ตํานานวันไหว้พระจันทร์

ตำนานวันไหว้พระจันทร์ 中秋节的来源
การศึกษาอัพเกรด (50,759 views) first post: Tue 2 October 2007 last update: Mon 12 September 2011
สำหรับคนจีนแล้ว เทศกาลไหว้พระจันทร์เป็นเทศกาลที่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากเทศกาลตรุษ จีนทีเดียว คนจีนกับพระจันทร์มีความเกี่ยวพันกันอย่างแนบแน่นดังนั้นจึงมีตำนานเรื่อง เล่าเกี่ยวกับที่มาของประเพณีไหว้พระจันทร์มีอยู่หลายเรื่องด้วยกัน เรื่อง "ฉังเอ๋อเหินสู"
สารบัญ
หน้า : 1 ฉังเอ๋อเหินสู่ดวงจันทร์
หน้า : 2 ตำนานวันไหว้พระจันทร์ (just update)

 

หน้าที่ 1 - ฉังเอ๋อเหินสู่ดวงจันทร์
 

โดย : ณัฏฐศิธกาญจน์ นิลอร่าม


ตำนาน "ฉังเอ๋อเหินสู่ดวงจันทร์" ปรากฏเป็นครั้งแรกในยุคต้นของสมัยจั้นกว๋อ (ยุคสงคราม 475 - 221 ก่อนคริสต์ศักราช) เป็นเรื่องราวของฉังเอ๋อที่กินยาอายุวัฒนะของเจ้าแม่ซีหวังหมู่ แล้วกลายเป็นเทพธิดาอมตะแห่งดวงจันทร์ ตำนานเกี่ยวกับฉังเอ๋อผู้นี้ได้ถูกแต่งเติมรายละเอียดออกไปอีกในราชวงศ์



ต่อมา ตำนานเรื่อง "เทพธิดาแห่งดวงจันทร์" มีว่า เมื่อครั้งโบราณกาล โลกเรามีดวงอาทิตย์อยู่ถึงสิบดวง นำมาซึ่งภัยพิบัติแก่โลกมนุษย์ ทุกหย่อมหญ้าร้อนระอุเป็นแผ่นดินเพลิง ส่วนที่เป็นน้ำก็เหือดแห้ง ส่วนที่เป็นภูเขาก็ถล่มแผ่นดินแยก ต้นไม้ใบหญ้าแห้งกรอบ ผู้คนไม่มีที่หลบซ่อนอาศัย ในครั้งนั้น ได้ปรากฏวีรบุรุษนามว่า "โฮ่วอี้" เป็นผู้ที่มีฝีมือในการยิงธนูได้แม่นยำอย่างอัศจรรย์ เขายิงธนูขึ้นสู่ฟ้าเพียงดอกเดียวก็ยิงถูกดวงอาทิตย์ถึงเก้าดวง ทำให้เหลืออยู่เพียงดวงเดียว ถือเป็นการขจัดทุกเข็ญให้แก่บรรดาประชาราษฎร์ ผู้คนจึงพากันยกย่องให้เขาเป็นกษัตริย์


ทว่า พอเขาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ ก็ลุ่มหลงในสุราและนารี ฆ่าฟันผู้คนตามอำเภอใจ กลายเป็นทรราช ราษฎรล้วนแต่โกรธแค้นและชิงชังเขาเป็นที่สุด โฮ่วอี้รู้ตัวว่าคงจะอยู่เป็นสุขเช่นนี้ไปได้อีกไม่นาน จึงเดินทางไปที่ภูเขาคุนหลุน (คุนลุ้น ) เพื่อขอยาอายุวัฒนะจากเจ้าแม่หวังหมู่มากิน แต่ฉังเอ๋อ ภรรยาของเขากลัวว่า ถ้าสามีของเธอมีอายุยืนนานโดยไม่มีวันตายเช่นนี้ อาจจะนำความเดือดร้อนมาสู่ราษฎรเป็นแน่ คิดดังนี้แล้วเธอจึงตัดสินใจแอบนำยาอายุวัฒนะนั้นมากินเสียเอง แต่พอกินเข้าไป ร่างของเธอก็เบาหวิว แล้วก็ลอยขึ้นไปสู่ดวงจันทร์ นับแต่นั้นมา บนดวงจันทร์ก็ปรากฏภาพเทพธิดา ที่เชื่อกันว่าเป็นฉังเอ๋อนี้เอง



 




จากหนังสือบันทึกโบราณ โจวหลี่ ระบุว่า พิธีเซ่นไหว้พระจันทร์ทั่วทั้งประเทศนั้น เริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งที่มาของพิธีในเทศกาลนี้มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับตำนานความฝัน ของกษัตริย์ถังหมิงหวง เสด็จประพาสพระราชวังบนดวงจันทร์ เรื่องเล่ามีอยู่ว่า ในกลางดึกของคืนเดือนเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 กษัตริย์ถังหมิงหวงบรรทมหลับไปแล้วทรงพระสุบินว่า พระองค์ลอยขึ้นไปเที่ยวชมพระราชวังบนดวงจันทร์ และได้พบเทพธิดาบนดวงจันทร์กำลังร่ายรำอยู่อย่างงดงาม ในฝันนั้น พระองค์ทรงเพลิดเพลินและเกษมสำราญเป็นอย่างยิ่ง กระทั่งเมื่อตื่นพระบรรทมและทรงโปรดให้พระสุบินนั้นเป็นความจริ ง จึงมีรับสั่งให้นางสนมแต่งตัวและร่ายรำเลียนแบบเทพธิดาในฝัน


ตั้งแต่นั้นมาทุกวั นขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 พระองค์ก็รับสั่งให้จัดเครื่องเซ่นไหว้พระจันทร์ และทอดพระเนตรความงามของพระจันทร์ไปพร้อมกับการร่ายรำของนางสนม
ประเพณีปฏิบัติเช่น นี้ ภายหลังได้แพร่หลายไปทั่วประเทศ และเป็นเทศกาลที่มีความสำคัญเทียบเท่ากับ เทศกาลตรุษจีน และเทศกาลไหว้ขนมจ้าง ( ขนมบ๊ะจ่าง )


บอกเล่าเรื่อง"ขนมเปี๊ยะ"
เทศกาลไหว้พระจันทร์ มีเครื่องเซ่นไหว้เป็นขนมเปี๊ยะ เช่นเดียวกับเทศกาลอื่นๆที่มีสัญลักษณ์ต่างๆกันไป เช่น เทศกาลไหว้ขนมจ้าง ก็มีขนมบ๊ะจ่าง เทศกาลหยวนเซียว (เทศกาลโคมไฟ) ก็มีขนมสาคูต้ม (ทางหยวน)


ขนมไหว้พระจันทร์ เรียกในภาษาจีนว่า "เย่ว์ปิ่ง" "เย่ว์" แปลว่า พระจันทร์ "ปิ่ง" แปลว่า ขนมเปี๊ยะ เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นศิริมงคล ความปรารถนาดีต่อกัน และความสมัครสมานสามัคคี เพราะในเทศกาลนี้คนในครอบครัวจะมาอยู่พร้อมหน้ากัน กินขนมไปพลาง ชมพระจันทร์ไปพลาง เดิมทีนั้น เย่ว์ปิ่ง เรียกว่า "หูปิ่ง" ซึ่งแปลว่า ขนมเปี๊ยะวอลนัท ซึ่งเป็นขนมแป้งอบของจีนทำมาจากงาและวอลนัท ชื่อ "หูปิ่ง" ภายหลังเปลี่ยนมาเป็น"เย่ว์ปิ่ง" ก็มีเรื่องเล่าเช่นกันว่าว่า ในคืนวันไหว้พระจันทร์ปีหนึ่ง พระเจ้าถังไท่จงปรารภขึ้นว่า ชื่อ "หูปิ่ง" ไม่ไพเราะ ขณะนั้นหยางกุ้ยเฟยสนมเอกของพระองค์ซึ่งนั่งชมจันทร์อย่างเพลิด เพลินอยู่ข้างๆ ก็เปรยขึ้นมาว่า "เย่ว์ปิ่ง" ที่แปลว่า ขนมเปี๊ยะพระจันทร์ ตั้งแต่นั้นมาจึงใช้ชื่อนี้เรียกแทน"หูปิ่ง" เรื่อยมา
ตำนานของขนมไหว้พระ จันทร์ ก็มีเรื่องเล่าที่เกี่ยวโยงกับพงศาวดารจีนอยู่ด้วย



กล่าวคือ เมื่อประมาณ 600 ปีก่อน เล่ากันว่ายุคปลายราชวงศ์หยวน เจงกิสข่านแห่งมองโกล เข้ายึดครองแผ่นดินใหญ่และปกครองชาวจีนอย่างเข้มงวด ชาวจีนกลุ่มหนึ่งได้ก่อตั้งขบวนการใต้ดินเพื่อทำการก่อกบฏ พวกเขาคิดอุบาย โดยอาศัยงานวันไหว้พระจันทร์ ซึ่งจะมีการทำขนมเปี๊ยะขนาดใหญ่มีไส้หนา โดยภายในขนมได้ซ่อนจดหมายนัดแนะกันกำจัดพวกมองโกล กำหนดเวลาเที่ยงคืนของวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นคืนก่อการ แล้วแจกจ่ายไปในหมู่ผู้ก่อการกบฏ ทำทีว่าเป็นการนำขนมไปแจกในหมู่ญาติสนิทมิตรสหาย เมื่อถึงเวลาตีเกราะเคาะร้องบอกกัน ก็จะลงมือสังหารชาวมองโกลทันที


ภายหลังเมื่อชาวจีน ได้เอกราชคืน ได้ถือ วันเพ็ญเดือนแปด เป็นวันไหว้พระจันทร์เรื่อยมาและนำขนมเปี๊ยะนี้มาไหว้พระจันทร์ อีกด้วย เพราะถือเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพและความสามัคคีร่วมกัน




********************************************
ที่มา : http://www.sakulthai.com/board/forum_posts.asp?TID=267
 

หน้าที่ 2 - ตำนานวันไหว้พระจันทร์
 

  中秋节อ่านว่า จงชิวเจี๋ย แปลว่า เทศกาลไหว้พระจันทร์

วันที่ 12 ก.ย.2554 ซึ่งตรงกับวันไหว้พระจันทร์ในปีนี้
ประเพณีปฏิบัติเช่นนี้ ภายหลังได้แพร่หลายไปทั่วประเทศ และเป็นเทศกาลที่มีความสำคัญเทียบเท่ากับ เทศกาลตรุษจีน และเทศกาลไหว้ขนมจ้าง (ขนมบ๊ะจ่าง)

 


 


 

*หมายเหตุ งานเขียนชิ้นนี้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน ที่ให้เกียรตินำเผยแพร่ผ่าน วิชาการ.คอม เรามีความยินดีและอนุญาตให้ทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา เท่านั้น กรุณาให้เกียรติผู้เขียน โดยอ้างชื่อผู้เขียนและแหล่งข้อมูลทุกครั้งที่ทำการเผยแพร่ต่อ ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อในสื่อที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต ขอขอบคุณที่ร่วมกันช่วยสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา
สงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.
ท่านสามารถนำเนื้อหาในส่วนบทความไปใช้ แสดง เผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา ห้ามใช้เพื่อการค้าและห้ามดัดแปลง
Credit: วิชาการดอดคอม
#ตํานาน
THEPOco
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
13 ก.ย. 54 เวลา 06:21 3,571 1 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...