เจาะประวัติ "ซีไอเอ" ตอน๑ ก่อนจะมาเป็น ซีไอเอ

เรื่องราวลึกลับต่างๆ ที่เราได้ยินมาได้ฟังมา มักจะมีการกล่าวอ้างว่ามีหน่วยสืบราชการลับ
หน่วยงานหนึ่งของรัฐบาลสหรัฐเข้ามาพัวพันเสมอๆ และหน่วยงานนั้นก็คือ ซีไอเอ วันนี้
เราจะมาทำความรู้จักกันว่า พวกเขาเป็นใครกัน

ก่อนจะมาเป็น ซีไอเอ (Central Intelligence Agency)




ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี รูสเวลท์ (FRANKLIN D. ROOSEVELT)

ประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี รูสเวลท์ (FRANKLIN D. ROOSEVELT)

ได้มีดำริที่จะก่อตั้งหน่วยสืบราชการลับขึ้นเขาจึงได้สั่งให้ทนายชาวนิวยอร์ก
วิลเลี่ยม เจ โดโนแวน (WILLIAM J. DONAVAN)


เขียนร่างแบบโครงสร้างของหน่วยสืบราชการลับขึ้น

เอกสารหน่วยสืบราชการลับ

เมื่อรูปแบบขององค์กรได้รับการอนุมัติ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1942
สำนักงานยุทธศาสตร์ หรือ The Office of Strategic Services (OSS) ก็ได้ถูกก่อตั้งขึ้น

 

The Office of Strategic Services (OSS)

โดยมีหน้าที่หลักในการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อใช้ในราชการทหาร โดยรับคำสั่งจาก
คณะเสนาธิการร่วม (the Joint Chiefs of Staff)

คณะเสนาธิการร่วม (the Joint Chiefs of Staff)

โอเอสเอส เป็นหน่วยงานอิสระที่ไม่ขึ้นกับใคร ในช่วงที่เกิดวิกฤติสงคราม โอเอสเอส ได้มีอิทธิพลอย่างมาก
ต่อการตัดสินใจของกองทัพ แต่ถึงกระนั้น โอเอสเอส ก็ใช่ว่าจะมีอำนาจเบ็ดเสร็จในด้านงานสืบราชการลับ
ระหว่างประเทศ เพราะในช่วงทศวรรษที่ 1930 นั้น หน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในงานสืบราชการลับ
ในพื้นที่กลุ่มประเทศลาตินอเมริกาก็คือ เอฟบีไอ (FBI)



เอฟบีไอ (FBI)

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1945 หน่วยงาน โอเอสเอส ก็ถูกปิด อาจจะเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้จบสิ้นลง
จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ โอเอสเอส อีกต่อไป ภารกิจและเอกสารต่างๆ ถูกส่งมอบต่อให้กับกระทรวงต่างประเทศ
แต่อย่างไรก็ตามกองทัพยังมีความต้องการ การใช้งานสืบราชการลับหลังวิกฤติสงคราม 11 เดือนต่อมา
พลตรี วิลเลี่ยม จึงได้ทำหนังสือถึงประธานาธิบดี แฟรงกลิน เพื่อขอให้มีการจัดตั้งหน่วยสืบราชการลับขึ้นมาใหม่

หน่วยงานที่ถูกก่อตั้งใหม่ครั้งนี้จะไม่รับคำสั่งจากคณะเสนาธิการร่วม แต่จะขึ้นตรงกับประธานาธิบดี อีกทั้งหน่วยงานนี้
จะปฏิบัติหน้าที่ทั้งราชการลับและเปิดเผย ข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากหน่วยงานนี้จะถูกนำไปใช้ในหน่วยงานราชการทุกที่
ที่มีความต้องการไม่จำกัดเฉพาะงานราชการทางการทหาร

ดังนั้น หน่วยงานใหม่ที่จะเกิดขึ้นจึงต้องประสานงานกับหน่วยงานราชการทุกหน่วยงาน เสมือนหนึ่งเป็นขุมกำลังหรือ
ศูนย์กลางของหน่วยงานราชการของสหรัฐ พลตรี วิลเลี่ยม ยังได้เสนอให้หน่วยงานใหม่นี้มีอำนาจในการเข้าแทรกแซง
กิจการภายในของประเทศต่างๆ ด้วย

กองทัพสหรัฐ คัดค้านการก่อตั้งหน่วยงานนี้ทันที ส่วนกระทรวงต่างประเทศก็ค้านอย่างนุ่มนวลว่า สงครามได้สงบลงแล้ว
การเข้าแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่นอาจทำลายความสัมพันธ์อันดีกับประเทศพันธมิตร และทุกวันนี้ เอฟบีไอ
ก็ทำหน้าที่ในการเป็นแหล่งข่าวกรองให้กับกองทัพได้อย่างสมบูรณ์อยู่แล้ว

แต่ก็ยังพอจะมีคนที่เห็นด้วยกับความคิดของ พลตรี วิลเลี่ยม ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1946
ประธานาธิบดี แฮร์รี่ เอส ทรูแมน (Harry S. Truman)

ประธานาธิบดี แฮร์รี่ เอส ทรูแมน (Harry S. Truman)

ได้อนุมัติให้ก่อตั้ง ศูนย์กลางหน่วยสืบราชการลับ (the Central Intelligence Group - CIG) โดยมีหน้าที่เข้าเสริมและ
ช่วยเหลืองานหน่วยสืบราชการลับที่มีอยู่ของราชการแค่นั้นไม่ใช่เข้ามามีบทบาทอย่างเต็มตัว ทั้งนี้งานทั้งหมดอยู่ภายใต้
การควบคุมขององค์การสืบราชการลับแห่งชาติ (National Intelligence Authority)

เอกสารหน่วยสืบราชการลับ (the Central Intelligence Group - CIG)

ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป้นผู้อำนวยการ ซีไอจี คนแรกคือ พลเรือตรี ซิดนีย์ โซเออร์ (Rear Admiral Sidney Souers)
อดีตผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือเพียงแค่ 20 เดือนต่อมา องค์การสืบราชการลับแห่งชาติ และภารกิจทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งรวมถึง ซีไอจี ก็ถูกยกเลิก

พลเรือตรี ซิดนีย์ โซเออร์ (Rear Admiral Sidney Souers)

ในที่สุด ซีไอเอ ก็เกิด
ภายใต้ข้อกำหนดของ นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ 1947 หน่วยงาน 2 หน่วยงานก็ถูกจัดตั้งขึ้นในวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1947
หน่วยงานแรกคือ สภาองคมนตรีรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (The National Security Council - NSC) และคงไม่ต้องเดาให้เสียเวลา
หน่วยงานที่สองคือ องค์การสืบราชการลับหรือที่บางคนเรียกว่า หน่วยข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency - CIA)


 

สภาองคมนตรีรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (The National Security Council - NSC)

 

ซีไอเอ ได้จัดตั้งขึ้นโดยอาศัยแบบโครงร่างของหน่วยสืบราชการลับที่ พลตรี วิลเลี่ยม ได้ร่างขึ้น เอ็นเอสซี จะมอบหมาย
งาน "เฉพาะกิจ" ที่เกินขอบเขตอำนาจของตำรวจ และหน่วยป้องกันภัยแห่งชาติให้แก่ ซีไอเอ เป็นผู้สะสาง

ในปี ค.ศ. 1949 ซีไอเอ ได้รับอนุมัติให้ใช้งบประมาณแผ่นดินส่วนหนึ่งได้ถูกกันไว้ให้กับ ซีไอเอ โดยเฉพาะ
ซึ่งเป็นงบราชการลับโดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนตามปรกติ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการสืบสาวไปถึงภารกิจ
ที่เป็นความลับของ ซีไอเอ อีกทั้งยังเป็นการปกป้องตัว ซีไอเอ จากการถูกสืบสาวไปถึงตัวองค์กร
โครงสร้างขององค์กร เจ้าหน้าที่ ขนาดขององค์กร และข้อมูลทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง

เดิมที ซีไอเอ อยู่ใต้การบังคับบัญชาของ สภาสามัญของหน่วยสืบราชการลับที่ชื่อ
Deputy Director of the Central Intelligence Agency (DDCIA) จนกระทั่งปี ค.ศ. 1953
ก็มีการแต่งตั้งผู้อำนวยการ ซีไอเอ ขึ้นมาแทนที่ ซึ่งก็คือ
พลเอก วอลเตอร์ บีเดลล์ สมิทธ์ (General Walter Bedell "Beetle" Smith)

พลเอก วอลเตอร์ บีเดลล์ สมิทธ์ (General Walter Bedell "Beetle" Smith)

สภานิติบัญญัติได้เริ่มมองเห็นความสำคัญ และความยิ่งใหญ่ของตำแหน่งผู้อำนวยการ ซีไอเอ ดังนั้น
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1953 พวกเขาจึงได้เปลี่ยนแปลงข้อกำหนดของนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ 1947
โดยให้ภารกิจของ ซีไอเอ ต้องอยู่ภายใต้คำสั่งของประธานาธิบดี ซึ่งทั้งนี้คำสั่งต่างๆ ที่จะส่งไปยัง ซีไอเอ
จะต้องผ่านความเห็นชอบของสภาสูงเสียก่อน

 


เล่าให้จบยันปัจจุบันน่าจะยาวเหยียดเลยค่ะ จะทยอยมาเป็นตอนๆนะคะ

เนื่องจากต้องหารูปประกอบให้ดูน่าอ่านนิดนึงค่ะ มีแต่ตัวหนังสือกลัวว่าจะเบื่อกันหมด(การอัพโหลด+หาภาพข้อมูลที่แสนจะยาวนาน55+)

รูปภาพประกอบจาก google และ http://en.wikipedia.org/wiki/CIA ค่ะ (เรียบเรียงรูปประกอบโดยAladin13ค่ะ 555+)

ข้อมูลจาก ทฤษฏีสมคบคิด (conspiracy theory) โดยคุณ narong

คัดลอกมาจากหนังสือ "ร้ายสาระ" โดย ศิลป์ อิศเรศ ค่ะ

เนื่องจากเป็นหนังสือนานแล้วข้อมูลอาจจะเก่าและอาจจะได้อ่านหรือทราบกันมาบ้างแล้ว

 ........................................................... 

 ปล.เพลงเพิ่มบรรยากาศลึกลับเฉยๆนะคะ อิอิ

 ขอบคุณที่รับชมค่ะ^^~ 

Credit: narong คัดลอกจาก"ร้ายสาระ" โดย ศิลป์ อิศเรศ
17 ก.ย. 54 เวลา 14:17 9,644 2 80
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...