เมื่อเห็นมันครั้งแรก หลายคนอาจจะคิดว่ามันเป็นปลาโลมาปกติ แต่ วินเตอร์ คือ ปลาโลมา ชีวกล(Bionic) ตัวแรกของโลก
เมื่อ วินเตอร์(Winter) อายุได้เพียง 2 เดือน มันก็ต้องพบความสูญเสียครั้งยิ่งใหม่ เมื่อมันต้องสูญเสียแม่ของมัน พร้อมกับ หาง ของมันไปใน กับดักปู มันได้รับการช่วยชีวิต และนำมารักษาที่ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ Clearwater Marine Aquarium ต่อมามันเรียนรู้ที่จะว่ายน้ำโดย ปราศจากหาง แต่ สัตแพทย์ก็กังวลว่าการว่ายน้ำลักษณะนี้จะทำให้กระดูกสันหลังของมันเสียหาย พวกเขาจึงหาทางแก้ไขโดย จะต้องสร้าง หางเทียม ให้แก่วินเตอร์ โดยไปขอความช่วยเหลือจาก นักวิทยาศาสตร์ชาวไอริส นามว่า Kevin Carroll และหุ้นส่วนทางธุรกิจ นามว่า Dan Strzempka ที่ประกอบธุรกิจ อวัยวะเทียม แต่การทำหางเทียมนั้นไม่เหมือนการทำแขน ขาเทียมในมนุษย์ เนื่องจากในมนุษย์การทำช่องสำหรับเสียบอวัยวะเทียมนั้นเชื่อมอยู่กระดูกเพียง 1 ท่อน แต่ในปลาหางเทียมจะต้องถูกเสียบเข้ากับกระดูกหลายท่อน(กระดูกสันหลัง) ทำให้ต้องมีจุดต่อที่เคลื่อนไหวได้รอบทิศทางจำนวนมาก หลังจากความเพียรพยายาม 18 เดือน เงินอีก 1.5 แสนปอนด์(7.5 ล้านบาท) และหางเทียมต้นแบบอีก 50 อัน หางเทียมซิลิโคน ขนาด 30 นิ้ว(0.75 เมตร) สำหรับ วินเตอร์ จึงประสบความสำเร็จ เนื่องจากผิวของ ปลาโลมา นั้นค่อนข้างอ่อนไหว จึงมีการคิดค้น เจลพิเศษ ขึ้นมาเพื่อป้องกันความระคายเคือง ในขณะสวมใส่ หางเทียม เจลพิเศษ นี้ยังถูกนำไปในมนุษย์ อย่างเช่น นาย Brian Kolfage ที่สูญเสียขาทั้งสองข้าง และมือขวาไปในอิรัก เมื่อร่างกายมีปริกริยาต่อต้านรุนแรงเมื่อสวมใส่ แขน ขาเทียม จนไม่สามารถใช้อวัยวะเทียมเหล่านั้นได้ แต่ เมื่อนำ เจลพิเศษ มาใช้เขาจึงสามารถสวมใส่ แขน ขาเทียมได้ในที่สุด เรื่องราวชีวิตของ วินเตอร์ ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์สามมิติ ที่จะออกฉายในเดือนตุลาคม 2011
วินเตอร์ เมื่อไม่ใส่หางเทียมมันจะว่ายน้ำตะแคงข้าง
นี้คือ หางเทียมซิลิโคน ของ วินเตอร์ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงอีกเมื่อมันโตขึ้น