เจ้าพ่อมอดินแดง ที่ ม ขอนแก่น ห้ามบนบานแต่ขอพรได้

"เจ้าพ่อมอดินแดง" ที่ "ม.ขอนแก่น" ห้ามบนบานแต่ขอพรได้

โพสเมื่อ 2011-08-22 12:31:35 โดย byline

share tweet function twittterShare(twTitle, twURL) { window.open('http://twitter.com/intent/tweet?url=' + encodeURIComponent(twURL) + '&text=' + encodeURIComponent(twTitle) + '&via=hunsalive', '','share','900','450','yes','center'); }

 


เยือน “มหาวิทยาลัยแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” สักการะ “เจ้าพ่อมอดินแดง” สิ่งศักดิ์สิทธิ์ยึดเหนี่ยวจิตใจ สู่เครื่องหมายเชิงสัญลักษณ์คู่ “มข.”

 

จากข้อมูลที่ระบุไว้บนแผ่นศิลาหลังองค์พระ ที่ศาลาธรรมสถาน สรุปได้ว่า ปี 2547 คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ดำเนินการก่อสร้างศาลาธรรมสถานเจ้าพ่อมอ ดินแดงขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นแกนนำในการดำเนินงาน และได้สืบหาความถ่องแท้ในประวัติความเป็นมาของ “องค์เจ้าพ่อมอดินแดง” สรุปสาระพอสังเขป คือ

 

ราวพุทธศตวรรษที่ 18 มีเจ้าผู้ครองนครพระองค์หนึ่งนามว่า “ท้าวแถนสุริยา” ทรงมีขอบขัณฑสีมาแห่งอำนาจบารมี คือ พื้นที่จังหวัดขอนแก่น และอาณาบริเวณใกล้เคียง พระองค์ทรงเปี่ยมไปด้วยศรัทธาปสาทะในบวรพุทธศาสนา และดลให้เกิดความอยู่ดีกินดีแบบธรรมาธิปไตย เหล่ามหามนตรีจึงพร้อมใจถวายสมัญญานามว่า “ท้าวแถนสุริยาธรรมาธิราช” โดยต่อมา ได้เสวยชาติภพอิ่มทิพยสุขเป็น “องค์เจ้าพ่อมอดินแดง” ในปัจจุบัน

 

สำหรับ “ศาลาธรรมสถาน” นั้น เป็นอาคารทรงจตุรมุข ล้อมรอบด้วยระเบียงทั้ง 4 ด้าน กลางห้องโถงเป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธปัญญาเมตตาธรรม” องค์พระพุทธปฏิมา ปางมารวิชัย เพื่อเป็นที่เคารพสักการะด้วย

 

ทั้งนี้ ความเชื่อของชาว มข.ห้ามบนบาน “องค์เจ้าพ่อมอดินแดง” แต่ขอพรจากท่านได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะขอให้เดินทางแคล้วคลาดปลอดภัย, ให้ได้เกรดสูง ๆ, ให้สอบได้มีงานทำ, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อยากมาอยู่ มข.ก็จะมาขอให้ได้เรียนที่นี่ ด้านนักศึกษาใหม่จะขอพร และฝากตัวเป็นลูกเจ้าพ่อมอดินแดง เป็นต้น

 

เมื่อสำเร็จจะแสดงความเคารพ และขอบคุณท่าน โดยนำอาหารคาว-หวานมาบูชา, ฟ้อนรำ, ทำความสะอาดกวาดลานธรรมบ้าง แต่สิ่งที่เห็นคุ้นชิน คือ การนำช้าง (ในรูปแบบที่หยิบยกง่าย) มาถวาย เช่น ตุ๊กตาช้าง รูปภาพช้าง โมบายช้าง หรือ การฉายหนังกลางแปลง รวมถึงสิ่งที่ชาวมหาวิทยาลัยกระทำ เพื่อสักการะท่านเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนพฤศจิกายน คือ การนำลิเก หรือ หมอลำ มาแสดง ซึ่งถือเป็นงานประจำปีของมหาวิทยาลัยด้วย ทั้งนี้ เมื่อไปกราบขอพรท่านแล้ว จะขาดไม่ได้คือการเสี่ยงเซียมซี ซึ่งหลายคนบอกว่า แม่นนักเชียว

 

เป็นภาพความศรัทธาที่ไม่เคยเสื่อมคลาย และหายไป เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ แม้ในคราวทุกข์-สุข ไม่เฉพาะชาวมหาวิทยาลัยขอนแก่นเท่านั้น หากยังรวมถึงบุคคลทั่วไป ต่างเดินทางมาสักการะ และขอพรท่านอยู่เสมอ.

 

Credit: หรรษาดอดคอม
#เจ้าพ้อ
THEPOco
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
3 ก.ย. 54 เวลา 06:16 6,373 1 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...