Jeanne d'Arc (1412 - 1431)
Jehanne Darc หรือJoan of Arc
ในบรรดาสตรีที่เหลือชื่ออยู่ในประวัติศาสตร์โลกนั้น คงจะไม่เป็นที่ปฏิเสธว่าชื่อของแจนน์ ดาร์คคงจะเป็นที่จดจำ ทั้งในฐานะนักบุญของศาสนาคริสต์ และในฐานะวีรสตรีที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งเท่าที่ฝรั่งเศสเคยมีมา ชีวิตของเธอผกผันราวกับละครเรื่องยาว....จากสาวชาวบ้านไปเป็นวีรสตรี จากวีรสตรีไปเป็นแม่มด และจากแม่มดไปเป็นนักบุญ จนทุกวันนี้ เรื่องราวของแจนน์ ดาร์คก็ยังมีอิทธิพลต่อเมเดียต่างๆมากมาย ซึ่งไม่จำกัดอยู่เฉพาะในฝรั่งเศสเท่านั้น
บ้านเกิดของแจนน์ ดาร์ค ปัจจุบันเป็นพิพิทธพันธ์
โดย บันทึกของศาลฟื้นฟูคดีของแจนน์ ดาร์ค (ที่ถูกคือ Jehanne Darc ส่วนJeanne d'Arc เป็นคำสะกดที่เปลี่ยนแปลงในยุคหลัง) เกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม 1421 ที่หมู่บ้านดอมเรมี่ ในแคว้นลอร์เรน ประเทศฝรั่งเศส เป็นบุตรของแจ็ค ดาร์ค และอิซาเบล โรเม่
นอร์มังดี (พื้นที่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส) ในยามนั้นถูกยึดครองโดยอังกฤษ และหลังจากที่พระเจ้าชาร์ลสที่ 6 ทรงสวรรคตไปเมื่อปี 1422 บังลังค์ฝรั่งเศสก็ว่างเปล่ามาตลอด พระเจ้าชาร์ลสที่ 6 ทรงมีเจ้าชายรัชทายาทคือเจ้าฟ้าชายชาร์ลส (พระเจ้าชาร์ลสที่ 7 ในภายหลัง) ก็จริง แต่เนื่องจากการลงนามใน Treaty of Troyesเพื่อยุติสงครามร้อยปีและสงครามอกินคอร์ทระหว่างพระเจ้าชาร์ลสที่ 6 และพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 สิทธิ์ในบังลังค์ฝรั่งเศสจึงตกอยู่กับพระเจ้าเฮนรี่ที่ 6 (สนธิสัญญากล่าวว่า พระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 จะแต่งงานกับแคทเธอรีนซึ่งเป็นบุตรสาวของพระเจ้าชาร์ลสที่ 6 แล้วลูกของทั้งสองจะเป็นผู้สืบทอดบังลังค์ของทั้งสองประเทศ) ซึ่งทำให้สิทธิ์ในบังลังค์ถูกแย่งไปจากเจ้าฟ้าชายชาร์ลส และมีขุนนางฝรั่งเศสจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยต่อข้อตกลงนี้
พระเจ้าเฮนรี่ที่ 6
* สงครามในเวลาดังกล่าวถูกพูดถึงว่าเป็นสงครามระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส แต่ในความจริง เวลานั้นยังไม่มีการก่อตั้งประเทศอย่างเป็นทางการจะอย่างไรก็ดี ราชวงศ์อังกฤษในเวลาดังกล่าวก็มีต้นกำเนิดในสายมารดามาจากฝรั่งเศสเช่นกัน จึงกล่าวได้ว่าพระเจ้าเฮนรี่ที่ 6 ก็มีสิทธิ์ในบังลังค์ฝรั่งเศสด้วย หากเกี่ยวกับข้อนี้ ขึ้นอยู่กับว่าประเทศดังกล่าวยึดหลักว่าสิทธิ์ที่ถูกถ่ายทอดไปจะมีผลต่อบุตร ชายสายตรงเท่านั้น หรือจะยินยอมรับบุตรที่เกิดจากบุตรสาวซึ่งแต่งงานไปยังตระกูลอื่นด้วย แน่นอนว่าฝ่ายพระเจ้าชาร์ลสที่ 7 ย่อมเป็นพวกแรก
ฤดูร้อนปี 1452 แจนน์ได้ยิน"เสียง"ของเซนต์แคทรีน เซนต์ไมเคิ่ล และเซนต์มาร์กาเร็ต บอกให้เธอไปพบกับเคาทน์โรเบิร์ต เดอ บาว์ดริคอร์ท เพื่อทำการปลดปล่อยลอร์เรนและช่วยฝรั่งเศส
เดือนพฤษภาคม 1428 แจนน์เดินทางไปพบกับเคาทน์บาว์ดริคอร์ท หากก็ถูกปฏิเสธการเข้าพบ จนกระทั่งกุมภาพันธ์ปี 1429 เคาทน์บาว์ดริคอร์ทจึงยอมพบกับเธอ เขามอบเสื้อผ้าผู้ชาย ม้าและผู้ติดตาม 6 คนให้กับแจนน์และส่งเธอไปหาเจ้าฟ้าชายชาร์ลสที่จีน่อน
หนึ่งในเอกสารหายากที่เหลืออยู่ ลายเซ็นต์ของแจนน์
เห็นได้ว่าเธอเขียน n เป็น m เนื่องจากเธออ่านเขียนไม่ได้
ใน ยามนั้น แคว้นลอร์เรนเป็นดินแดนของฝ่ายชาร์ลสที่ถูกล้อมโดยดินแดนของฝ่ายศัตรู แจนน์ที่เดินทางไปพบเจ้าฟ้าชายชาร์ลสจะต้องเดินทางกว่า 600 กิโลเมตรผ่านกลางกองทัพศัตรูเพื่อจะไปให้ถึงจีน่อน ซึ่งโดยความช่วยเหลือของผู้ส่งสารของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส แจนน์ผ่านอุปสรรคแรงนี้ได้ด้วยเวลาเพียง 11 วัน กล่าวกันว่า โดยปราศจากความช่วยเหลือของผู้ส่งสารดังกล่าวนี้แล้ว คงเป็นการยากที่แจนน์จะไปถึงจีน่อนได้
เจ้าฟ้าชายชาร์ลสที่รอแจนน์ อยู่นั้นทรงนึกสนุกเล่นเกมขึ้นมา พระองค์แต่งตัวให้ไม่สมฐานะแล้วยืนปะปนอยู่ในหมู่คนสนิท หากแจนน์ก็หาพระองค์พบแทบในทันที่ที่เธอมาถึง ทั้งสองได้คุยกันเป็นการส่วนตัว ซึ่งกล่าวกันว่าแจนน์ได้บอกถึงความลับ* ซึ่งยืนยันสิทธิ์ในราชบังลังค์ของเจ้าฟ้าชายชาร์ลสตามที่ได้ยินมาจาก"เสียง" เจ้าฟ้าชายชาร์ลสจึงเชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้ส่งเธอมาจริง คนของโบสถ์ซึ่ในครั้งแรกยังสงสัยในตัวแจนน์อยู่ หลังจากการตัดสินกว่า 3 วันที่พอยติเออร์ พวกเขาก็ยอมรับเธอในที่สุด
* แจนน์ปฏิเสธที่จะบอกคนอื่นว่าความลับดังกล่าวคืออะไรกระทั่งระหว่างการ พิพากษาลงโทษในภายหลัง แม้แต่ในปัจจุบัน ความลับดังกล่าวก็ยังคงเป็นความลับอยู่
เมษายน 1429 แจนน์มุ่งไปยังออร์ลีนส์ซึ่งถูกอังกฤษล้อมอยู่ โดยมีจีน เดอลีนส์, ราอีลและ กิลส์ เดอ เรยส์เป็นเพื่อนร่วมรบ แจนน์ต่อสู้กับกองทัพอังกฤษด้วยความห้าวหาญ ระหว่างการต่อสู้นี้ แจนน์ถูกยิงด้วยธนูที่ไหล่ซ้าย บาดแผลไม่มีอันตรายถึงชีวิต แต่เธอก็ถึงกับร้องไห้ออกมาด้วยความตระหนก กล่าวกันว่าที่เรื่องราวของแจนน์เป็นที่ประทับใจมาจนทุกวันนี้นั้น อยู่ที่เหตุผลว่าแต่เดิมเธอเป็นเพียงเด็กสาวชาวบ้านธรรมดาที่ลุกขึ้นมา ต่อสู้เพื่อประเทศนี่เอง แจนน์หลีกเลี่ยงที่จะฆ่าคน เธอจึงมักจะถือธงนำทัพแล้วบุกนำทหารเข้าต่อสู้พร้อมกับร้องตะโกนเพื่อปลุก ขวัญกำลังใจพวกพ้อง และด้วยการที่แจนน์กระทำหน้าที่ซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายด้วยตนเองนี่เองที่ทำ ให้ทหารสามารถต่อสู้ด้วยความกล้าหาญและปลดปล่อยออร์ลีนส์เป็นอิสระในอีก 7 เดือนให้หลัง
รูปของแจนน์ที่เครแมน เดอ โฟแกนเบิร์ก วาดเล่นในเอกสารเมื่อปี 1429
วาดโดยจับลักษณะเด่นของแจนน์ได้ดีมาก
แจนน์ ยืนกรานว่าพิธีราชาภิเษกของเจ้าฟ้าชายชาร์ลสจะต้องจัดขึ้นที่เรมส์ เนื่องจากพระเจ้าคลอวิสที่ 1 ซึ่งเป็นต้นตระกูลของราชวงศ์ฝรั่งเศสได้รับศีลล้างบาปที่เรมส์ และกษัตริย์ของฝรั่งเศสแต่ละองค์ต่างก็ประกอบพิธีที่นี่ เพื่อที่จะประกาศสิทธิ์อันถูกต้องของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส ไม่ว่าเช่นไรก็ต้องจัดพิธีขึ้นที่เรมส์ให้ได้
การจะไปยังเรมส์นั้น ต้องมีการปะทะกับกองทัพอังกฤษอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สุดท้ายข้อเสนอของแจนน์ก็ได้รับการยอมรับ เจ้าฟ้าชายชาร์ลสมุ่งหน้าไปยังเรมส์ ระหว่างการเดินทางก็รับเอาหัวเมืองต่างๆที่เข้ามาสวามิภักษ์ไว้ในปกครอง และในวันที่ 17 กรกฎาคม 1429 ก็ทรงขึ้นครองราชเป็นพระเจ้าชาร์ลสที่ 7 กษัตริย์โดยถูกต้องของฝรั่งเศสในที่สุด
หากในพิธีราชาภิเษก มีคนของฝ่ายเบอร์กันดีซึ่งเป็นศัตรูถูกเชิญมาด้วย ขุนนางของพระเจ้าชาร์ลสที่ 7 ได้เตรียมวางแผนการปกครองใหม่ไว้แล้ว มาถึงตอนนี้ กองกำลังของแจนน์ก็ค่อยๆกลายมาเป็นก้างขวางคอสำหรับฝ่ายเคาทน์อาลังซอนซึ่ง ยึดหลักการทหารในการปลดปล่อยฝรั่งเศสเสียแล้ว
แจนน์ต้องต่อสู้อย่าง โดดเดี่ยวในราชวัง เธอมีความเห็นว่าควรที่จะชิงปารีสกลับมาเพื่อเป็นฐานอันมั่นคงให้กับพระเจ้า ชาร์ลส หากขุนนางส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยและพอใจต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ผลทำให้แจนน์ต้องออกรบโดยไม่มีการช่วยเหลือที่เป็นรูปร่างจากกลุ่มขุนนาง
23 พฤษภาคม 1430 แจนน์ถูกจับโดยฟิลิปป์ที่ 3 ที่แคว้นเบอร์กันดีและหลังจากนั้นถูกส่งมอบตัวให้กับกองทัพอังกฤษ วันที่ 24 ธันวาคมปีเดียวกัน เธอถูกนำตัวไปคุมขังที่รูน
21 กุมภาพันธ์ 1431 การสอบสวนคนนอกรีตเริ่มขึ้นโดยมีชอง ลู เมย์ทอสเป็นประธาน หากเมย์ทอสกังขาในความเที่ยงธรรมของการสอบสวนนี้จึงแทบไม่ได้ปรากฏตัวในศาล เลย แม้แต่ในการตัดสินอย่างเป็นทางการ เขาก็ปิดปากเงียบตลอดเวลา บิชอปแชง ปิแอร์ โคชอง พร้อมกับผู้เกี่ยวข้องกับโบสถ์จำนวนกว่า 60 คนจึงเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนแทน
30 พฤษภาคม คณะสืบสวนประกาศว่าแจนน์เป็นคนนอกรีตและขับไล่เธอจากการเป็นคริสเตียน และตัดสินให้แจนน์ถูกลงโทษด้วยการเผาทั้งเป็นโดยกองทัพอังกฤษ
อย่างเคย กล่าวไว้ในเอนทรี่ของ"กิลส์ เดอ เรยส์"แล้วว่าโทษเผาทั้งเป็นนั้นเป็นการลงโทษที่จัดว่าทารุณทั้งต่อร่างกาย และจิตใจเป็นที่สุดในยามนั้น นอกจากนี้ เถ้าศพของแจนน์ยังถูกโปรยลงแม่น้ำเซนเพื่อให้ร่างของเธอไม่สามารถกลับสู่ดิน เพื่อวันแห่งการพิพากษาได้ นับได้ว่าโทษที่แจนน์ได้รับนั้นเป็นโทษสาหัสอย่างที่สุดสำหรับชาวคริสต์ใน สมัยนั้นทีเดียว
หลังการตายของแจนน์ อิซาเบล โรเม่ ผู้เป็นแม่ของเธอได้ย้ายไปอยู่ที่ออร์ลีนส์หลังจากที่สามีเสียชีวิต และใช้ชีวิตบั้นปลายทั้งหมดของตนในการยืนยันความบริสุทธิ์ของแจนน์และเพื่อ ให้โบสถ์ยอมรับแจนน์กลับมาเป็นคริสตศาสนิกชนอีกครั้ง ศาลยอมรับให้คำตัดสินที่รูนเป็นโมฆะในปี 1456และอีกเพียง 2 ปีหลังจากนั้น อิซาเบลก็ลาจากโลกนี้ไป
18 เมษายน 1909 พระสันตปาปาปิโอที่ 10 ประกาศให้แจนน์ ดาร์คเป็นบุญราศี และในวันที่ 16 พฤษภาคม 1920 พระสันตปาปาเบเนดิกต์ที่ 15 ก็ยกเธอขึ้นเป็นนักบุญในที่สุด
ปริศนาหลังจากนั้น
เนื่องจากโจน ออฟ อาร์ค เป็นเพียงเด็กสาวชนบทธรรมดาคนหนึ่งนักประวัติศาสตร์บางส่วนจึงงงสงสัยว่าเธอ กระทำการครั้งใหญ่นี้ได้อย่างไร อะไรที่ทำให้ชาร์ลส์ผู้ระแวงวางพระทัย ถึงกับมอบความเป็นความตายของแผ่นดินแก่เด็กสาวอายุน้อยนิดจากชนบทคนนี้ ประสบการณ์ทหารก็ไม่มี
ด้วยสงสัยว่า เหตุใดจากจำนวนผู้หญิงทั่วทั้งโลก พระองค์จึงทรงตัดสินใจเลือกเธอ สตรีโจน ลูกชาวนาแห่งเมือง ดองเรอมี แคว้นลอร์เรน ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส ห่างจากเมือง ชินอง ซึ่งเป็นที่ประทับขององค์รัชทายาทกว่า 450 ไมล์ และการเดินทางในช่วงภาวะศึกสงครามเช่นนั้น มีแต่ภัยอันตราย โจรผู้ร้ายชุกชุม ที่สำคัญต้องเดินทางผ่านเมืองที่อยู่ภายใต้การยึดครองของอังกฤษอีกหลายเมือง ไหนเลยต้องผจญกับพวก ?เบอร์กันเดียน? ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่สวามิภักดิ์ต่ออังกฤษอีกกว่าที่จะได้พบกับรัชทายาท จะว่าไปแล้วสมัยนั้นประชาชนส่วนใหญ่มักเก็บตัวเงียบ ไม่มีใครกล้าเดินทางไปไหนมาไหนไกลๆ เหตุใดเสียงจากสวรรค์ไม่เลือกบุคคลอื่นที่ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าเช่นเดียว กับเธอ และอยู่ใกล้กับองค์รัชทายาทมากกว่าเธอ คำถามนี้ยังไม่มีคำตอบ
จากบันทึกการไต่สวนคดีโจน ออฟ อาร์ค เมื่อปี 1431 ปรากฏว่าผู้พิพากษาและอัยการต่างพยายามซักถามถึงความลับที่เธอพูดกับพระเจ้า ชาร์ลในครั้งแรกวันนั้นว่าพูดเรื่องอะไรกันแน่ แต่ตอนแรกโจนไม่ยอมตอบคำถามนี้ จนผู้ไต่สวนโจนพระจากศาลศาสนาที่ขึ้นชื่อในเรื่องความโหด ได้ใช้วิธีการกดดันจนจนการไต่สวนครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 1431 เธอจึงเอ่ยปากบอกว่า ทูตสวรรค์ได้มอบของสำคัญให้กับเธอให้เธอนำของสิ่งนั้นไปให้ชาร์ล แต่ไม่ยอมบอกว่าของสิ่งนั้นคืออะไรกันแน่
การไต่สวนครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 13 มีนาคม ปีเดียวกัน ดูเหมือนโจน ออฟ อาร์คจะเบื่อคำถามซ้ำซากๆ เมื่อถูกถามคำถามเดียวกัน เธอตอบว่า
"พวกท่านต้องการให้ฉันให้การเท็จเหรอ"
คล้ายประชดว่า อยากถามอะไรฉันก็จะตอบ แล้วเธอก็เล่าว่าเทวทูตได้นำมงกุฎทองคำมาให้ชาร์ล เป็นเครื่องหมายตราว่าเธอมาตามโองกรสวรรค์ และเธอบอกว่าตอนนี้มงกุฎนั้นอยู่ในคลังสมบัติของชาร์ลส์นี้แหละ
ในการการพิจารณาคดีครั้งใหม่ หลังจากโจน ออฟ อาร์คตาย มีพยานเล่าถึงเหตุการณ์เมื่อโจนเข้าเฝ้าชาร์สเป็นครั้งแรก ครั้งนั้นพระองค์ทรงปะปนอยู่กับข้าราชบริพารมากมาย ซึ่งตอนนั้นโจนไม่เคยเห็นพระองค์มาก่อน แต่เธอก็สามารถรู้จักพระองค์ได้ทันที่ และพูดคุยเป็นการส่วนตัวจนชาร์ลส์มีสีพระพักตร์แจ่มใสขึ้น
แต่แค่โจนชี้ตัวว่าคนนี้คือชาร์ลส์คงไม่พอที่พระองค์มอบกองทหารให้หรอก เพราะเธออาจรู้ได้จากคำบอกเล่าของคนอื่นก็ได้ แต่การที่เธอพูดอะไรบางอย่างที่ทำให้ชาร์ลส์มีสีพระพักตร์แจ่มใสนี้สิออกจะ ยากที่เดาว่าโจนพูดอะไร
ในพงสารดาของปิแยร์ ซาลา เขาอ้างคำบอกเล่าของสหายสนิทของชาร์ลส์ว่า โจนทูลชาร์ลส์รู้ว่าพระองค์เคยวิงวอนขออะไรจากพระเจ้าว่าหากพระองค์เป็น รัชทายาทถูกต้องแล้วขอให้ประทานอาณาจักรแก่พระองค์ด้วย แต่ถ้าไม่ใช้ก็ขอให้รอดจากการประหารหรือจำคุกแทน ซึ่งโจนได้ทวนคำวิงวอนนั้นอย่างถูกต้อง พระองค์เลยเชื่อว่าเธอเป็นคนที่พระเจ้าส่งมาช่วยฝรั่งเศส
แต่อย่างไรก็ตามสันนิษฐานนี้ก็ไม่อาจให้ชาร์ลส์ยอมให้กองทัพทหารก็ได้เพราะ ถึงอย่างไรคาทอริกเคร่งศาสนาย่อมสวดขอพระเจ้าช่วยในเรื่องคาใจอยู่แล้ว คนฉลาดอย่างโจน ออฟ อาร์คน่าจะเดาพระทัยของชาร์ลส์ได้โดยไม่ยาก
ชาร์ลส์น่ะแม้จะอ่อนแอแต่ก็ไม่ใช้คนโง่เขลา เบาปัญญา พระองค์คงไม่ไร้เหตุผลเชื่อเป็นตุเป็นตะเกี่ยวกับเรื่องที่โจน ออฟ อาร์ค มาบอกหรอก ดังนั้นนักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่ามันต้องมีความลับหรือตราอะไรสักอย่าง ที่มันต้องทึ่ง น่าประทับใจมากกว่านี้ แค่ชี้ตัวท่องคำวิงวอนน่ะมันเด็กๆ
แถมอีกนิด
อนาโตล ฟรานซ์ เขียนบันทึกไว้ว่า เดือนพฤษภาคม 1437 ราว 5 ปีหลังจากโจนถูกเผาที่รูอัง มีหญิงสาวคนหนึ่งปรากฏตัวขึ้นที่เมืองลอเรน เธอมาบอกว่าเป็นโจน ออฟ อาร์ค น่าแปลกที่น้องชายสองคนของโจน ออฟ อาร์คและสหายสนิทต่างให้ความสนับสนุนเธอว่าคือโจน ออฟ อาร์ค ตัวจริง แม้ไม่มีใครทราบว่าเธอรอดจากการถูกเผาอย่างไร แต่หลายฝ่ายเดาว่าอาจมีการสลับตัวนักโทษตอนวันประหาร
ต่อมาสตรีผู้นั้นได้แต่งงานกับโรเบิร์ต เดซามัวร์ และมีบุตรสองคน จากนั้นเธอก็ไปเข้าเฝ้าชาร์ลส์ที่ 7 แล้วภายหลังพระองค์ได้ประกาศว่าเธอเป็นโจน ออฟ อาร์ค ตัวปลอม เธอถูกบังคับให้สารภาพต่อหน้าสาธารณชนในปารีส เธอสารภาพว่าเป็นทหารประจำพระองค์โป๊ปนึกคิดสนุกว่าอยากเป็นโจน ออฟ อาร์ค
ในที่สุดเธอคนนั้นก็ถูกปล่อยตัวไปใช้ชีวิตอย่างสงบเงียบๆ กับครอบครัวที่เมืองเมทซ์ แต่เพื่อนและญาติยังถือว่าเธอเป็นโจน ออฟ อาร์คอยู่
และปริศนาของโจน ออฟ อาร์ค ก็ยังไม่สามารถไขได้จนถึงทุกวันนี้
จากหนังสือต่วยตูน ฉบับที่ 329 เดือนกรกฎาคม 2545