เอ็กซเรย์ อุทยานประวัติศาสตร์ีอยุธยา ก่อนสิ้นความเป็น มรดกโลก

วันที่ 13 ธันวาคม ปี 2534 คนไทยทั้งประเทศเปี่ยมล้นไปด้วยความสุขความภาค

ภูมิใจ หลังคณะกรรมการมรดกโลก ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และ

วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เห็นพ้องต้องกันให้ อุทยานประวัติศาสตร์

พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็น ‘มรดกโลก’       

       ผ่านมากว่า 18 ปี รูปรอยของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ในฐานะแหล่ง

ท่องเที่ยวที่พ่วงด้วยคำขลังๆ ว่า ‘มรดกโลก’ ย่อมเปลี่ยนแปลงไปเป็นปกติวิสัย       

       เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มีข่าวออกมาตามหน้าหนังสือพิมพ์ว่า อุทยาน

ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาอยู่ในภาวะเสี่ยงถูกถอดจากมรดกโลก โดยกรรมการมรดก

โลกจากไทยรายงานว่า ยูเนสโกแสดงความกังวลภูมิทัศน์เสื่อมทราม มีปัญหาชุมชนบุกรุก

และจะเตรียมลงพื้นที่สำรวจข้อเท็จจริงเดือนธันวาคมนี้ เพื่อรวบรวมข้อมูลเสนอรัฐบาลเร่ง

แก้ไข       

       นางโสมสุดา ลียะวณิช รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ในฐานะคณะกรรมการ

มรดกโลก ซึ่งได้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการมรดกโลก

ในประเทศไทย กับคณะทำงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง

แวดล้อม ของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) ได้กล่าวในที่ประชุม หลัง

จากที่ถูกสอบถามถึงปัญหาแหล่งมรดกโลกของไทย 5 แห่ง ว่า      

       เมื่อปี 2551 ทางยูเนสโก กรุงเทพฯ มีข้อกังวลว่า อุทยานประวัติศาสตร์

พระนครศรีอยุธยามีการพัฒนาพื้นที่ไม่เหมาะสมตามที่คณะกรรมการมรดกโลกกำหนดไว้

เช่น มีภูมิทัศน์ที่ไม่สวยงามเหมือนครั้งขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และเมื่อปี 2534 มีการ

บุกรุกของชุมชน เป็นต้น จึงทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าอาจจะถูกถอดจากมรดกโลกได้       

       อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ของประเทศไทย จะกลายเป็น ‘มรดกโลก’

แห่งที่ 2 ของโลก ซึ่งจะถูกถอดออกจากเกียรติยศนี้ ต่อจากเมืองเดรสเดน เอลเบ ฝั่ง

ตะวันออกของเยอรมนีหรือไม่?       

       การปฏิรูปและบริหารจัดการของทั้งภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของ

พระนครศรีอยุธยาน่าจะเป็นผู้ที่รู้คำตอบดีที่สุด และรัฐบาลก็ต้องเข้าไปแก้ไขปัญหาอย่าง

เร่งด่วนที่สุด เพราะถือเป็นเรื่องหน้าตาหรือภาพลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของประเทศ

ชาติอีกด้านหนึ่ง ซึ่งทั่วโลกให้การยอมรับยกย่องและเชิดชู       

       อุทยานฯ 'เปลี่ยน' ไปแค่ไหน? ในสายตาคนกรุงเก่า      

       การพิสูจน์ถึงอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา แห่งนี้ว่า มีเปลี่ยนแปลงไป

อย่างไรบ้าง? สมควรแล้วหรือที่จะถูกถอดจากการเป็นมรดกโลก? ในสายตาคนท้องถิ่น      

       เบื้องต้น เมื่อเดินดูรอบๆ อุทยานประวัติศาสตร์ฯ สิ่งที่เห็นอย่างชัดเจนคือ ภายใน

อุทยานประวัติศาสตร์ฯ จะมีเชือกกั้นพร้อมข้อความแจ้งเตือนห้ามแผงลอยและร้านค้ามา

ตั้งขายของข้างในอุทยานฯ โดยพ่อค้าแม่ค้าก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ตามจุดต่างๆ จะ

มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคอยควบคุมดูแลความสงบเรียบร้อย      

ซึ่งก็สอดคล้องกับคำกล่าวของ ธราพงศ์ ศรีสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดีว่า      

       “ตอนนี้เราก็พยายามจัดระเบียบร้านค้าร้านขายให้มันอยู่ข้างนอกเขตที่เป็นเขต

ใจกลาง จัดให้หลบๆ นิดหนึ่ง ไม่ให้อยู่ในจุดที่เป็นมลพิษทางสายตา”       

       ต่อมาเราจับเข่าคุยกับชาวบ้าน ที่อาศัยและทำมาหากินอยู่ในบริเวณอุทยานฯ       

       วิรุณ ศรีอุดม เด็กหนุ่มมัธยมฯ ที่มักมาพักผ่อนในอุทยานฯ เป็นประจำ พยักหน้าบอก

ว่าเขาและกลุ่มเพื่อนวัยโจ๋ทราบข่าวที่อุทยานฯ เสี่ยงต่อการถูกถอดจากการเป็น

มรดกโลก       

       “ประมาณ 2 ปีก่อน รถเข็นและแผงลอยยกโขยงกันมาตั้งขายในบริเวณพื้นที่อุทยานฯ

กันอย่างเป็นล่ำเป็นสันนเลยล่ะครับ รถก็เข้ามาจอดกันเต็มไปหมด มันดูรกหูรกตานะ แต่

ตอนนี้เจ้าหน้าที่ใช้เชือกกั้นไม่ให้เข้ามาขายแล้ว”       

       ถามถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับอุทยานฯ วิรุณบอกไม่ค่อยสังเกตเห็นสักเท่า

ไหร่      

       “สภาพแวดล้อมต้นไม้ใบหญ้าก็ไม่ได้ลดลงนะ พอหญ้าขึ้นสูงก็มีคนมาตัดอยู่เรื่อยๆ

สิ่งก่อสร้างในอุทยานฯ ก็มีเท่าเดิม ดูๆ แล้วสภาพแวดล้อมก็ยังสวยงามอยู่ครับ ขยะอาจ

เพิ่มขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก เพราะนักท่องเที่ยวมีเยอะขึ้น แต่อุทยานฯ ก็จัดเจ้าหน้าที่ดูแล

ความสะอาดนะ คนขายของก็เยอะขึ้น ดูสิมีแต่คนขายของแต่ไม่ค่อยมีคนซื้อเลย (หัวเราะ)”      

       ไม่ต่างจาก ปรางค์ชนก พรมาลัย สาวออฟฟิศที่พักอาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงอุทยานฯ

ที่ทราบข่าวดังกล่าวเป็นอย่างดี

      “ชาวบ้านก็ขายของกันในอุทยานฯ มาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้วนี่คะ ตอนนี้เจ้าหน้าที่ก็จัด

ระเบียบร้านขายของที่ระลึก แผงลอยและรถเข็นขายของเรียบร้อยแล้วค่ะ เขาจึงย้ายไป

ขายที่ด้านหลังพระวิหารมงคลบพิตรซึ่งเป็นพื้นที่หนึ่งของอุทยานฯ กันหมด”

      นอกจากนั้น ปรางค์ชนกฟันธงว่า 'อุทยานฯ ยังเหมือนเดิมเกือบทุกกระเบียดนิ้ว' “สิ่ง

ก่อสร้างก็เท่าเดิม ไม่มีสร้างใหม่ ต้นไม้ก็เท่าเดิม ขยะก็มีเจ้าหน้าที่จัดการ คนที่มาขายของ

ขับรถรับจ้าง หรือดูแลความเรียบร้อยของอุทยานฯ ส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่”

       ส่วน สมบัติ พรหมรักษา ชายสูงวัยผู้ทำมาหากินด้วยการปั่นสามล้อรับส่งนักท่อง

เที่ยวในบริเวณอุทยานฯ สารภาพตามตรงว่า ไม่รู้ข่าวที่อุทยานฯ จะกลายเป็นอดีตมรดก

โลก คำบอกเล่าของเขาไม่ต่างจากวิรุณ เรื่องที่ก่อนหน้านี้ ภายในอุทยานฯ มีรถเข็นและ

แผงลอยอยู่เต็มไปหมด “ตอนนั้นในอุทยานฯ มีทั้งพ่อค้าแม่ค้า คนที่มาซื้อของ และคนที่

เอารถมาจอด วุ่นวายไปหมดเลย”       ส่วนความเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ของอุทยานฯ สามล้อ

ใจดีกล่าวเป็นชุดจนฟังแทบไม่ทัน       


       “ต้นไม้ดอกไม้นี่ปลูกเต็มพื้นที่เลยนะ เมื่อก่อนยังปลูกไม่เยอะเท่านี้เลย ดูเสาไฟฟ้า

รูปหงส์ที่เพิ่งนำมาตั้งสิสวยเชี่ยว แต่ก่อนไม่มีนะ เขาเอามาตั้งเพื่อความสวยงามแท้ๆ พวก

มือบอนกลับขโมยสายไฟเอาไปขายเสียเกลี้ยงเลยครับ ทุกต้นเลยนะ เรื่องขยะอีก เดี๋ยวนี้

เยอะขึ้น ทั้งนักท่องเที่ยวทั้งชาวบ้านขยันทิ้งกันจัง บางทีเขวี้ยงถุงทิ้งลงพื้นหน้าตาเฉย

เราก็ไม่รู้จะทำไง นักท่องเที่ยวจากบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เขารักษาความสะอาดดีเยี่ยม

เลยล่ะ แค่ก้นบุหรี่ยังเก็บไปทิ้งถังขยะเลย ไม่ทิ้งเรี่ยราดเหมือนคนไทยและนักท่องเที่ยวฝรั่งหรอก”       

       เจาะวงในถึงปัญหาที่แท้จริง       

       จากการสอบถามคนในพื้นที่ดังที่กล่าวมานั้น ทำให้เราได้รับรู้ความเป็นจริงข้อหนึ่งว่า

ผู้คนในท้องถิ่น หรือคนไทยหลายๆ คนอาจจะยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับ ความหมาย

ที่แท้จริงของมรดกโลก ซึ่งความจริงแล้วมันไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว     

       การรักษาไว้ซึ่งความเป็นมรดกโลกนั้น ไม่ได้หมายความถึงแค่การจัดระเบียบร้านค้า

การรักษาความสะอาด การตกแต่งพื้นที่ให้สวยงามให้ถูกใจนักท่องเที่ยว แต่มันคือ ‘การ

รักษากายภาพของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาให้อยู่ในสภาพใกล้เคียงของ

แท้ดั่งเดิมมากที่สุด โดยที่ไม่ถูกรบกวนจากสิ่งแปลกปลอม’ ซึ่งแท้จริงแล้วสิ่งแปลกปลอม

นั้นอาจเป็นสาธารณูปโภคต่างๆ ถ้าเช่นนั้นเสาไฟฟ้ารูปหงส์ การปลูกต้นไม้ดอกไม้ ก็อาจ

จะอยู่ในเกณฑ์สิ่งแปลกปลอมด้วยก็เป็นได้       

       ซึ่งในขณะนี่เราได้รับการยืนยันจาก ธราพงศ์ ศรีสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักโบราณค

ดีให้การยืนยันว่า อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยายังอยู่ในสภาพปกติ ยังไม่มีการ

แจ้งเตือนมาอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการมรดกโลก       

       แต่ทว่า การที่คณะกรรมการมรดกโลกยังไม่มีการตักเตือนมาอย่างเป็นทางการไม่ได้

หมายความว่า สถานการณ์จะไม่น่าเป็นห่วง คุณ ธราพงศ์ ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงปัญหาที่แท้

จริง       “สิ่งที่เราเป็นกังวลอยู่ก็คือว่า ในสภาพที่เป็นกายภาพปัจจุบันมีปัญหา ซึ่งอยู่ใน

ข่ายที่จะโดนถอดถอนถ้ามีการตรวจสอบ ถ้าเปรียบเทียบจากประเทศอื่น ปัญหาที่เป็นอยู่

ตอนนี้คือ ปัญหาด้านการบริหารจัดการพื้นที่ มันมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาอยู่มนเขตพื้นที่

เช่น ร้านค้าร้านขายเข้ามารกรุงรังสร้างความไม่เป็นระเบียบ และมีการก่อสร้าง

       สาธารณูปโภคขนาดใหญ่เข้ามาในเขตเมืองเก่า อย่างเช่นถนนขนาดใหญ่ การขยาย

ถนน การขุดขยายคลองที่เคยมีอยู่เดิมมาแต่สมัยโบราณของทางหน่วยงานท้องถิ่น”      

       “ทางกรมศิลปากรไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ และได้มีการทำจดหมายแจ้งไปยังหน่วยงาน

ท้องถิ่นแล้ว ซึ่งทางกรมศิลปากรเกรงๆ เรื่องนี้อยู่ เพราะเป็นเกณฑ์เดียวกับที่ประเทศอื่น

โดนตักเตือนให้อยู่ในภาวะอันตราย คือถ้าโดนถอดถอนเข้าจริงจะลำบาก แล้วจะเสียชื่อ

เสียงอย่างมาก”       

       และตัวอย่างของกรณีการโดนถอดถอนจากการเป็นมรดกโลกนั้นก็มีให้เห็นอยู่ คือ

กรณีของเมืองเดรสเดน เอลเบ ฝั่งตะวันออกของเยอรมนี เมืองเดรสเดนได้ถูกขึ้นทะเบียน

มรดกโลกเนื่องจากเป็นสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะบริเวณใน

หุบเขาแม่น้ำเอลเบที่มีความยาวเกือบ 20 กิโลเมตร มีโบราณสถานที่สำคัญ ปราสาท และ

มีเกาะแก่ง ซึ่งมีความสวยงามมาก แต่เนื่องจากการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเอลเบ ที่มี

ขนาดกว้างเท่ากับ 4 เลน เพื่อที่แก้ไขปัญหาการจราจรที่แออัด ทำให้สะพานดังกล่าวถือ

เป็นสิ่งแปลกปลอม และขัดต่อเอกลักษณ์ของพื้นที่นั้น และในที่สุดเมืองเดรสแดนจึงถูก

ถอดถอนออกจากความเป็นมรดกโลก       

       ในส่วนของความเห็นจากทางฝั่งนักโบราณคดี รองศาสตราจารย์ สายันต์ ไพรชาญ

จิตร์ คณบดีคณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ให้ความเห็นว่า      

       “สำหรับเรื่องนี้ ผมดูแล้วอยุธยาของเรา ยังไม่เห็นเข้าเกณฑ์ที่จะถูกถอดออกจาก

มรดกโลกนะ แต่มันน่าจะมีประเด็นคงอยู่ตรงการปล่อยปละละเลยมากกว่า ปล่อยให้มีการ

ใช้พื้นที่อย่างไม่เป็นระเบียบ ซึ่งถ้าเรานับตามการอนุรักษ์ตามเกณฑ์ของมรดกโลกก็อาจจะ

ดูน่าเกลียดขึ้นเรื่อยๆ คือมันผิดไปจากของเดิมที่เป็นอยู่มาก       

       “ซึ่งกฎเกณฑ์ของมรดกโลกคนไทยยังไม่ค่อยรู้เรื่องว่ามันว่ายังไง คงต้องเอาเรื่องนี่

มาคุยกันซักทีว่า มันอย่างไร วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง จริงๆ ก็คงดีถ้าปฏิบัติตามนั้นได้ แต่ว่าคน

ที่ควรจะรับรู้มากที่สุดควรจะเป็นคนในพื้นที่ และประชาชนและถ้าลือกันไปว่า จะต้อง

ถอดถอนมันมีกติกาอย่างไร ใครจะเป็นคนประเมิน”      

       ดังนั้นการแก้ปัญหาน่าจะอยู่ที่การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับคนในท้องที่ หรือ

หน่วยงานท้องถิ่น ถ้าต้องการที่จะให้อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเป็นมรดก

โลกต่อไป รองศาสตราจารย์ สายันต์ชี้ว่า การที่อุทยานประวัติศาสตร์ฯแห่งนี้ได้รับ

เกียรติยศให้เป็นมรดกโลกนี่เอง ที่เป็นตัวสร้างความห่างเหินกับคนในท้องถิ่น ตัวโบราณ

สถานที่แท้จริงแล้วเป็นของพวกเขา ไม่ได้เป็นของคนทั้งโลกหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง

หรือเป็นเพียงแหล่งท่องเที่ยวอันมีชื่อเสียง เป็นแหล่งทำรายได้ให้กแก่ประเทศ จนเกิด

แนวความคิดของการปรับปรุงพื้นที่ให้ถูกใจนักท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว จนลืมรากเหง้า

ที่แท้จริง


       “มรดกโลกมันก็คล้ายๆ กับการขยายอาณานิคมทางวัฒนธรรมอยู่ในที เพราะตัวยูเนส

โกเป็นองค์กรของมหาอำนาจ แล้วก็ใช้มรดกโลกเข้ามามีสิทธิ์มีเสียงในแหล่งธรรมชาติ

และแหล่งทางวัฒนธรรมทั้งโลก เพราะหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศมหาอำนาจ

เขาไม่มีสิทธิในทรัพยากรต่างๆ ของประเทศอื่นเลย เพราะทุกประเทศเป็นอิสระแล้ว เขา

จึงต้องหาทางมาครอบครองในรูปแบบอื่น แต่จริงๆ แล้ว ก็ไม่ได้ถึงขั้นครอบครอง แต่

เหมือนกับว่าเราจะทำอะไรก็ต้องบอกเขาก่อน หรือว่าเราทำไปแล้วเขาไม่ชอบเขาก็อาจจะ

ลงโทษคุณได้ โดยการถอดถอนหรืออะไรก็แล้วแต่ ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับเราว่าจะสนใจหรือ

เปล่า”      

       แต่อย่างไรก็ตาม ในเมื่ออุทยานประวัติศาสตร์อยุธยาได้รับเกียรติยศไปแล้ว ดังนั้นมัน

จึงจำเป็นที่จะต้องรักษาเกียรติยศของความเป็น ‘มรดกโลก’ นี้ไว้ให้ได้ เพราะการถูกถอด

เกียรติยศก็หมายความว่าประเทศจะต้องเสียชื่อเสียงและอาจจะกระทบกระเทือนไปถึงราย

ได้ของประชาชน

ที่มา - ผู้จัดการ

Credit: http://hot.ohozaa.com/
18 ก.ย. 54 เวลา 11:41 5,447 10 120
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...