พระนามบัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                             .. พระนามบัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ..

                

จากบทสัมภาษณ์ของคุณฮิโรมิ อินาโยชิ นักออกแบบชาวญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ออกแบบพระนามบัตรของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ ชุดที่ท่านผู้อ่านเห็นอยู่นี้ ในวารสาร “ ในวงการพิมพ์ ” ( http://www.thethaiprinter.com ) กล่าวไว้ว่าการได้รับโอกาสเป็นผู้ออกแบบ “ พระนามบัตรในหลวง ” นั้นมีที่มาจากการจัดนิทรรศการแสดงผลงานการออกแบบสัญลักษณ์และสี ในงานของสหประชาชาติ ณ โรงแรมพลาซ่าแอทธินี เมื่อปี พ.ศ. 2545 และมีบุคคลในสำนักพระราชวังไปเห็นฝีมือ จึงให้ความสนใจและหารือถึงการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อถวายในหลวง เนื่องในวโกาสครบรอบ 75 พรรษา โดยสรุปสุดท้ายที่การออกแบบนามบัตรจำนวน 4 แบบ ดัง

                  

แบบที่ 1

มีคอนเซ็ปต์มาจากตัว “A” ซึ่งเป็นพระนามของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯคือ “ อดุลยเดช ” และส่วนของจุดสีที่อยู่ภายในแทนสีของแก้วนพรัตน์หรืออัญมณี 9 ประการ อันเป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์

แบบที่ 2

มี คอนเซ็ปต์มาจากการพนมมือไหว้ของคนไทย อันเป็นเอกลักษณ์ที่สื่อได้ถึงความเป็นคนไทย ขณะเดียวกัน ก็มีจุดสีของแก้วนพรัตน์รายล้อมอยู่ภายใน สื่อถึงความเป็นพระมหากษัตริย์ของไทย

แบบที่ 3

มี คอนเซ็ปต์มาจากเครื่องดนตรีคือแซกโซโฟน ซึ่งในหลวงทรงโปรดเป็นพิเศษและมีจุดสีของแก้วนพรัตน์แสดงเอกลักษณ์ของพระ มหากษัตริย์อีกเช่นกัน

แบบที่ 4

มี คอนเซ็ปต์มาจากพระนาม “ ภูมิพล ” ซึ่งเมื่อเขียนเป็นภาษาอังกฤษจะขึ้นต้นด้วยตัว “B” แล้วออกแบบรูปร่างทำเป็นปีกพญาครุฑ ภายในบรรจุจุดสีของแก้วนพรัตน์แสดงเอกลักษณ์พระมหากษัตริย์ เพื่อให้เป็นในแนวทางเดียวกันหมด

                  


เป็นที่น่าสังเกตุว่า การออกแบบ “ พระนามบัตร ”
จะเน้นภาพสัญลักษณ์มากกว่าการสื่อความหมายด้วยภาษาของตัวอักษร
ดังที่ปรากฎในนามบัตรทั่วไป โดยที่คุณฮิโรมิ อธิบายว่า
จริง ๆ แล้วการออกแบบนามบัตรทั่วไปส่วนใหญ่ไม่ถูกต้อง
ถ้าพูดถึงระดับนานานาชาติ จะนิยมทำสัญลักษณ์มากกว่าใช้ภาษาของตัวอักษร


“ นามบัตรที่ดีจะไม่ นิยมพิมพ์ชื่อตัวเองหรือชื่อบุคคลขนาดใหญ่
ตัวหนังสือจะออกแบบเพียงให้ดูเป็นมันขึ้นมาและสื่อภาษาเล็กน้อยเท่านั้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งนามบัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ก็คงไม่จำเป็นต้องเน้นชื่อ และไม่จำเป็นต้องใส่ที่อยู่หรือเบอร์โทรศัพท์
สื่อเพียงแค่เป็นพระมหากษัตริย์ของไทยก็เพียงพอ ”


คุณฮิโรมิ กล่าวว่า จริง ๆ แล้วการออกแบบสัญลักษณ์
ไม่เหมือนกับภาพวาดทั่วไป ที่มองเห็นของจริงแล้ววาดภาพเหมือนออกมา
แต่งานออกแบบของตนเองไม่ได้มองภาพจริงวาดภาพเหมือน
แต่เป็นการใช้จิตนาการนึกภาพออกมาเป็นสัญญลักษณ์แทนตัวบุคคล


เมื่อ ถาม ว่า ความคิดขณะออกแบบตั้งใจเพื่อให้ในหลวง  ใช้พระราชทานแก่บุคคลอื่นด้วยหรือไม่ คุณฮิโรมิหัวเราะก่อนตอบว่า ก็เห็นพระองค์ท่านมีการพระราชทานเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากการมีรับสั่งให้พิมพ์เพิ่มด้วย โดยใช้โรงพิมพ์ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ดำเนินการ แต่พระนามบัตร ซึ่งเป็นการออกแบบสัญลักษณ์นี้เป็นการใช้ส่วนพระองค์มากและไม่เป็นทางการ เพราะส่วนที่เป็นทางการในหลวงท่านก็มีตราประจำรัชกาล หรือตราสัญลักษณ์เนื่องในวโรกาสต่าง ๆ อยู่แล้ว ความคิดขณะออกแบบจึงไม่ได้มุ่งให้เป็นงานเป็นการมากนัก


อย่าง ไรก็ ตาม ความคิดขณะออกแบบนั้น สิ่งที่คำนึงถึงอย่างมากคือเรื่องระบบการพิมพ์ ซึ่งจะต้องมีลูกเล่นให้แปลกตา , มีความหมายและลูกเล่นที่ไม่ซ้ำแบบใคร หรือทำการพิมพ์ลอกเลียนแบบไม่ได้ง่าย ๆ


“ ระบบการพิมพ์จะค่อนข้าง พิถีพิถัน อย่างเช่น การใช้สีพิเศษ กระดาษก็จะต้องเป็นของ Arjo Wiggins Fine ซึ่งเป็นกระดาษของฝรั่งเศส เครื่องพิมพ์ก็จะกำหนดให้ต้องใช้เครื่องพิมพ์โรแลนด์และไฮเดลเบิร์กเท่านั้น รวมทั้งอื่น ๆ ซึ่งจะมีการกำหนดรายละเอียดปลีกย่อยให้โรงพิมพ์ดำเนินการทั้งหมดเลย รวมทั้งจะเข้าไปดูแลและควบคุมการพิมพ์งานด้วยตัวเองด้วย

” ขั้นตอนการพิมพ์ “ พระนามบัตร ” จะทำการพิมพ์สีพื้นก่อนแล้วทำการพิมพ์ฟอยล์ตบท้าย โดยในส่วนจุดสีของนพรัตน์หรือสีอัญมณีทั้ง 9 เม็ด จะต้องพิมพ์ทั้งหมด 18 สี กล่าวคือ พิมพ์ครั้งแรกจำนวน 9 สีหรือ 1 รอบ และพิมพ์ 9 สีอีก 1 รอบทับอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเท่ากับว่า แต่ละสีจะมีการพิมพ์ 2 ครั้ง โดยกว่าจะได้งานออกมาดังที่ตั้งใจ ต้องทำการปรู๊ฟถึง 12 ครั้ง

.. ขอบคุณบทความดีดี จาก http://atcloud.com/stories/65378

.. เพลงพระราชนิพนธ์ “ใกล้รุ่ง”

ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
ร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร

.. ได้ยินเสียงแว่วดังแผ่วมาแต่ไกลไกล
.. ชุ่มชื่นฤทัยหวานใดจะปาน
.. ฟังเสียงบรรเลงขับเพลงประสาน
.. จากทิพย์วิมานประทานกล่อมใจ

.. ใกล้ยามเมื่อแสงทองส่อง
.. ฉันคอยมองจ้องฟ้าเรืองรำไร
.. ลมโบกโบยมาหนาวใจ
.. รอช้าเพียงไรตะวันจะมา

.. เพลิดเพลินฤทัยฟังไก่ประสานเสียงกัน
.. ดอกมะลิวัลย์อวลกลิ่นระคนมณฑา
.. โอ้ในยามนี้เพลินหนักหนาแสงทองนวลผ่องนภา
.. แสนเพลินอุราสำราญ

.. หมู่มวลวิหคบินผกมาแต่รังนอน
.. เฝ้าเชยชิดช้อนลิ้มชมบัวบาน
.. ยินเสียงบรรเลงดังเพลงขับขาน
.. สอดคล้องกังวานซาบซ่านจับใจ                                                    ..

Credit: http://atcloud.com/stories/65378
13 ธ.ค. 52 เวลา 18:26 6,138 19 192
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...