คลอเดีย มิตเชลล์ สาว"แขนกลชีวะ"คนแรกของโลก

จินตนาการ ในภาพยนตร์ไซ-ไฟ ประเภทฉายภาพมนุษย์ในอนาคตที่มี อวัยวะจักรกล

ต่อระโยงระยางเข้ากับร่างกาย เขยิบเข้าใกล้โลกแห่งความเป็นจริงอีกขั้น

หลังจากเสียแขนซ้ายไปจาก อุบัติเหตุได้ ๒ ปี คลอเดีย มิตเชลล์ ก็ ได้แขนใหม่ เป็นแขน

ที่เมื่อผ่าตัด "เชื่อมต่อ" เข้าไปกับร่างกายแล้ว สาวน้อย ที่เคยนั่งจมทุกข์กับน้ำตาก็บอกว่า

ทำให้เธอนึกถึงตัวละครจากภาพยนตร์เรื่องคนเหล็ก ที่อาร์โนลด์ ชวาร์ชเนเกอร์ รับบท

เป็นหุ่นมนุษย์จากอนาคต เหตุผลที่คิดอย่างนั้น เพราะแขน ใหม่ของมิตเชลล์ไม่ใช่แค่

แขนเทียมที่ใส่เพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่เป็นแขนที่เชื่อมต่อเข้ากับเส้นประสาท

เมื่อประกอบกับชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าและมอเตอร์ที่ฝังเข้าไปในกล้ามเนื้อ ก็ทำให้แขน

ใหม่ของเธอเป็นแขนที่สามารถใช้งานได้จริงเหมือนแขนของคนปกติ ธรรมดา

โดยอาศัยคำสั่งให้เคลื่อนไหวได้จาก "สมอง" ของเจ้าตัว

สิ่งนี้คืออุปกรณ์ที่เรียกว่า "แขนกลชีวะ" หรือไบโอนิค "อาร์ม" ซึ่ง สถาบันฟื้นฟู

สมรรถภาพร่างกายแห่งชิคาโกได้พัฒนาขึ้นช่วยให้ผู้พิการสามารถ รับอวัยวะ

ใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการใช้ในชีวิตประจำวัน

ก่อนหน้ามิตเชลล์ ได้เคยมีผู้ผ่าตัดเชื่อมต่อแขนกลชีวะมาก่อนแล้ว คือ เจสซี ซุลลิ

แวน ซึ่งเสียแขนไปทั้งสองข้าง และได้รับเลือกให้เป็นอาสาสมัครคนแรกของ

โครงการแขนกลชีวะ โดยซุล ลิแวนได้แขนใหม่ทั้งสองข้างไปตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๔ ได้

เป็นคน (แขน) เหล็กคนแรกของโลก และ จากภาพที่ไทยรัฐ ซันเดย์ สเปเชียล โดย

ทีมงานต่วย'ตูนนำมาให้ชมกันในวันนี้ก็จะเห็นได้ว่า ซุลลิแวนสามารถ ใช้แขนกล

ชีวะกำ หรือจับสิ่งของได้อย่างสะดวกสบาย โดยทีมงานที่สร้างสรรค์ แขน

มหัศจรรย์นี้ขึ้นบอกว่า สมองที่เป็นศูนย์กลางในการสั่งงานมายังแขนกลชีวะนี้

แทบจะไม่รู้ตัวเองเลยว่ากำลังสื่อสารคำสั่งไปกับอวัยวะอิเล็กทรอนิกส์!


 ซุล ลิแวนบอกว่า แขนที่ได้มาใหม่นี้นำมาซึ่งความหวัง และทำให้เขาสามารถ ทำ

อะไรต่อมิอะไรได้เอง โดยไม่ต้องร้องขอให้ใครช่วย แม้จะเสียแขนไปแล้วทั้ง สอง

ข้าง แต่มนุษย์เหล็กคนแรกของโลกก็บอกว่า สิ่งที่ได้มาใหม่นี้วิเศษมาก

เทคโนโล ยี "ไบโอนิค" หรือกลชีวะนี้เป็นเทคโนโลยีใหม่ ภายใต้

แนวคิด ที่อยากให้ผู้พิการได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ใช้ งานง่าย

และมีประสิทธิภาพ โดย นอกจากแขนพร้อมมือ ซึ่งเป็นเรื่อง

ที่สุดละเอียดอ่อนแล้วยังมีอวัยวะอื่นๆอีกหลาย ชิ้นที่ถูกพัฒนา

ขึ้นในรูปแบบของไบโอนิค ที่ไม่ใช่เพียงแค่อวัยวะเทียมธรรมดาๆ





ที่เห็นได้ชัดอีก อย่างคือ ขากลชีวะ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อ ให้ผู้ใช้

สามารถเดินได้คล้ายคนปกติมากที่สุด โดยใช้แบตเตอรี่และเซ็นเซอร์ที่จะช่วย

แปรสัญญาณที่ได้รับ นำไปสู่การเคลื่อนไหว ซึ่งในส่วน ของขากลชีวะนี้ นอกจาก

ศูนย์การแพทย์ต่างๆ จะเร่งศึกษาวิจัยแล้ว กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯก็เป็นอีกหน่วย

งานหนึ่งที่ได้พัฒนาเรื่องนี้ไปมาก เพื่อช่วยเหลือ ทหารผ่านศึกที่ต้องสูญเสียขาไป

อีกอวัยวะหนึ่งที่มีผู้สูญเสีย ไปมาก และเป็นเรื่องละเอียดอ่อนอีกเหมือนกัน นั่นคือ

ตา ซึ่งใน ขณะที่ได้มีการพัฒนาตากลชีวะ ชื่ออาร์กัส ทู (Argus ll) ที่ ได้ผ่าตัดใส่ให้กับ

คนไข้ในสหรัฐฯแล้วประมาณ ๕๐-๗๕ ราย โดยเป็นการ ฝังกล้องที่จะส่งข้อมูล

การมองผ่านไปยังอีเล็คโทรด ๖๐ ตัวที่ผ่าตัดฝังไว้ใน จอตา เพื่อทำให้การเห็นเป็น

ไปได้อย่างปกติ

หันไปมองด้าน อวัยวะกลที่เก่าแก่ที่สุด เห็นจะเป็นหูกลชีวะ ซึ่ง วิลเลียม เฮาส์ และแจ็ค

เออร์บัน ได้ร่วมกันพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๓ โดยผ่าตัดฝังหูกลชีวะเข้าไปใน

ส่วนของหูชั้นใน เพื่อเชื่อมกับระบบประสาท ทำให้สามารถช่วยผู้ที่มีปัญหาในการ

ฟังให้สามารถได้ยินได้เป็นอย่างดี

ส่วนอวัยวะที่ อยู่ภายในร่างกาย ก็ได้มีการผลิตหัวใจกลชีวะออกมาแล้ว โดย โรเบิร์ต

ทูลส์ เป็นคนไข้คนแรกของโลกที่ได้รับการทดลองผ่าตัดใส่หัวใจที่สามารถ "เต้น"

อยู่ได้ด้วยตัวเอง โดยได้มีการผ่าตัดปลูกถ่ายไปเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๔

ด้วยฝีมือของ ทีมแพทย์จากโรงพยาบาลยิวและมหาวิทยาลัยหลุยส์วิลล์ หัวใจชนิด

แบบเอไบโอคอร์ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับคนไข้โรคหัวใจขั้นสุดท้าย ที่หมดวิธี

รักษาทางอื่นแล้ว และเมื่อได้ผ่าตัด แพทย์ก็คาดว่าสามารถจะช่วยยืดชีวิตผู้ป่วยได้

อีกราว ๑ เดือน แต่เอาเข้าจริงๆ ทูลส์ก็มีชีวิตต่อมาได้อีกตั้ง ๑๕๑ วัน ก่อนเสียชีวิต

ด้วยอาการเลือดออกในช่องท้อง เนื่องจากเขามีโรคอย่างอื่นอยู่ด้วย ดังนั้น หัวใจ

กลชีวะเอไบโอคอร์ จึงถือว่าเป็นหัวใจที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก และต่อมา

หลังจากได้ปรับปรุงมาเรื่อยๆ บริษัท เอบิโอเมด อินค์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตหัวใจกลชีวะนี้

ก็ได้รับการอนุมัติจากกองการอาหารและยาสหรัฐฯให้ใช้หัวใจแบบนี้ในการช่วย

เหลือผู้ป่วยได้อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๔๙

ส่วนผู้ป่วย เกี่ยวกับปอดก็อย่า เพิ่งหมดหวัง เพราะ นพ.โรเบิร์ด บาร์ทเลทท์ แห่งศูนย์การ

แพทย์ มหาวิทยาลัยมิชิแกน ได้ทำการทดลองผ่าตัดใส่ปอดเทียมให้กับแกะ โดยออก

แบบให้หัวใจเป็นตัวปั๊มเลือดเข้าไปปอดเทียมนี้ได้เอง โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์

ภายนอกเป็นตัวปั๊มให้เลือดเข้าไปฟอกเหมือนเมื่อก่อน ปัจจุบันนี้กำลังมีการ

ทดลองปอดชีวะในสัตว์เป็นขั้นสุดท้าย หากประสบความสำเร็จก็จะมีการทดลอง

กับคนต่อไปในอนาคตอันใกล้

นอกจากนั้น ยังมีการเร่งพัฒนาอวัยวะกลชีวะอื่นๆ เช่น ตับ ไต กระเพาะที่ช่วยย่อยอาหาร

ได้จริง ลิ้นที่สามารถรับรส จมูกที่สามารถดมกลิ่น ฯลฯ ที่ อีกไม่ช้าคงจะได้ผลที่ชัดเจน

ของการศึกษาออกมา รวมไปถึงทวารกลชีวะ ที่จะเข้ามาช่วยผู้ป่วยที่ขาด

สมรรถภาพในการควบคุมการขับถ่าย เพื่อให้ สามารถกลับมาเป็นปกติได้อีกครั้ง

ด้วย แต่หาก จะมองหาอวัยวะที่ซับซ้อน และน่าตื่นเต้นที่สุด เห็นจะเป็นสมองกล

ชีวะ ตอน นี้นักวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียใต้ ในลอสแอนเจลิส

กำลังศึกษาเรื่องการสร้างสมองกลชีวะ ในสมองส่วนที่เรียกว่า ฮิปโปแคมปัส ซึ่ง

เป็นส่วนที่เก็บความจำใหม่

รวมความแล้ว การ วิจัยอวัยวะกลเหล่านี้ กำลังถูกพัฒนาไปอย่างมากในช่วงชีวิต

ของพวกเรา เพื่อที่ว่าในอนาคตไม่ว่าอวัยวะส่วนใด จะเกิดความเสียหาย ก็จะ

สามารถผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะใหม่ที่ ไม่ใช่เพียงแค่ให้มีอยู่ แต่จะต้องใช้งานได้จริง โดย

สามารถเชื่อมต่อกับระบบประสาทและสมองของคนเราให้ได้ ทั้งๆที่อวัยวะเหล่านั้นผลิต

จากโลหะ หรือ พลาสติก ฯลฯ แต่ก็จะใช้งานได้ไม่ต่างจากอวัยวะจริงๆ ของมนุษย์ ทำให้

คนเรากลายเป็นมนุษย์ยนต์ เหมือนที่เห็นกันบ่อยๆ ในภาพยนตร์ไซ-ไฟกับหุ่นที่มีรูป

ลักษณ์ เหมือนคนจริงๆไม่ผิดเพี้ยน แต่ภายใต้เนื้อหนังนั้นเป็น เครื่องยนต์กลไกที่ถูก

พัฒนาขึ้นมาอย่างสลับซับซ้อน

Credit: http://www.unigang.com/Article/2636
13 ก.ย. 54 เวลา 12:37 3,834 3 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...