มะเขือยักษ์ (Giant Eggplant)
พันธุ์หยกภูพาน มะเขือผลใหญ๋พิเศษขนาดผลโดยเฉลี่ย 0.5-2.5 กิโลกรัม สามารถนำมา
ปรุงอาหารรับประทานได้เช่นเดียวกันกับมะเขือปกติ ปลูกเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตรวดเร็ว 1
เดือนเริ่มติดผล
มะเขือยักษ์พันธุ์หยกภูพาน ซึ่งตอนหลังได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่ใช้พืช GMOs โดยเฉลี่ย
จะมีน้ำหนักประมาณลูกละ 1 กิโลกรัมครึ่ง และเมื่อเปรียบเทียบกับมะเขือทั่วไปแล้วจะมีขนาด
ใหญ่กว่า 30 เท่า ระหว่างที่ออกผลผลิตก็จะดูแลเป็นอย่างดี โดยการใส่ปุ๋ยคอกต้นละ 1 กิโลกรัม
ควบคู่กับการใช้น้ำหมักชีวภาพสลับกันไป" ซึ่งแต่ละต้นติดผลต้นละ 6-7 ลูก ลูกหนึ่งกินกันได้
ถึง 7-8 ครัวเรือน
ผลการทดลอง จึงสรุปได้ว่าปลูกมะเขือหยกภูพานเพื่อกินเพื่อใช้ประโยชน์ในการบริโภค
แบบชาวบ้าน เขาก็เก็บลูกมะเขือที่มีอายุประมาณ 10 วัน หลังออก*กจะได้ลูกมะเขือยักษ์
อนุบาล มีเนื้อขาวล้วน ๆ ไม่มีเมล็ด ขนาดของมันก็ประมาณ ลูกเทนนิส
และสามารถปล่อยให้มีจำนวนลูกมะเขือห้อยแขวนอยู่บนต้นไม้เต็มที่ แต่ถ้าอยาก ปลูกให้เป็น
พืชแปลก เป็นมะเขือแฟนซีก็ต้องปล่อยให้มันแขวนโตงเตงอยู่บนกิ่งได้ 3-4 ลูก จะได้ยักษ์
เขียวขนาดใหญ่ แต่เป็นของใหญ่ที่กินได้ ไม่ว่าจะเอาไปต้ม ผัด แกง ทอด ชุบแป้ง ชุบไช่ทอด
ทำแกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย ยกเว้นการเผา เพราะการเผามะเขือที่ใหญ่ ขนาดลูกมะพร้าว
อ่อนมันจะสุกเฉพาะข้างนอก ข้างในยังคงความดิบอยู่ เรียกว่า กว่าในจะสุกนอกก็ไหม้เสียแล้ว
มะเขือยักษ์ -สีม่วงพันธุ์อิสราเอล
แบบอิสราเอล คือแบบผลกลมอ้วนเหมือนหยดน้ำ หรือทรงลูกแพร์ ก้านตรงขั้วผลเป็น
สีเขียว(หนัก 0.5-1 กิโลกรัม) ก็เลยเรียก “มะเขือม่วงก้านเขียว” มักเห็นในอาหารฝรั่ง
ง่ายสุดก็ย่างรวมกับผักอื่น ๆ เช่น พริกหวาน มะเขือเทศ ราดน้ำมันมะกอก
เกลือ พริกไทย
ประโยชน์ ทางอาหาร นิยมนำไปเผาไฟ หรือลวกน้ำร้อนพอสลบ รับประทานกับ
น้ำพริกชนิดต่างๆ มีรสชาติหวานหอมอร่อยมาก ทางภาคเหนือยังใช้ต้มหรือเผา
ตำเป็นน้ำพริกมะเขือรับประทานกับผักสดผักเคียงชนิดต่างๆด้วย
สำหรับกลุ่มที่ปลูกมะเขือยักษ์นี้ได้วิเคราะห์ว่าควรจะปลูก เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกง่าย โตไว ให้ผลตอบแทนเร็ว และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นาน มีคุณค่าทางอาหารสูง อุดมด้วยวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี ธาตุเหล็กและแคลเซียม อีกทั้งเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคสูงสุด เพราะสามารถบริโภคได้ทั้งเป็นผักสด นอกเหนือจากกินมะเขือสดกันมากแล้ว คนไทยยังใช้มะเขือมาทำอาหารมากมายเป็นพิเศษ ทั้งปิ้ง เผา ผัด และเอามาแกง ที่ขึ้นหน้าขึ้นตาที่สุด คือเอามะเขือมาปรุงรสน้ำพริกกะปิ น้ำพริกอื่นๆ เครื่องจิ้มต่างๆ คนไทยเองก็กินและปลูกมะเขือมาเนิ่นนานแล้ว ผัดเผ็ดต่างๆ มักใส่มะเขือเปราะที่หั่นเป็นซีกๆ ยำเนื้อย่างมะเขือเปราะใช้มะเขือฝานเป็นแว่นบางๆ มะเขือเปราะใส่ในหลนปลาร้าหรือปลาร้าสำเร็จ ช่วยทำให้หลนมีรสชาติกลมกล่อมขึ้น นอกจากนั้น ยังนิยมใส่ในแกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงป่า มะเขือเปราะในแกงต่างๆ จะอ่อนนุ่มและดูดเอาน้ำและรสชาติของแกงไว้มาก อีกทั้งทำให้แกงข้นมากขึ้น มะเขือเปราะเวลาสุกจะมีรสหวานอ่อนๆ ซึ่งช่วยปรุงรสแกงให้กลมกล่อมขึ้น แกงแบบพื้นบ้านประจำภาค เช่น แกงแค แกงโฮะ ในภาคเหนือ และแกงเผ็ดแบบปักษ์ใต้ก็ขาดมะเขือเปราะไม่ได้ มะเขือเปราะยังเป็นที่รู้จักและแพร่หลายในต่างประเทศมากเป็นพิเศษ ถึงกับเรียกกันว่า มะเขือไทย (Thai eggplant) มีวางจำหน่ายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ๆ ส่วนใหญ่มักนิยมใส่แกงเผ็ดเหมือนกัน