อะพอลโล 11 ไปลงดวงจันทร์แล้วจริงหรือไม่?

อะพอลโล 11 ไปลงดวงจันทร์แล้วจริงหรือไม่?
ดร.วัชรินทร์ วิชิรมาลา (33,596 views) first post: Tue 19 April 2011 last update: Fri 22 July 2011
จนถึงทุกวันนี้ก็ยัง มีข่าวครหาว่าอะพอลโล 11 ไม่ได้ไปลงดวงจันทร์จริง เราจะวิเคราะห์ถึงประเด็นใหม่ เรื่องข้อกล่าวหาวีดีโอที่ถ่ายทอดสดนั้น ที่จริงถ่ายบนโลกและนำไปเล่นแบบช้าๆ

 

หน้าที่ 1 - อะพอลโล 11 ไปลงดวงจันทร์แล้วจริงหรือไม่?
 

วัชรินทร์ วิชิรมาลา

 

 

             จนถึงทุกวันนี้ก็ยังมีข่าวครหาว่าอะพอลโล 11 ไม่ได้ไปลงดวงจันทร์จริง และนีล อาร์มสตรองก็อาจไม่ได้ไปเหยียบดวงจันทร์ในวันนั้น  เราจะวิเคราะห์เรื่องนี้ด้วยการวิเคราะห์ถึงประเด็นใหม่อีกอันด้วยฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ง่ายๆ

             หลังจากการถ่ายทอดสดการลงเหยียบดวงจันทร์ของนักบินอวกาศและยานอะพอลโล 11 เสร็จสิ้น เสียงครหาก็ดังขึ้นเรื่อยๆ   บ้างก็ว่าเป็นภาพจากการถ่ายทำบนโลก ไม่มีการไปจริง  ข้อหาที่เบาที่สุดก็คือมีการไปจริงแต่สัญญาณถ่ายทอดไม่สำเร็จเลยต้องใช้เทป จากการถ่ายทำบนโลกออกอากาศกู้หน้าไปก่อน

 

 


             ฝ่ายกล่าวหาก็รวบรวมข้อมูลโจมตีประเด็นต่าง ๆ  ส่วนฝ่ายโต้ตอบก็แสดงหลักฐานและแย้งประเด็นโจมตีต่าง ๆ   จนเมื่อประมาณสิบปีก่อนผมก็ได้อ่านข้อสรุปจากสองฝ่ายอันหนึ่งซึ่งน่าสนใจ มาก  เป็นรายงานพิเศษเรื่อง “เราไปมาแล้วจริงๆ : จับผิดคนจับโกหก”  โดยวิษณุ เอื้อชูเกียรติ  ลงที่สมาคมดาราศาสตร์ไทย http://thaiastro.nectec.or.th/news/2002/special/moonhoax.html

โดยมีการตอบโต้กันในประเด็นต่อไปนี้

   1. ดวงจันทร์ไม่มีบรรยากาศ ไม่มีเมฆ ทำไมในฉากหลังของทุกภาพมีแต่ฟ้ามืดๆ ไม่เห็นดาวสักดวง ถ้าเป็นบ้านเรา ฟ้าใสอย่างนี้ต้องเห็นดาวเต็มฟ้าไปแล้ว
   2. ทำไมธงถึงโบกสะบัดอยู่ได้ ทั้งๆ ที่บนดวงจันทร์ไม่มีลม ธงควรจะลู่ลงกองกับเสามากกว่า และถ้าดูให้ดีจะเห็นว่า ขอบบนของธงชาติไม่สะบัดพลิ้ว ดูเหมือนแขวนอยู่บนราว ซึ่งถ้าเป็นราว ธงก็น่าจะห้อยลงมาเป็นแผ่น ไม่น่าจะสะบัด
   3. แหล่งกำเนิดแสงสำหรับภาพจากดวงจันทร์ทุกภาพคือดวงอาทิตย์ นาซาบอกว่าไม่มีใครเอาไฟถ่ายรูปไปใช้ แต่ทำไมภาพที่ออกมาบางทีเงาคนที่สูงเท่ากัน กลับมีเงายาวไม่เท่ากัน หรือเห็นเงาทอดไปในหลายทิศทาง ราวกับมีไฟสปอตไลต์ส่องหลายดวง
   4. วัตถุในเงามืดควรจะดำมืด เพราะไม่มีแสงสว่างอื่นนอกจากดวงอาทิตย์ แต่วัตถุนั้นกลับสว่างจนเห็นรายละเอียด จะว่ามีแสงกระเจิงจากชั้นบรรยากาศมาช่วยก็ไม่ใช่ ต้องมีคนไปถือแผ่นสะท้อนแสงลบเงาแน่ๆ
   5. รอยเท้าของมนุษย์อวกาศดูไม่น่าจะเป็นไปได้ แม้เขาจะสวมชุดอวกาศที่หนักถึง 82 กก. แต่ดวงจันทร์มีแรงโน้มถ่วงเพียง 1 ใน 6 ของโลก จึงน่าจะเบามากจนไม่น่าจะเหยียบพื้นให้เป็นรอยได้ขนาดนั้น หรือถ้าเป็นรอยก็ไม่ควรจะคงรูปอยู่เหมือนกับเหยียบทรายเปียก ควรจะเลือนไปทันที เหมือนเหยียบทรายแห้ง
   6. บริเวณที่ยานลงจอดน่าจะมีหลุมใหญ่เนื่องจากแรงไอพ่นที่ต้องพยุงยานน้ำหนัก กว่า 10 ตัน แต่ที่เห็นกลับดูเหมือนเอายานบรรจงวางลง รอบยานยังเป็นพื้นราบปกติ แถมมีฝุ่นหนาที่ควรจะถูกไอพ่นเป่ากระเจิงไปหมด
   7. ภาพถ่ายอัลดริน ถ่ายโดยอาร์มสตรอง เห็นได้ชัดว่าถ่ายจากระดับสายตา แต่ในภาพจะเห็นว่าทุกคนถือกล้องที่ระดับหน้าอก ดังนั้นความจริงต้องมีตากล้องอีกอย่างน้อย 1 คน ซึ่งคงเป็นคนถ่ายวิดีโอตอนที่อาร์มสตรองลงจากยานเป็นครั้งแรกด้วย
   8. ภาพถ่ายที่บอกว่าถ่ายจากสถานที่ 2 แห่ง ทำไมดูเหมือนกับถ่ายอยู่ในจุดเดียวกัน เพราะฉากหลังเหมือนกัน เปลี่ยนแต่ข้าวของข้างหน้าเท่านั้น
   9. รถที่ใช้บนดวงจันทร์ใหญ่เกินกว่าจะเอาขึ้นไปในยานลงดวงจันทร์ได้ หรือถ้าเอาขึ้นไปได้ ก็สูบลมยางไม่ได้ เพราะยางจะระเบิดทันทีเมื่อแรงดันในยางเจอสุญญากาศ
   10. กากบาท (crosshair) อย่างที่เห็นในภาพถ่ายทุกภาพ เป็นของเติมเข้าไปทีหลัง เพราะบางทีเราจะเห็นคนเติมเส้นทำพลาด ทำเส้นแหว่งหายไปอยู่หลังวัตถุ ดังในภาพ
   11. การเดินทางไปดวงจันทร์ต้องผ่านแถบรังสีแวน อัลเลน ซึ่งเป็นแถบรังสีความเข้มข้นสูงที่ล้อมอยู่รอบโลก ไม่มีทางที่มนุษย์อวกาศจะรอดชีวิตจากแถบรังสีนี้ไปได้ ดังนั้นไม่เคยมีใครไปดวงจันทร์
   12. ถ้ามนุษย์เคยไปเหยียบดวงจันทร์ และทิ้งอุปกรณ์ไว้มากมาย ทำไมกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลจึงไม่เคยส่องเห็นของพวกนั้นเลย

            วันนี้ผมจะมาเติมอีกประเด็นที่เคยได้ยินมา  มีคนว่าเทปของการถ่ายทอดสดนั้น เมื่อนำมาเล่นให้เร็วกว่าปกติ ก็จะเป็นเหมือนการเดินและวิ่งบนโลกนี่เอง ฝ่ายกล่าวหาชี้ว่านี่เป็นการถ่ายทำบนโลกและนำไปเล่นแบบช้าๆ เราจะวิเคราะห์คำกล่าวหานี้ด้วยเรื่องการเคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์

สมการที่เราคุ้นเคยสำหรับการเคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์คือ

                              dx = vx t
และ
                              dy = y0 + vy t –  t2
เมื่อ dx และ dy คือการขจัดในแนวนอนและตั้ง t คือเวลาที่ผ่านไป y0 คือระดับความสูงเริ่มต้น vx และ vy คือความเร็วในแนวนอนและตั้ง  และตัวสำคัญคือ g ซึ่งเป็นค่าคงที่จากแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งมีค่าประมาณ 9.8 ม/ว2

สำหรับบนดวงจันทร์นั้นค่าคงที่จากแรงโน้มถ่วงมีค่าประมาณหนึ่งในหกของค่าบน โลก  ทำให้การเคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์บนดวงจันทร์ในแนวตั้งเป็น
                              dy = y0 + vy t –  t2
             ถึงตรงนี้ก็ชักเริ่มน่าคิดนะครับว่ามันจะใช้ความเร็วในการเล่นเทปกี่เท่าถึง จะได้ภาพหลอกตาได้  ซึ่งมองผ่านๆ ก็อาจคิดว่ามันไม่น่าทำได้เพราะดูการขจัดในแนวตั้งมันมันไม่ขึ้นกับเวลาใน แบบเชิงส้น ดังนั้นคนกล่าวหาก็อาจถูกนะครับว่าเทปถ่ายทอดสดที่เล่นเร็วขึ้นมันเหมือนการ เคลื่อนที่บนโลกน่าจะเป็นหลักฐานว่าการลงดวงจันทร์เป็นเรื่องแหกตา

             ทีนี้เราลองมาวิเคราะห์การเร่งภาพจากเทปถ่ายทอดสดนะครับ เริ่มจากการเคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์บนดวงจันทร์ด้วยความเร็วต้น vx และ vy ก็จะได้
                              dx = vx t   และ   dy = y0 + vy t –  t2
ทีนี้ก็ลองมาเร่งเร่งอัตราเร็วเทปเป็น   t นั่นเอง
สมการก็จะกลายเป็น
                              dx = vx  t)2
เมื่อจัดรูปใหม่ก็จะได้
                             dx =  vx  t2
            ซึ่งก็ตีความได้ว่าภาพมันจะเป็นเหมือนการเคลื่อนที่บนโลกด้วยความเร็วต้น  เท่า ก็จะได้การเคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์บนดวงจันทร์เช่นกัน

           ก็สรุปได้ว่าคำกล่าวหาเรื่องการเร่งอัตราเร็วในการเล่นเทปก็ตกไปอีกอัน  แต่ก็ยังเป็นที่น่าคิดน่าพิสูจน์ต่อไปว่าเรื่องแรงดลจากการกระโดดมันสามารถ เร่งให้เหมือนกันได้หรือไม่  ซึ่งผมคิดว่าไม่ได้ และก็มีเพื่อนนักฟิสิกส์บางคนก็ให้ความเห็นว่าไม่น่าได้ เป็นการบ้านให้ไปคิดเล่นๆ กันนะครับ


 

บทความที่เกี่ยวข้อง
1 21 ก.ค. นีล อาร์มสตรอง มนุษย์คนแรกได้ก้าวเท้าลงบนดวงจันทร์
*หมายเหตุ งานเขียนชิ้นนี้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน ที่ให้เกียรตินำเผยแพร่ผ่าน วิชาการ.คอม เรามีความยินดีและอนุญาตให้ทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา เท่านั้น กรุณาให้เกียรติผู้เขียน โดยอ้างชื่อผู้เขียนและแหล่งข้อมูลทุกครั้งที่ทำการเผยแพร่ต่อ ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อในสื่อที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต ขอขอบคุณที่ร่วมกันช่วยสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา
สงวนสิทธิ์ภายใต้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.
ท่านสามารถนำเนื้อหาในส่วนบทความไปใช้ แสดง เผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา ห้ามใช้เพื่อการค้าและห้ามดัดแปลง
Credit: วิชาการดอดคอม
24 ก.ค. 54 เวลา 05:18 4,177 3 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...