เฮนรี่ : ช่วงนี้ทองแพง แต่ราคา “เพชร” ก็แพงใช่ย่อยเหมือนกันครับ ตามที่สัญญาไว้ผมทิ้งท้ายว่าจะลงเรื่อง “เพชรๆ” ให้ได้อ่านกัน /// ทราบไหมครับว่า “ทำไมเราวัดน้ำหนักของเพชรเป็นกะรัต ? ” ผมมีคำตอบครับ
เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมหน่วยวัดน้ำหนักอัญมณีต่าง ๆ จึงไม่เป็นสากลแบบกรัมหรือมิลลิกรัม แต่กลับเรียกว่ากะรัต
สาเหตุที่เรียกหน่วยในการวัดระดับของน้ำหนักอัญมณี เช่น เพชร พลอย ทับทิม ฯลฯ ว่า "กะรัต" (Carat) เนื่องมาจากในสมัยโบราณ ยังไม่มีการกำหนดอัตราในการวัดน้ำหนักสิ่งของต่าง ๆ เป็นสากลแบบระบบเมตริกในปัจจุบัน จึงได้ใช้พืชชนิดหนึ่งเรียกว่า "แคร็อบ" หรือในภาษาอังกฤษ Carob ซึ่งมีลักษณะคล้ายฝักมะขาม พบในแอฟริกาใต้ มาใช้เป็นสื่อกลางในการวัดน้ำหนักของเพชร เพราะเจ้าแคร็อบนี้ มีสิ่งที่มหัศจรรย์อยู่อย่างหนึ่งนั่นคือเมล็ดจะมีน้ำหนักเท่ากันทุกเมล็ด จึงได้มีการตกลงกันให้ใช้เมล็ดเป็นมาตรฐานในการวัด ซึ่ง 1 เมล็ด เท่ากับ 0.2 กรัม โดยการชั่งก็คือใช้ตราชั่งแบบ 2 แขน วัดให้ 2 ข้างเท่ากัน ก็จะได้น้ำหนักเพชร คำว่าแคร็อบจึงเพี้ยนมาเป็น "กะรัต" อย่างทุกวันนี้
น้ำหนักกะรัต เป็นหน่วยน้ำหนักมาตรฐานในการวัดน้ำหนักของอัญมณี ซึ่งจะเทียบกับในระบบเมตริกได้คือ 1 กะรัต จะมีค่าเท่ากับ 0.2 กรัม และเท่ากับ 100 สตางค์ หรือหากวัดในระดับความบริสุทธิ์ของทองคำ ทองคำ 24 กะรัตจะมีค่าความบริสุทธิ์ 100%
คุณค่าที่คุณคู่ควร
ขอขอบคุณ
Daily News
ภาพประกอบ
learners.in.th/
blogspot.com/
agriculturesource.com/
flickr.com/
silkroadgourmet.com/
สำหรับข้อมูลดีๆค้าบ