พายุ ชื่อลาว"นกเต็น" ไปแล้ว ถึงคิวพายุชื่อไทย "กุหลาบ"

 

 

 

 

 

พายุ ชื่อลาว"นกเต็น" ไปแล้ว ถึงคิวพายุชื่อไทย "กุหลาบ"

 

 

 

จากสภาพดินฟ้าอากาศแปรปรวนไปทั่วโลก ประเทศไทยก็ไม่พ้นไปจากอากาศวิปริตในปีนี้เช่นกัน ปัญหาอุทกภัยจากฝนตกหนักในไทยมักจะเกิดขึ้นในช่วงเดื อนกันยายนหรือตุลาคมแทบทุกปี แต่ปี พ.ศ.2554 นี้ฝนฟ้าได้จัดหนักกว่าทุกปีมาเร็วกว่าทุกปี ทำให้ภาคเหนือและภาคอีสาน รวมถึงภาคกลาง ประสบปัญหาอุทกภัยอย่างไม่คาดคิดมาก่อน อย่างเช่นฤทธิ์เดชของพายุ ”นกเต็น” ที่ได้สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศไทยภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง ดังที่ได้รับทราบจากข่าวคราวในเวลานี้ รวมทั้งได้สร้างความเสียหายให้แก่อีกหลายประเทศในเอเ ชีย เช่น ฟิลิปปินส์ เกาหลี เป็นต้น

เมื่อพายุ “นกเต็น” ได้ผ่านพ้นไป ก็มีพายุอีกลูกที่ชื่อว่า “หมุ่ยฟ้า” ที่กำลังอาละวาดแผลงฤทธิ์ในมหาสมุทรแปซิฟิกในชณะนี้ ซึ่งคาดกันว่าพายุลูกนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย เหมือนอย่างพายุ “นกเต็น” แต่ประเทศไทยก็จะต้องเจอพายุในปี พ.ศ.2554 นี้อีกประมาณ 19-20 ลูกที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมิใช่พายุทั้งหมดจะพัดถล่มประเทศไทย จากการคาดการณ์จะมีพายุเพียง 2-3 ลูกเท่านั้นที่จะส่งผลกระทบถึงประเทศไทยที่ยังไม่มีใ ครทราบล่วงหน้าได้ว่าจะรุนแรงมากน้อยขนาดไหน

สำหรับพายุที่พัดเข้าประเทศไทยนั้น จะเรียกว่าพายุไต้ฝุ่น (Typhoon) ซึ่งเป็นพายุหมุนเขตร้อนความเร็วลมสูงสุด ก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแหซิฟิก พายุไต้ฝุ่นนี้ไม่มีการกำหนดฤดูกาลอย่างเป็นทางการ เพราะพายุไต้ฝุ่นก่อตัวขึ้นตลอดทั้งปีก็ว่าได้ พายุใต้ฝุ่นส่วนมากก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายนถึ งเดือนพฤศจิกายน มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือเป็นบริเวณที่เกิดพ ายุหมุนเขตร้อนบ่อยครั้งที่สุดและรุนแรงที่สุดในโลก

หลายๆคนอาจจะสงสัยชื่อพายุตามแถบภูมิภาคของโลกที่ต่า งกันนั้น ที่เรียกว่าเฮอร์ริเคนบ้าง ไซโคลนบ้าง มีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งความจริงนั้นก็คือพายุหมุนเขตร้อนชนิดเดียวกัน แต่ที่มีชื่อเรียกต่างกันนั้นก็เป็นไปตามถิ่นที่เกิด ของพายุเท่านั้น โดยมีชื่อเรียกกลางๆ คือ “พายุหมุนเขตร้อน” (Tropical cyclone)

ขอจำแนกถิ่นที่กำเนิดพายุหมุนเขตร้อนที่มีการเรียกชื ่อต่างกันดังนี้
- ถ้าเกิดขึ้นในชายฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติกเรี ยกว่า เฮอร์ริแคน (Hurricane)
- ถ้าเกิดขึ้นในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดียเรียกว่า ไซโคลน (Cyclone)
- ถ้าเกิดขึ้นแถบนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย เรียกว่า วิลลี่-วิลลี่ (Willy-willy)
- ถ้าเกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก เรียกว่า ไต้ฝุ่น (Typhoon)
- แต่ถ้าเกิดขึ้นในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เรียกว่า บาเกียว (Baguio)

ใครที่ได้ติดตามชื่อของพายุมานานนม คงพอจะทราบว่าเมื่อก่อนนี้ชื่อของพายุนั้น มักจะเป็นชื่อฝรั่งเป็นส่วนใหญ่ และบางครั้งก็เป็นชื่อที่อ่านแล้วก็รู้ว่าเป็นชื่อขอ งสตรี ซึ่งวัตถุประสงค์คงต้องการให้ฟังดูแล้วอ่อนโยน จนกระทั่ง พ.ศ. 2543 ประเทศและดินแดนต่างๆ รวมทั้งสิ้น 14 แห่งที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมการพายุไต้ฝุ่นขององค์กา รอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organizations Typhoon Committee) ได้มีการจัดระบบการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนในแถบนี้ใ หม่ โดยแต่ละประเทศ ได้ส่งชื่อพายุในภาษาของตนประเทศละ 10 ชื่อ รวมทั้งหมด 140 ชื่อ โดยกำหนดให้ใช้ภาษาท้องถิ่นในแต่ละประเทศในการตั้งชื ่อพายุ ได้แก่ กัมพูชา จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น ลาว มาเก๊า มาเลเซีย ไมโครนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม

สำหรับชื่อพายุที่ประเทศต่างๆส่งชื่อมาให้นั้นจะแบ่ง เป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 28 ชื่อ เรียงตามชื่อประเทศตามลำดับของตัวอักษรภาษาอังกฤษ เริ่มจากกัมพูชา เรื่อยไปจนถึงเวียดนามซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย โดยไทยเราอยู่อันดับที่ 12 เมื่อใช้หมด 1 กลุ่มก็จะขึ้นชื่อแรกในกลุ่มที่ 2 เรียงกันเรื่อยไปจนครบทุกกลุ่ม แล้วจึงกลับมาใช้ชื่อแรกของกลุ่มที่ 1 ใหม่อีกครั้ง

สำหรับประเทศไทยนั้น ทางกรมอุตุนิยมวิทยาจึงได้ตั้ง "คณะกรรมการพิจารณารายชื่อและความหมายของชื่อ" ขึ้นเพื่อเสนอชื่อพายุในภาษาไทย จนได้ชื่อพายุของไทยตามลำดับได้แก่ พระพิรุณ ทุเรียน วิภา รามสูร เมขลา มรกต นิดา ชบา กุหลาบ และขนุน

พายุ “นกเตน” (Nok-ten) ได้รับรู้กันแล้วจากทางสื่อต่างๆว่า เป็นชื่อพายุที่ประเทศลาวเป็นผู้ตั้งชื่อไว้เป็นชื่อ พายุอยู่ในอันดับ 6 ซึ่ง “นกเตน” ก็คือ นกกระเต็นที่คนไทยเรียกกันนั่นเอง ส่วนพายุ “หมุ่ยฟ้า” (Muifa) เป็นชื่อพายุในอันดับ 7 ที่แผลงฤทธิ์อยู่ในเวลานี้ เป็นชื่อที่ทาง “มาเก๊า” เป็นผู้ตั้งชื่อมีความหมายว่า “ดอกบ๊วย” ส่วนชื่อพายุลูกถัดไปที่เป็นชื่ออันดับ 8 ถึงคิวชื่อของประเทศมาเลเซีย ตั้งชื่อไว้ว่า “เมอร์บุก” (Merbok) ซึ่งเป็นชื่อของนกชนิดหนึ่ง

ชื่อพายุที่ประเทศไทยได้ตั้งไว้ใช้ชื่อว่า “กุหลาบ” อยู่ในอันดับที่ 11 คาดว่าอีกไม่นานเกินรอพายุ”กุหลาบ” คงจะได้ก่อตัวขึ้นมาในมหาสมุทรแปซิฟิก และประชาชนคนไทยจะต้องเฝ้าติดตามดูว่า “พายุกุหลาบ” ที่มีชื่อไทยจะพัดถล่มทำความเสียหายให้แก่ประเทศไทยห รือไม่ หรือพัดถล่มเข้าประเทศอื่นแทน

 

 

Credit: http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?p=27488
5 ส.ค. 54 เวลา 14:09 6,677 4 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...