พระพุทธรูป บามิยัน มรดกโลก ประเทศอัฟกานิสถาน (Buddhas of Bamiyan)

 

 

 

 

 

 

 พ ระพุทธรูป บามิยัน มรดกโลก ประเทศอัฟกานิสถาน

(Buddhas of Bamiyan)

 


พระพุทธรูป แห่ง บามิยันเป็นพระพุทธรูปหินขนาดใหญ่ เคยเป็นข่าวโด่งดังเมื่อช่วงปี 2001 เมื่อมีภาพสุดสะเทือนใจชาวพุทธเมื่อกลุ่มตาลีบันได้ทำการระเบิดทำลายพระพุทธรูปแห่งบามิยัน เนื่องจากหลักศาสนาอิสลามไม่อนุญาตให้มีรูปเคารพ

พระพุทธรูปบามิยัน เดิมเคยประดิษฐานอยู่ที่หน้าผาที่ในบริเวณตอนกลางของประเทศ อัฟกานิสถาน ใน Bamyan Valley จังหวัด Hazarajat ในอดีต Bamyan Valley เป็นหนึ่งในแนวเส้นทางสายไหม ที่ขบวนคาราวานจากจีน ที่จะเดินทางไปค้าขายในเอเซียตะวันตก จนกระทั้งถึงช่วงศตวรรษที่ 11 โดยศาสนาพุทธเริ่มเข้ามาสู่ บามิยันตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 2 จนถึงช่วงศตวรรษที่ 9 ศาสนาอิสลามเริ่มเข้ามามีบทบาท บามิยัน มีความเฟื่องฟูในพุทธศาสนาอย่างมาก เป็นแหล่งรวมหลักปรัชญา และศิลปะอินเดีย พระพุทธรูปบามิยันมีพุทธศิลป์แบบ Gandhara เป็นพระยืนแกะสลักเข้าไปในหน้าผาขนาดใหญ่ จำนวน 2 องค์ พระพุทธรูปบามิยันองค์ใหญ่คือ พระไวโรจนะพุทธเจ้า(Buddhas Vairocana)มีความสูง 55 เมตร(ก่อนจะถูกทำลายถือว่าเป็นพระพุทธรูปยืนแกะสลักที่สูงที่สุดในโลก) คาดว่าก่อสร้างในช่วงปี ค.ศ.591-644 พระพุทธรูปบามิยันองค์เล็กคือ พระศากยมุนีพุทธเจ้า(Buddhas Sakyamuni)มีความสูง 37 เมตร คาดว่าก่อสร้างในช่วงระหว่างปี ค.ศ.544 - 595 คาดว่า พระพุทธรูปบามิยัน ก่อสร้างโดยกษัตริย์ในราชวงศ์ Kushans ที่ได้รับคำแนะนำจากพระสงฆ์ ว่าถ้าทำการก่อสร้างพระพุทธรูปบามิยันจะนำความรุ่งเรืองมาสู่อาณาจักร เป็นที่หน้าเสียดายยิ่งที่พระพุทธรูปบามิยัน ได้ถูกระเบิดทำลายลงเมื่อปี 2001 โดยกลุ่มตาลีบัน
ภาพขณะ พระพุทธรูปบามิยัน ถูกระเบิดทำลายลง โดยกลุ่มตาลีบัน

ภาพซ้ายก่อนถูกทำลาย ภาพขวาเมื่อถูกทำลายลง
 

ลักษณะทางกายภาพ ของ พระพุทธรูปบามิยัน

พระพุทธรูปบามิยัน สร้างโดยการแกะสลักโดยตรงเข้าไปในหน้าผาหินทราย เป็นโครงอย่างหยาบๆ ส่วนผิวและรายละเอียดภายนอกนั้นใช้การฉาบด้วย ดินผสมฟาง และฉาบทับด้วยปูนสทัคโค(Stucco คือ ปูนขาว+ทราย+หินอ่อนป่น)เป็นชั้นสุดท้ายเพื่อเพิ่มความคงทนแข็งแรงของผิวภายนอก จะเห็นว่าภาพจั่วหัว บริเวณฐานของพระพุทธรูปจะมีรูพรุนเล็กๆจำนวนมาก สิ่งนี้ไม่ได้เกิดจากรอยกระสุนปืนยิง แต่เป็นรูที่ช่างในอดีตจงใจเจาะไว้เพื่อใช้อัดลิ่มไม้เข้าไปและโผล่ปลายออกมาเป็นเป็นเดือยไว้ยึดผิว ดินผสมฟาง และผิวปูนสทัคโค เพื่อป้องกันการหลุดล่อน เพื่อเป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดสุดท้ายบริเวณใบหน้า มือ และรอยยับของจีวร จะมีการลงสี โดยพระพุทธรูปองค์ใหญ่จะใช้สีแดงสีเดียว ส่วนพระพุทธรูปองค์เล็กจะมีการใช้สีตกแต่งหลายสีสัน บริเวณท่อนแขนส่วนล่างของพระพุทธรูป จะก่อสร้างด้วยโครงไม้เป็นแกน(Armature) และฉาบผิวด้านนอกด้วย ดินกับฟาง และเคลือบทับด้วยปูนสทัคโค มีความเชื่อว่าบริเวณพระพักต์ส่วนบน คาดว่าจะมีหน้ากากไม้ หรือ หน้ากากเหล็กหล่อขนาดใหญ่ สวมอยู่อีกชั้นหนึ่งในอดีต บนหน้าภาจะมีถ้ำเล็กๆจำนวนมาก เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของเหล่านักบวช โดยภายในถ้ำบางแห่งจะมีภาพวาดฝาหนังทางศาสนาอย่างงดงาม
จะเห็นว่าบนหน้าผาจะมีถ้ำเล็กๆ จำนวนมากมายที่เป็นที่พำนักของ นักบวช
 
 
 
 
Credit: http://wowboom.blogspot.com/
24 ก.ย. 54 เวลา 10:32 11,932 12 110
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...