เปิดแฟ้ม (ไม่) ลับ บันทึกสัตว์อวกาศที่ถูกลืม 2/2 -จบ-

 

 

   
Ham ประเภทลิงชิมแปนซีจากอัฟริกา
 
 
ครอบครัวสวนสัตว์อวกาศ ของโซเวียต อเมริกา และฝรั่งเศส

แนวคิดค่ายโซเวียต มักใช้สุนัขพื้นบ้านจำนวนมาก ในการทดลองที่ผ่านมา จนเมื่อ
28 กรกฎาคม ค.ศ.1960 ได้ใช้ สัตว์จำพวกแมว (คล้ายเสือดำ) ชื่อ Bars และสุนัข
จิ้งจอกชื่อ Lisichka ส่งไปกับดาวเทียม Korabl Sputnik ซึ่งเป็นต้นแบบของยาน
อวกาศ Vostok

19 สิงหาคม ค.ศ. 1960 โซเวียตส่ง กระรอกชื่อ Belka และสุนัขชื่อ Strelka ไป
พร้อมกับ Sputnik 5 ร่วมกับกระต่าย 2 ตัว หนูตัวเล็ก 40 ตัว หนูตัวใหญ่ 2 ตัว
น้ำพร้อมพืชผลไม้จำนวนหนึ่ง ภายหลังต่อมา Strelka ให้กำเนิดลูกน้อยถึง 6 ตัว

Pchelka เป็นชื่อของผึ้งและแมลงวันชื่อ Muska พร้อมหนู แมลงอื่นๆอีกจำนวน
หนึ่งและพืช บรรจุในห้องเล็กๆ เพื่อไม่ให้หนีออกไปส่งไปพร้อมกับ Sputnik 6
ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ.1960

ตลอด ช่วง ค.ศ.1960-1961 นักวิทยาศาสตร์โซเวียต ยังส่งสัตว์ทดลองอวกาศ
ไปกับ Sputnik 9 และ Sputnik 10 ไม่ว่าเป็น สุนัข หนู แม้กระทั่งหมูตัวเล็กๆ ชื่อ Zvezdochka (เจ้าดาวน้อย)

Goliath ชื่อลิงกระรอกตัวเล็กมาก ถูกส่งไปกับจรวด Air Force Atlas E เมื่อ 10
พฤศจิกายน ค.ศ.1961 จากแหลม Canaveral ประเทศอเมริกาปรากฎว่าเพียง 35
วินาที จรวดโม่งพื้นโลก Goliath สิ้นชีวิตทันที

ถัดมา 29 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ลิงชิมแปนซี ชื่อ Enos สู่วงโคจรเหนือโลกด้วย
จรวด Mercury Atlas เรียกว่าโครงการ Three orbits ใช้เทคนิคให้ Enos บังคับ
การบินเอง หลังจากควบคุมด้วยกลไก แล้ว 2 รอบการโคจร ทั้งหมดใช้เวลา 75
นาทีจึงตกลงสู่ ทะเลและกู้คืนได้ เป็นการทดลองที่ ประสบผลสำเร็จด้านศักยภาพ
ทั้งลิงและจรวด โดย Enos เสียชีวิตหลังจากนั้น 11 เดือนต่อมา

18 ตุลาคม ค.ศ. 1963 เป็นครั้งแรกโดยนักวิทยาศาสตร์ ประเทศฝรั่งเศส ส่งแมว
ชื่อ Felix สู่อวกาศไปกับจรวด Veronique AGI sounding rocket No. 47 ประสบ
ผลสำเร็จ โดย Felix กลับสู่พื้นโดยร่มชูชีพ ในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1963 แต่การ
กู้เป็นไปด้วยความลำบากเพราะถูกแมวข่วน

วีระบุรุษ (สัตว์) อวกาศตัวแรกในสภาพไร้น้ำหนัก

ค่ายอเมริกาส่ง Ham ประเภทลิงชิมแปนซีจากอัฟริกา ขึ้นไปครั้งแรก 31 มกราคม
ค.ศ. 1961 กับจรวด Mercury Redstone ความสูง 422 ไมล์ ความเร็ว 4,400 ไมล์
ต่อชั่วโมง โดยอยู่ในสภาพไร้น้ำหนัก รวม 6.6 นาที จากการบินใช้เวลา 16.5 นาที
ภายหลังตกลงในทะเล Atlantic สามารถกู้ขึ้นมาได้ในสภาพลำลักน้ำทะเล จึงถือ
ว่า Ham สู่สภาพไร้น้ำหนักก่อนมนุษย์อวกาศชาวอเมริกัน และได้นำไปอยู่ในสวน
สัตว์กรุงวอชิตัน หลังจากหมดภาระกิจต่อมา อีก 2 ปี

จากนั้น Ham ยังถูกส่งไป ยัง North Carolina Zoological Park อยู่อย่างเดี่ยวดาย
เสียชีวิตที่นั้นเมื่อ 17 มกราคม ค.ศ.1983 ซากศพของ Ham สถาบัน Smithsonian
Institution นำถูกนำมาเก็บรักษาไว้ที่ International Space Hall of Fame ใน
Alamogordo ประเทศ New Mexico
   
ภาระกิจกู้ชีพ Ham
   
การกู้ซากแคปซูล ที่ Ham โดยสารกลับมา
   
สภาพของ Ham รอดชีวิตกลับสู่โลกอีกครั้ง
   
Van Allen Belts
   
ทดลองสู่ระดับ Van Allen Belts

โซเวียต ยังมีการทดลองอย่างต่อเนื่อง เพื่อการแข่งขันกันเป็นเจ้าอวกาศเตรียม
ส่งจรวด Kosmos 110 ไปพร้อมกับสุนัขชื่อ Veterok (เจ้าลมน้อย) และ Ugoyok
(เจ้าชายมืด) ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1966

จุดประสงค์การทดลอง ที่ก้าวหน้าขึ้นอีกระดับหนึ่ง ต้องการให้สัตว์อวกาศทั้ง 2 ตัว
สู่บริเวณ Van Allen Belts ทดสอบปฎิกิริยารังสี ปรากฎว่าสุนัขสามารถอยู่ได้เพียง
21 วันเท่านั้น

สู่ยุคการทดลองด้านชีววิทยา

ความพิศดาร ของโซเวียต ในปี ค.ศ.1968 พยายามส่งสัตว์สารพัดชนิดสู่อวกาศ
เพื่อทดลองด้านชีววิทยา เช่น เต่า หนอน พันธ์พืช เมล็ดพืช แบทีเรียและอีกหลาย
อย่าง โดยบรรจุไว้ในพื้นที่เฉพาะของจรวด Zond 5 เมื่อ 15 กันยายน ค.ศ. 1968
สู่วงโคจรดวงจันทร์ได้

แต่ขากลับในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1968 ขณะทะยานกลับสู่ชั้นบรรยากาศโลก
หยุดแบบกังทันหัน ด้วยร่มชูชีพของจรวดกลางอากาศ เหนือพื้นดิน 7 กม. ชิ้นส่วน
ห้องโดยสารของสัตว์ฉีกขาดออก เสียหายหมด แม้สามารถกู้ซากได้ในมหาสมุทร
อินเดีย แต่ก็ไม่สามารถทราบผลสภาพของบรรดาสัตว์ที่ถูกส่งไป

ความพยายามของนักวิทยาศาสตร์โซเวียตยังไม่สิ้นสุด ยังส่ง สัตว์และพืชไปกับ
Zond 6 ใหม่ อีก และสามารถโคจรรอบดวงจันทร์ได้เหมือนเดิม ปัญหาเกิดกับขา
กลับดังเดิมอีก ทำให้สูญเสีย สัตว์ทดลองเป็นครั้งที่ 2

ระหว่าง ค.ศ. 1966-1969 นักวิทยาศาสตร์อเมริกา สร้างดาวเทียม Biosatellite series โดยเฉพาะ เพื่อทดลองด้านชีววิทยาและผลกระทบด้านรังสี ในอวกาศ
เริ่มต้นครั้งแรกด้วยจรวด Delta เมื่อ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1966 บรรทุกสิงสาราสัตว์
13 ชนิด ตั้งแต่แมลง ไข่กบ จุลชีพ และพืชพันธ์ ประสบผลสำเร็จในการโคจร
ระดับชั้นบรรยากาศ แต่ขากลับสู่โลกเสียดกับชั้นบรรยากาศ ไฟไหม้หมดและไม่
กู้อะไรกลับได้เลย จึงยุติโครงการ Biosatellite I

และได้พัฒนาระบบ Hardware ใหม่ ในโครงการ Biosatellite II ส่งขึ้นสู่อวกาศ
7 กันยายน ค.ศ.1967 ตลอด 3 วันหลังจากอยู่บนเส้นทางโครจร ประสบปัญหา
สื่อสารนำร่อง ระหว่างยานและหอบังคับการ จากพายุเขตร้อนอย่างหนัก ทุกอย่าง
ล้มเหลวเหมือน Biosatellite I
   
Biosatellite series รุ่นแรก
   
Biosatellite series ยุคใหม่ รุ่นปี ค.ศ 2006
   
Biosatellite III เป็นโครงการใหม่อีก ส่งลิงตัวผู้ชื่อ Bonnie น้ำหนัก 6 กก.ครั้งนี้ส่ง
สัตว์ไปตัวเดียว มีเป้าหมายให้อยู่ได้ 30 วัน เพื่อต้องการทราบผลกระทบด้านระบบ
สมอง สภาพร่างกาย อาการวิตก การเผาผลาญพลังงาน การเปลี่ยนของกล้ามเนื้อ

เพียง 9 วันบนวงโคจร Bonnie สภาพร่างกาย ทรุดโทรมลง ทำให้ยุติการทดลอง
สู่พื้นโลกเก็บกู้ได้ แต่ Bonnie เสียชีวิต 8 ชั่วโมงถัดมา ด้วยระบบหัวใจล้มเหลว
และสูญเสียน้ำในร่างกาย

หลังจากโครงการ Apollo 11 เป็นต้นมา ภาระกิจด้านชีววิทยายังมีบทบาทที่จำกัด
ไม่ว่าจะส่งแมงมุม กระต่าย เต่า ปลา แมงกระพรุน สาหร่ายและเชื้อโรค สัตว์ ฯลฯ
ในการทดลองดังกล่าวสัตว์ตายหมด ไม่สามารถอยู่ในอวกาศได้นาน เพราะเป็น
สภาพไร้น้ำหนัก

หนึ่งในโครงการที่น่าสนใจหลังจาก Apollo คือ Skylab 3 ที่ส่งแมงมุมไปสู่สภาพไร้
น้ำหนัก แมงมุมสามารถชักใยได้ในสภาพไร้น้ำหนักได้ปกติ

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996-1973 โครงการด้ายชีววิทยาของโซเวียต ใช้ชื่อว่า Bion เป็น
การพัฒนายานให้เข้ากับ จรวดประเภท Vostok ถูกส่งสู่อวกาศโดยจรวด Soyuz
จากสถานีทดลอง Plesetsk Kosmodrome ทางตอนเหนือของโซเวียต

โครงการดังกล่าวมีนักวิทยาศาสตร์ หลายชนชาติร่วมในโครงการ เช่น Austria,
Bulgaria, Canada, China, Czechoslovakia, East Germany, European Space
Agency, France, Germany, Hungary, Lithuania, Poland, Romania, Ukraine,
และ United State

โดยครั้งแรก 31 ตุลาคม ค.ศ. 1973 ส่งเต่า หนู แมลง พืชประเภทเห็ดรา ใช้เวลา
ในอวกาศ 22 วัน ถัดมาส่งรุ่นที่ 2 ได้ส่ง ไม้ผุ (เชื้อรา) ปลา ไข่นกคุ้ม กบ เนื้อเยื่อ
(เซลล์) และเมล็ดพืชขึ้นไป

หลังจากนั้น โครงการ Bion 5 โดยจรวด Kosmos 1514 ส่งลิงชื่อ Abrek Bion 6
โดยจรวด Kosmos 1667 ในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1985 ส่งลิงชื่อ Verny
(เจ้าซื่อบื่อ) และ Gordy (เจ้าหยิ่งยะโส)

ส่วน Bion 7 ส่งขึ้นไป วันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1987 บรรทุกลิง 2 ตัวชื่อ Yerosha
(เจ้าทึ่ม) และ Dryoma (เจ้ารุงรัง) โดยโครงการต่างๆ ทั้งหมดสามารถโคจรใน
อวกาศได้ระหว่าง 5-13 วัน

จนกระทั่งการทดลอง Bion 8 สามารถแตะความสูงจากโลกที่ 1,850 ไมล์ ภายใน
บรรจุปลาแต่ภาชนะแตกออก ทำให้ปลาตาย

Bion 9 ส่งโดยจรวด Kosmos 2044 ได้บรรทุกลิงชื่อ Zhakonya และ Zabiyaka
(คู่จอมยุ่งเหยิง) สามารถอยู่ในอวกาศได้ 14 วัน มีไส้เดือนและมดไปด้วยโดยสัตว์
ทั้ง 2 ชนิดคือ ไส้เดือนและมดตายเรียบ จากปัญหาอุณหภูมิภายในห้องโดยสาร

Bion 10 โดยจรวด Kosmos 2229 ส่งลิงชื่อ Krosh (เจ้าน้อย) และชื่อ Ivasha
ขึ้นไปเมื่อ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1992 อยู่ได้ 12 วัน หลังจากนั้น 2 วันจึงกู้ Bion 10
ได้ลิงทั้งคู่เสียชีวิต เพราะปัญหาภายในห้องโดยสารร้อน และอาหารหมดมา 3 วัน

ต่อมา Bion 11 สู่อวกาศวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1996 มีลิงชื่อ Lapik และ Multik (เจ้าตัวการ์ตูน) อยู่ได้ 14 วัน โดย Multik สิ้นชิวิตหลังการกู้ยานแคปซูล จากผล
ของยาทำให้ตาลายก่อนเข้าสู่โลก จึงให้เกิดคำถามขึ้นใหม่ว่า ควรใช้สัตว์ทดลอง
สู่อวกาศหรือไม่ และหลังจากนั้น NASA ได้ยุติลง โครงการเกี่ยวกับสัตว์ทดลอง
ในอวกาศ หลังโครงการ Bion 12
   
Spacelab ปัจจุบันนี้
   
Space shuttle Atlantis
   
จากปี ค.ศ. 1983 จนปัจจุบัน Space Shuttle (กระสวยอวกาศ) มีห้องทดลองทาง
ชีววิทยา มากกว่า 12 ห้องทดลองอวกาศ (Spacelab) มีเครื่องมือทดลองมากมาย
ทั้งสัตว์และแมลง ตัวเล็กๆ

เห็นได้ว่า 50 ปีที่ นักวิทยาศาสตร์อเมริกาและโซเวียต ใช้สารพัดสิงสาราสัตว์ใน
การทดลอง อันเกิดประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างมหาศาล ซึ่งหากไม่มีสัตว์เหล่านี้ความ
ก้าวหน้า ด้านอวกาศคงบรรลุผลยากและเลี่ยงภัยต่อมนุษย์

วันนี้โครงการอวกาศไม่ใช้สัตว์ทดลอง สู่อวกาศแบบโหดร้ายมานานแล้ว และโครง
การของนักวิทยาศาสตร์อเมริกาและโซเวียต ได้แสดงความรู้สึกเสียใจอย่างยิ่งอัน
ที่บรรดาสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นเสียชีวิตแทนมนุษย์ แต่ทั้งหมดเพื่อตอบสนองด้าน
เทคโลยีเพื่อมนุษย์เดินทางสู่อวกาศ มิได้มีเจตนาในการทำลายชีวิตสัตว์เหล่านั้น
     
References :

NASA History
USS Donner
Encyclopædia Britannica

ไว้อาลัยให้กับฮีโร่สัตว์อวกาศทุกตัวค่ะ..

ขอบคุณที่รับชมค่ะ^^~

Credit: sunflowercosmos
15 ก.ย. 54 เวลา 16:16 7,944 4 90
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...