13 กรกฎาคม ฟุตบอลโลกครั้งแรก ณ อุรุกวัย

เมื่อฟุตบอลก้าวเข้าสู่การถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ ฟุตบอลโลกก็เริ่มกลายเป็นอารมณ์ร่วมของคนทั้งโลก หลาย ประเทศแย่งกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ไม่ว่าจะเพื่อศักดิ์ศรีที่ได้แสดงถึงศักยภาพของประเทศ หรือเพราะผลประโยชน์ทางธุรกิจอย่างมหาศาล ถึงเเม้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศย่อมขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเป็นเจ้าภาพจัดฟุตบอลโลก มีนัยสำคัญทีเดียว ที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเจ้าภาพในปีถัดมาโตขึ้น แต่ในอีกด้านก็ยอมรับว่าส่งผลต่อผลิตภาพในการทำงานของแรงงานลดลง อันเป็นผลมาจากการตั้งหน้าตั้งตาดูเกมลูกหนังครั้งนี้


ภาพ ยำใหญ่รูปแฟนบอลโลก
ที่มา www.sakid.com

 

ในอดีตกีฬาประเภทหนึ่งของจีนที่เรียกว่า ชู่จู๋ (พินอิน: cùjú) เป็นกีฬาที่มีรูปแบบการเล่นด้วยการเตะลูกบอลไปมา เริ่มในสมัยราชวงศ์ฮั่น
 

 


ภาพ การละเล่น ชู่จู๋ ฟุตบอลโบราณของจีน
ที่มา www.sanamball.net

 

แต่ฟุตบอล (football) หรือ ซอกเกอร์ (soccer) ที่เล่นกันในปัจจุบัน มีต้นกำเนิดจากอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863) ที่ฟรีเมสัน ทาเวิร์น ในควีนส์สตรีต ลอนดอน ประเทศต่างๆได้จัดการแข่งขันเชื่อมสัมพันธไมตรีต่อกัน กระทั่งถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) ประเทศที่เตะบอลก็ได้รวมตัวกันก่อตั้งสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า(The Federation Internationale De Football Association) และในปี พ.ศ.2463 (ค.ศ. 1920) เมื่อจูลส์ ริเมต์ (Jules Rimet) ก้าวจากตำแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลฝรั่งเศสเข้ามารับตำแหน่งประธานฟีฟ่า โดยมีอองรี เดลานีย์ รับตำแหน่งเป็นเลขาธิการคู่บุญ ความคิดในการจัดการจัดแข่งขันฟุตบอลโลกก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้น และเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ของปี พ.ศ.2472 (ค.ศ. 1929) ได้มีการประชุมกันที่ บาร์เซโลนา และมีการโหวตให้ อุรุกวัย เป็นชาติเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกเป็นชาติแรก
 

 


ภาพ FIFA President Jules Rimet presents the Jules Rimet trophy to Dr.
Raul Jude of the Uruguayan Football Association.
ที่มา www.mstech.pbworks.com

 

และฟุตบอลโลกก็ได้ถือกำเนิดเปิดสนามครั้งแรกบนดินแดนละตินอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1930) ณ ประเทศอุรุกวัย (Uruguay) โดย ทำการจัดการเเข่งขันอยู่ในเมืองเพียงเดียวคือ มอนเตวิเดโอ (Montevideo) และใช้สนามในการฟาดแข้ง 3 สนาม คือ เซนเตนาริโอ(Centenario), โปซิตอส (Pocitos)และปาร์เก เซ็นทรัล (Parque Central)
 

 


ภาพ World Cup Posters Art
ที่มา www.expertfootball.com

 

ประเทศเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมดเพียง 13 ทีม ศึกลูกหนังโลกครั้งนี้ เป็นการแข่งขันที่ไม่มีการเตะรอบคัดเลือก เนื่องจากเป็นการเชิญทีมต่างๆจากสมาชิกของฟีฟามาทำร่วมการแข่งขันกัน ประเทศที่เข้าร่วมเเข่งขันส่วนใหญ่เป็นชาติในกลุ่มอเมริกาใต้ หลายประเทศในทวีปยุโรบไม่ได้เข้าร่วมฟุตบอลโลกในครั้งนี้ เนื่องจากมีมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นอุปสรรคของการเดินทาง ทำให้ประธานของฟีฟ่า ร่วมกับรัฐบาลของอุรุกกวัย ได้เสนอตัวรับภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางทั้งหมดให้กับทีมที่ข้ามน้ำข้าม ทะเลมาจากทวีปยุโรป แต่สุดท้ายก็ปรากฏว่ามีเพียง เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส ยูโกสลาเวียและโรมาเนีย เท่านั้นที่เดินทางมาตามคำเชิญ ซึ่งแต่ละประเทศก็ใช้เวลาในการเดินเกือบหนึ่งเดือนเพื่อมายังประเทศอุรุกกวัย

 

การแข่งขันรอบแรก ได้รอให้ทุกทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันเดินทางมาถึงประเทศเจ้าภาพเป็นที่เรียบ ร้อยแล้วจึงได้ทำการจับสลากแบ่งสาย โดยแบ่งออกเป็น 4 สาย คือ A, B, C และ D แต่เนื่องด้วยทีมที่เข้าร่วมแข่งขันมี 13 ทีม จึงทำให้แบ่งได้ไม่ลงตัว ดังนั้นเฉพาะสาย A จึงมีอยู่ 4 ประเทศ ขณะที่สายอื่นนั้นจะมีสายละ 3 ประเทศ หลังจากนั้นจะนำผู้ชนะของแต่ละสายมาแข่งขันกัน

 

เกมการแข่งขันนัดเปิดสนาม มีขึ้นในวันที่ 13 ก.ค.2406 (ค.ศ. 1930) โดยฝรั่งเศส ลงฟาดเเข้งกับ เม็กซิโก เกมจบลงด้วยผลงานของฝรั่งเศสถล่มเม็กซิโกไปได้อย่างขาดลอย ด้วยสกอร์ 4-1 และประวัติศาสตร์ก็ได้จารึกชื่อ ลุกแซง โลร็องต์ ขึ้นเป็นผู้ทำประตูแรกของศึกฟุตบอลโลก

 

ในสาย A มี อาร์เจนตินา, ฝรั่งเศส,เม็กซิโก และชิลี และผู้ชนะในกลุ่มนี้ก็ตกเป็นของราชันฟ้า-ขาว อาร์เจนตินา และมีพระเอกของทีมอย่าง กิลเยร์โม่ สตาบิเล่ เป็นผู้ทำแฮตทริก

 

มาที่สาย B ประกอบไปด้วย ยูโกสลาเวีย, บราซิล และโบลิเวีย นั้น ก็ได้ยูโกสลาเวียเป็นแชมป์เมื่อสามารถเอาชนะคู่แข่งได้ทั้งสองทีม

 

ส่วนสาย C ที่มีเปรู, โรมาเนีย และอุรุกวัย ตั๋วเข้ารอบรองชนะเลิศก็ต้องเป็นของเจ้าภาพไป

 

ในขณะที่สาย D ที่มีทั้งเบลเยียม และปารากวัย แต่ชัยชนะกลับตกเป็นของม้ามืดอย่างสหรัฐอเมริกา แถมยังได้เบอร์ทรัม ปาเตเนาเด เป็นผู้ทำแฮตทริกคนแรกของฟุตบอลโลก ในเกมที่พบกับปารากวัย เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2406 (ค.ศ. 1930)

 

เข้าสู่รอบ 4 ทีมสุดท้าย อาร์เจนตินาถล่มสหรัฐอเมริกายับ 6-1 ไม่ต่างกับอีกฝั่งเมื่ออุรุกวัยเจ้าภาพก็เอาชนะยูโกสลาเวียไปอย่างถล่มทลาย 6-1 เช่นกัน

 

และเเล้วรอบชิงชนะเลิศ ก็กลายเป็นนัดล้างตาของฟุตบอลโอลิมปิกเกมส์ เมื่อปี 2404 (ค.ศ. 1928) เมื่อดาราหน้าเดิมอย่าง อุรุกวัย ต้องมาเจอกับ อาร์เจนตินาอีกครั้งในสนาม เซนเตนาริโอ และในเเมทต์ประวัติศาสตร์ที่เตะกันอย่างบีบหัวใจคนเชียร์ราว9 หมื่นคนครั้งนี้ แชมป์ฟุตบอลโลกครั้งแรกก็ตกเป็นของเจ้าภาพ เมื่อสามารถพลิกเอาชนะอาร์เจนตินาไปด้วยสกอร์ 4-2 และได้ สตาบิเล่ เป็นผู้ครองตำแหน่งดาวซัลโวสูงสุด เมื่อซัดลูกบอลเข้าไปตุงตาข่ายถึง 8 ประตูด้วยกัน

 


ภาพ Uruguay, the winners of the first World Cup in 1930.
ที่มา mstech.pbworks.com

 

ถ้วยรางวัลสำหรับหรับผู้ชนะนั้นก็คือ "ถ้วยจูลส์ ริเมท์" ซึ่งเป็นถ้วยรางวัลที่ตั้งตามชื่อของบุคคลสำคัญผู้ผลักดันให้เกิดฟุตบอลโลกนั้นเอง

TOPSCORERS

 

Guillermo Stábile (ARG) 8 goals
Pedro Cea (URU) 5 goals
Guillermo Subiabre (CHI) 4 goals
Bert Patenaude (USA) 4 goals
 

 


ภาพ Guillermo Stabile, Argentina
ที่มา www.taringa.net

 

OTHER STATISTICS

 

Number of games 18
Total Goals scored 70
Average per game 3,88
Expulsions 1
Own goals 1
Total attendance 434,500
Average attendance 24,139

 

ต่อมาฟุตบอลโลกครั้งที่ 2 ในปี 2410 (ค.ศ. 1934)1934 ฟีฟ่าก็ได้คัดเลือกให้อิตาลี ซึ่งเป็นชาติที่ไม่ได้เข้าร่วมในการในศกฟุตบอลโลกครั้งแรก เป็นชาติเจ้าภาพจัดการเเข่งขัน ส่วน อุรุกวัย ก็ไม่ได้เดินทางไปเข้าร่วมเพื่อป้องกันตำแหน่งแชมป์แต่อย่างใด

 

หลังจากนั้น การจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกก็ทำการจัดต่อเนื่องมาทุกๆ 4 ปี จนจบการจากฟุตบอลโลกครั้งที่ 3 ในปี 2414 (ค.ศ. 1938) ประเพณีการจัดฟุตบอลโลกก็ต้องหลีกทางให้กับสงครามโลกไปนานถึง 12 และ ศึกลูกหนังระดับโลกก็กลับมาอีกครั้ง ในปี 2426 (ค.ศ. 1950) โดยบราซิลสามารถฝ่ามรสุมความขัดแย้งขึ้นมาเป็นเจ้าภาพจัดการเเข่งขันฟุตบอล โลกครั้งที่ 4 เป็นที่สำเร็จ

 

ต่อมาในปี ค.ศ.1970 ประเทศบราซิลได้คว้าแชมป์โลกเป็นสมัยที่ 3 จึงได้สิทธิ์ครอบครองถ้วยจูลส์ริเมท์ (ซึ่งภายหลังได้ถูกขโมยไป) ทางฟีฟ่าจึงได้จัดทำถ้วยรางวัลขึ้นมาใหม่

 

ถ้วยรางวัลศึกฟุตบอลโลก

 

The Jules Rimet Cup

 

ชื่อของถ้วยรางวัลตั้งตามชื่อของประธานฟีฟ่าในสมัยนั้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ ผู้ผลักดันให้เกิดฟุตบอลสร้างสรรค์โดยปฏิมากรชาวฝรั่งเศสชื่อว่า อาเบล ลาเฟลอูร์ (Abel Lafleur) ถ้วยของจริงสูง 38 ซ.ม. หนักประมาณ 3.8 กิโลกรัม เป็นรูปเทพธิดาแห่งชัยชนะ (Goddess of Victory) ซึ่งทำจากเงินบริสุทธิ์ และแผ่นทองคำ ฐานทำด้วยหินล้ำค่าสีฟ้า หรือไพฑูรย์ (Lapislazule) เป็นที่ฐานทั้ง 4 ด้านมีแผ่นทอง ซึ่งได้จารึกชื่อของประเทศที่ได้แชมป์ทั้ง 9 ราย ชื่อนับตั้งแต่ปี 1930 และมีการใช้ต่อเนื่องจนถึงฟุตบอลโลก 1970 เมื่อประเทศบราซิลได้คว้าแชมป์โลกเป็นสมัยที่ 3 จึงได้สิทธิครอบครองถ้วยนี้อย่างถาวร ซึ่งภายหลังได้ถูกขโมยมือดีฉกถ้วยจากที่เก็บในนครริโอเดอจาเนโร (Rio de Janiro) และทำการหลอมละลายถ้วยล้ำค่าใบนี้ไปเสียสิ้น

 


ภาพ Jules Rimet Cup
ที่มา www.myfootballfacts.com

 

The FIFA World Cup Trophy

 

ถ้วยรางวัลใบใหม่ที่ใช้เเทนใบเก่า เป็นผลงานของ ศิลปินชาวอิตาเลียน ชื่อ ซิลวิโอ กาซซานิก้า (Silvio Gazzaniga) ในปีค.ศ.1971 ถ้วยนี้มีน้ำหนักถึง 4,970 กรัม ทำด้วยทองแท้ 18 กะรัต สูง 36 เซนติเมตร มีชื่อเรียกว่า ถ้วยฟีฟ่าเวิร์ลด์คัพ (FIFA World Cup Trophy) โดยเส้นของรูปปั้นบิดขึ้นมาจากฐาน เป็นรูปนักกีฬาสองคนยืนหันหลังยกโลก ดูมีพลังคลื่อนไหวในตัวเพื่อเป็นจังหวะแห่งการฉลองชัยชนะ ที่ฐานมีพื้นที่ไว้สลักชื่อผู้ชนะได้ 17 ชื่อซึ่งมีมากพอจนกว่าจะถึงบอลโลกปี 2038

 


ภาพ The trophy of the FIFA World Cup
ที่มา www.insidethegames.com

 

ถ้วยรางวัลใบนี้เริ่มใช้ครั้งแรกสำหรับการแข่งขันใน ปีค.ศ.1974 ที่ประเทศเยอรมนีเป็นเจ้าภาพแต่ถ้วยฟีฟ่าไม่ได้เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง ฟีฟ่าถือว่าถ้วยนี้จะต้องอยู่ถาวรกับฟีฟ่า ดังนั้นผู้ชนะก็จะได้รับถ้วยจำลองที่ทำจากทองผสมไปครอง

 

และนี่คือถ้วยรางวัลที่นักบอลจากทั่วโลกต่างฟาดฟันเพื่อให้ได้ครอบครอง

 

ข้อมูลอ้างอิง

 

บราซิลกับบอลโลกครั้งแรกที่อุรุกวัย 1930 โดยคุณล่องแม่ปิง ที่มา www.bloggang.com
ประวัติฟุตบอลโลก โดยคุณโสภณ สุขครุฑ ที่มา http://gotoknow.org/blog/know-ten/170563
ฟุตบอล ที่มา www.th.wikipedia.org
ตำนานฟุตบอลโลก......โดย เดี่ยว เดียวดาย ที่มาwww.rcthai.net
ผู้จัดฟุตบอลโลกสู้รบกับหลักเศรษฐศาสตร์ โดย วรากรณ์ สามโกเศศ ที่มา มติชนรายวัน
ประวัติฟุตบอลโลก ที่มา www.cristianoronaldo7manu.spaces.live.com
กำเนิดเกมลูกหนังโลก ที่มา www. stdweb.benchama.ac.th
ฟุตบอลโลก ที่มา หนังสือพิมพ์ข่าวสด

26 ส.ค. 54 เวลา 17:45 2,307 3 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...