ปลาซีลาคานท์(Coelacanthe) ปลาจากดึกดำบรรพ์
ที่สนใจในเรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์ดึกดำบรรพ์ สัตว์ปริศนา คงจะ
รู้จักกันเป็นอย่างดี เกี่ยวกับเจ้าปลาตัวนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ติดตามหรือสนใจ
เรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์ดึกดำบรรพ์ สักเท่าไรก็คงจะพอคุ้นหูกันอยู่ถ้าได้ยินชื่อ
ปลาตัวนี้ นั่นคือ ปลาซีลาคานท์สำหรับปลาซีลาคานท์นั้น ก่อนที่จะมี
รายงานการค้นพบอย่างเป็นทางการ ก็ถูกจัดให้เป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปพร้อมๆกับสัตว์ยักษ์ใหญ่ ไดโนเสาร์
แต่หลังจากที่มีรายงานการค้นพบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่
23 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ก็ทำให้ทฤษฎีวิวัฒนาการสั่นคลอนมิใช่น้อย เพราะ
ว่าเจ้าปลาตัวนี้มันไม่ได้สูญพันธุ์ไปตามที่คาดคิดเอาไว้ การค้นพบปลาซีลา
คานท์ครั้งนี้ถูกจับได้โดยกลาสีเรือชาวสก็อตแลนด์ และได้นำปลาที่จับได้
มายังท่าเรือของเมือง East London ในประเทศแอฟริกาใต้ และเมื่อ ลาติ
เมอร์ นักอารักษ์ของพิพิธภัณฑ์ที่นั่นได้เห็นปลารูปร่างประหลาด ได้แจ้งไปยัง
ศาสตราจารย์ จี.แอล.บี สมิธ ผู้เชี่ยวชาญ เรื่องปลาแห่งมหาวิทยาลัยโรเดส
ในประเทศแอฟริกาใต้แล้ว สมิทก็ได้ออกแถลงการให้โลกรู้ว่า ปลาสีน้ำเงิน
ความยาวเกือบสองเมตร นั่นคือปลาซีลาคานท์ ที่บรรพบุรุษของมันเคยมีชีวิต
อยู่เมื่อหลายร้อยล้านปีก่อน สมิธจึงได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของ ปลาซีลา
คานท์ ตัวนี้ว่า Latimeria chalumnae เพื่อเป็นเกียรติแด่ นางลาติเมอร์ และ
ตำแหน่งที่ค้นพบ คือบริเวณปากแม่น้ำ Chalumna
ปลาซีลาคานท์เป็นสัตว์เพียงไม่กี่ชนิด ที่รูปร่างของมันแทบ
จะไม่ได้เปลี่ยนแปลงเลยในระยะเวลานับหลายร้อยล้านปี รูปร่างของมันทุก
วันนี้เหมือนกับเมื่อ 140 ล้านปีก่อนทุกประการตามภาพด้านบน
ความคุ้นเคยกับฟอสซิลของมันทำให้สามารถบอกได้ทันทีว่านั่นคือปลาซีลาคานท์
ปลาซีลาคานท์ตัวแรกเกิดขึ้นบนโลกเมื่อ 400 ล้านปี ก่อน นัก
ชีววิทยาหลายคนเชื่อว่า ปลาซีลาคานท์ เป็นสัตว์ชนิดแรกที่ได้วิวัฒนาการ
จากสัตว์น้ำไปเป็นสัตว์บกถึงแม้จะมีอุกาบาตรพุ่งชนโลกเมื่อ 65 ล้านปีก่อน
ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้สิ่งมีชีวิตยุคไดโนเสาร์ส่วนใหญ่สูญพันธุ์ไป ที่ว่า
ไดโนเสาร์ถูกอุกาบาตรพุ่งชนเมื่อ 65 ล้านปี ถึงแม้ว่าสัตว์ยักษ์ไดโนเสาร์จะ
สูญพันธุ์ไปแต่ปลาซีลาคานท์นั้นก็สามารถอยู่รอดมาจนถึงทุกวันนี้ได้แต่
ปัจจุบันนี้ก็มีจำนวนเหลืออยู่บนโลกอย่างน่าใจหาย เพราะมีอยู่ประมาณ 200-
300 ตัวเท่านั้นเอง รอดจากหายนะครั้งใหญ่ของโลกมาได้แต่กลับต้องเกือบ
สูญพันธุ์ เพราะฝีมือมนุษย์เราอีก น่าเศร้าจริงๆ
ปลาซีลาคานท์นั้นชอบอาศัยอยู่ในน้ำลึก ตั้งแต่ 150-300
เมตร การที่มันอาศัยอยู่ในน้ำลึกและมีจำนวนน้อยนั่นคือสาเหตุที่ทำให้เราไม่
ได้พบเห็นมัน ปลาซีลาคานท์นั้นสามารถว่ายน้ำถอยหลังได้ และว่ายน้ำแบบ
หงายท้องก็ได้ มันชอบอาศัยอยู่ในถ้ำใต้น้ำ และพักผ่อนในตอนกลางวัน
ชาวเกาะ Comoran รู้จักปลาชนิดนี้ในนามของปลา
Gombessa และทุกๆครั้งที่คนเหล่านี้จับปลาซีลาคานท์ได้ เขาจะปล่อยมัน
กลับลงทะเล เพราะเนื้อมันกินไม่ได้ (เนี่ย ถ้าเนื้อของมันกินได้และมีรสชาติ
อร่อยคงไม่เหลือมาให้นักวิทยาศาสตร์ได้พบหรอก ) ในช่วงเวลา 15 ปีที่ผ่าน
มา ชาวประมงจับปลาซีลาคานท์ได้โดยบังเอิญ 3-12 ตัว ถึงแม้จะได้รับความ
คุ้มครองเพียงใด ปลาซีลาคานท์นั้น ก็ลดจำนวนเหลือน้อยลงไปทุกที
สาเหตุเพราะ การลักลอบฆ่ามันเพื่อแลกกับเงิน 10,000-50,000 บาท ใน
ขณะที่รายได้ต่อปีของประชากรชาว Comoran เพียง 10,000 บาทต่อปีเท่า
นั้น และการที่ชาวเกาะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นก็ทำให้การลักลอบจับปลาซีลา
คานท์มีมากขึ้นตามไปด้วย ในอดีตพบว่าปลาซีลาคานท์อาศัยอยู่ในถ้ำใต้น้ำ
5-20 ตัว แต่ทุกวันนี้มีเพียง 5-6 ตัวเท่านั้น ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยมากเลยทีเดียว
ปลาซีลาคานท์นั้นจะไม่อพยพไปอยู่ที่อื่นเพราะเครื่องส่ง
สัญญาณที่ติดตามตัวปลาแสดงให้เห็นว่าปลาซีลาคานท์ไม่ชอบว่ายน้ำไป
ไกลจากถิ่นที่อาศัยอยู่มากนัก การที่จำนวนมันลดลงก็เท่ากับว่ามันตายไป
แล้วและสาเหตุสำคัญอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มันสูญพันธุ์ได้ง่ายก็เพราะว่าวิธี
การสืบพันธุ์ของมัน ตัวเมียตามปกติจะอุ้มท้องที่มีไข่ ซึ่งถูกผสมพันธุ์แล้ว
ประมาณ 20 ใบ มันจะไม่วางไข่ แต่จะใช้เวลานานถึง 13 เดือน ในการฟักไข่
และไข่ที่ถูกฟักเป็นตัวมีจำนวนประมาณ 5 ฟอง และทันทีที่ลูกปลาออกจาก
ไข่มันจะกินพี่น้องตัวที่อ่อนแอที่สุด ดังนั้นการที่เราจับปลาซีลาคานท์ตัวเมีย
ได้เปรียบเสมือนการฆ่ามันทั้งตระกูลเชียวล่ะ สมาคมนักอนุรักษ์ทั้งหลายจึง
พยายามอนุรักษ์ ปลาดึกดำบรรพ์นี้โดยขอร้องให้รัฐบาล Comoran ออก
กฎหมายห้ามชาวประมงจับปลาน้ำลึกและให้ธนาคารโลกสนับสนุนโครงการ
ติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพใต้น้ำระยะไกลเพื่อจับภาพตามถ้ำที่ปลาซีลาคานท์
อาศัยอยู่เป็นวีดีโอสดๆให้นักท่องเที่ยวและนักวิทยาศาสตร์ได้ชมกัน การติด
ตั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพใต้น้ำระยะไกลสามารถนำเงินเข้ามาสู่วงการธุรกิจท่อง
เที่ยวของ Comoran มากและจะทำให้ทุกคนมีความรู้สึกที่จะอนุรักษ์ปลาชนิด
นี้ หากมิฉะนั้นแล้วภายในระยะเวลา 5 ปีจะไม่มีปลาซีลาคานท์ให้เห็นกันอีก
เลย
Credit: Mythland