10 กันยายน วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก

 จากสภาวะความเครียด ความวิตกกังวล และหลายปัจจัยที่เกิดขึ้นในชีวิต ส่งผลให้มีคนจำนวนไม่

น้อยที่ตัดสินใจ "หนี" และ "ทิ้ง" ปัญหาทุกอย่างด้วยการ "ฆ่าตัวตาย" ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้

เปิดเผยตัวเลขที่น่าตกใจว่า โดยเฉลี่ยแล้วมีคนทั่วโลกฆ่าตัวตายถึงวันละเกือบ 3,000 คน เท่ากับ

ว่าปี ๆ หนึ่งจะมีคนฆ่าตัวตายมากกว่า 1 ล้านคน และตัวเลขก็มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่น

เดียวกับจำนวนของผู้ที่ลงมือทำร้ายตัวเองที่มีมากกว่าผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จประมาณ 10-20 เท่า

แน่นอนว่า คนกลุ่มนี้จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายในอนาคต

           ด้วยเหตุนี้ องค์การอนามัยโลก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งลดอัตราการฆ่าตัวตายทั่ว

โลกลง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบด้านอื่น ๆ ตามมา ดังนั้นแล้ว

 จึงได้กำหนดให้ทุกวันที่ 10 กันยายนของทุกปี เป็น "วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก"

(World Suicide Prevention Day) โดยประกาศเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.2003

หรือ พ.ศ.2546 เพื่อให้คนทั่วโลกตระหนักว่า การฆ่าตัวตายนั้นสามารถป้องกัน

ได้ และให้มีการเผยแพร่ข้อมูล ปรับปรุงพัฒนาการศึกษา และการอบรมให้ความรู้อย่างมี

ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

           พร้อมกันนี้ องค์การอนามัยโลกก็ยังได้กำหนดธีม หรือหัวข้อการรณรงค์ของ

แต่ละปีไว้ด้วย ซึ่งธีมของแต่ละปี ก็ได้แก่

            พ.ศ.2546 : Suicide can be Prevented 


            พ.ศ.2547 : Saving Lives, Restoring Hope


            พ.ศ.2548 : Prevention of Suicide is Everybody's Business


            พ.ศ.2549 : With Understanding, New Hope


            พ.ศ.2550 : Suicide Prevention Across the Lifespan


            พ.ศ.2551 : Think Globally, Plan Nationally, Act Locally


            vพ.ศ.2552 : Suicide in Different Cultures


            พ.ศ.2553 : Many Faces, Many Places: Suicide Prevention Across the World 


            พ.ศ.2554 : Preventing Suicide in Multicultural Societies 

           สำหรับในประเทศไทยนั้น ได้กำหนดให้ดอกสะมาเรีย สัญลักษณ์การป้องกันการฆ่าตัว

ตายของประเทศไทย และกระทรวงสาธารณสุขของไทยก็ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเดินหน้า

รณรงค์การป้องกันการฆ่าตัวตายด้วยเช่นกัน โดยได้จัดบริการด้านสุขภาพจิต เพื่อให้คำแนะนำ

คำปรึกษา กับผู้ที่มีภาวะเครียด หรือมีปัญหา พร้อมกับดูแลรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า ไม่ว่าจะ

เป็นการพยายามหาสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ สร้างความมั่นคงให้กับจิตใจ ฝึกทักษะในการแก้

ปัญหาชีวิต ปัญหาส่วนตัว ความขัดแย้งต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดการคิดสั้น

           ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่

ปี พ.ศ.2549 เป็นต้นมา โดยสถิติในปี พ.ศ.2553 ที่กระทรวงสาธารณสุขรวบรวมมา พบว่า

มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จอยู่ที่ 5.90 คนต่อประชากร 1 แสนคน

ซึ่งเมื่อเทียบกับอัตราการฆ่าตัวตายในประเทศแถบเอเชียถือว่า ประเทศไทย

มีตัวเลขของการฆ่าตัวตายต่ำกว่าประเทศอื่น


           ขณะที่ข้อมูลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่สำรวจโดย

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมสุขภาพจิต และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

ตั้งแต่ปี 2548-2553 พบว่า วัยทำงานอายุระหว่าง 15-59 ปี เป็นกลุ่มคนที่มีอัตราการฆ่าตัวตาย

สูงสุด คือ 7.1 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน ในจำนวนนี้กลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 25-59 ปี มี

อัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 4.6 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน มากกว่ากลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนที่มีอายุ

ระหว่าง 15-29 ปี ซึ่งมีอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 2.2 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน ทั้งนี้ ผู้ที่ฆ่าตัว

ตายส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงเกือบ 4 เท่าตัวของการฆ่าตัวตายของทุกปี 

            ในส่วนของปัจจัยที่ทำให้เกิดการฆ่าตัวตาย ส่วนใหญ่เกิดจากหลายปัจจัยทั้งด้าน

ชีวภาพ จิตใจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังพบปัจจัยของโรคซึม

เศร้าร่วมด้วย แต่หากเจาะลึกเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น จะพบว่าสาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นฆ่าตัว

ตายมากที่สุด คือ ผิดหวังในเรื่องความรัก ประสบกับปัญหาการเล่าเรียน และปัญหา

ทางด้านครอบครัว

            อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสถิติการฆ่าตัวตายในประเทศไทยจะอยู่ในระดับต่ำ แต่ก็ไม่ควรนิ่ง

นอนใจ เพราะปัญหาการฆ่าตัวตาย นอกจากจะส่งผลกระทบต่อคนใกล้ชิดของผู้ที่คิดสั้นเองแล้ว

ยังก่อให้เกิดความสูญเสียเชิงเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วย โดยเฉพาะหากผู้ที่ฆ่าตัวตายอยู่ในวัยทำงาน 

            เช่นนั้นแล้ว "ครอบครัว" ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุด ควรจะเฝ้าระแวดระวัง

และพูดคุย ให้กำลังใจคนในครอบครัวให้มาก นอกจากนี้ ชุมชน กรมสุขภาพจิต และหน่วยงานที่

เกี่ยวข้อง ต้องร่วมมือกันเฝ้าระวัง พร้อมทั้งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและทักษะในการแก้ปัญหา

ชีวิตให้แก่ประชาชน เพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตายให้น้อยลง


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
องค์การอนามัยโลก, สมาคมนานาชาติเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย, กรมสุขภาพจิต 

Credit: http://health.kapook.com/view30831.html
10 ก.ย. 54 เวลา 11:39 3,067 2 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...