10 อันดับ สุดยอดผีเสื้อ

 

อันดับ 10 “อยู่ในความเย็นได้นานที่สุด” คือ ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ Brimstone (Gonepteryx rhamni) 


 
สามารถอยู่ในน้ำแข็งหรือหิมะที่ลบถึง20 องศา C ได้ และอยู่ได้นานถึง 12 เดือน ภายในตัวของผีเสื้อหนอนกะหล่ำชนิดนี้ 
มีสาร ป้องกันการแข็งตัวของของเหลวภายใน ช่วยให้มันไม่แข็งตายในช่วงฤดูหนาวจัด บ้านเราไม่มีผีเสื้อชนิดนี้ครับ 


อันดับที่ 9 “ขนยาวที่สุด” มอธเสือ (Arctia caja) 

เป็นขนของหนอนมอธเสือ ที่ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร บ้านเราก็มีหนอนมอธหลายชนิดที่มีขนยาวๆ แบบนี้ แต่ไม่เคยวัดว่า 
มันยาวถึง 2 เซนติเมตรมั้ย 


อันดับที่ 8 “หางยาวที่สุด” มอธพระจันทร์มาดากัสการ์ (Madagascan Moon) 


 
“หางยาวที่สุด” เป็นมอธพระจันทร์มาดากัสการ์ (Madagascan Moon) หรือมอธตาเคียว ที่พบบ้านเราได้หลายชนิด แต่ชนิดในภาพนี้บ้านเราไม่มี 
เขาบอกว่าหางของตัวผู้ยาวถึง 20 เซนติเมตร คราวหน้าถ้าเจอมอธในกลุ่มนี้จะลองวัดขนาดดูเผื่อว่าจะยาวกว่าของมาดากัสการ์ก็ได้ 


อันดับ 7 “สุดยอดนักเลียนแบบ” คือ Hornet Moth (Sesia apiformis) 


บ้าน เรามีหลายชนิด เช่น มอธเหยี่ยวปีกใส (Cephonodes picus) มอธหญ้า (Syntomoides sp.) ภาพนี้เห็นตัวไม่ชัดก็เลยบอกไม่ได้ว่ามอธที่พบ 
ในบ้านเรานั้นเลียนแบบได้เนียนกว่าหรือเปล่า 


อันดับ 6 “สุดยอดหัวโขมย” คือมอธเหยี่ยวหัวกะโหลก Death’s head Hawkmoth (Acherontia atropos) 


 
ชนิด นี้พบได้ในบ้านเราเหมือนกัน ชาวนิตยสาร BBC Wildlife บอกว่ามันคือหัวโขมยน้ำผึ้ง สงสัยใช่มั้ยว่าทำไมผึ้งไม่รู้ว่ามัน แอบเข้ามา มอธชนิดนี้ 
มันใช้เทคนิคการเลียนแบบกลิ่นของผึ้ง ทำให้ผึ้งเข้าใจว่านี่คือสมาชิกตัวหนึ่งของมัน ส่วนหน้าตารูปร่างจะเป็นอย่างไรผึ้งไม่สน เอาแค่กลิ่นเดียวกัน 
เป็นใช้ ได้ แต่ผึ้งก็จะอนุญาตให้มันกินน้ำผึ้งได้ในช่วงสั้นๆ เท่านั้น แต่ถ้าบางครั้งมอธใช้ปากชอนไชเข้าไปในรังมากเกินไป ผึ้งก็จะพากันขับไล่ไป 


อันดับ 5 “เล็กที่สุด” คือ มอธ Ectoedemia groschkei 


 
ปีกสองข้างรวมกันกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตรเท่านั้น หนอนอาศัยและกินอาหารอยู่ในใบไม้ เมล็ดพืช และตามเปลือกไม้ 


อันดับ 4 “พิษร้ายที่สุด” คือ มอธ Bernet ในวงศ์มอธรมควัน (Zygaenidae) 



ซึ่ง เป็นสารจำพวกไซยาไนด์ ถึงจะมีพิษแต่มันก็ยังกลัวจะถูกสัตว์ผู้ล่ากินอยู่ดี จึงต้องแต้มสีแดงบนสีดำ เป็นสัญญาณเตือนให้พวกผู้ล่าได้เห็นกัน 
ชัดๆ จะได้ไม่หลงเข้ามากิน ดูแล้วก็คล้ายๆ กับพวกผีเสื้อหนอนใบรักที่พบในบ้านเรา (รวมทั้งผีเสื้อโมนาร์ค) ที่มีพิษในตัว แต่ก็ไม่ได้รุนแรงอะไร 
กิ้งก่า หรือนกที่กินเข้าไปก็แค่ทำให้คลื่นใส้อาเจียนเท่านั้นเอง และพิษพวกนี้ก็สะสมมาตั้งแต่ที่หนอนกินพืชอาหารที่มีพิษเข้าไปเหมือนกัน ทาง 
BBC Wildlife ก็ไม่ได้บอกไว้ว่าพิษรุนแรงแค่ไหน ก็เลยไม่แน่ใจว่า ร้ายที่สุดจริงหรือเปล่า หรือพอๆ กับผีเสื้อหนอนใบรัก 


อันดับ 3 "จมูกดีที่สุด" (ในยุโรป) Giant Peacock หรือ Viennese emperor (Saturnia pyri)


 
เป็นมอธวงศ์เดียวกับมอธหนอนกระท้อน ทาง BBC Wildlife บอกว่าตัวผู้มีจมูก (หนวด) รับสัญญาณกลิ่น (ฟีโรโมน) ได้ไกลเป็นกิโล ในเมืองไทย 
ก็ เคยมีคนทดลอง (อย่างไม่เป็นทางการ) กับผีเสื้อหนอนกระท้อน ซึ่งตัวผู้สามารถได้กลิ่นตัวเมียไกลเป็นกิโลเหมือนกัน สาเหตุหนึ่งก็คือเมื่อมอธ 
หนอนกระท้อนโตเต็มวัยแล้วไม่มีปากสำหรับกิน อาหารแต่อย่างใด ต้องใช้พลังงานที่สะสมมาในช่วงที่เป็นตัวหนอน ดังนั้นมันจึงต้องหาคู่ให้เร็วที่สุด 
เพื่อทำหน้าที่สำคัญเพียงอย่างเดียวคือผสมพันธุ์ ถ้าจมูก (หนวด) ไม่ดีก็ไม่สามารถทำหน้าที่ให้ครบถ้วนได้ 


อันดับ 2 “ใหญ่ที่สุด” คือ มอธหนอนกระท้อน (Attacus atlas) 



ตัว เมียมีปีกกว้างถึง 25-30 เซนติเมตร มีเนื้อที่ของปีกราว 400 ตารางเซนติเมตร มีอายุประมาณ 1-2 สัปดาห์เท่านั้น และไม่มีปากสำหรับกินอาหาร 


อันดับ 1 “เดินทางไกลที่สุด” ผีเสื้อโมนาร์ค (Danaus plexippus)



ทุกๆ ปีจะมีผีเสื้อโมนาร์ค ราว 10 ล้านตัว พากันอพยพไป-กลับ จากแคนาดา อเมริกาเหนือ ไปยังอเมริกาใต้และเม็กซิโก เป็นระยะทางกว่า 4 พัน 
กิโลเมตร แต่ตอนกลับจะเป็นผีเสื้อรุ่นที่สอง-สามแล้ว การเดินทางทั้งไปและกลับจะกินเวลาประมาณ 3 เดือน

21 ส.ค. 54 เวลา 17:11 7,272 7 110
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...