สวัสดีครับ เพื่อน ๆ หลายคนคงเคยอาจศึกษาเกี่ยวกับดาราศาสตร์มากแล้วพอสมควร ฉะนั้นคงเป้นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าในห้วงอวกาศนั้นมีดวงดาวต่าง ๆ มากมายที่โครจรอยู่ ในอดีตจนถึงปัจจุบันก็อาจจะยังมีอุกาบาตพุ่งชนกันเองบาง พุ่งเข้าชนดาวอื่น ๆบ้าง หรือเฉียดดวงดาว ๆ เช่นดาวโลกก็จะเห็นกลายเป็นดาวหาง แล้วถ้าวันหนึ่งมีดวงดาวขนาดใหญ่ หรืออุกาบาตขนาดใหญ่พุ่งเข้าชนเต็ม ๆ จะเป็นยังไง เราก็ไม่อาจทราบได้ว่ามันจะเกิดขึ้นกับโลกเราหรือป่าว และสิ่งที่ผมเสนอเป็นเพียงการวิเคราะห์กันมาบ้างแล้ว ถึงแม้อาจจะไม่ใช้ในอนาคตอันใกล้แต่สักวันนึงถ้าถึงวันนั้นจะเป้นยังไงก็ไม่อาจทราบได้ ดังนั้นจึงมีผู้วิเคราะห์ออกมาแล้วว่าอุกาบาตจะชนโลกไหม ผมคิดว่าเรื่องนี้อาจจะเป็นความรู้กับเพื่อน ๆ ทุกท่านไม่มากก็น้อย (ศึกษาสักนิดก็ไม่เสียหาย แถมมีประโยชน์ต่อสมองเราอีกน๊าเพื่อน ๆ )
บทนี้เรื่อง อุกกาบาต
เหตุผลหนึ่งที่มนุษย์มักสร้างคำทำนายเกี่ยวกับวันสิ้นโลก และสร้างภาพยนต์เกี่ยวกับภัยพิบัติต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นเมื่อวันนั้นมาถึง และมักจบแบบรอดตายอย่างหวุดหวิด สะท้อนให้เห็นว่าอันที่จริงแล้วเราหวาดกลัว “วันสิ้นโลก” มากแค่ไหน พร้อมกันนั้นก็หวังลึก ๆ ว่าด้วยวิทยาการทั้งหมดที่เราคิดค้นขึ้นมาจนถึงปัจจุบันจะสามารถหยุดยั้งมันได้ แค่เพียงเรา “รู้ล่วงหน้า” เท่านั้น เราจึงปรารถนาที่จะรู้ว่าโลกจะแตกอย่างไรและเมื่อไหร่ เปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์และนักโหราศาสตร์ รวมทั้งนักอะไรต่าง ๆ มากมายสร้างเรื่องคำพยากรณ์โลกแตกมาให้ตื่นเต้นกันอยู่เรื่อย ๆ และหนึ่งในสาเหตุสุดฮิตที่อาจทะให้โลกแตกได้ก็คือ “อุกกาบาต” มาดูกันว่าอุกกาบาตมีโอกาสทำให้โลกแตกจริง ๆ ได้มากแค่ไหน…
1. อุกกาบาตยักษ์จะพุ่งชนโลกจริง ๆ หรือไม่?
- จริง แต่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ เท่าที่ตรวจพบขณะนี้มีอุกกาบาตลูกหนึ่งที่มีโอกาสชนโลกในอีก 869 ปี ข้างหน้า
2. อุกกาบาตที่จะพุ่งชนโลกนี้มีลักษณะเป็นอย่างไร?
- ที่จริงมันเป็นดาวเคราะห์น้อยชื่อ (29075)1950DA เป็นหนึ่งในวัตถุอวกาศใกล้โลก(Near Earth Objects : NEOs) ชื่อของมันแสดงให้เห็นว่ามันถูกค้นพบในปี ค.ศ.1950 ส่วน 29075 คือลำดับรายชื่อของมัน ที่เรียกว่าดาวเคราะห์น้อยเพราะมันมีรูปทรงบุบเบี้ยว ถ้าเป็นทรงกลมเราจะเรียกว่าดาวเคราะห์แคระ
3. (29075)1950DA จะพุ่งชนที่ไหน เมื่อไหร่?
- นักวิชาการคำนวณไว้ว่ามันจะพุ่งชนโลกในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.3423 โดยตกที่มหาสมุทรแอตแลนติก แต่อันที่จริงมันมีโอกาสที่จะพุ่งชนโลกเพียง 0.33% เท่านั้น
4. อุกกาบาตที่พุ่งชนโลกนี้ต้องมีขนาดใหญ่แค่ไหนถึงจะล้างโลกได้
- ขนาดที่เป็นอันตรายถึงขนาดล้างโลกได้ต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 1 กิโลเมตรขึ้นไป ซึ่งดาวเคราะห์น้อย (29075)1950DA ก็มีขนาด 1 กิโลเมตรเศษ
5. มีองค์กรใดรับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบและป้องกันอุกกาบาตชนโลกหรือไม่?
- มี องค์การนาซ่า แผนก NASA Spaceguard Survey จัดตั้งขึ้นเมื่อ 19 ปีที่แล้ว แม้แผนกนี้จะมีพนักงานจำนวนไม่มาก และยังมีอุปกรณ์อันจำกัด แต่ก็ทำให้วัตถุใกล้โลกที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 1 กิโลเมตรถูกค้นพบถึง 90% ทั้งยังรู้ตำแหน่งและวิถีโคจรของพวกมันอีกด้วย
6. วัตถุใกล้โลกหรือ NEOs ที่ค้นพบแล้วมีกี่ชิ้น?
- ประมาณแปดพันชิ้น(ข้อมูล เดือนเมษายน พ.ศ.2554) เป็นดาวหาง 87 ชิ้น นอกจากนั้นเป็นดาวเคราะห์น้อยทั้งหมด และในจำนวนนี้มีชิ้นที่ใหญ่มากอยู่ 3 ชิ้น ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 15 กิโลเมตร (ขนาดใกล้เคียงกับอุกกาบาตที่พุ่งชนโลกเมื่อ 65 ล้านปีก่อน) แต่จากวิถีโคจรแสดงให้เห็นว่า NEOs ทั้งสามชิ้นนี้จะไม่เข้าชนโลก
7. NEOs ใกล้โลกแค่ไหนถึงจะเรียกว่าอันตราย?
- ยิ่งใกล้โลกมากก็ยิ่งอันตราย ดาวเคราะห์น้อยที่ใกล้โลกไม่เกิน 7 ล้านกิโลเมตร เรียกว่า ดาวเคราะห์น้อยอันตรายยิ่งยวด(Potentially Hazardous Asteroids : PHAs) ถ้าเป็นดาวหางที่ใกล้โลกไม่เกิน 7 ล้านกิโลเมตร เรียกว่า ดาวหางอันตรายยิ่งยวด(Potentially Hazardous Comets : PHCs) ซึ่ง NEOs ทั้งสองกลุ่มนี้ (ซึ่งมี 1,215 ชิ้น จากประมาณ 8,000 ชิ้น) เป็นที่จับตามองมากเพราะมันน่าจะเป็นอันตราย แต่จากการคำนวณอย่างละเอียดแล้ว ทั้งหมดจะไม่ชนโลกอย่างน้อยก็ภายใน 50 ปีนี้
8. NEOs ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 1 กิโลเมตรไม่เป็นอันตรายต่อโลกใช่หรือไม่?
- ไม่ใช่ เพียงแต่อันตรายไม่ถึงขั้นล้างโลก ที่จริงพวกมันก็อันตรายมากทีเดียว ตัวอย่างเช่น เมื่อ 100 ปีก่อน มีอุกกาบาตตกแถวทุ่งหญ้าหนาวเหน็บไร้คนอาศัยในทังกัสกา ไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย อุกกาบาตนั้นมีขนาดไม่ถึง 100 เมตร (แค่ประมาณ 60 เมตร) แต่เกิดแรงระเบิดเท่ากับดินระเบิด TNT 3-20 เมกะตัน นั่นคือ รุนแรงกว่าระเบิดปรมาณูที่ถล่มฮิโรชิมาถึง 200-1,500 เท่า ดังนั้นนาซ่าจึงเริ่มมีโครงการสำรวจ NEOs ที่เล็กกว่า 1 กิโลเมตร แต่ใหญ่กว่า 100 เมตรด้วย เพราะมันก็อันตรายมากเหมือนกัน
9. โอกาสที่อุกกาบาตจะตกใส่โลกมีมากแค่ไหน?
- ไม่มากเท่าไหร่ โดยเฉลี่ยจากสถิติแล้ว อุกกาบาตขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 เมตร ถึง 1 กิโลเมตร จะตกใส่โลกหนึ่งครั้งต่อหนึ่งพันปี แต่นี่เป็นข้อมูลทางสถิติ ค่าเฉลี่ยไม่สามารถเอามาคาดเดาอนาคตได้ หมายถึง มันมีสิทธิ์ตกลงมาใส่โลกเมื่อไหร่ก็ได้ อาจจะวันนี้ พรุ่งนี้ หรือตอนนี้เลยก็เป็นไปได้
10. มีโอกาสที่อุกกาบาตจะพุ่งชนโลกโดยที่เราไม่ทันได้รู้ตัวหรือไม่?
- มีมาก เพราะถึงแม้จะมีการสำรวจ NEOs อยู่ตลอดเวลา แต่ใช่ว่าเราจะค้นพบทั้ง 100% เพราะ NEOs เป็นวัตถุไร้แสงสว่างในตัวเอง ต้องอาศัยแสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์ หลายชิ้นก็ตกสำรวจไปอย่างง่ายดาย และแน่นอนว่าเราไม่สามารถป้องกันวัตถุที่ตกสำรวจได้
11. หากมี NEOs ขนาดใหญ่ที่ตกสำรวจพุ่งชนโลก เราจะทำอย่างไร?
- ทำอะไรไม่ได้ เตรียมตัวตายได้อย่างเดียว เพราะถ้าหากมีอุกกาบาตลี้ลับโผล่ขึ้นมา กว่าเราจะมองเห็นได้มันก็ต้องอยู่ใกล้โลกมากแล้ว เราอาจมีเวลาล่ำลากันสักประมาณครึ่งชั่วโมง
12. แล้วถ้า NEOs ขนาดยักษ์ที่ถูกค้นพบแล้วกำลังจะพุ่งชนโลกล่ะ เราจะป้องกันอย่างไร?
- ถึงแม้จะรู้ล่วงหน้าก็ใช่ว่าจะรอด เพราะจริง ๆ แล้วเทคโนโลยีในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถกำจัดอุกกาบาตยักษ์ที่กำลังจะพุ่งมายังโลกได้ ทั้งหมดที่เรามีอยู่เป็นเพียงทฤษฎีที่ไม่มีโครงการทดลองจริงจังอะไร เช่น ยิงจรวดปรมาณูใส่ หรือนำกระสวยอวกาศที่มีตาข่ายยักษ์ขึ้นไปครอบแล้วลากไปทิ้งไกล ๆ หรือนำยานลงจอดบนอุกกาบาตแล้ววางระเบิด ไม่ก็ยิงเลเซอร์ผ่ามันออกเป็นชิ้น ๆ ฯลฯ ซึ่งก็ล้วนแต่เป็นวิธีหลุดโลกที่ยากจะคาดเดาผลลัพธ์ทั้งนั้น