มัมมี่หมื่นปีของชาวอินคา

เมื่อกล่าวถึงมัมมี่ ทุกคนก็มักนึกถึงอียิปต์โบราณ แต่น้อยคนที่จะทราบว่า ชาวอินคาที่ชินเคอร์โรนั้น รู้จักการทำมัมมี่ก่อนชาวอียิปต์ถึง 2000 ปี (ประมาณจากมัมมี่เด็กที่พบจากหุบเขาคามาโรน ซึ่งพบว่ามีอายุถึง 5050 ปี ก่อนคริสต์ศักราช)

มัมมี่ของชาวอินคาแบ่งเป็น 3 แบบ คือ มัมมี่ดำ มัมมี่แดง และมัมมี่แบบหุ้มโคลน

วัตถุประสงค์ของการทำมัมมี่ของชาวอินคา คือ มีความเชื่อทางศาสนาว่า มัมมี่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างโลกคนกับโลกวิญญาณหลังความตาย เป็นวิธีที่จะนำมาดวงวิญญาณไปสู่สุคคติ โดยชาวอินคามีการทำมัมมี่ให้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกชนชั้น ด้วยความประณีตอย่างเท่าเทียมกัน ต่างจากชาวอียิปต์โบราณที่เน้นไปที่ฟาโรห์และเชื้อพระวงศ์เป็นส่วนใหญ่

การค้นพบมัมมี่ของชาวอินคานั้น เกิดขึ้นโดยบังเอิญ ขณะที่คนงานขุดร่องวางท่อน้ำ พวกเขาพบมัมมี่จำนวนมากที่ความลึกเพียง 3 ฟุต

นักโบราณคดีทำการศึกษาพบว่าในจำนวนนั้น มีทั้งมัมมี่ที่ถูกทำขึ้น และมัมมี่ที่เกิดเองตามธรรมชาติจากสภาพอากาศอันแห้งแล้งของบริเวณนั้น

มัมมี่ที่ทำขึ้นนี้ สร้างความแปลกใจให้กับนักโบราณคดีเป็นอย่างมาก เพราะเป็นไปได้ว่าอายุของมันอาจจะเก่าแก่ถึง 9000 ปี ถึงกับต้องเรียกว่า “สิ่งมหัศจรรย์แห่งเทือกเขาแอนดิส” กันเลยทีเดียว

นักโบราณคดีรีบขุดค้นพื้นที่แถบนั้นเป็นบริเวณกว้าง (เพื่อตัดหน้ากลุ่มโจรล่าสมบัติ) และได้ค้นพบมัมมี่จำนวน 96 ซาก ถูกฝังในท่าเหยียดตรง พร้อมสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ของชาวอินคา เช่น ถุงย่ามใส่ปลา ทำจากต้นกกด้วยความประณีต ฉลวกแทงปลาจากกระดูกสัตว์ เบ็ดตกปลาจากเปลือกหอย จึงคาดได้ว่า ชาวอินคากลุ่มนี้มีความชำนาญในการจับสัตว์น้ำ และอาจเชี่ยวชาญในการเดินเรือด้วย

วิธีการทำมัมมี่ของชาวอินคาค่อนข้างซับซ้อน มีหลายขั้นตอน คือ…

1. ควักเครื่องในออกให้หมด

2. ใช้มีดที่ทำจากหินลอกหนังออก โดยควั่นรอบแขนและขา แล้วถลกลอกออกเหมือนถอดถุงเท้า ซึ่งขั้นตอนนี้ต้องทำอย่างระมัดระวังมาก เมื่อไม่ใช้ขาดวิ่น เพราะต้องนำกลับมาสวมใส่ใหม่ พอลอกออกแล้วต้องทำหนังนั้นไปแช่น้ำทะเลเพื่อคงความนิ่มเอาไว้

3. ควักลูกตาและสมองออก ในกรณีของเด็กอ่อน จะควักสมองออกจากบริเวญกระโหลกส่วนที่ยังไม่ปิดสนิท กรณีผู้ใหญ่จะนำออกทางรูเปิดใต้กระโหลก

4. เลาะกล้ามเนื้อออกจากกระดูก ขั้นตอนนี้ไม่จำเป็นต้องทำให้เกลี้ยง วิธีทำคือ นำโครงกระดูกไปแช่น้ำให้เปื่อย หรือไม่ก็ให้นก ให้แร้งช่วยแทะออก

5. เอาหนังที่ถลกออกไปแล้วมาคุ้มไว้ตามเดิม หากหนังหด ปิดไม่มิด มีการนำหนังสัตว์มาเสริม

6. ขัดผิวด้วยทราย หรือกรวด ให้ผิวดูสดใสเหมือนเดิม

7. ใช้ต้นกกยัดเข้าตามร่างกายจนเต่งตึง คล้ายกับมีกล้ามเนื้ออยู่ข้างใน

ในช่วง 1700 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีการเปลี่ยนวิธีการทำ คือ พยายามรักษาสภาพภายนอกไม่ให้เน่าเปื่อย โดยนำสารกันเน่ามาพอกร่างกาย ให้หนาประมาณ 1 นิ้ว (สารกันเน่านี้คือทรายประเภทหนึ่งกับไขมันปลา ทำให้เป็นกาวเหนียวเกาะกับร่างแนบแน่น) การรักษาสภาพภายนอกด้วยวิธีนี้ เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะมัมมี่จะมีสภาพภายนอกคงเดิมทุกประการ

เมื่อศึกษาลงไปถึงกระเพาะอาหาร ทำให้ทราบว่าพวกเขาทานเนื้อสัตว์น้อยมาก ส่วนมากนิยมทานปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ แถมยังน่าจะกินแบบสุก ๆ ดิบ ๆ อีกด้วย เพราะพบไข่พยาธิในกระเพาะอาหาร

การพอกโคลนนี้ทำต่อกันมาจนถึงราว 1500 ปีก่อนคริสต์ศักราช จึงเลิกกันไป ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ชาวอียิปต์เริ่มทำมัมมี่พอดี นับว่ามัมมี่ของชาวอินคานี้มหัศจรรย์มาก เพราะมีอายุตั้งเกือบหมื่นปี และจากมัมมี่เหล่านี้ ทำให้ประตูห้องเก็บความลับของชาวอินคา ถูกเปิดออกมาอีกชั้นหนึ่ง…

 

มัมมี่ของอินคาสมบูรณ์แบบมากเลย ทั้งผิวหนัง ผม รายละเอียดน่าทึ่งจริงๆ

ยิ่งในคลิปชัดเจนมาก น่าอัศจรรย์ค่ะ :D

 

คลิปและรูปบางส่วนจาก http://video.nationalgeographic.com/

 

ขอบคุณที่รับชมค่ะ^^~

Credit: Indepencil.com
15 ก.ย. 54 เวลา 18:33 13,770 17 260
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...