มีโอกาศอ่านหนังสือพิพม์ไทยรัฐขณะกินข้าวได้พบเจอคอลัมภ์ดีๆ เห็นแล้วอยากจะนำมาเสนอ
ท่านผู้อ่านเว็บสาระน่ารู้ทุกท่าน เรื่องเกี่ยวกับปริศนาธรรมงานศพ
ปริศนา ข้อที่ 1 ในการจุดธูปดอกเดียวไหว้ศพ ธูปดอกเดียว หมายถึงเราไปคนเดียว เรามาคน
เดียว หมั่นจุดธูปเตือนตัวเองว่า ถึงอย่างไร เราก็ไปคนเดียวมาคนเดียว ไม่ใช่ว่าตอนนี้เราจะตาย
แล้ว เธอเป็นเพื่อนฉันหน่อยตายด้วยกันนะ
ปริศนาข้อ 2 เฉลยปุจฉา คำภาวนา อะวัสสัง มะยา มะริตัพพัง ของคุณยาย นี่ไม่ใช่คาถาที่ท่องให้
ขลัง แต่เป็นคาถาที่ภาวนาให้เกิดปัญญา เพราะแปลว่า เราจะตายแน่ๆ ภาวนาเพื่อเตือนตัวเอง
ปริศนาข้อ 3 นำพวงหรีดไว้อาลัย ขอจงไปสู่สุคติ ด้วยรักและอาลัยจากพี่ ท่าน ว. ปรารภว่า ไม่รู้จะหวานทำไม
ที่หน้าศพ ตอนที่ยังอยู่ด้วยกัน กินอิ่มนอนอุ่นทำไมไม่พูดกันดีๆ นัยของพวงหรีด คือให้อยู่กันด้วยความรัก
ปริศนา ข้อ 4 ก่อนพิธีเผาจะมีพระบังสุกุล คำว่าบังสุกุล แปลว่าผ้าคลุกขี้ฝุ่นขี้เถ้า ก็คือผ้าห่อศพ
แต่เดิมพระจะไปดึงเอาผ้าจากศพมาซักมาย้อมทำเป็นจีวร เพื่อที่จะบอกว่า แม้แต่ผ้าที่เอาไว้ห่อศพ
คุณก็ยังเอาไปด้วยไม่ได้
สมบัติชิ้นสุดท้าย ต้องคืนให้พระเณร ฉะนั้นตอนที่เรายังอยู่ จะกอบโกยจะโลภกันไปถึงไหน ทำไม
ไม่ทำบุญกันบ้าง
ปริศนา ข้อ 5 การเวียนรอบเมรุสามรอบ เพื่อบอกว่า ถ้าเราได้ล่วงเกินศพ ด้วยกายวาจาใจ ก็ขอ
จงอภัยให้กัน จะได้ไม่เป็นกรรมเป็นเวร ข้ามภพข้ามชาติต่อกันไป
ปริศนาข้อ 6 การวางไม้จันทน์หน้าเมรุ ดอกไม้จันทน์ เป็นไม้กลิ่นหอม เป็นการสอนว่าเราเกิดมา
เป็นคนทั้งที ขอให้ฝากความดีความงามเอาไว้ ให้มีกลิ่นหอมฟุ้ง ให้คนรุ่นหลังได้ระลึกนึกถึง
ปริศนา ข้อ 7 ก่อนเผา สัปเหร่อหยิบเงินที่อยู่ในปากออก แสดงว่าสมบัติชิ้นสุดท้ายยังไม่เหลือ คน
ที่มีเงินมีทองไม่ทำบุญ ถึงที่สุดก็เอามาโปรยหน้าศพ
ปริศนา ข้อ 8 มัดตราสังข์สามเปราะมัดที่คอ หมายถึง บ่วงรักลูก มัดที่มือ หมายถึงบ่วงรักสามี –
ภรรยา มัดตรงข้อเท้า หมายถึง บ่วงรักทรัพย์สมบัติ ใครติดอยู่สามบ่วงนี้ ไปนิพพานไม่ได้ ต้อง
เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏดังสุภาษิต
ปุตโต คีเว มีบุตรบ่วงหนึ่งเกี้ยว พันคอ
ธนัง ปาเท ทรัพย์ผูกบาทาคลอ หน่วงไว้
ภริยา หัตเถ ภรรยา(สามี)เยี่ยงอย่างปอ รึงรัด มือนา
สามบ่วงนี้ใครพ้นได้ จึ่งพ้นสงสาร
ปริศนา ข้อ 9 คาะโลงรับศีล ไม่ใช่ให้คนตายมารับศีล
แต่เพื่อเป็นการบอกคนที่มาร่วมงานว่า อย่าเอาแต่มัว ประมาทขาดสติ ไม่สนใจในหลักธรรมคำ
สอนเมื่อตายไปหมดโอกาสทำความดี จะเคาะจนโลงแตก ก็ลุกขึ้นมาไม่ได้
ปริศนา ข้อ 10 บวชหน้าไฟ มักเข้าใจกันว่า เป็นการบวชจูงผู้ตายขึ้นสวรรค์ ความจริงนั้นไม่ใช่
เพราะการบวช หน้าไฟเป็นการปลงธรรมสังเวชต่อการเกิด แก่ เจ็บและตายในที่สุด มนุษย์ก็มีเท่า
นี้ ทำ ให้เกิดการ เบื่อหน่ายต่อชีวิตในโลกียวิสัย ไม่ประสงค์จะอยู่ในเพศฆราวาสแล้ว พอใจใน
สมณะเพศ มุ่งปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น เข้าสู่มรรคผลนิพพาน
ปริศนา ข้อ 11 การจุดไฟเผา ทุกสิ่งวอดไหม้กลายเป็นขี้เถ้า สะท้อนสัจธรรม…สี่คนหาม สามคน
แห่ สองคนนั่งแคร่ หนึ่งคนพาไป สี่คนหามคือธาตุทั้งสี่ ดินน้ำลมไฟ รวมกันเป็นตัวเรา สามคน
คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน สองคนนั่งแคร่คือ บุญกับบาปจะพาเราไป
และหนึ่งคนพาไป คือจิตที่จะพาเราไปเอาบุญเอาบาป เอาไปเกิดในชาติอื่นอีก
ท่าน ว. เกริ่นไว้ในคำสอนข้อ ยื้อไม่หยุด ฉุดไม่อยู่ เรื่องความตาย ที่เราภาวนาหน้าศพ “เราต้อง
ตายแน่” นั้น ปกติชาวบ้านเขาห้ามไม่ให้พูด ใครพูดตอนกินข้าว ตอนสังสรรค์ ถือว่าปากอัปมงคล
แต่พระพุทธเจ้าท่านว่า พูดวันละสามครั้งหลังอาหารยังน้อยไป ควรพูดทุกลมหายใจเข้าออก
หายใจเข้า “ตายหนอๆ” หายใจออก “ตายหนอๆ”นี่คือส่วนหนึ่งของคำสอน ศิลปะการเตรียมตัว
ตายอย่างมีสติ วันหนึ่งเมื่อความตายมาถึง ก็จะสามารถตายอย่างคนที่พร้อมจะตาย เพื่อรับมือได้
อย่างสันติ สงบ สง่างามกว่าสิบชีวิตทหารหาญที่เพิ่งตาย เป็นการตายในหน้าที่ นี่คือแบบอย่างความตายที่สง่างามน่าประทับใจ.
“สี่คนหาม สามคนแห่ หนึ่งคนนั่งแคร่ สองคนพาไป”
“สี่คนหาม“คนโบราณไขขานว่า คือชีวามนุษย์นี้ไม่มีขาด
เป็นรูปร่างตัวตนคนพิลาส รวมสี่ธาตุมารวมกันแบ่งสรรเป็น
ธาตุที่หนึ่งคือ”ธาตุดิน“ใช่สินทรัพย์ ผมดำขลับเนื้อหนังยังมองเห็น
กระดูก เล็บ สุดเจ็บเล็บก็เป็น ทุกสิ่งเช่นเป็นธาตุดินชีวินเรา
ธาตุที่สองคือ”ธาตุน้ำ“ช้ำเลือดหนอง ไม่หมายปองคือน้ำลายคายออกเข้า
อีกน้ำมันในข้อต่อพอบรรเทา เว้นน้ำเหล้าไม่เกี่ยวข้องเพียงลองใจ
ธาตุที่สามคือ”ธาตุลม“ไม่ตรมจิต ขาดเพียงนิดชีวิตสิ้นดิ้นไฉน
ลมที่ว่าแสนสุขสมลมหายใจ หากขาดไปชีวิตสิ้นดิ้นแดยัน
ธาตุที่สี่คือ”ธาตุไฟ“อยู่ในร่าง ไม่เหินห่างแสนใกล้ชิดติดตัวท่าน
คอยบอกร้อนบอกเย็นเป็นชีวัน ร้อนนอกนั้นไม่ข้องเกี่ยวแท้เทียวจริง
สี่ธาตุนี้จึงเปรียบมี”สี่คนหาม” เป็นรูปธรรมตามแน่ที่แท้ยิ่ง
จะอ้วนผอมสูงใหญ่ในความจริง สี่ธาตุสิ่งรวมกันพลันเป็นคน
“สามคนแห่“ความหมายแท้แก้ให้รู้ เปรียบคนอยู่ในไตรลักษณ์ภักดีผล
ธรรมชาติสรรพสิ่งไปในสกล ล้วนดิ้นรนในสามสิ่งอย่างจริงจัง
หนึ่ง”อนิจจัง“นั้นไม่เที่ยงเลี่ยงไม่ได้ ชีวิตไหนก็ไม่แน่แปรหน้าหลัง
จากเด็กเล็กโตเป็นหนุ่มรุ่มพลัง แต่ภายหลังกลายเป็นแก่เปลี่ยนแปรไป
คนเคยรวยกลับมาจนยลให้เห็น จนกลายเป็นกลับรวยถูกหวยได้
ความแน่นอนไม่เที่ยงแท้เปลี่ยนแปรไป ไม่ว่าใครต้องผูกติด”อนิจจัง”
สอง”ทุกขัง“แปรตรงตัวมัวเมาทุกข์ จะกี่ยุคกี่ชาติเกิดประเสริฐสังค์ (สังค์=การยึดเหนี่ยว)
จะเกิดแก่เจ็บตายไข้ประดัง ย่อมทุกข์ทั้งสิ้นหมดรันทดใจ
สาม”อนัตตา“ชีวิตตนที่ทนอยู่ ก็ไม่รู้จะเปลี่ยนแปรแน่นอนได้
เหมือนกับคนที่แดดิ้นสิ้นหายใจ ยังถูกไฟผลาญเผาเป็นเถ้าธุลี
ชีวิตตนใช่ตัวตนคนแน่แท้ ย่อมเปลี่ยนแปรไม่แน่นอนตอนสุขศรี
ดังอดึตคนกำเนิดเกิดร้อยปี แต่บัดนี้กลับไร้ตนเป็นคนไป
“อนิจจังทุกขังอนัตตา” ทั้งสามมาเป็นสัจจธรรม”สามคนแห่”
ชีวิตเราย่อมเปลี่ยนไปไม่แน่แท้ ทุกข์เหตุแห่แปรไปไร้ตัวตน
“หนึ่งคนนั่งแคร่“นั้นที่แท้แปรความหมาย ดั่งจิตใจจิตวิญญานประมาณผล
เมื่อคนเกิดวิญญานเข้าสถิตย์ชีวิตคน เป็นจิตตนจิตวิญญานชีวันเรา
จิตใจนั้นคอยบงการบันดาลชีวิต สิงสถิตย์ในร่างกายใจคอยเฝ้า
โบราณท่านจึงเปรียบไว้จิตใจเรา เทียบไว้เอา”คนนั่งแคร่”แค่ใจคน
“สองคนพาไป“มีความหมายเปรียบไว้ว่า เราเกิดมามีบาปบุญหนุนกุศล
หากทำบาปย่อมลำบากยากทุกข์ทน หากบุญล้นย่อมเกิดดีศรีสุขกัน
ชีวิตที่คงอยู่สู่ชาตินี้ กับชีวิตที่เกิดมาชาติหน้านั้น
เกิดมาแล้วจะทุกข์หรือสุขสันต์ บาปบุญนั้นจะกำหนดตามกฏกรรม
เพราะบาปบุญหนุนนำทำทุกข์สุข จึงต้องถูกนำมาเทียบและเปรียบย้ำ
“สองคนพาไป”คือบาปบุญที่หนุนนำ สู่ภพกรรมที่กระทำตามชั่วดี
ปริศนาธรรมทั้งสี่ตามที่กล่าว แปลเรื่องราวโบราณความตามวิถี
เป็นคำสอนให้คนเราเฝ้าทำดี เพื่อได้มีบุญเป็นทุนหนุนตนเอง…….