เกาะติดสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 นครพนม-ท่าแขก: R12 เส้นทางข้ามภูมิภาคนำลำไยเหนือสู่จีน

 โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางหลวงสายเอเชีย สาย AH 15 เชื่อมโยงอุดรธานี-นครพนม-หลักขาว ถึงเมืองเว้ของประเทศเวียดนามคมนาคมทางหลวงหมายเลข 22 ระหว่างจังหวัดอุดรธานี สกลนคร นครพนม ไปยังทางหลวงหมายเลข 12 ของ สปป. ลาว ท่าแขก - ดงเห่ย (จังหวัดกวางบิงห์) ระยะทาง 310 กิโลเมตร และเส้นทางหมายเลข 8 นครพนม - ท่าแขก หลักซาว วินห์ (จังหวัดเงอาน) ระยะทาง 331 กิโลเมตร และสามารถขึ้นเหนือไปทะลุด่านการค้าชายแดนเมือง “ผิงเสียง” เชื่อมไปยังมณฑลกว่างซี และนครหนานหนิงของจีนแน่นอนที่ทางจีนได้กำหนดจุดนี้เป็นประตูการค้าสู่อาเซียนเต็มรูปแบบ

 

โดยจีนกำหนดนโยบายลงใต้ทางนี้เรียกว่า “ระเบียงเศรษฐกิจหนานหนิง-สิงคโปร์” (Nanning-Singapore Economic Corridor, 南宁-新加坡经济走廊) เชื่อมจีนตอนใต้สู่คาบสมุทรอินโดจีน เริ่มต้นเส้นทางจากนครหนานหนิง เขตฯ กว่างซี ผ่านประเทศเวียดนาม กัมพูชา (หรือลาว) ไทย มาเลเซีย และสิ้นสุดเส้นทางที่ประเทศสิงคโปร์ โดยอาศัยเส้นทางถนนหลวงและเส้นทางรถไฟเป็น “เส้นเลือดใหญ่” ในการเชื่อมโยงและพัฒนาเศรษฐกิจจีน-อาเซียน เส้นทางนี้น่าสนใจว่า ผู้ประกอบการพ่อค้าลำไยของภาคเหนือไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะพ่อค้าที่จังหวัดลำพูนไม่ได้ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ –คุนหมิง หรือ r3a ลำเลียงสินค้าไปจีนเป็นหลักแล้ว แต่กลับใช้เส้นทาง r12 ผ่านนครพนมเป็นหลักเพื่อผ่านเข้าจีนที่กว่างซี เพราะปัญหาหลักในเรื่องการนำสินค้าผ่าน สปป.ลาว และพม่ามีปัญหาในเชิงภาษี ต้องเปลี่ยนสัญชาติสินค้าใส่โสร่ง ผ้าซิ่น แล้วส่งต่อไปยังจีน พูดง่าย ๆ คือต้นทุน และค่าผ่านแดนที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นพ่อค้าลำไยจึงเปลี่ยนไปใช้เส้นทางการค้าสายใหม่ผ่านที่นครพนมมากขึ้น

 

 

 

ดังนั้นจึงเป็นการขนส่งสินค้าการเกษตรเข้าสู่จีนที่ข้ามภูมิภาคที่น่าสนใจ เพราะตลาดสินค้าเกษตรบางตัวสามารถเจาะตลาดจีนทางด้านตะวันออกได้อย่างทะลุ โดยเฉพาะลำไย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยวิเคราะห์ว่าเส้นทาง R 12 อยู่ในแนวของเส้นทางการค้าสายใหม่ (New Trade Lane) ที่สามารถเชื่อมโยงไทยผ่านลาว-เวียดนามไปถึงตลาดจีนได้ และในขณะนี้ ผู้ประกอบการไทยได้เริ่มหันมาใช้เส้นทาง R12 ในการขนส่งผลไม้สดจากไทยไปตลาดจีน เพราะสั้นกว่า และสะดวกกว่าเส้นทาง R 9 และยังสะดวกกว่าเส้นทาง R 3 A (ทางหลวงคุนหมิง-กรุงเทพฯ) ที่เชื่อมโยงจากเชียงของไปคุนหมิง ที่สำคัญ เมื่อพิจารณาจากต้นทุนค่าขนส่ง ยังพบว่าการขนส่งจากกรุงเทพฯ-นครพนม ข้ามโขงไปท่าแขก แล้วใช้เส้นทาง R 12 เชื่อมโยงไปจนถึงกรุงฮานอยของเวียดนาม จะมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งน้อยกว่าการใช้เส้นทาง R 9

 

 

 

ทั้งนี้ การเดินทางเชื่อมระหว่างฮานอย-หลักเซิน-ผิงเสียง-หนานหนิง ในขณะนี้ สามารถใช้ทั้งทางถนน (ขนส่งคนและสินค้า) และทางรถไฟ (ขนส่งคน แต่ยังไม่มีการขนส่งสินค้า)

 

 

 

 

อย่างไรก็ตามการทำการค้าเป็นเรื่องธรรมดาที่เส้นทางไหนต้นทุนถูก ใกล้ และไม่ถูกรีดมากก็จะต้อปรับเปลี่ยน เลือกที่ดีที่สุดเพื่อให้เหลือกำไร แต่สิ่งที่ต้องตระหนักมากกว่านั้นคือรัฐบาลควรส่งเสริมการเปิดตลาดของไทยในทุกด้าน สวนทางกับสินค้าจีนที่จะไหลทะลักลงใต้

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...