รวมภาพและคลิปน้ำท่วมกรุงเทพฯในรอบหลายปีที่ผ่านมา พร้อมรับมือน้ำท่วมรอบใหม่วันนี้
ที่ผ่านมาพระนครบางกอกหรือกรุงเทพฯ เคยประสบอุทกภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่มาแล้วหลายครั้ง ซึ่งที่เลวร้ายที่สุดน่าจะเป็นปี น้ำท่วมกรุงเทพฯ พ.ศ. 2485 โดย ครั้งนั้น น้ำได้ท่วมตามสถานที่สำคัญต่างๆฯ ในกรุงเทพฯ เช่น สถานีรถไฟหัวลำโพง ถนนเยาวราช อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ภูเขาทอง ถนนราชดำเนิน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รวมถึงพระที่นั่งอนันตสมาคม
โดย มีภาพถ่ายเก็บไว้เป็นหลักฐาน และถูกเผยแพร่ตามอินเทอร์เน็จมาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ยังมี น้ำท่วม กรุงเทพฯเกิดขึ้นอีกหลายครั้งต่อจากนั้น คือ
น้ำท่วม พ.ศ.2518 เนื่อง จากพายุดีเปรสชั่นพาดผ่านตอนบนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีปริมาณน้ำสูงทางภาคกลางตอนบน เป็นเหตุให้น้ำไหลล้นเข้าท่วมกรุงเทพมหานคร
น้ำท่วม พ.ศ. 2521 เกิด จากพายุ 2 ลูก คือ “เบส” และ “คิท” พาดผ่าน ขณะเดียวกันมีปริมาณน้ำไหลบ่าจากแม่น้ำป่าสักเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดน้ำไหลบ่าจากทุ่งด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครเข้าท่วมพื้นที่ กรุงเทพมหานคร
น้ำท่วม พ.ศ. 2523 เกิด ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับ สูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ 2.00 เมตร ประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานครในช่วง 4 วัน สูงถึง 200 มม. ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง
นํ้าท่วม พ.ศ. 2526 จากอิทธิพลของฝนและนํ้าเหนือที่ไหลลงมา ทำให้กรุงเทพฯต้องตกอยู่ในสภาพนํ้าท่วมสูงกว่า1 เมตรนานหลายเดือน
น้ำท่วม พ.ศ. 2529 ได้ เกิดฝนตกหนักมากและตกติดต่อกัน ตั้งแต่วันที่ 8 – 10 พฤษภาคม 2529 เนื่องจากได้มีพายุจรนำฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีฝนตก 254 มม. ที่กรมอุตุนิยมวิทยา(บางกะปิ) และ 273 มม. ที่เขตราษฎร์บูรณะ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ในบางพื้นที่
น้ำท่วม พ.ศ. 2533 ในเดือนตุลาคมพายุโซนร้อน “อีรา” และ “โลล่า” พัดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ฝนตกหนักที่กรุงเทพมหานครถึง 617 มม.
น้ำท่วม พ.ศ. 2537 ได้ เกิดพายุฝนฤดูร้อนถล่มกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลเมื่อวันที่ 7 และ 8 พฤษภาคม 2537 วัดปริมาณฝนได้มากที่สุด คือ เขตยานนาวาได้ 457.6 มม. โดยเฉลี่ยในทั่วเขตกรุงเทพฯ มีปริมาณน้ำฝน 200 มม. มากที่สุดในประวัติการณ์ เรียกได้ว่าเป็น “ฝนพันปี” ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่สร้างความเดือดร้อนไปทั่วกรุงเทพมหา นคร
น้ำท่วม พ.ศ. 2538 มี ฝนตกในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพายุหลายลูกพัดผ่าน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา และมีสภาพฝนตกหนักในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เนื่องจากพายุ “โอลิส” ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูง โดยวัดที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2538 มีค่าระดับสูงถึง 2.27 เมตร (รทก.) ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์(เท่าน้ำท่วมปี พ.ศ. 2485 ) ทำให้น้ำล้นคันป้องกันน้ำท่วมริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำในระดับสูงถึง 50 – 100 ซ.ม.
นํ้าท่วมปี 2549 เกิด อุทกภัยใน 47 จังหวัด ทั่วประเทศ ส่งผลให้หลายพื้นที่มีสภาพน้ำท่วมขัง ประกอบกับมีการผันน้ำเข้าเก็บกักเอาไว้ในพื้นที่ว่างเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำ ท่วมโดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรในจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ลพบุรี และปทุมธานี รวมประมาณ 1.38 ล้านไร่ ต่อมาจังหวัดดังกล่าวไม่สามารถรับนํ้าได้ไหว นํ้าจึงไหลเข้าท่วมขังที่กรุงเทพฯ เกือบ 1 เมตร นานกว่าสัปดาห์
โดย ทีมข่าว Mthai