ไขความลับ แหวนเหล็กบิดเบี้ยว ของ โทมัส เอดิสัน
เมื่อปี 1967 มีการค้นพบ แหวนดีบุกบิดๆเบี้ยวๆ อยู่วงหนึ่งในก้นลิ้นชัก ภายในห้องแล็ปของ โทมัส เอดิสัน ไม่มีใครรู้ว่ามันคืออะไร มีไว้ทำอะไร แต่ด้วยมันเป็นสมบัติของ เอดิสัน มันจึงถูกเก็บรักษาไ้ว้ และความลับนับร้อยปี ก็คลี่คลายในที่สุด
หลังจากที่มันถูกสร้างมา 123 ปี แหวนบิดๆเบี้ยวๆ กับ ความลับของก็ถูกไขออกได้ เมื่อใช้เทคโนโลยีการถ่ายภาพคุณภาพสูง ก็พบว่ามันมีร่องขนาดเล็กที่เหมือนได้จากเครื่องบันทึกเสียงแบบ โฟโนกราฟ(Phonograph เครื่องบันทึกเสียงแบบใช้คลื่นเสียงไปขยับเข็มให้กีดลงเนื้อท่อจนเกิดเป็นร่อง โดยร่องก็คือข้อมูลเสียงที่ถูกบันทึกไว้นั้นเอง)
วงแหวนดังกล่าว มีเนื้อวัสดุเป็นดีบุก(โลหะเนื้ออ่อนสามารถ กีดให้เกิดร่องได้ง่าย) เส้นรอบวง 2.5 นิ้ว เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้ว ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นแถบบันทึกเสียง
แหวนบิดเบี้ยวนี้บันทึกถ้อยคำว่า "Twinkle Twinkle Little Star" ซึ่งเป็นเนื้อเพลง มีความยาว 12 วินาที เพื่อไว้ใช้ในการสร้าง ตุ๊กตาพูดได้ ตัวแรกของโลก และถือเป็นก้าวย่างแรกของวงการบันทึกเสียงใน สหรัฐครั้งแรก
แต่เทคโนโลยี่นั้น ก้าวเดินอย่างรวดเร็ว และงานนี้ เอดิสัน นั้นก้าวช้าไปก้าวหนึ่ง จึงมีเทคโนโลยี่บันทึกเสียงบนขี้ผึ้ง(Wax recording) ในปี 1890 มาทดแทน วงแหวนเหล็กบันทึกเสียงนี้จึงไม่เคยถูกนำมาผลิตเป็นตุ๊กตาพูดได้ ออกวางจำหน่าย
เนื่องจากแหวนวงนี้บิดเบี้ยวเกินกว่าจะนำไปเล่นบนเครือง โฟโลแกรม ได้อีก แต่ด้วยเทคโนโลยี่สมัยใหม่ นักวิทยาศาสาตร์จาก the Lawrence Berkeley National Laboratory ใน Berkeley รัฐแคลิฟอร์เนียได้ใช้การวิเคราะห์จากภาพขยาย เพื่อแกะสิ่งที่ถูกบันทึกไว้บนวงแหวน แล้วจัดทำเป็นรูปแบบเสียง ดิจิตอลไฟล์ ขึ้นมาใหม่
เมื่อมองด้านข้างจะเห็นว่ามีร่องเล็กอยู่โดยรอบ
เมื่อทำการส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะเห็นร่องอย่างชัดเจนที่เกิดจากเครื่องบันทึกเสียงแบบ โฟโลแกรม