กราฟีน คือ สาร ที่ บางที่สุดในโลก
(thinnest substance)
คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน รุ่นใหม่ อาจจะเป็นการจบยุค ซิลิคอน(Silicon) และเป็นการก้าวสู่ยุค กราฟีน(Graphene) เมื่อนักวิจัยพบว่า อิเล็กตรอน สามารถเคลื่อนที่ผ่าน กราฟีน ได้เร็วกว่าเคลื่อนที่ผ่าน ซิลิคอน ที่เป็นสารที่ใช้ทำ ชิป(Chip) ในปัจจุบัน มาก
กราฟีน คืน สารที่ประกอบด้วยอะตอมคาร์บอนเรียงตัวกันแบบสองมิติ เป็นรูปตาข่ายรวงผึ้ง โดยมีความหนาเพียง 1 อะตอม จึงทำให้มันเป็น สารที่บางที่สุดในโลก
กราฟีน ไม่เพียงแต่จะเป็นการปฏิวัติ วงการ เซมิคอนดักเตอร์(semiconductor), เซ็นเซอร์ และเทคโนโลยีการแสดงผล แต่ยังอาจนำไปสู่นวัตกรรมการวิจัย ฟิสิกส์ควอนตัมพื้นฐาน ด้วย
กราฟีน ถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย แมนแชสเตอร์ นามว่า Andre Geim และ Konstantin Novoselov ในปี 2004 โดยเริ่มแรกพวกเขา ได้ใช้ สก็อตเทปทำการลอกคาร์บอน ออกจากแท่งกราไฟท์(graphite) และทำให้เหลือคาร์บอนหนาเพียง 1 อะตอม ทำให้ได้แผ่นฟิลม์คาร์บอนที่มีโครงสร้างสองมิติ ที่ถูกเรียกขานว่า "กราฟีน" การจากผลงานการบุกเบิกค้นพบ กราฟีน นี้ทำให้ทั้งสองได้รับ รางวัลโนเบล สาขา ฟิสิกส์ ในปี 2010
และงานวิจัยล่าสุดได้เผยว่า อิเล็กตรอน สามารถเคลื่นที่ผ่านสารที่บางกว่าได้ดีกว่า สารที่หนา กว่า
ศาสตราจารย์ Kostya Novoselov จึงทำการทดลอง ดูการเคลื่อนที่ของ อิเล็กตรอน ผ่าน กราฟีน ที่ถูกแขวนอยู่ในหลอดสูญญากาศ สิ่งที่พบคือ อิเล็กตรอนสามารถเดินทางผ่าน กราฟีน ได้รวดเร็วกว่า ซิลิคอน มาก
เมื่อรวมกับคุณสมบัิติที่ว่า กราฟีน นั้นเบากว่า แข็งแรงกว่า และยืดหยุ่นได้ดีกว่า ซิลิคอน มันคือ วัสดุแห่งอนาคตในวงการอิเล็กโทรนิค ที่จะก้าวข้ามาแทนที่ ซิลิคอน ในอนาคต ซึ่งต่อไปเราอาจจะได้เห็นคอมพิวเตอร์บางที่เป็นแผ่นบางๆ ที่สามารถโค้งงอได้เหมือนพลาสติกก็ได้ ในไม่ช้า