มองเกาะบนโลกจากอวกาศ

เกาะเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่มีความสวยงามและหลายคนชอบที่จะไปท่องเที่ยวเก็บเกี่ยวความสุขและสำรวจธรรมชาติ เพื่อพบกับความสดชื่น กลิ่นไอของทะเล โดยทั่วไปคงสามารถเห็นเกาะ จากระดับเดียวกับพื้นผิวโลก หรือบางคนอาจมองเห็นขณะโดยสารเครื่องบิน ซึ่งสูงไม่กี่กิโลเมตรจากพื้นผิวโลก

แต่ภาพชุดนี้ เป็นภาพถ่ายระดับสูงจากพื้นโลก โดยนักบินอวกาศและดาวเทียม ในอวกาศที่ได้รวบรวมไว้ มีระดับความสูงจากพื้นผิวโลกหลายร้อยกิโลเมตร คงมีน้อยคนที่จะได้เห็นจริงๆ จากบนยานอวกาศแล้วมองกลับมายังโลก

ซึ่งเกาะแต่ละแห่ง มีการก่อตัวเกิดขึ้นด้วยสาเหตุที่ต่างกันไป เพื่อเป็นผืนแผ่นดินให้มนุษย์ใช้ประโยชน์ และในอนาคตอันใกล้ไม่กี่สิบปีข้างหน้า เกาะขนาดเล็กบางเกาะมีโอกาสหายไปจากแผนที่ จากสาเหตุการเพิ่มขึ้นของน้ำในมหาสมุทร
 
Atafu Atoll, Tokelau, Pacific Ocean
เกาะที่ก่อตัวจาก หินปะการัง
เกาะหินปะการัง Atafu มองจากอวกาศ [ถ่ายโดย นักบินอวกาศจาก International Space Station]
 
เกาะหินปะการัง Atafu มีพื้นดินบางส่วน อยู่เหนือระดับน้ำทะเลเพียง 2 เมตร
 
 
เกาะ Atafu Atoll มีขนาดกว้างราว 8 กิโลเมตร แต่มีพื้นที่เป็นแผ่นดินเพียง 2.5 ตารางกิโลเมตร เพราะตรงกลางเป็นแอ่งน้ำ มีประชากรอาศัยอยู่เพียง 500 คนเป็นเกาะขนาดเล็ก ของหมู่เกาะ Tokelau อยู่บริเวณตอนใต้ของ Pacific Ocean ซึ่งเป็นผืนแผ่นดิน ของประเทศนิวซีแลนด์ (New Zealand)

การก่อตัวขึ้นของเกาะ มีสาเหตุจากการสะสมของหินปะการัง เป็นแนวล้อมรอบด้วยจำนวนมากจากภูเขาไฟ (Volcanoes) ในอดีต การเกิดขึ้น ลักษณะนี้จึงมีน้ำทะเลท่วมล้นเข้าไปอยู่ด้านในของเกาะ เป็นแอ่งกะทะ

มีความไม่แน่นอนของระดับน้ำทะเล โดยมีพื้นดินที่สูงที่สุด บนเกาะเพียง 2 เมตรเมื่อน้ำขึ้นเต็มที่ จัดว่าเป็นแหล่งอยู่อาศัยที่ไม่มั่นคง เชื่อว่าในอนาคต ราว 20-30 ปี ข้า่งหน้า มีแนวโน้มสูงที่ืเกาะ Atafu Atoll จะหายไปจากแผนที่ สาเหตุเพราะว่าปริมาณน้ำในทะเลเพิ่มขึ้น
 
ถนนหลายหลักบนเกาะ Atafu
 
 
Onekotan Island, Russia
เกาะที่ก่อตัวจาก ภูเขาไฟระเบิด
เกาะ Onekotan มองจากอวกาศ [ถ่ายโดย EO 1 Satellite]
 
ภูเขาไฟ Krenitsyn ด้านทิศใต้ของเกาะ Onekotan
 
 
เกาะ Onekotan มีขนาดความยาว 42.5 กิโลเมตร กว้างราว 10 กิโลเมตร พื้นที่ รวม 425 ตารางกิโลเมตร อยู่ในทะเล Okhotsk ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ Pacific Ocean เป็นผืนแผ่นดิน ของประเทศรัสเซีย (Russia)

การก่อตัวขึ้นของเกาะ มีสาเหตุจากการระเบิดครั้งใหญ่ ของภูเขาไฟ เมื่อ 9,000 ปีมาแล้ว การระเบิดในครั้งนั้น ทำให้เศษซากหินเถ้า ถ่านภูเขาไฟทับถมกันยาวนานต่อมาภายหลังจึงเต็มไปด้วยน้ำ ไหลเข้าล้อมรอบภูเขา Krenitzyn ที่มียอดแหลมอยู่ด้านใน ซึ่งมีระดับความสูง 1,325 เมตร ปัจจุบันไม่มีผู้อยู่อาศัยบนเกาะดังกล่าว
 
บริเวณตั้งแคมป์ ของนักสำรวจบนเกาะ Onekotan
 
 
Galapagos Islands, Pacific Ocean
เกาะที่ก่อตัวจาก ภูเขาไฟใต้น้ำ
หมู่เกาะ Galapagos มองจากอวกาศ [ถ่ายโดย Landsat 7 Satellite]
 
เกาะ Isla Isabela ในหมู่เกาะ Galapagos
 
 
หมู่เกาะ Galapagos นับว่าเป็นเกาะสูงของภูเขาไฟใต้น้ำ บริเวณชายฝั่งทะเลปิด แถบอเมริกาใต้จรดแนวเส้นศูนย์สูตร ภูเขาไฟบริเวณดังกล่าว ยังมีศักยภาพในการเคลื่อนไหว โดยก่อตัวขึ้นจากหินร้อนส่วนลึกภายใต้เปลือกโลก (Earth’s interior)

Isla Isabela เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะ Galapagos ทั้งหมด และคอยผลิตลาวาไหลท่วมออกมาที่ละน้อย โดยไหลออกมาจากปล่อง ลาดลงมาตามไหล่เขาปกคลุมเป็นเปลือกของภูเขาบนเกาะ ทั้งหมด คือขบวนการก่อตัวขึ้นของเกาะและที่ผ่านมามีข้อมูลบันทึกแสดงไว้เมื่อ ค.ศ. 1797 ว่ามีการระเบิดของภูเขาไฟ ถึง 9 ครั้ง

หมู่เกาะ Galapagos อยู่ในบริเวณ Pacific Ocean ด้านตะวันตก ของสาธารณรัฐเอกวาดอร์ (Republic of Ecuador) มีความยาว 972 กิโลเมตร และมีประชากรอาศัยอยู่ราว 23,000 คน
 
ถนนหลายหลักบนเกาะ San Cristóbal ซึ่งเป็น 1 ในหมู่เกาะ Galapagos
 
 
Maldives, Indian Ocean
เกาะที่ก่อตัวจาก หินปะการัง
หมู่เกาะ Maldives มองจากอวกาศ [ถ่ายโดย Terra satellite]
 
บางส่วนของหมู่เกาะ เป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อนที่สวยงาม
 
ที่ตั้งของ หมู่เกาะ Maldives ซึ่งเป็นผืนแผ่นดินของสาธารณรัฐมัลดีฟส์ (Republic of Maldives) อยู่ในมหาสมุทรอินเดีย และทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของประเทศอินเดียและประเทศศรีลังกา

หมู่เกาะ Maldives ประกอบไปด้วยเกาะที่เกิดจาก หินปะการัง มีอาณาเขตเหนือ จรดใต้ 820 กิโลเมตร จากตะวันออกจรดตะวันตก 120 กิโลเมตร แต่เป็นพื้นดินรวมเพียง 300 ตารางกิโลเมตร ความสูงจากระดับน้ำทะเล เฉลี่ยประมาณ 3 ฟุต

ขบวนการก่อตัวขึ้นของเกาะ มีสาเหตุจากการสะสมของหินปะการัง มีจำนวนหมู่เกาะ 26 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 1,190 เกาะ มีประชากรอาศัยอยู่ 200 เกาะ ประมาณ 350,000 คน และได้รับการพัฒนาเป็นโรงแรม สำหรับนักท่องเที่ยว 74 เกาะ

เชื่อว่าในอนาคต ราว 20-30 ปี ข้า่งหน้า มีแนวโน้มสูงที่ืหมู่เกาะ Maldives จะหายไปจากแผนที่ สาเหตุเพราะว่า ปริมาณน้ำในทะเลเพิ่มขึ้น
 
หมู่เกาะ Maldives มีชื่อเสียงในเรื่องความใสของน้ำทะเล
 
 
Henrietta Island, East Siberian Sea
เกาะที่ก่อตัวจาก หินภูเขาไฟ
เกาะ Henrietta มองจากอวกาศ [ถ่ายโดย EO 1 Satellite]
 
เกาะ Henrietta มองจากอวกาศ [ถ่ายโดย EO 1 Satellite]
 
 
เกาะ Henrietta มีขนาดพื้นที่เป็นแผ่นดินเพียง 12 ตารางกิโลเมตร บริเวณสูงที่สุด315 เมตร ถูกปกคลุมไปด้วยธารน้ำแข็งโดยรอบรัศมี 6 กิโลเมตร คล้ายทรงโดมโดยตั้งอยู่บริเวณตะวันออกของทะเล Siberian ซึ่งเป็นผืนแผ่นดิน ของประเทศรัสเซีย (Russia)

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็งปกคลุมราว 40 % โดยมีหินตะกอนใหม่ (Sedimentary rocks) อยู่ชั้นด้านใต้ ส่วนด้านล่างที่ลึกลงไปอีก เป็นลักษณะหินภูเขาไฟเก่าแก่ มีอายุ 500 ล้านปี ซึ่งเป็นสาเหตุการก่อตัวขึ้นของเกาะี้ ปัจจุบันไม่มีผู้อยู่อาศัยบนเกาะดังกล่าว
 
ธารน้ำแข็ง Henrietta Nesmith
 
 
Eleuthera Island, Bahamas
เกาะที่ก่อตัวจาก ตะกอนหินปูน
เกาะ Eleuthera มองจากอวกาศ [ถ่ายโดย นักบินอวกาศจาก International Space Station]
 
ทรายจากแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium carbonate sand) สะสมเป็นแนวยาว
 
เกาะ Eleuthera เป็น 1 ในหมู่เกาะซึ่งเป็นผืนแผ่นดินของ กลุ่มเครือรัฐบาฮามาส (Commonwealth of The Bahamas) อันประกอบด้วย เกาะ (Islands) 29 เกาะ เกาะขนาดเล็กเกิดจากปะการัง มีทราย มีสภาพแวดล้อม (Cay) 661 เกาะ และเกาะเล็กๆที่เป็นหินโผล่ขึ้นกลางทะเล (Islet) 2,387 เกาะ มีตำแหน่งอยู่บริเวณ ด้านเหนือของ Atlantic Ocean ประเทศคิวบา

สาเหตุุการก่อตัวขึ้นของเกาะ ด้วยด้านตะวันตกของเกาะ Eleuthera มีการเกิดขึ้นของทราย จากแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium carbonate sand) หรือ ตะกอนหินปูนซึ่งถูกกัดเซาะจากแนวหินปะการัง ซึ่งสะสมอย่างหนาแน่นยาวถึง 110 ไมล์ โดยเกาะดังกล่าว มีประชากรอาศัยอยู่ราว 8,000 คน
 
ชุมชนริมชายหาดบนเกาะ Eleuthera
 
 
Lesser Sunda Islands, Indonesia
เกาะที่ก่อตัวจาก แผ่นเปลือกโลกชนกัน
หมู่เกาะ Lesser Sunda มองจากอวกาศ [ถ่ายโดย Terra satellite]
 
หมู่เกาะ Lesser Sunda มีภูเขาไฟ
 
หมู่เกาะ Lesser Sunda ประกอบด้วยเกาะขนาดใหญ่ 3 เกาะ ด้านตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นผืนแผ่นดิน ของประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia) ส่วนที่เหลือมีขนาดเล็ก โดยจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติอินโดนีเซีย (Indonesia’s Komodo National Park) เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์เลื้อยคลาน Komodo Dragon หรือ มังกรโคโมโดบนพื้นที่ 230 ตารางไมล์

สาเหตุุการก่อตัวขึ้นของเกาะี้ และมีภูเขาไฟ (Volcanoes) เพราะแผ่นเปลือกโลก (Tectonic plates) 2 แผ่นมาชนเกยกันเป็นแนวยาว ในบริเวณดังกล่าว
 
Komodo Dragon (Varanus komodoensis) หรือ มังกรโคโมโด
 
 
Hawaiian Islands, Pacific Ocean
เกาะที่ก่อตัวจาก จุดร้อนปะทุขึ้นมา จากชั้นธรณีฐานมหาสมุทร
หมู่เกาะ Hawaiian มองจากอวกาศ [ถ่ายโดย Terra satellite]
 
 
โครงสร้างใต้ หมู่เกาะ Hawaiian เป็นฐานภูเขาขนาดใหญ่ลึกลงไปใต้มหาสมุทร
 
 
หมู่เกาะ Hawaiian เป็นรัฐในสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย เกาะใหญ่ 8 เกาะ ส่วนที่เหลือ เป็นเกาะหินปะการัง และเกาะขนาดเล็ก อยู่บริเวณ ตอนเหนือของ Pacific Ocean มีจำนวนของ ประชากรราว 1,300,000 คน

การก่อตัวของเกาะและมีภูเขาไฟ (Volcanoes) เพราะภูเขาไฟที่อยู่เหนือบริเวณ Hotspot ซึ่งเป็นจุดร้อนปะทุขึ้นมา จากชั้นธรณีฐานมหาสมุทร ในชั้นเนื้อโลกซึ่งลึกลงไปราว 3,000 กิโลเมตร จากเปลือกโลก เป็นตัวสนับสนุนให้ปะทุต่อเนื่องนำพาวัตถุดิบออกมาสู่ผิวโลกอย่างยาวนาน

ดังนั้นทั้งหมดของเกาะ คือ ยอดของภูเขาไฟใต้น้ำ ที่โผล่ขึ้นมาเหนือมหาสุมทรภูเขาไฟใต้น้ำดังกล่าวเรียกว่า Hawaiian-Emperor โดยเชื่อมต่อยาวเป็นเทือกเขาใต้ทะเล (Seamount chain)
 
หมู่เกาะ Hawaiian คือ ยอดของภูเขาใต้น้ำ ที่โผล่ขึ้นมาเหนือมหาสุมทร
 
 
Alejandro Selkirk Island, South Pacific Ocean
เกาะที่ก่อตัวจาก จุดร้อนปะทุขึ้นมา จากชั้นธรณีฐานมหาสมุทร
เกาะ Alejandro Selkirk มองจากอวกาศ [ถ่ายโดย Landsat 7 Satellite]
 
เกาะ Alejandro Selkirk มีความสูงเทียบถึงชั้นเมฆ Stratocumulus
 
เกาะ Alejandro Selkirk เป็นเกาะขนาดเล็ก ทิศเหนือจรดทิศใต้ยาว 11 กิโลเมตร ทิศตะวันออก จรดทิศตะวันตกยาว 4 กิโลเมตร รวมพื้นที่ 44.6 ตารางกิโลเมตรโดยเป็นอยู่ในกลุ่มของเกาะ Juan Fernandez ของชายฝั่งประเทศชิลี (Chile)

แม้เป็นเกาะขนาดเล็ก แต่มีความสูงมากราว 5,000 ฟิต โดยความสูงดังกล่าวนั้นเทียบถึงชั้นเมฆ Stratocumulus (เมฆชั้นต่ำใกล้ผิวโลก) การมองจากอวกาศจะเห็นเมฆหมุนวนเป็นเส้นทาง คล้ายลมวนรอบๆเหนือยอดเขาบนเกาะ ซึ่งเป็นการแสดงการไหลของอากาศ

จากการสำรวจอายุหินบนเกาะดังกล่าว พบว่า มีอายุน้อย ราว 1-2 ล้า่นปี ซึ่งเชื่อว่าเป็นอายุของเกาะนี้ โดยมีการกัดเซาะจากสภาพอากาศน้อย สาเหตุการก่อตัวของหมู่เกาะในบริเวณนี้ เกิดจาก ภูเขาไฟ (Volcanoes) ที่อยู่เหนือ Hotspot จุดร้อนปะทุขึ้นมาจากชั้นธรณีฐานมหาสมุทร ในชั้นเนื้อโลกลึกลงไปราว 3,000 กม. จากเปลือกโลก เป็นตัวสนับสนุนโดยมี การเชื่อมต่อกันของแนวสันเขาใต้ทะเล
 
เกาะ Alejandro Selkirk มีหน้าผาสูง 1,000 - 1,300 เมตร
 
 
Millennium Island, Republic of Kiribati, South Pacific Ocean
เกาะที่ก่อตัวจาก หินปะการัง
เกาะ Millennium มองจากอวกาศ [ถ่ายโดย นักบินอวกาศจาก International Space Station]
 
เกาะในเขตร้อน แถบ Pacific Ocean เริ่มประสบปัญหาน้ำทะเลเน่า จากสาเหตุปะการังตาย
 
เกาะ Millennium เป็นผืนแผ่นดินของ สาธารณรัฐคิริบาตี (Republic of Kiribati) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกาะปะการัง 32 เกาะ อยู่บริเวณ Pacific Ocean เขตร้อนตอนกลาง ใกล้เส้นศูนย์สูตร

การก่อตัวขึ้นของเกาะ มีสาเหตุจากการสะสมของหินปะการัง ซึ่งเป็นแนวล้อมรอบด้วยจำนวนมากจาก ภูเขาไฟ (Volcano) ในอดีต โดยลักษณะนี้จึงมีน้ำทะเลท่วมล้นเข้าไปอยู่ด้านในของเกาะ เป็นแอ่งกะทะ

แต่กรณีของ เกาะ Millennium ปัจจุบันเกิดการเน่าเสียของน้ำอย่างรุนแรง สะสมเป็นแอ่งภายในเกาะมีกลิ่นเหม็น จากสาเหตุปะการังเสื่อมสภาพ และระดับน้ำทะเลได้เพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้ผู้คนที่เคยอาศัยอยู่ อพยพออกไปสิ้น
 
 
 
ปล.คลิปด้านล่างนี่ ไม่รวยทำมิได้นะคะ อิอิ :D
 
ขอบคุณที่รับชมค่ะ^^~
Credit: sunflowercosmos
25 ก.ย. 54 เวลา 17:14 7,614 10 140
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...