พบกลอง 'มโหระทึก' อายุ2,500ปีที่ชุมพร

 

 

 

 

 

 

พบกลอง 'มโหระทึก' อายุ2,500ปีที่ชุมพร

 

 

หนุ่มชุมพรอาชีพดูดทราย เจอกลอง "มโหระทึก" ลายนกยูงบินทวนเข็มนาฬิกา อายุราว 2,500 ปี ในคลองอู่ตะเภาแหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว นักโบราณคดีชี้เป็นกลองที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้...

เมื่อวันที่ 17 ส.ค. นายเอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ได้เดินทางไปรับมอบกลองมโหระทึกที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร หลังจากที่นักโบราณคดีแจ้งว่า ชาวบ้านชื่อนายเอกวุฒิ อาศัยผล บ้านเลขที่ 44/2 หมู่ที่ 3 ตำบลบางลึก อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร มีอาชีพรับจ้างดูดทราย ได้พบกลองนี้จำนวน 1 ใบ ที่บริเวณคลองอู่ตะเภาแหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว ตำบลนาชะอัง เขตอำเภอเมือง แล้วนำมามอบให้พิพิธภัณฑ์เก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ

จากการตรวจสอบของลักษณะกลองใบนี้ นักโบราณคดี ระบุว่า ทำด้วยสำริดอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคเหล็กอายุราว 2,500-2,000 ปีมาแล้ว เปรียบเทียบได้กับกลองมโหระทึกสำริดแบบเฮเกอร์ 1 (Heger 1) ในวัฒนธรรมดองซอน ที่พบในเวียดนาม นับเป็นรูปแบบกลองที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดใบหนึ่ง ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นายเอนก กล่าวอีกว่า ในส่วนตรงกลางหน้ากลอง มีลายดาวหรือดวงอาทิตย์ 14 แฉก ที่สำคัญมีลายหางนกยูงคั่นปรากฏอยู่ ที่ยังไม่เคยพบเห็นในกลองประเภทนี้ในประเทศไทย และยังมีลายนกมีหางคู่ยาวกำลังเอี้ยวไซร้ปีกหรือขน บินทวนเข็มนาฬิกา จำนวน 6 ตัว แถวลายจุดถัดมาเป็นแถวลายวงกลมม้วน คล้ายก้นหอย 12 อัน และลายนกกระสาคู่มีหงอนและไม่มีหงอน บินทวนเข็มนาฬิกาจำนวน 8 คู่ รวม 16 ตัว ตัวกลองมีหูสี่ด้านแต่ละอัน ลายคล้ายเกลียวเชือก สภาพตัวกลองมีร่องรอยของการใช้ทอยอยู่โดยรอบ แสดงถึงกรรมวิธีการหล่อแทนที่โลหะด้วยขี้ผึ้ง (Lost wax or Cire Perdue) พิมพ์ประกบสองชั้น บริเวณหน้ากลองบางส่วน มีคราบสนิมสีน้ำตาลแดงจับ ฐานล่างส่วนหนึ่งชำรุดแตกบิ่นหายไป

 

 

 

 

Credit: http://www.norsorpor.com/
18 ส.ค. 54 เวลา 14:49 11,377 11 140
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...