แม่น้ำอามู
สำนัก ข่าวต่างประเทศ รายงานว่าโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นอีพี) เผยรายงานการประเมินสภาพแวดล้อม “อามู-ดารยา” ระบุว่าการปลูกฝ้ายเพื่อป้อนผลผลิตสู่ระบบอุตสาหกรรม หลังยุคอดีตสหภาพโซเวียตล่มสลาย เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้แม่น้ำสายดังกล่าวได้รับผลกระทบ รวมทั้ง การใช้ยาฆ่าแมลงที่มีส่วนผสมจากสารเคมีเพื่อปลูกฝ้ายก็เป็นสาเหตุหนึ่งซึ่ง ทำลายความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
นอก จากนี้ โครงการสร้างเขื่อนทำให้แม่น้ำเปลี่ยนทิศทางจนบางช่วงแห้งขอด ชนพื้นเมืองซึ่งเคยทำประมงน้ำจืดต้องเปลี่ยนอาชีพและวิถีชีวิต อีกทั้งการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในรอบ 50 ปี จากเดิม 14 ล้านคนในปี 2503 กลายเป็น 50 ล้านคนในปี 2553 ส่งผลให้ภูมิภาคริมแม่น้ำอามู-ดารยาเสี่ยงต่อภัยแล้งอย่างไม่มีทางหลีก เลี่ยง และอาจนำไปสู่การทำสงครามแย่งชิงน้ำในอนาคต
อย่างไรก็ตาม อามู-ดารยา คือ แม่น้ำสายหลักยาว 2,500 กม. ที่ไหลผ่าน 4 ประเทศในเอเชียกลาง คือ ทาจิกิสถาน อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน และอัฟกานิสถาน