เจาะประวัติ "ซีไอเอ" ตอน๖ อีจีแอนด์จี เป็นใคร?

มาว่ากันต่อกับซีรี่ย์ยาวเรื่อง ซีไอเอ กันค่ะ =^^=

จากตอนที่แล้ว จะมาขยายความเรื่อ EG&G ค่ะ

อีจีแอนด์จี เป็นใคร?

อีจีแอนด์จี ย่อมาจาก เอดเจอร์ทัน เจอร์เมสเฮาเซน และ เกรียร์ (EG&G- Edgerton, Germeshausen, and Grier)


ซึ่งเป็นชื่อสกุลของผู้ก่อตั้งบริษัท 3 คนคือ ฮาโรลด์ เอดเจอร์ทัน (Harold Edgerton),
เคนเนท เจอร์เมสเฮาเซน (Kenneth Germeshausen) และ เฮอร์เบิร์ท เกรียร์ (Herbert Grier)

ฮาโรลด์ เอดเจอร์ทัน (Harold Edgerton),
เคนเนท เจอร์เมสเฮาเซน (Kenneth Germeshausen) และ เฮอร์เบิร์ท เกรียร์ (Herbert Grier)


ในปี ค.ศ. 1931 ขณะที่ฮาโรลด์ เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสทส์ (Massachusetts Institute of Technology) เขาได้ประดิษฐ์หลอดไฟแฟลชขึ้น เขาได้เสนอขายลิขสิทธิ์ให้กับบริษัท เจเนอราลอิเลคทริค (General Electric - GE) แต่ผู้บริหารของจีอี ไม่สนใจในหลอดไฟแปลกประหลาดอันนั้น

ซึ่งผมคิดว่าเมื่อเขารู้ภายหลังว่ามันมีประโยชน์ต่อการถ่ายภาพอย่างมหาศาล ผมว่าเขาคงนั่งเขกกะโหลกตัวเองเป็นแน่!


ฮาโรลด์ ก็เลยชวน เคนเนท เจอร์เมสเฮาเซน ลูกศิษย์คนหนึ่งมาเปิดบริษัทให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์การทำงานของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม วิธีการของเขาก็คือปล่อยให้เครื่องจักรทำงานไปตามปรกติระหว่างนั้นพวกเขาก็จะถ่ายภาพด้วยความเร็วสูงโดยอาศัยไฟแฟลชที่ฮาโรลด์เป็นผู้ประดิษฐ์ เมื่อได้ภาพนิ่ง การทำงานของเครื่องจักรนั้น พวกเขาก็จะมาวิเคราะห์ดูว่าการทำงานของมันมีประสิทธิภาพแค่ไหน

เอ...ชักเริ่มคุ้นๆ แล้วใช่ไหมครับว่าเคยได้ยินเรื่องคล้ายๆ แบบนี้ที่ไหน บอกให้ก็ได้ครับก็ภาพลูกปืนวิ่งทะลุผลแอปเปิ้ลยังไงละ

ใช่แล้วครับภาพที่มีชื่อเสียงนั้นถ่ายโดยฮาโรลด์ และรวมถึงภาพมงกุฏหยดนม (Milk-drop Coronet) ก็ฝีมือเขาเหมือนกัน

 

ในปี ค.ศ. 1934 ฮาโรลด์ ก็ได้เฮอร์เบิร์ท เกรียร์ ลูกศิษย์อีกคนมาร่วมทำธุรกิจ ภาพถ่ายของฮาโรลด์ได้รับเกียรติให้แสดงในพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะหลายแห่ง นับว่าเขาประสบความสำเร็จในด้านงานศิลปะ แต่ในเชิงพาณิชย์แล้ว เขากลับล้มเหลวเพราะเขาไม่สามารถขายอุปกรณ์ไฟแฟลชให้กับบริษัทผลิตกล้องถ่ายภาพได้แม้แต่บริษัทเดียว!

เปลี่ยนเป้าหมาย

ดังนั้น ฮาโรลด์ จึงเปลี่ยนเข็มไปยังกลุ่มช่างภาพข่าวกีฬา โดยเสนอที่จะถ่ายภาพการแข่งขันที่มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วให้ ภาพที่ ฮาโรลด์ ถ่ายนั้นเป็นที่แน่นอนว่าน่าตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างมาก เพราะไม่มีใครเคยเห็นภาพนักกีฬาขณะเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วมาก่อน และตั้งแต่นั้นมาไฟแฟลชก็เริ่มเป็นที่นิยมใช้ในการถ่ายภาพข่าวกีฬาอย่างแพร่หลาย

และนั่นก็เป็นที่มาของการทำให้กองทัพอากาศเริ่มสนใจในสิ่งประดิษฐ์ของฮาโรลด์ ในปี ค.ศ. 1939กองทัพอากาศได้ว่าจ้างให้ ฮาโรลด์ ออกแบบไฟแฟลชที่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะให้ความสว่างในการถ่ายภาพจากเครื่องบินยามค่ำคืน และนี่ก็คือก้าวแรกที่ทำให้ ฮาโรลด์ เข้ามาเกี่ยวพันกับกองทัพอากาศอย่างลึกซึ้งต่อมาในภายหลัง

เข้าสู่วงการ

ด้วยไฟแฟลชของ ฮาโรลด์ ทำให้กองทัพสหรัฐสามารถเก็บข้อมูลพื้นที่ในเขตของศัตรูได้เป็นอย่างมากและมันก็ได้ถูกใช้ในคืนก่อนวันดีเดย์ (D-Day) เพื่อสำรวจพื้นที่ก่อนที่จะส่งทหารเข้าไปในนอร์มังดี (Normandy) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 และด้วยไฟแฟลชตัวนี้ทำให้ ฮาโรลด์ ก็ได้รับเหรียญอิสริยาภรณ์เสรีภาพจากกระทรวงสงครามเพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณที่สิ่งประดิษฐ์ของเขาเป็นประโยชน์ต่อกองทัพเป็นอย่างมาก

จากนั้นมา ฮาโรลด์ ก็ได้รับคำร้องขอจากคณะกรรมาธิการพลังงานปรมาณู ให้ช่วยสร้างกล้องถ่ายภาพการทดลองระเบิดปรมาณู ฮาโรลด์ ก้ได้สร้างกล้องพิเศษขึ้นมาเพื่อใช้ในการจับภาพการทดลองครั้งนั้นโดยเขาตั้งกล้องอยู่ห่างจากจุดทดลองถึง 7 ไมล์ ฮาโรลด์เรียกกล้องพิเศษของเขาว่า "ราพาโทรนิค" (Rapatronic camera)

กำเนิด อีจีแอนด์จี

ในปีเดียวกันนี้เอง ฮาโรลด์ แลหุ้นส่วนทั้ง 2 ของเขาก็ได้ก่อตั้งบริษัท เอดเจอร์ทัน เจอร์เมสเฮาเซน และ เกรียร์ อิงค์ (EG&G- Edgerton, Germeshausen, and Grier, Inc.) ขึ้นเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 และได้จดทะเบียนเป็น
บริษัทมหาชน เมื่อปี ค.ศ. 1959 หลังจากที่ปล่อยให้ชาวบ้านต้องลิ้นพันกันนัวเนียอยู่หลายปีเพราอ่านชื่อบริษัทของเขาในที่สุดเขาก็เปลี่ยนชื่อมาเป็น อีจีแอนด์จี อิงค์ ในปี ค.ศ. 1966

ในช่วงทศวรรษที่ 1960 นี้เองที่ อีจีแอนด์จี ได้เริ่มแตกหน่อการให้การบริการไปอีกหลายสาขา และได้เริ่มรับงานมากมาย จากกระทรวงกลาโหม และคณะกรรมาธิการพลังงานปรมาณู และนั่นก็รวมถึงโครงการลับสุดยอดของกองทัพอากาศฐานทัพที่ทะเลสาบกรูม หรือ "พื้นที่ 51" นั่นเอง

เอกสารระหว่าง EG&G กับ CIA

มาเจสติก12 หน่วยสืบสวนจานบิน

ใครที่สนใจติดตามเรื่องราวลึกลับของมนุษย์ต่างดาวและยานอวกาศจากนอกพิภพ คงจะเคยได้ยินชื่อ "มาเจสติก 12" ซึ่งเป็นหน่วยงานลับหน่วยงานหนึ่งของรัฐบาลสหรัฐที่มีหน้าที่ติดตามสืบสวนเรื่องราวลึกลับเหล่านั้นวันนี้เราจะทำความรู้จักกันว่าพวกเขาเป็นใครมาจากไหน

เรื่องนี้เคยเสนอไปก่อนหน้านี้แล้วค่ะ

อ่านต่อเรื่อง  "มาเจสติก 12" (Majestic 12) ด้านล่างค่ะ


หน่วยสืบสวนจานบิน
ดู Scoop ทั้งหมด คลิกที่นี่

 

 

เล่าให้จบยันปัจจุบันน่าจะยาวเหยียดเลยค่ะ จะทยอยมาเป็นตอนๆนะคะ

เนื่องจากต้องหารูปประกอบให้ดูน่าอ่านนิดนึงค่ะ มีแต่ตัวหนังสือกลัวว่าจะเบื่อกันหมด(การอัพโหลด+หาภาพข้อมูลที่แสนจะยาวนาน55+)

รูปภาพประกอบจาก google และ http://en.wikipedia.org/ ค่ะ (เรียบเรียงรูปประกอบโดยAladin13ค่ะ 555+)

ข้อมูลจาก ทฤษฏีสมคบคิด (conspiracy theory) โดยคุณ narong

คัดลอกมาจากหนังสือ "ร้ายสาระ" โดย ศิลป์ อิศเรศ ค่ะ

เนื่องจากเป็นหนังสือนานแล้วข้อมูลอาจจะเก่าและอาจจะได้อ่านหรือทราบกันมาบ้างแล้ว

 ..................................................

ปล.คลิปด้านล่างเกี่ยวกับ Area 51  ค่ะ

(เพลงเพิ่มบรรยากาศลึกลับเฉยๆนะคะ อิอิ) 

ขอบคุณที่รับชมค่ะ^^~

Credit: narong คัดลอกจาก"ร้ายสาระ" โดย ศิลป์ อิศเรศ
19 ก.ย. 54 เวลา 15:18 2,528 2 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...