อดใจรอ!!อีก2ปีเปิดบริการสถานีอวกาศ ส่งนักท่องเที่ยวไปนอกโลก

 

        เฟสแรกของโครงการสถานีอวกาศเพื่อการพาณิชย์แห่งโลกของโลก ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางท่องอวกาศสำหรับลูกค้าของบริษัทเวอร์จิน เวลานี้เสร็จสมบูณ์แล้วกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ และมีความเป็นไปได้ที่จะเปิดบริการในอีก 2 ปีข้างหน้า
       
       สถานีอวกาศเพื่อการพาณิชย์ของสหรัฐฯ (American spaceport) พื้นที่ 1,800 เอเคอร์ ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองลาส ครูเซส มลรัฐนิวเม็กซิโก จะเป็นศูนย์กลางการบินอวกาศของสายการบินเวอร์จิน กาแลคติก การลงทุนครั้งทะเยอทะยานที่สุดในชีวิตของ ริชาร์ด แบรนสัน



ภาพจำลองของสถานีอวกาศเพื่อการพาณิชย์แห่งแรกของโลก        สถานีอวกาศเพื่อการพาณิชย์แห่งนี้มีรันเวย์ยาวเกือบ 2 ไมล์ อาคารผู้โดยสารในสไตล์โลกอนาคตและมีศูนย์ปฏิบัติการด้านอวกาศรูปทรงโดม ขณะที่ทางโฆษกเปิดเผยว่าเฟสแรกของโครงการเหลือเพียง 2 เดือนก็จะแล้วเสร็จและคาดว่าน่าจะสร้างเสร็จในช่วงสิ้นปี ตรงตามที่เวอร์จิน กาแลคติก คาดหมายว่าจะส่งยานอวกาศเชิงพาณิชย์ลำแรกสู่อวกาศในปี 2013
       
       คริสติน แอนเดอร์สัน ซีอีโอคนใหม่ขององค์การท่าอากาศยานอวกาศของมลรัฐนิวเม็กซิโก บอกกับหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งว่าพอใจที่โครงการคืบหน้าไปมาก อย่างไรก็ตามตอนนี้เธอต้องเผชิญความท้าทายต่างๆ โดยเฉพาะสภาของมลรัฐนิวเม็กซิโก ได้หั่นงบประมาณในโครงการสถานีอวกาศลงกว่าครึ่ง และจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีกำหนดที่แน่ชัดว่าสถานีอวกาศเพื่อการพาณิชย์ของสหรัฐฯจะเริ่มเปิดบริการได้เมื่อไหร่
       
       ขณะนี้ WhiteKnightTwo ยานแม่ของเวอร์จิน กาแลคติก กำลังอยู่ในช่วงทดลองภารกิจนำส่งยาน SpaceShipTwo ออกสู่นอกโลก และทาง แอนเดอร์สัน บอกว่าผลการทดสอบจะเป็นเครื่องตัดสินว่ามันมีความปลอดภัยเพียงพอสำหรับนำนักท่องเที่ยวบินไปยังขอบอวกาศหรือไม่ ทั้งนี้หากไม่มีอะไรขัดข้อง คาดหมายว่าจะส่งยานอวกาศเชิงพาณิชย์ลำแรกสู่อวกาศได้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2013

ยาน SpaceShipTwo อยู่ระหว่างทดสอบว่าปลอดภัยอสำหรับนำนักท่องเที่ยวบินไปยังขอบอวกาศหรือไม่

       ทั้งนี้เฟสสองของโครงการได้เริ่มต้นก่อสร้างแล้วและน่าจะเสร็จสมบูรณ์ทันเที่ยวบินสำรวจของเวอร์จิน กาแลคติก
       
       ท่าอากาศยานอวกาศแห่งนี้ใช้เงินลงทุนจากมลรัฐและรัฐบาลท้องถิ่นราว 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นการสร้างระบบการขนส่งทางอากาศแบบใหม่ (Air Transport System) โดยในระยะเริ่มแรกจะบริการด้านการท่องเที่ยวทางอากาศ (Space Tourism) พร้อมๆ กับการส่งดาวเทียมเชิงพาณิชย์ และการส่งยานอวกาศที่บรรทุกสินค้าและแม้กระทั่งนักบินอวกาศไปสู่สถานีอวกาศนานาชาติ และอาจไปถึงดวงจันทร์ในระยะต่อไป
       
       อย่างไรก็ตามก็มีความเป็นไปได้ที่จะพิจารณาด้านเครือข่ายการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง (point-to-point network) โดยผู้โดยสารสามารถโดยสารจรวดหรือยานอวกาศจากที่หนึ่งไปที่อื่นๆบนโลกด้วยความรวดเร็วกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

 

 

อลังการงานสร้างเจ้าค่ะ

(เตรียมตัวน่ะทัน แต่เตรียมตังค์ท่าจะไม่ทันเหะ)-*-

 

ขอบคุณที่รับชมค่ะ^^~


 

Credit: ASTVผู้จัดการออนไลน์
7 ก.ย. 54 เวลา 04:29 2,976 4 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...