มัมมี่มีอยู่มากมายหลายแบบทั่วโลก มีทั้งมัมมี่ที่ทำโดยตั้งใจทำโดย
กรรมวิธีอันชาญฉลาดที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมาเพื่อที่จะรักษาสภาพศพของผู้ตาย
ให้เหมือนกับตอนยังมีชีวิตอยู่โดยมีความเชื่อว่าผู้ตายอาจมีโอกาสกลับฟื้นขึ้นมาในร่างเดิม
และมัมมี่ที่เกิดจากการที่ธรรมชาติรังสรรค์โดยความเหมาะสม ลงตัว ของสภาพดิน ฟ้า และอากาศ
(OTZI)อ๊อตซี่
เป็นมัมมี่ที่เกิดขึ้นโดยสภาพภูมิอากาศอันเหมาะสม อ๊อตซี่เป็นศพของชายที่มีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ศพของอ๊อตซี่นั้นถูกพบอยู่บนยอดเขา ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 3,210 เมตร
ระหว่างหุบเขา (Schnalstal)ของประเทศอิตาลี กับ(Ventertal)ของออสเตรีย
เมื่อศพของอ๊อตซี่อยู่ระหว่างสองประเทศนี้จึงมีการแย่งศพของอ๊อตซี่เกิดขึ้น
แต่ประเทศผู้ที่ได้ศพของอ๊อตซี่ไปนั้นคือประเทศอิตาลี เพราะศพของอ๊อตซี่อยู่ลึกเข้ามาในอิตาลี
ห่างจากเส้นแบ่งเขตแดน 92 เมตร ปัจจุบันอ๊อตซี่ ถูกเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมืองบอลโน
ผลจากการตรวจสภาพศพของมัมมี่โดยราดิโอคาร์บอน เพื่อบ่งบอกอายุที่แท้จริงของอ๊อตซี่โดยใช้เนื้อเยื่อจาก
ศพผลปรากฎว่าอ๊อตซี่มีชีวิตอยู่เมื่อ 5,300 ปีมาแล้วโดยประมาณ
และจากการศึกษากระดูกของอ๊อตซี่ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเขาเป็นชายที่มีอายุประมาณ 46 ปี สูง 159 เซนติเมตร
ถิ่นกำเนิดของเขาอยู่ที่ตอนกลางของภาคเหนือของยุโรป จุดที่พบศพอ๊อตซี่
นักวิชาการมีความเห็นว่าอ๊อตซี่ไม่ได้ตายตรงจุดที่พบหากแต่ลอยมาจากที่อื่นในช่วงที่น้ำแข็งเกิดการละลาย
ในรูปคือท่าตอนที่พบศพของอ๊อตซี่ครั้งแรก น้ำแข็งและความหนาวเย็นของ
สภาพ ภูมิอากาศของประเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ศพของอ๊อตซี่เป็นมัมมี่ไปโดย ปริยาย ซึ่งถือว่าอ๊อตซี่เป็นมัมมี่ที่เก่ากว่ามัมมี่อียิปต์อีกด้วยค่ะ
ผิวหนังชั้นนอกของอ๊อตซี่ไม่เหลือแล้วค่ะ และเล็บก็เหลืออยู่เพียงเล็บเดียวแต่เล็บหนึ่งเล็บที่เหลือก็บ่งบอกว่า ภายในช่วง 6 เดือนสุดท้ายของชีวิต อ๊อตซี่เคยป่วยหนักมา 3 ครั้ง และครั้งสุดท้ายที่ป่วยก็คือช่วง 2 เดือน ก่อนตายและเป็นครั้งหนักที่สุดซึ่งดูจากเล็บมีรอยหยักพาดขวางอยู่ 3 แนว เป็นเเนวที่เกิดขึ้นเมื่อเล็บหยุดงอกและกลับมางอกใหม่อีกครั้ง
(Lindow Woman) สตรีแห่งลินโดว์
วันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 คนงานขุดถ่านหินพีท
บริเวณลินโดว์มอส แถบวิมสโลว์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอังกฤษ ได้พบศพของมนุษย์เพศหญิง
เป็นมัมมี่ซึ่งเกิดจากธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากถ่านหินพีท(Peat)
ซึ่งถ่านหินพีทนี้แหละค่ะเป็นตัวช่วยเก็บรักษาสภาพร่างกายและใบหน้าอย่างดีของมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่เมื่อสองพันกว่าปีก่อน
ซึ่งมนุษย์ที่เจอในบ่อถ่านหินพีทนั้นเราเรียกว่ามนุษย์ในตม(Bog Bodies)
โดยในบ่อถ่านหินพีทเหล่านี้ได้มีการพบร่างของมนุษย์หลายครั้ง
ศพดังกล่าวมีอายุ1,750 ปี
(Lindow Man) บุรุษแห่งลินโดว์
ต่อมา1 สิงหาคม 1984 บ่อถ่านหินพีทที่เดิม ก็พบศพอีกหนึ่งศพ
(Grauballe) โกบัลเล
ประเทศ เดนมาร์ค เป็นอีกประเทศนึง มีชื่อเสียงในการพบมนุษย์ในตม
ซึ่งค้นพบ ที่ถูกเรีกยว่า (Tollund) มนุษย์โทลลันด์
ศพที่พบเหล่านี้สันนิษฐานว่าเป็นผู้ที่ถูกนำมาบูชายัญ
เพราะลักษณะการถูกฆาตกรรมที่ใช้วิธีใกล้เคียงกันส่วนมากจะถูกรัดคอด้วยเชือกและหย่อนลงมาในบ่อถ่านหินพีท
หรือไม่ก็ถูกมัดมือมัดเท้าแล้วเชือดคอค่ะ และยังพบสิ่งของมีค่าอีกด้วย
เดนมาร์คยังพบศพมนุษย์ในตมจากโกบัลเล(Grauballe)และแหล่งอื่นๆกว่าอีก 170 ศพด้วยค่ะ
ในรูปคือศพมนุษย์แห่งโกรบัลเลซึ่งจากสภาพแสดงใหเห็นการถูกสังหารโดยการเชือดคอ
สภาพศพของมนุษย์ในตมที่ถูกเก็บไว้ในบ่อถ่านหินนั้นถือว่าอยู่ในสภาพดีอย่างมาก
เพราะสามารถรักษาผิวหนัง เส้นผมและอวัยวะภายในได้ ดีจนขนาดที่ว่าแม้แต่ลายนิ้วมือก็ยังมีความชัดเจน
ซึ่ง ทำให้นักนิติเวชสังเกตุได้ว่าศพที่ถูกบูชายัญนั้นเป็นชนชั้นสูงเพราะนิ้วมือ ที่เรียบเกลี้ยงเกลาและเล็บก็ไร้รอยขีดขูดแสดงว่าไม่ได้ทำงานหนัก
แต่ส่วนกระดูกและส่วนที่แข็งอื่นๆของร่างกายนั้นกลับถูกกัดกร่อนจนมีสภาพอ่อนนุ่มและโค้งงอได้ราวกับฟองน้ำ
มัมมี่ของชนเผ่าชาชาโปยาในประเทศเปรู (Chachapoya)
ชนเผ่านี้อยู่มาจนถึง ค.ศ.1470 จึงถูกชาวอินคารุกรานและเข้าครอบครองจนสูญสิ้นไปจากโลก
สุสานของเขาก่อนค่ะสุสานของชาวชาชาโปยา ซึ่งเรียกว่า ชัลปาส์(Chullpas)
ถูกสร้างอยู่บนชะง่อนผา มีลักษณะเป็นเรือนแถวยาว หน้ากว้าง 150 ฟุต ลึก 15 ฟุต และสูง 10 ฟุต
แบ่งเป็น 6คูหา ตัวเรือนก่อด้วยหินปูนสกัดเป็นก้อนวางเรียงกันไป และประสานกันไว้ด้วยโคลนจากดินเหนียว
ผนังบางคูหาฉาบทับด้วยปูนขาว ด้านหลังเป็นหน้าผา หลังคานั้นมุงด้วยปีกไม้หนาถากหยาบๆวางเรียงชิดกัน
ภายในคูหาท่อนไม้ถูกวางเรียงยกเป็นพื้นขึ้นเพื่อวางมัมมี่ ช่องหน้าต่างทุกช่องจะหันออกสู่ทะเลสาบ
ในรูปคือมัมมี่หล่นทะลักออกมาจากสุสานเรือนแถว เนื่องจากถูกชาวบ้านมารื้อค้นหาสมบัติ
มัมมี่ของชาวชาชาโปยากระทำโดยการอาบน้ำยา
อวัยวะภายในช่องท้องก็ถูกควักออกมาจนหมดป้องกันการเน่าเปื่อย
ผิวหนังก็ผ่านกรรมวิธีบางอย่างที่ทำให้คล้ายหนังฟอก
บริเวณใบหน้าก็นำฝ้ายยัดเข้าไปในปากและรูจมูก เพื่อมิให้รูปหน้ายุบลง
มัมมี่ของชาวชาชาโปยาจะถูกห่อไว้และมีด้ายปักเป็นรูปหน้าคร่าวๆ
มัมมี่ของชาวอินคา
ได้มีการค้นพบมัมมี่ของชาวอินคาเป็นสุสานอยู่บนยอดเขาในประเทศเปรู
ยอดเขานี้มีชื่อว่า เนวาโด แอมปาโต (Nevado Ampato) มีความสูง20,700 ฟิต เป็นภูเขาไฟซึ่งดับแล้ว
สุสานของชาวอินคาจริงๆนั้น เป็นหลุมตื้นๆที่ฝังมัมมี่เด็กสาวชาวอินคา อายุราว 15 ปี ตัวหลุมเป็นรูปทรงกลม
ตัวมัมมี่ถูกฝังอยู่ในท่านั่งกลางหลุมแคบๆ ใกล้กับมัมมี่พบเปลือกหอย กระดูกลามา
ถุง ใส่เสื้อผ้า 2 ถุง และภาชนะดินเผาที่มีทั้งเมล็ดข้าวโพดและซังของมัน(การสำรวจครั้งนี้พบมัมมี่ หลายศพและเป็นเด็กสาว อายุประมาณ 15 ปี)
เป็นมัมมี่จากสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพราะบางส่วนของพื้นที่นี้ก็เป็นน้ำแข็งจนทำให้คณะสำรวจทำงานกันค่อนข้าง ลำบากค่ะ จากการตรวจสอบมัมมี่และดูจากสภาพสิ่งของบริเวณที่พบมัมมี่ทำให้รู้ว่าเธอถูก นำมาบูชายัญ
มือของมัมมี่ของเด็กสาวที่โผล่พ้นผ้าออกมายังอยู่ในสภาพดีมากแม้เวลาจะล่วงเลยมากว่า 500 ปีแล้วก็ตาม
มัมมี่ของชาวเผ่าพาซิริค(Pazyryk)
พวกเขาตั้งรกรากอยู่บริเวณทุ่งราบยูค็อค(Ukok) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของไซบีเรีย
พวกเขาตั้งรกรากอยู่บนเนินเขาแห่งนี้มาตั้งแต่ราว 600 ปีก่อนค.ศ. พวกเขายังชีพบนหลังม้า ไล่ล่าสัตว์
นักโบราณคดีได้มีการค้นพบสุสานของชาวพาซิริค มากกว่า 150 แห่งตามบริเวณเนินเขา
แต่ว่าส่วนใหญ่ช่างน่าเสียดายเพราะพบชะตากรรมเหมือนกับสุสานแห่งอื่นถูกพวกมือดีโจรกรรมสิ่งของมีค่าไปแล้ว
แต่ต่อมาก็มีเรื่องน่ายินดีที่ว่าได้มีการค้นพบสุสานที่ยังไม่ถูกโจรกรรมและสิ่งของในสุสานก็ยังคงสมบูรณ์
ได้แก่การค้นพบสุสานในหุบเขา อูสท์อูลากัน ซึ่งปรากฏว่าเป็นสุสานของผู้นำเผ่า พบมัมมี่หลายศพ แต่ละมัมมี่เห็นรอยสักที่ตัวอย่างชัดเจน
มัมมี่ของชาวพาราคัส
พาราคัสเป็นที่ราบอันแห้งแล้งแห่งหนึ่งในคาบสมุทร(Paracus)อยู่ทางภาคใต้ของเปรู
เป็นที่ซึ่งสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้งเป็นอย่างมากซึ่งอากาศร้อนแห้งแล้งนี้คือปัจจัยสำคัญให้ชาวพาราคัสที่ตายเป็นมัมมี่ไปโดยปริยาย
เพราะมันไปหยุดยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ซึ่งมัมมี่เหล่านี้มีอายุมากกว่า 2,000 ปี
โดยมัมมี่แต่ละศพจะถูกห่อด้วยผ้าหลายชั้น ด้านนอกสุดมักจะห่อด้วยผ้าฝ้าย
แต่ที่น่าสนใจที่สุดของมัมมี่ชาวพาราคัส คือลักษณะของกะโหลกที่ประหลาดมองแล้วนึกว่าเป็นมนุษย์ต่างดาวบุกโลก
แต่มันเกิดมาจากความตั้งใจค่ะ เพราะชาวพาราคัสเชื่อกันว่าผู้ที่มีรูปร่างหน้าตาดีจะต้องมีกะโหลกที่ยาวป่องออกไปด้านหลัง
เขา จึงรัดกะโหลกของทารกเพื่อให้เกิดรูปร่างที่เขานิยมว่างดงาม เมื่อเวลาล่วงเลยไปกะโหลกจึงมีรูปร่างตามที่ต้องการเป็นกะโหลกทรงประหลาด
ปล.เมื่อมีการตรวจสอบกะโหลกของมัมมี่หลายร่างพบว่า มีร่องรอยของการผ่าตัดกะโหลกศรีษะ
รอยผ่าเหล่านี้เป็นรอยที่เกิดจากการใช้มีดที่ทำจากหินจิ้มเจาะกะโหลก
ผลคือผู้ที่ผ่าตัดเจาะกะโหลกแบบนี้มักจะรอดตายเกือบหมด เพราะเนื่องจากเห็นร่องรอยของกระดูกที่งอกขึ้นบริเวณริมรอยที่เจาะ
โดยบางรายก็เห็นว่ามีกระดูกงอกออกมาเชื่อมติดกันอย่างสมบูรณ์
อันแสดงให้เห็นว่าคนที่ถูกผ่าตัดนั้นมีชีวิตรอดอีกยาวนานจนกระทั่งกระดูกได้งอกเชื่อมต่อกันสำเร็จ
มัมมี่ของชาวฟิลิปปินส์
ที่ประเทศฟิลิปปินส์นั้นมีการทำมัมมี่กันมาตั้งแต่ ศตวรรษที่12
และได้เลิกทำมัมมี่ตอนที่สเปนเข้ามาปกครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์
เมื่อศตวรรษที่16 การทำมัมมี่นั้นจะทำเฉพาะในครอบครัวที่มีฐานะดีเท่านั้น
ซึ่งก็มักจะไม่พ้นประเภทหัวหน้าเผ่าหรือผู้นำของหมู่บ้าน ที่จะสามารถรักษาศพของเขาไว้ในสภาพมัมมี่ได้
ส่วนมากพวกเขาจะเลือกสถานที่เก็บมัมมี่ของตนก่อนตายด้วย
บ่อยครั้งที่การเริ่มพิธีกรรมในการทำมัมมี่ได้มีการกระทำก่อนที่บุคคลนั้นจะตายลงเสียด้วยซ้ำ
ถ้าลูกหลานเห็นว่าบุคคลนั้นชรามากแล้วหรือเจ็บหนักจนไม่สามารถรักษาได้
ลูก หลานก็จะจัดพิธีให้ก่อนที่จะเสียชีวิต โดยจะให้บุคคลนั้นดื่มน้ำเกลือ ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าน้ำเกลือจะเข้าไปชะล้างทำให้อวัยวะภายในสะอาด
เมื่อบุคคลนั้นตาย ผู้ที่เป็นบุตรชายคนโตก็จะพ่นควันบุหรี่เข้าไปในปากของผู้ตาย
โดยเชื่อว่าควันบุหรี่จะทำให้อวัยวะภายในไม่เน่า และนี่คือสาเหตุว่าทำไมมัมมี่ฟิลิปปินส์(ชาวอีบาลอย)ที่พบจึงอ้าปากกว้าง
ต่อมาก็จะเอาศพนั้นไปชำระล้างร่างกายให้สะอาด และนำมาผูกติดกับม้านั่งในท่านั่งชันเข่าคู้
จากนั้นก็จะทำการก่อไฟสุมควันใต้ที่นั่งนั้นเพื่อรมควันให้ศพแห้ง
พวกเขาจะวางชามไว้ใต้ที่นั่งเพื่อรองรับน้ำและไขที่ไหลออกมาซึ่งเขาถือว่าเป็นของขลัง
ชาวอีบาลอยจะไม่เอาอวัยวะภายในของศพออกมาเลยเพราะพวกเขาเชื่อว่า "ร่างกายเป็นที่สิงสถิตของวิญญาณ จึงไม่ควรเอาอะไรออกไป"
พอของเหลวในร่างกายไหลออกมาหมด ก็จะนำร่างนั้นไปตากแดดเพื่อให้แห้งเร็วขึ้น
จากนั้นผู้มีอาวุโสทั้งหลายในหมู่บ้านก็จะช่วยกันลอกเอาหนังกำพร้าออก แล้วใช้ใบไม้บางอย่างถูตามตัว
ก็เป็นการเสร็จพิธีการทำมัมมี่ของชาวอีบาลอยในฟิลิปปินส์(ในรูปแม้มัมมี่จะถูกลอกหนังชั้นกำพร้าออกแต่ก็ยังเห็นลอยสักได้อย่างชัดเจน)
โลงศพของมัมมี่ชาวอีบาลอยจะทำด้วยไม้สน ซึ่งขึ้นอยู่แถวที่เก็บมัมมี่ของผู้ตาย
โดยโลงจะทำเป็นรูปไข่ให้มีขนาดพอดีกับมัมมี่ที่อยู่ในท่าชันเข่าคู้
เหตุที่จัดท่าให้มัมมี่อยู่ในลักษณะนี้เนื่องจากสุสานของเค้าอยูบนเขาสูง จะได้แบกขึ้นไปยังสุสานได้โดยสะดวก
มัมมี่ของชาวชินชอร์โร(Chinchorro)
ซึ่งพวกเขามีชีวิตอยู่เมื่อราวๆ 8,000-3,000 ปีที่แล้ว มัมมี่ถูกค้นพบที่แถวๆเมืองอริก้า(Arica)ประเทศชิลี
นัก โบราณคดีถือว่าชาวชินชอร์โร่เป็นชนกลุ่มแรกที่ทำมัมมี่เพื่อรักษาสภาพศพของ คนที่เขารักให้คงอยู่ตลอดไป กระบวนการทำมัมมี่ของชาวชินชอร์โร่มี 2 แบบ
แบบแรกเริ่มด้วย
เขาจะนำศพมาตัดส่วนหัวออกก่อน จากนั้นก็เป็นขา และส่วนต่างๆของศพนั้นจะถูกลอกหนังออกมาก่อนแล้วนำมาประกอบเข้ากับศพในตอนหลัง
จากนั้นก็เริ่มทำการคว้านเอาอวัยวะภายในออกมาทั้งหมด ส่วนร่างที่เหลือจะถูกทำให้แห้งด้วยถ่านร้อนๆ
ส่วนท่อนขาที่ถูกแยกออกมาจากศพจะถูกผ่าเพื่อนำเอากระดูกออกมาแล้วนำไปทำความสะอาดจากนั้นก็ตากให้แห้ง
สมองนั้นก็เอาออกมาจากกะโหลกทั้งหมด เมื่อทุกส่วนถูกทำความสะอาดหมดแล้วจึงนำมาต่อเข้าด้วยกัน
โดยจะมีการเสริมแรงให้กับกระดูกที่สอดเข้าไปที่เดิมอีกครั้งด้วยการผูกกระดูกเข้ากับไม้
ช่อง ว่างภายในร่างกายจะถูกอุดด้วยหญ้าแห้งและขี้เถ้า การประกอบส่วนต่างๆของมัมมี่จะนำส่วนทั้งหมดของร่างมาเรียงตามตำแหน่งเดิม และพอกด้วยขี้เถ้า
เมื่อพอกทุกส่วนหมดแล้ว หนังที่ลอกไว้เมื่อช่วงแรกก็นำมาวางไว้ที่ตำแหน่งเดิม และต่อมาก็ทาร่างมัมมี่ด้วยสารสีดำที่ได้มาจากแร่แมงกานีส ส่วนใบหน้าจะถูกวาดขึ้นอย่างคร่าวๆ
มัมมี่ของชาวชินชอร์โร่แบบที่สอง
จะไม่มีการแยกส่วนต่างๆของร่างออกมา เขาจะลอกหนังออกมากองตรงส่วนข้อเท้า(เหมือนม้วนถุงเท้าลงมาที่ข้อเท้า)
และจะใช้มีดเฉือนศพออกเป็นแนวยาวควักเอาอวัยวะภายในออกมา แล้วก็นำร่างไปทำให้แห้งด้วยถ่านร้อนๆ
และ ก็ทำแบบวิธีแรกโดยเอาไม้มาช่วยค้ำยันร่างไว้เหมือนกัน และเมื่ออุดช่องว่างของมัมมี่เรียบร้อยแล้วก็จะม้วนแผ่นหนังที่กองไว้ตรงข้อ เท้ากับเข้าที่เดิม
จากนั้นก็พอกด้วยขี้เถ้าและทาสารสีดำเช่นเดียวกับวิธีแรก เป็นอันเสร็จกับการทำมัมมี่แบบที่2
วิชาการดอทคอม by ornyupa