เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องยาวนานกว่า 50 ปี ซึ่งมนุษย์อาจลืมไปแล้วว่า
ก่อนหน้ามนุษย์จะออกไปท่องอวกาศได้ มีสารพัดสิงสาราสัตว์ที่มนุษย์ได้นำมา
ทดลองจำนวนมากได้สิ้นชีวิต ล้มตายเพราะการทดลองนั้น
เรื่องสำคัญที่สุดคือ ความปลอดภัยมนุษย์ อาจเป็นอันตรายในสภาพไร้น้ำหนัก
(Weightlessnes) เป็นสิ่งที่โต้แย้งกัน ในบรรดานักอวกาศวิทยายาวนานยืดเยื้อ
จนกระทั่งสถาบันอวกาศ อเมริกาและรัสเชีย มีจุดประสงค์ใช้สัตว์ให้เป็นประโยชน์
ในการทดลองสู่อวกาศ เช่น ลิงชิมแปนซี สุนัข หนู ปลา เต่า แมงมุม กระต่าย
เพื่อทราบผลกระทบต่อความเป็นอยู่ในอวกาศ ไม่ให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ที่จะ
ส่งขึ้นไปในอนาคต
สภาพไร้น้ำหนัก (Weightlessnes)
เริ่มทศวรรษ สัตว์อวกาศชุดแรกๆ ของอเมริกา
11 มิถุนายน ค.ศ. 1948 อเมริกาส่ง V-2 Blossom ขึ้นสู่อวกาศจาก White Sands,
New Mexico โดยมี Albert I (ลิงชนิดหนึ่งแถบเอเชีย) รายละเอียดเอกสารต่างๆ
แทบไม่ได้กล่าวถึงความสำคัญ ของ Albert I ในครั้งนั้นไว้เลยทราบเพียงว่าจรวด
พุ่งขึ้นสูงอวกาศได้ 63 กม.
ต่อมา 14 มิถุนายน ค.ศ. 1948 V-2 Blossom ถูกส่งขึ้นไปอีกโดยมี Albert II สู่ระดับสูงได้ 133 กม. หลังจากนั้นตกลงปะทะโลก Albert II เสียชีวิต
ถัดมา 31 สิงหาคม ค.ศ. 1948 V-2 Blossom พร้อม Albert III ถูกส่งขึ้นไปอีก
โดยมีหนู ร่วมเดินทางเป็นสมาชิกไปด้วย หลักฐานจากภาพถ่าย พบว่าหนูรอดตาย
จากการตกลงของ V-2 Blossom ซึ่งพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงเพียง 5 กม.จากพื้นโลก
12 ธันวาคม ค.ศ. 1949 เป็นครั้งสุดท้ายของ V-2 Blossom ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ
จาก White Sands, New Mexico เช่นกัน พร้อมกับ Albert IV (ลิงตัวสุดท้ายของ
โครงการนี้) เครื่องรับส่งวิทยุแสดงข้อมูลถึงความสำเร็จ สู่ระดับสูงได้ 127 กม.
ลิงไม่มีผลกระทบต่อ สภาพร่างกายและอยู่รอดจากการตกลงของ V-2 Blossom (สำหรับลิงเสียชีวิต เมื่อ ค.ศ.1950) ภายหลังทราบว่าในครั้งนั้นมีหนู ขึ้นไปพร้อม
กับ Albert IV ด้วยจากภาพถ่ายที่ค้นพบจากแฟ้มเก่า
20 กันยายน ค.ศ. 1951 ลิงชื่อ Yorick พร้อมด้วยหนู 11 ตัว ถูกยิงขึ้นไปพร้อม
จรวดขนาดเล็ก (Aerobee missile) สูง 236,000 ฟิต จากฐานกองทัพอากาศ
Holloman , New Mexico ข้อมูลหนังสือพิมพ์ รายงานว่า Yorick ไม่ได้เสียชีวิต
22 พฤษาคม ค.ศ. 1952 ลิงจากประเทศ Philippine จำนวน 2 ตัว ชื่อ Patricia
และ Mike ถูกยิงขึ้นไปพร้อมจรวดขนาดเล็ก (Aerobee missile) จากฐานกองทัพ
อากาศ Holloman , New Mexico
โดยให้นั่งเหยียดตัวในตำแหน่งหัวจรวด พุ่งขึ้นด้วยความเร็ว 2,000 mph จึงทำให้
เกิดความร้อน ขณะจรวดแวกอากาศนับเป็นครั้งแรก ในปฎิบัติการเช่นกับสัตว์เลี้ยง
ลูกด้วยนมและมีระดับความสูงเช่นนี้
โดยภายในห้องโดยสารทำให้หมุนได้ช้าๆ เหมือนลูกลอย เพื่อศึกษาสภาพไร้น้ำ
หนักในบรรยายชั้นสูง (Upper atmosphere) และ มีร่มชูชีพพยุงการลอยตัวไว้
ต่อมา Patricia เสียชีวิตโดยธรรมชาติหลังจากการทดลองใน 2 ปีต่อมา
ส่วน Mike สิ้นชีพ ปี ค.ศ.1967 โดยทั้งคู่อาศัยในสวนสัตว์ ที่ National Zoological
กรุงวอชิงตัน หลังจากหมดภาระกิจทดลองจากอวกาศ
V-2 Blossom และ Albert ?
จรวดขนาดเล็ก (Aerobee missile)
ทดลองแบบตีัตั๋วเที่ยว ไปไม่กลับหลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี
นักวิทยาศาสตร์โซเวียต มีการปกปิดการทดลอง แต่ก็เฝ้าติดตามปฎิบัติการของ
อเมริกา ก่อนปี ค.ศ. 1950 หลักฐานพบการทดลองในหน่วยงานเล็กๆ ของโซเวียต
ได้ใช้ หนูกระต่าย ทดลองด้วยจรวดสู่อวกาศ แบบตีตั๋วเที่ยวเดียว (ไปไม่มีขากลับ)
ตั้งแต่เริ่มต้น
ทั้งนี้เป็นเพื่อรวมรวบข้อมูล ต่อการออกแบบห้องโดยสาร สำหรับมนุษย์สู่อวกาศ
บางปฎิบัติการที่ผ่านมา คัดเลือกสุนัขขนาดเล็กในการทดลองมากกว่าลิง เหตุผล
เพราะลิงมีธรรมชาติี่งุ่นง่านอยู่ไม่สุขมากกว่าสุนัข และมักเลือกสุนัขตัวเมียเพราะ
ควบคุมง่ายกว่าสุนัขตัวผู้
ระหว่าง ค.ศ. 1951-1952 โครงการ Soviet R-1 ได้ส่งสุนัข 9 ตัวไปพร้อมๆกัน
โดยใน 3 ตัวนั้นเป็นการเดินทางครั้งที่ 2 การเดินทางของสุนัขแต่ละเที่ยว จะถูก
บรรจุไว้ในห้อง หรือตู้ปิดผนึกไม่ให้อากาศเข้าจะถูกกู้ภายหลังเมื่อตกสู่พื้นดิน
ด้วยร่มชูชีพ ที่ผูกไว้สำหรับการติดตาม
15 สิงหาคม ค.ศ. 1951 Dezik and Tsygan (เจ้าพเนจร) สุนัขคู่แรกของโซเวียต
ส่งขึ้นและนำกลับมาได้ อย่างสวัสดิภาพ ในเดือนกันยายน ค.ศ.1951 สุนัข 2 ตัว
Dezik และ Lisa เป็นเที่ยวที่ 2 กลับไม่ประสบความสำเร็จ และสูญเสียสุนัขจาก
ความเสียหายของจรวด Korolev
อย่างไรก็ตามการทดลองที่ผ่านมา ผลสรุปยังไม่เพียงพอจึงได้ทำการทดลอง
นักวิทยาศาสตร์โซเวียต เพิ่มการทดลองอีกหลายครั้ง โดยใช้สุนัขอีกหลายตัว
การทดลองครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ของโซเวียต ที่รู้จักดี เมื่อ 3 พฤศจิกายน
ค.ศ. 1957 โดยส่ง Sputnik 2 โคจรรอบโลกพร้อมกับ สุนัขชื่อ Laika (รัสเซีย
เรียก Husky หรือ Barker) ชื่อจริงๆของสุนัขตัวนี้คือ Kudryavka (ไอ้หยิก) แต่
อเมริกาตั้งฉายาให้ Laika เป็น Muttnik (สุนัขอัศวินข้างถนน) เพราะเป็นสุนัขตัว
เล็กคล้ายเก็บมาจากข้างถนน
และไม่ได้ฝึกหัดให้มีความพร้อมที่จะสู่วงโคจรโลก สภาวะอาศัยอยู่ในกล่องโลหะ ด้วยไม่มีเวลาเพียงพอต่อการทดลองที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว เจตนาของโซเวียต
ต้องการจะตัดหน้าอเมริกา
ในความเป็นจริง Laika ได้สิ้นชีวิตไม่นานหลังจากขึ้นสู่อวกาศ และ Sputnik 2 ได้
ถูกเผาไหม้ในชั้นนอกบรรยายกาศไปสิ้นในเดือน เมษายน ค.ศ. 1958 ปีถัดมา
ซึ่งข้อมูลนี้ถูกเปิดเผยขึ้นจากโซเวียตเอง ในปี ค.ศ. 2002
ห้องโดยสารของ Laika
Laika หรือ Muttnik (สุนัขอัศวินข้างถนน)
แบบจำลอง Sputnik 2 ของ Energia Museum ในญี่ปุ่น
การทดลองที่เข้มข้นหรือโหดร้าย
กลับมาสู่อเมริกา ในปี ค.ศ.1958 เกิดโครงการ Able (MIA) project ทดลองส่งหนู
ครั้งแรกวันที่ 23 เมษายน ค.ศ.1958 โดยจรวด Thor-Able (Reentry 1) จาก
แหลม Canavera แต่จรวดระเบิดอัปปางลง หลังจากขึ้นไปเพียงชั่วครู่
จึงจัดส่งหนูชื่อ Laska ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ในวันที่ 9 กรกฎาคม ปีเดียวกัน โดยจรวด Thor-Able (Reentry 2) หนูสามารถอดทนอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนักได้ 45 นาที
สำหรับการส่งขึ้นไปครั้งที่ 3 ของโครงการ วันที่ 23 กรกฎาคม ในปีนั้น ปรากฎว่า
จรวดดิ่งลงทะเลหลังจากยิงขึ้นไป และต่อมายังได้สูญเสียหนู 40 ตัวเมื่อส่งจรวด
Jupiter ขึ้นสู่ท้องฟ้าเกิดระเบิด ในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1959
จรวด Jupiter ถูกส่งไปอีกในวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ.1959 ผู้โดยสารคือ ลิงกระรอก
ชื่อ Gordo ยิงจรวดสู่ชั้น บรรยากาศสูงได้ 600 ไมล์ จรวดตกใน Atlantic Ocean
และไม่เคยพบ Gordo อีกเลยเพราะ ห้องโดยสารที่กำบังลิงถูกชีกออกเป็นชิ้นๆ
จากกลไกที่บกพร่อง
ต่อมา Able ลิงวอกสายพันธ์อเมริกัน และ Baker ลิงกระรอกสายพันธ์อเมริกาใต้
ทั้งคู่ถูกจับให้นั่งบริเวณส่วน หัวจรวด Jupiter ยิงขึ้นไปวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ.
1959 ถึงระดับความสูง 300 ไมล์โดยไม่เป็นอันตราย แต่Able ตายภายหลังสาเหตุ
จากการทดลองด้วยไฟฟ้าช็อต ส่วน Baker สิ้นชีพจากโลกด้วยระบบไตล้มเหลว
อายุได้ 27 ปี ในปี ค.ศ. 1984
มีการทดลองกับโครงการดาวเทียมจารกรรม (U.S. spy satellites) ด้วยหนูดำ
จำนวน 4 ตัว เมื่อ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1959 ไปกับดาวเทียม Discoverer 3 เมื่อสู่ชั้น
บรรยากาศเกิดไฟไหม้ จึงบังคับให้ตกลง Pacific Ocean
Sam เป็นลิงวอกอีกตัวหนึ่ง เข้ามาอยู่ในโครงการทดลอง ของ U.S. Air Force
School of Aviation Medicine at Brooks Air Force Base, Texas ถูกจับใส่กรง
ทรงกระบอก ไปพร้อมกับ Mercury spacecraft ติดตั้งกับจรวด Little Joe ทะยาน
สู่อากาศ ด้วยความเร็ว 3,685 mph หลังจากถึงระดับ 51 ไมล์ Mercury มีอุปสรรค
แต่ตกลงใน Atlantic Ocean ด้วยความปลอดภัย
ทั้งหมดใช้เวลาอยู่บนอากาศ เพียง 1 นาที ได้ติดตาม Sam และ Mercury ได้ใน
อีกชั่วโมงต่อมา สภาพร่างกายปกติหลังจากการเดินทาง ถูกส่งกลับไปรวมกลุ่มใน
โรงเรียนฝึกสัตว์ เสียชีวิตลง ในปี ค.ศ. 1982
หนึ่งในเหตุผลใช้หนูทดลองเพื่อต้องการทราบถึง สิ่งกระตุ้นความชื้นของสภาพ
อากาศ (Humidity sensor) ในห้องโดยสารแคบๆแต่ละส่วนของดาวเทียม ต่อการ
ตอบสนองความแห้งบรรยากาศด้านนอก ของดาวเทียม โดยเปรียบเทียบระหว่าง
น้ำและปัสสาวะของหนู
Able ลิงวอกสายพันธ์อเมริกัน ถูกล็อคติดกับเก้าอี้อย่างทรมาณ
Sam ลิงวอกในโครงการทดลอง ของ U.S. Air Force School
ปลาตัวนี้ เป็นหนึ่งในการทดลองสู่อวกาศ ของค่ายอเมริกา
เรื่องจริงที่คนส่วนใหญ่จดจำได้แต่ชื่อ นีล อาร์มสตรอง ...
ขอบคุณที่รับชมค่ะ^^~
Credit:
sunflowercosmos