมาแก้ปัญหาของประเทศรวมถึงปัญหาทางเศรษฐกิจไม่ได้ ในที่สุดจึงได้เกิดการรัฐประหารของคณะทหารในช่วงปี 1991-1992 พร้อมๆกับการเกิดการก่อตั้งกลุ่มกบฎกลุ่มต่างๆ ที่เริ่มกระด้างกระเดื่องและไม่ขึ้นตรงต่อรัฐบาล จนสุดท้ายเกิดเป็นสงครามกลางเมืองในที่สุด

กลุ่มกบฎซึ่งเป็นกองกำลังที่จับอาวุธขึ้นต่อสู้กับรัฐบาลนั้นมีกลุ่มหลักๆอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่มครับคือ

1.กลุ่ม อาร์ ยู เอฟ(Revolutionary United Front)หรือ "กองกำลังปฎิวัติสหรัฐ" เรียกย่อๆว่า RUF

2.กลุ่ม เวส ไซด์ บอย(West Side Boys) ซึ่งเป็นกลุ่มกบฎอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ขึ้นต่อกลุ่ม RUF และรัฐบาล

กลุ่ม RUF นับเป็นกลุ่มกบฎติดอาวุธกลุ่มแรกที่ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในประเทศเซียล่าลีโอน ครับ กลุ่มนี้ถือเป็นชนวนสำคัญที่ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในประเทศ ส่วนกลุ่ม West Side Boys เป็นกลุ่มอิสระอีกกลุ่มหนึ่งที่ตั้งขึ้นภายหลัง
คราวนี้ไปทำความรู้จักกับกลุ่ม RUF กันก่อนครับ

กลุ่ม RUF
กองกำลังปฎิวัติสหรัฐ(Revolutionary United Front) หรือกลุ่ม RUF
กลุ่ม RUF คือกองกำลังติดอาวุธชนิดหนึ่งครับ ซึ่งได้่ก่อตั้งขึ้นในปี 1991 โดยมีผู้นำคือนายโฟเดย์ แซงโก(Foday Sankoh) การก่อตั้งกลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนโดยนาย ชาร์ล จี เทย์เลอร์(Charles G. Taylor) ซึ่งในภายหลังได้เป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐไลบิเรีย(Republic of Liberia) กลุ่ม RUF ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในช่วงเวลาที่ภายในประเทศเซียล่าลีโอน เกิดวิกฤติทางการเมืองอย่างรุนแรง ภายใต้สภาวะที่ประชาชนเห็นว่าการทุจริตคอร์รัปชั้นในรัฐบาลเกิดขึ้นอย่างมาก ภายใต้สภาวะกดดันต่างๆกลุ่ม RUF จึงได้ถือกำเนิดขึ้น RUF เป็นกองกำลังติดอาวุธครับ ซึ่งไม่ขึ้นตรงต่อรัฐบาล และพยายามล้มล้างการปกครองของรัฐบาลลงให้ได้

RUF ได้ประกาศวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งกลุ่มของพวกตนไว้ดังนี้ครับ

1.กลุ่ม RUF ก่อตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รับชั่นที่เกิดขึ้นเป็นวงกว้างในคณะรัฐบาลของประเทศเซียล่าลีโอน

2.ปก ป้องผลประโยชน์ของประเทศเซียล่าลีโอน จากการแสวงหาผลประโยชน์ของชาวยุโรปผิวขาว ที่เข้ามากอบโกยผลประโยชน์และความมั่งคั่งด้านทรัพยากรธรรมชาติจากประเทศ เซียล่าลีโอน อันมีผลทำให้ประชาชนชาวเซียล่าลีโอน(ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศ) กลับมีฐานะยากจนลง ในขณะที่ชาวยุโรปผิวขาวกลับร่ำรวยและมีความมั่งคั่งมากขึ้น

3.ฟื้นฟู ประเทศเซียล่าลีโอน จากความยากจน ความอดอยาก ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ การไร้การศึกษา ซึ่งประเทศเซียล่าลีโอนมีปัญหาพื้นฐานดังที่กล่าวไปแล้วครับ

4.ปกป้องผลประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมเหมืองเพชร และแบ่งปันผลกำไรที่ได้ให้กับประชาชนท้องถิ่นภายในประเทศ

ที่ กล่าวไปแล้วคือวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งกลุ่ม RUF ซึ่งฟังดูแล้วน่าสนใจทีเดียว ถ้าผมเป็นประชาชนชาวเซียล่าลีโอน ก็คงจะเกิดความหวังขึ้นมาว่าตอนนี้คงมีคนแก้ปัญหาชีวติความเป็นอยู่ให้แล้ว ฟังๆแล้วคงรู้สึกมีความหวัง แต่เมื่อมีการก่อตั้งกลุ่ม RUF ขึ้นแล้วในประเทศเซียล่าลีโอนตั้งแต่ปี 1991 เริ่มๆแรกกลุ่มนี้ก็ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนครับ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความรู้สึกของประชาชนก็เปลี่ยนไป เมื่อประชาชนนั้นได้รู้ว่า แท้จริงแล้วกลุ่ม RUF ซึ่งมีนายโฟเดย์ แซงโก(Foday Sankoh) เป็นผู้นำนั้น แท้จริงแล้ว เป็นสัตว์ร้ายในคราบกองกำลังติดอาวุธ ซึ่งแสวงหาผลประโยชน์และความมั่งคั่งมาสู่กลุ่มของพวกตนเท่านั้น

 


นายโฟเดย แซงโก(Foday Sankoh) ผู้นำกลุ่ม RUF




ภาย หลังจากก่อตั้งกลุ่มได้ไม่นาน กลุ่ม RUF ได้ละทิ้งคำสัญญาเดิมที่เคยให้ไว้กับประชาชนครับ โดยการติดอาวุธ ซื้ออาวุธต่างๆ เข้ามาและได้บุกเข้าไปในหมู่บ้านต่างๆ รวมถึงภายในเมือง Freetown ซึ่งเป็นเมืองหลวงอยู่บ่อยครั้ง กลุ่ม RUF ได้เข่นฆ่าทหาร เจ้าหน้าที่ของรัฐ และยังเข่นฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิจำนวนมา ได้เข้าปล้นชิง ทำลายทรัพย์สิน เผาทำลายบ้านเรือนประชาชนอย่างบ้าคลั่ง นอกจากนั้นนาย โฟเดย์ แซงโก(Foday Sankoh) ผู้นำกลุ่ม RUF ก็ไม่ได้แบ่งปันผลประโยชน์-ผลกำไรที่ได้จากอุตสาหกรรมเหมืองเพชรซึ่งกลุ่ม RUF ได้เข้ายึดครองไว้ให้กับประชาชนผู้บริสุทธิตามที่ได้เคยสัญญาไว้แต่อย่างใด แต่เขากลับนำเงินที่ได้รับจากอุตสาหกรรมค้าเหมืองเพชร ไปจัดซื้ออาวุธในตลาดมืด เพื่อนำอาวุธเหล่านั้นมาใช้ในการต่อต้านรัฐบาล และใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาอำนาจและผลประโยชน์ของกลุ่มตนเท่านั้น

เหตุการณ์ ที่น่าสยดสยองที่สุด ของการทำทารุณกรรมของกลุ่ม RUF คือการเข่นฆ่า ทรมาน ประชาชนผู้ไม่มีทางสู้ ซึ่งจริงๆแล้วประชาชนพวกนี้ก็คือประชาชนในประเทศของเขาเอง แต่ทำไงได้ล่ะครับ เมื่อสมาชิกกลุ่ม RUFเยอะขึ้น ระเบียบวินัย(ซึ่งไม่ค่อยจะมีอยู่แล้ว)ก็ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ประกอบกับการไร้การศึกษาภายในประเทศนี้ที่ทำให้คนไม่รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด อยากจะทำอะไรก็ทำ กูชอบจะทำอย่างงี้เพื่อประโยชน์ของกูเอง ใครจะทำไม?
เมื่อ คิดอย่างนี้ก็ไม่ต้องพูดถึงเลย การฆาตกรรม ทารุณกรรม การปล้นชิง ทำลายทรัพย์สินจำนวนมากเกิดขึ้นในประเทศเซียล่าลีโอน โดยไม่มีใครสามารถหยุดยั้งได้ กลุ่ม RUF ได้เริ่มทำการโจมตีประชาชน ตามหมู่บ้านต่างๆ มาตั้งแต่ปี 1991 เลยทีเดียว ทหารเซียล่าลีโอน(SLA) ซึ่งเป็นกองกำลังหลักของรัฐบาล ซึ่งมีกำลังพลอยู่เพียงน้อยนิดเพียงไม่กี่พันนาย ไม่สามารถปราบปรามกลุ่มกบฎ และกองกำลังต่างๆที่ตั้งขึ้นมาได้ ทำให้สถานการณ์ภายในประเทศทวีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อกลุ่ม RUF ได้เริ่มโจมตีหมู่บ้านต่างๆ และที่ร้ายแรงที่สุดกลุ่ม RUF ได้ใช้วิธีการทรมานเหยื่อ ด้วยการตัดมือ-ตัดแขน เหยื่อผู้เคราะห์ร้าย ขนาดเด็กๆตัวเล็กๆก็ไม่เว้นครับ แต่ถ้าเป็นผู้ชายที่ยังแข็งแรงหน่อยก็จะบังคับให้เป็นผู้ใช้แรงงานในเหมือง เพชร แล้วเอาเงินที่ได้จากการขายเพชรเถื่อนพวกนี้ไม่ซื้ออาวุธ นอกจากนั้นหมู่บ้านไหนที่กลุ่ม RUF ได้บุกไปถึง สตรีและเด็กผู้หญิงก็มักจะถูกข่มขืน ทั้งๆที่คนที่ทำกับเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายก็คนในชาติเดียวกันแท้ๆ

ไม่ ใช่แค่นั้น กลุ่ม RUF มักจะลงโทษประชาชน ด้วยการตัดข้อมือ ตัดแขน ไม่ใช่แค่นั้นบางทีกลุ่ม RUF ก็ตัดขาเหยื่อด้วย และไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่อย่างเดียวที่ถูกกระทำเช่นนี้ แต่บางทีก็กระทำกับเด็กๆด้วย คาดกันว่ามีประชาชนจำนวนกว่า 2500 คนที่ถูกกลุ่ม RUF ตัดมือตัดแขนตั้งแต่เมื่อสงครามกลางเมืองได้เริ่มขึ้น หลายๆคนพิการ ในขณะที่อีกหลายๆคนตายเพราะการขาดแคลนสถานพยาบาลในประเทศนี้ครับ

 


จาก รูป ประชาชนชาวเซียล่าลีโอน ต่างพากันหมดหวังกับรัฐบาลที่ไม่สามารถรักษาความปลอดภัยให้กับพวกเข้าได้ รวมถึงประชาชนจำนวนมากในกรุงฟรีทาวน์ ก็ไม่เชื่ออีกเช่นกันว่า กลุ่มกบฎกลุ่มต่างๆจะช่วยทำให้ชีวิตพวกเขาดีขึ้นได้ตามสัญญาที่ได้ให้ไว้ตอน ต้น




จอมเผา
การ กระทำอีกอย่างหนึ่งที่กลุ่ม RUF มักจะกระทำต่อประชาชนในประเทศเซียล่าลีโอนคือ การเผาทำลายหมู่บ้านทุกๆหลังที่กลุ่ม RUF ผ่านเข้าไปครับ การเผาหมู่บ้านนอจากจะเป็นการทำลายทรัพย์สินของประชาชนแล้ว ยังเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์เพื่อข่มขู่ ไม่ให้ประชาชนกล้าต่อต้าน หรือกลุ่ม RUF มักจะจับหรือบังคับประชาชนให้เข้าเป็นผู้ใช้แรงงานในเหมืองเพชร บางครั้งการจับตัวนั้นก้มีวัตถุประสงค์ในการนำประชาชนไปเป็นตัวประกันเพื่อ ไม่ให้ทหารฝ่ายรัฐบาลกล้าโจมตีด้วย

 


จาก รูป หนึ่งในภาพที่น่าสะเทือนใจที่สุดของสงครามกลางเมืองในเซียล่าลีโอน เด็กผู้ผญิงที่ยืนอยู่ในรูปคือ เด็กหญิงมารีอาตู คามารา(Mariatu Kamara) เมื่อกลุ่ม RUF มาถึงที่หมู่บ้านของเธอ เธอและครอบครัวได้หลบซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้ และพยายามจะหลบหนีออกไป แต่ไม่นานนักก็ถูกจับตัวได้โดยกลุ่ม RUF และกลุ่ม RUF ได้ตัดข้อมือทั้ง 2 ข้างของเธอในที่สุด



 


จากรูป ไม่ใช่มีแต่ผู้ใหญ่ที่โดยตัดมือตัดแขน แต่เหยื่อบางครั้งก็มีเด็กที่ไร้เดียงสารวมอยู่ด้วย



 


จากรูป ชายผู้นี้กำลังฝึกใช้แขนเทียมอยู่ภายในค่าย ภายหลังจากที่มือของเขาถูกกลุ่ม RUF ตัดทิ้ง




ทหารเด็ก(Child soldiers)
อีก หนึ่งสิ่งที่น่าสะพรึนกลัวของกลุ่ม RUF คือการนำเด็กๆที่อายุไม่ถึง 15 ปี เข้ามาเป็นทหารครับ ซึ่งเด็กๆพวกนี้ก็จะโดนจับมา ลักพาตัวมา จากหมู่บ้านที่กลุ่ม RUF ได้เข้าไปถึง เด็กๆพวกนี้แทนที่จะได้ไปโรงเรียน กลับต้องมาใช้อาวุธ ถูกสอนให้ฆ่าคน และปลูกฝังอุดมการณ์เดียวกลับกลุ่ม RUF ซึ่งผู้เขียนคิดว่าในอนาคตเด็กๆพวกนี้เมื่อโตขึ้นก็มีแนวโน้มที่จะใช้ความ รุนแรงต่างๆได้ เพราะพวกเขาได้เรียนรู้และซึมซับมาแบบนั้นน่ากลัวครับ

สงคราม ในประเทศเซียล่าลีโอน เป็นสงครามกลางเมือง(Civil War)ครับ โดยมีกลุ่มติดอาวุธต่างๆเข้าเกิดขึ้นในประเทศเซียล่าลีโอนจำนวนมาก จะขอแยกอธิบายพอสังเขปกองกำลังแต่ละกลุ่มได้ดังนี้ครับ


กลุ่ม เวส ไซต์ บอย West Side Boys
ก่อ ตั้งขึ้นในปี 1998 กล่ม West Side Boys เป็นกลุ่มติดอาวุธอีกกลุ่มหนึ่งในประเทศเซียล่าลีโอนที่ไม่ขึ้นกับกลุ่ม RUF มีกำลังพลประมาณ 400 นาย บางครั้งก็สู้รบกับทหารรัฐบาลด้วย มีกองทหาร อาวุธ กำลังพลเป็นของตนเอง บางครั้งติดอาวุธหนัก เช่น เครื่องยิงจรวดประทับบ่า มีการเกณฑ์เด็กหนุ่มเข้ามาเป็นกำลังพลเหมือนกับกลุ่มกบฎอื่นๆ

 


จาก รูป จากรูป กลุ่มเวสต์ ไซด์ บอย(West Side Boys) กลุ่มกบฎติดอาวุธอีกกลุ่มหนึ่ง กลุ่มเวสต์ ไซด์ บอยขึ้นชื่อในเรื่องของ การเสพสารเสพติด แอลกอฮอล์ สังเกตเห็นว่าตามรูป มีการเกณฑ์ทหารเด็กมาเป้นกำลังผลด้วย และถือเครื่องยิงจรวดประทับบ่าด้วยครับ





กองกำลังรักษาความปลอดภัยพลเรือน(Civil Defence Forces) หรือกลุ่ม คา มา เจอร์(Kamajors)
เมื่อ ประเทศกลายสภาพเป็น"ป่า" ผู้ที่แข็งแกร่งเท่านั้นถึงจะอยู่รอดต่อไป เมื่อรัฐบาลไม่สามารถคุ้มครองประชาชนได้ ประชาชนจึงต้องพึ่งพาตนเอง... จึงเกิดเป็น กองกำลังรักษาความปลอดภัยพลเรือนขึ้น กองกำลังนี้เป็นอีกกองกำลังหนึ่งที่ตั้งขึ้นมาในในช่วงที่ประเทศเกิดสงคราม กลางเมือง โดยเป็นการรวมกลุ่มของนักรบพื้นเมืองซึ่งมีชาติพันธุ์ เมนเด้(Mende)ซึ่งเป็นชาติพันธู์หนึ่งในเซียล่าลีโอน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลุ่ม Kamajors
กลุ่ม Kamajors ได้รวมตัวกันและเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กองกำลังรักษาความปลอดภัยพลเรือน หรือ CDF มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องพลเรือนจากกลุ่มกบฎกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะ RUF นอกจากนั้นยังช่วยรัฐบาลปราบปรามกลุ่ม RUF สนับสนุนรัฐบาลของนาย คับบ๊าด(Ahmed Tejan Kabbah) ให้เป็นผู้นำประเทศต่อไปได้(กลุ่มกบฎ RUF พยายามจะโค่นล้ม)

 


จาก รูป ทหารคามาเจอร์(Kamajor) ซึ่งจริงๆก็คือกองกำลังรักษาความปลอดภัยพลเรือน(CDF) ขณะทำการเช็ดเหงื่อที่ใบหน้า ในบริเวณเขตควบคุมทางตอนเหนือของกรุง ฟรีทาวน์ กองกำลังทหารกลุ่มนี้เป็นกองกำลังทหารที่สนับสนุนรัฐบาล โดยช่วยทำการปราบปรามกลุ่มกบฎกลุ่มต่างๆโดยเฉพาะกลุ่ม RUF



 


จาก รูปทหารคามาเจอร์(Kamajor) หรือ CDF ซึ่งได้เข้ายึดครองอาณาเขตบริเวณตอนเหนือของกรุงฟรีทาวน์ ทหารกลุ่มนี้ช่วยรัฐบาลในการปราบปรามกบฎ พวกนี้มีความเชื่อว่า ถ้าพวกเขาสวมเครื่องรางหรือเครื่องแต่งกายบางอย่างตามความเชื่อดั้งเดิม พวกเขาจะไม่โดนยิง ไม่ได้รับบาดเจ็บจากกระสุน หรือการสู้รบ



 

........................................................................



ทหารรับจ้างในเซียล่าลีโอน
สงคราม กลางเมืองในเซียล่าลีโอนนั้น มีกลุ่มทหารรับจ้างที่เข้ามาช่วยรัฐบาลปราบปรามกลุ่มกบฎอยู่ 2 กลุ่ม ทั้ง 2 กลุ่มนี้มาจากบริษัทเอกชนที่ทำกิจการเกี่ยวกับการทหาร(Private Military Company) ซึ่งมาจาก 2 บริษัทด้วยกันครับคือ

1. บริษัท Executive Outcomes

2. บริษัท Sandline International

ซึ่ง ทั้งสองบริษัทนี้เป็นบริษัทเอกชนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการสนับสนุนกิจการทหาร ต่างๆไม่ว่าจะเป็น กำลังพล เจ้าหน้าที่ การฝึกกองกำลังต่างๆ ซึ่งทั้งสองบริษัทต่างได้ส่งเจ้าหน้าที่ กำลังพล(ทหารรับจ้าง) เข้าช่วยฝึกกองกำลังของรัฐบาลหรือแม้แต่ช่วยในการปราบปรามกลุ่มกบฎ RUF ด้วยครับ
 


โลโก้ของบริษัท Executive Outcomes



........................................................................



ทหารเซียล่าลีโอน(Sierra Leone Army)
เป็น กองกำลังหลังของรัฐบาล มีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ คอยปราบปรามกลุ่มกบฎต่างๆ ในช่วงที่เกิดสงครามกลางเมือง(1991–2002) กองทัพเซียล่าลีโอนมีจำนวนทหารประจำการที่น้อย เพียงไม่กี่พันนาย จึงไม่สามารถรักษาความสงบภายในประเทศได้ ในช่วงท้ายของสงครามกลางเมือง กองกำลังสหประชาชาติได้เข้ามาช่วยเหลือและสนับสนุนอาวุธแก่กองทัพเซียล่าลี โอน ทำให้กองทัพมีอาวุธและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 


จาก รูป ในประเทศเซียล่าลีโอน เหมืองเพชรและทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญส่วนใหญ่มักถูกยึดครองและควบคุม โดยกลุ่มกบฎกลุ่มต่างๆ โดยที่การบังคับใช้แรงงานในเหมืองเพชรเป็นไปเป็นไปอย่างทารุณ โดยเฉพาะผู้ชายและเด็กชายจะถูกกลุ่มกบฎบังคับให้ทำงานในเหมืองเพชรอย่าง หนัก(ผู้หญิงไม่ได้รับอนุญาติให้เข้ามาในเหมืองเพชร) โดยที่ผู้ใช้แรงงานพวกนี้ได้รับค่าตอบแทนจำนวนน้อยนิด(แทบจะไม่มีอันจะกิน)



 


จากรูป การบังคับใช้แรงงานในเหมืองเพชร เมื่อมีคนๆใดพบเพชร กลุ่มกบฎ RUF ก็จะรีบตรงเข้ามาคว้าเพชรก้อนนั้นไปจากมืออย่างรวดเร็ว



 


เด็กน้อยผู้ชาย ขณะกำลังมองขาเทียมของพ่อเขา




ใน ปี 1997 ซึ่งเป็นช่วงที่สงครามกลางเมืองในประเทศเซียล่าลีโอนกำลังดำเนินไปอยู่อย่าง รุนแรงนั้นกลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจแอฟริกาตะวันตก ได้ทำการส่ง กองกำลังรักษาสันติภาพร่วมแอฟริกาตะวันตก (Economic Community of West African States Monitoring Group หรือ ECOMOG) เข้าไปรักษาสันติภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ในการปราบปรามกลุ่มกบฎ RUF ซึ่งถือเป็นกลุ่มกบฎที่ใหญ่และสร้างปัญหามากที่สุดในเซียล่าลีโอน โดยมีกองกำลังไนจีเรียเป็นกองกำลังหลักในการเข้าไปช่วยรัฐบาลปราบปรามใน ครั้งนี้
แต่การเข้าปราบปรามกลุ่มกบฎ RUF นั้นไม่ประสบผลสำเร็จ และสงครามอำมหิตในเซียล่าลีโอนยังคงดำเนินอยู่ต่อไป การบังคับใช้แรงงาน สังหาร ทารุณกรรม ข่มขืน ยังคงดำเนินต่อไปโดยกลุ่มกบฎ


และแล้วในที่สุดสหประชาชาติ(UN) ก็ได้ตระหนักว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องเข้าไปหยุดยั้งสงครามกลางเมืองในครั้งนี้ให้ได้
ใน ปี 1999 สหประชาชาติจึงมีมติให้จัดส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปยังเซียล่าลีโอน โดยจะมีการระดมกำลังทหารจากประเทศสมาชิกในช่วงแรกกว่า 6000 นายเข้าไปยังเซียล่าลีโอน โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ การปกป้องประชาชนผู้บริสุทธ์ การหยุดบั้งการสังหารหมู่ ปราบปรามกลุ่มกบฎ สร้างความมั่งคงให้กับประเทศ โดยมีกองกำลังอังกฤษเป็นผู้นำ


สห ประชาชาติส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปยังประเทศเซียล่าลีโอนในครั้งนี้ ภายใต้ภารกิจชื่อ United Nations Mission in Sierra Leone(UNAMSIL) แปลตรงๆคือภารกิจรักษาสันติภาพในเซียล่าลีโอน การจัดส่งกองกำลังทหารในครั้งนี้เป็นการแทนที่ภารกิจการจัดตั้งคณะผู้สังเกต การทหารของสหประชาชาติ(United Nations Observer Mission in Sierra Leone หรือ UNOMSIL) ซึ่งได้ปฎิบัติการอยู่ในประเทศเซียล่าลีโอนอยู่ก่อนหน้านี้


หลังจากที่ในช่วงแรกสหประชาชาติได้ส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปนั้น
กลุ่ม RUF ได้ตอบโต้กองกำลังสหประชาชาติอย่างก้าวร้าว ด้วยการจับทหาร เจ้าหน้าที่ของ UN เข้าไว้เป็นตัวประกัน พร้อมๆกับยึดอาวุธ-กระสุนของทหาร UN ด้วย แตาหลังจากกองกำลังสหประชาชาติได้เริ่มคุ้นเคย และปรับตัวได้ กองกำลังกลุ่มกบฎ RUF ก็ได้เริ่มถูกปราบปรามมาเรื่อยๆ จนกำลังอ่อนลงมาเรื่อยๆ และในที่สุด ผู้นำของกลุ่ม RUF นาย โฟเดย์ แซงโก(Foday Sankoh) ก็ถูกจับกุมพร้อมๆกับสมาชิกกลุ่ม RUF ระดับสูงคนอื่นๆในปี 2000 ในที่สุด


หลังจากนั้นภายใต้การนำของ กองกำลังอังกฤษ กลุ่ม RUF ก็ได้เริ่มอ่อนกำลังลงเรื่อยๆ จนในที่สุด ในปี 2002 ก็มีการจัดการเลือกตั้งครั้งแรกของประเทศ ประธานาธิบดี คับบ๊าด(Kabbah) ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี และพรรครัฐบาลพลเรือน(SLPP) ก็ได้รับเสียงข้างมากในสภา ส่วนกลุ่ม RUF ก็ได้แปรรูปมาเป็นพรรคการเมืองในชื่อว่า พรรค RUFP(ซึ่งก็คือร่างทรงของกลุ่ม RUF) ก็ไม่ได้รับเสียงข้างมากหรือชนะการเลือกตั้งแต่อย่างใด และมีผลสทำให้สงครามกลางเมืองกว่า 11 ปี คร่าชีวิตประชาชนกว่า 75000 คนได้จบสิ้นลง

-ภายหลังจากสงคราม กองกำลังอังกฤษ ได้คงทหารบางส่วนไว้ เพื่อคอยฝึกทหารเซียล่าลีโอน(SLA) ให้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้น เพียงพอที่จะรักษาความมั่นภายในประเทศของพวกเขาเอาไว้ได้ เพราะอังกฤษถือเป็นพันธะอย่างหนึ่งที่จะต้องรับผิดชอบ เนื่องจากเวียล่าลีโอนเคยเป็นอาณานิคมของตน



จากรูป ทหารอังกฤษ กำลังติดตามการฝึกของทหารเซียล่าลีโอน(SLA) เพื่อให้ทหารกลุ่มนี้สามารถพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต




-กลุ่ม RUF ในท้ายที่สุดได้เซ็นสัญญาสงบศึกกับรัฐบาล บางส่วนได้เข้าร่วมกับกองทหารของรัฐบาล

-สงครามในครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก คนที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากสงคราม

-มีการข่มขืนกระทำชำเราสตรี และเด็กจำนวนมากในตลอดช่างสงคราม โดยเฉพาะกลุ่ม RUF

-มีการจับเด็กมาเป็นทหารจำนวนมาก ในจำนวนนี้รวมถึงภายในกลุ่มกบฎกลุ่มต่างๆ และทหารรัฐบาลด้วย

-มีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ต้องพิการจากนโยบาย ตัดมือตัดเท้าของกลุ่ม RUF คนเหล่าน้จะต้องพิการไปตลอดชีวิต

 


จาก รูป สตรีในภาพขณะเดินอยู่ในถนน ทั้งเธอและพี่สาวเธอ เคยถูกกลุ่ม RUF ข่มขืน ตัดแขน และถูกทิ้งไว้ ก่อนที่จะได้รับความช่วยเหลือโดยกองกำลังรักษาสันติภาพร่วมแอฟริกาตะวัน ตก(ECOMOG)



 


จาก รูป ทหารคามาเจอร์(Kamajor)คนหนึ่งสวมเสื้อ T-Shirts ซึ่งทำลวดลายจากหนังเรื่อง ไททานิก(จะสังเกตเห็นรูปคุณ ลีโอนาโด ดิคาร์ฟิโออยู่บนเสื้อเขาด้วย)กับอีกคนหนึ่งขณะกำลังนำทาง ทหารอินเดีย(สังกัด UN)ไปลาดตระเวนในพื้นที่ๆถูกควบคุมโดยกลุ่ม RUF



 


จาก รูป ชายผิวดำในภาพคือไกด์ท้องถิ่นของที่นี่ ปฎิบัติงานร่วมกันกับทหารอินเดีย ซึ่งมาปฎิบัติงานในนามของ UN ขณะลาดตระเวนในเขตพื้นที่ของกลุ่ม RUF




สาเหตุที่สหประชาชาติส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปได้ช้า
ตาม ความคิดและทรรศนะของผู้เขียนมีความเห็นว่าการที่สหประชาชาติส่งกองกำลัง รักษาสันติภาพเข้าไปยังประเทศเซียล่าลีโอนได้ช้า คือในช่วงที่สงครามบานปลายออกไปแล้วหลายปีนั้น มีเหตุผลต่างๆดังนี้ครับ

1.ในช่วงต้นของสงครามกลางเมือง นับตั้งแต่กลุ่ม RUF ได้เริ่มก่อตั้งกลุ่ม ประกาศเจตนารมย์ และได้เริ่มโจมตีตามหมู่บ้านต่างๆนั้น เป็นช่วงที่การเมืองในเวทีโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง นั้นคือกาารล่มสลายของสหภาพโซเวียต(USSR) ในปี 1991 ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่มากในเวทีโลก เพราะเป็นสัญลักษณ์ของการสิ้นสุดสงครามเย็น(Cold War) และการสิ้นสุดความขัดแย้งกับยุโรปตะวันตก ในช่วงนี้เกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างในเวทีโลก ซึ่งก็ตรงกับในช่วงที่กลุ่ม RUF เริ่มโจมตีพอดี จึงทำให้ในเวทีโลกนั้น ไม่ค่อยมีประเทศไหนให้ความสนใจปัญหาเรื่องนี้่มาก เพราะมองว่ามันเป็นแค่ "ปัญหาเล็กๆ" ไล่ตั้งแต่ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่แน่นอนว่าต้องคอยจับตาดูเหตุการณ์สถานการณ์ในครั้งนี้อย่างไม่กระพริบตา อังกฤษในฐานะพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับสหรัฐ มากที่สุดในยุโรปตะวันตก ก็ติดตามสถานการณ์ในครั้งนี้ไม่ห่างหาย ประกอบกับหลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายลงแล้วในปี 1991 ก็เกิดรัฐเล็กๆต่างๆกว่า 15 รัฐที่ทำให้ทั่วโลกรวมถึงสหประชาชาติต่างต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

2.ในช่วงปี 1990-1991 สหรัฐมีปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือ การเปิดสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 1 ซึ่งเป็่นสงครามที่ชาติพันธมิตร ใช้"ปฎิบัติการณ์พายุทะเลทราย" เข้าโจมตีกองทัพอิรัก ในตะวันออกกลาง ซึ่งถึงแม้ว่าสงครามจะจบลงในเวลาไม่นานนัก แต่ก็มีปัญหาอื่นๆทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ สาธารณสุข เกิดขึ้นหลังจากสงคราม
ชาติยุโรปรวมถึงสหรัฐในฐานะผู้มีส่วนร่วมใน สงครามครั้งนี้แล้ว ต้องเข้าไปแก้ไขปัญหาตามมาอย่างแน่นอน จึงไม่มีใครมองสถานการณ์ในเซียล่าลีโอนเท่าใดนัก อาจจะมองว่า เป็นเรื่องเล็กๆก็ได้

3.ปัญหาอิสราเอล และตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นปัญหาเดิมๆที่แก้ไม่ตก กับเรื่องของผลประโยชน์ในทรัพยากรบริเวณตะวันออกกกลาง ทำให้ปัญหาสงครามในเซียล่าลีโอน ได้รับความสนใจน้อยในเวทีนานาชาติ

 


เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆถูกตัดขา อันเป็นผลมาจากสงครามกลางเมือง



 


เด็กหญิงกำลังนับนิ้วมือขวาของตนเอง ในขณะที่มือข้างซ้ายของเธอถูกตัดออกไป



 


จาก รูป ชายผู้นี้ใช้มือซ้ายโกนหนวดของตนเองอยู่ในค่ายพัก โดยที่มือขวาของเขาถูกกลุ่ม RUF ตัดทิ้งไป ประชาชนจำนวนมากถูกกลุ่ม RUF ติดมือตัดแขน



 

........................................................................

 



ประเทศไทยกับสงครามกลางเมืองในเซียล่าลีโอน(1991-2002)
ประเทศ ไทยได้มีส่วนร่วมในการรักษาสันติภาพ ภายใต้กรอบภารกิจของสหประชาชาติ(UN) โดยไทย ได้จัดนายทหารสำหรับไปปฏิบัติหน้าที่ผู้สังเกตการณ์ทางทหาร ตามการร้องของของสหประชาชาติ โดยได้ปฎิบัติหน้าที่ตั้งแต่ปี 1999-2005 รวม 6 ผลัดๆละ 5 นาย แต่ละผลัดมีวาระการทำงานนาน 1 ปี
และ สุดท้ายต้องขอแสดงความชื่นชมนายทหารทั้งหมดทุกๆท่านที่ได้เป็นตัวแทนของ ประเทศ ปฎิบัติภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติได้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดีมา ณ.โอกาสนี้ด้วยครับ

 


จาก รูป ความภาคภูมิใจของประเทศไทย เมื่อนายทหารไทยได้เข้าปฎิบัติหน้าที่ในฐานะผู้สังเกตการทหารของสหประชาชาติ จากรูปจะสังเกตว่านายทหารสวมหมวกเบเร่ต์สีฟ้า ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกองกำลังรักษาสันติภาพนานาชาติ



 

........................................................................


 

ในโอกาสที่บทความนี้เป็นบทความพิเศษ
และแม้ว่าผู้เขียน จะมิได้เป็นประชาชนชาวเซียล่าลีโอน
แม้ว่าผู้เขียนจะมิได้เจอกับเหตุการณ์นี้โดยตรง
แม้ว่าเหตุการณ์ต่างๆจะผ่านมาเกือบสิบปีแล้ว
แต่ ในฐาน
26 ก.ย. 54 เวลา 14:26 22,139 28 250
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...