นิชินสกี้ สยาม แสดงครั้งแรกในเมืองไทย หลังทัวร์ยุโรป

คณะพิเชษฐ กลั่นชื่น แดนซ์ คอมพานี (Pichet Klunchun Dance Company) ร่วมกับ ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญชมการแสดงนาฏยศิลป์

ร่วมสมัย เรื่อง นิชินสกี้ สยาม (Nijinsky Siam)  เปิดเทศกาลศิลปะการละครนานาชาติ (World Performances @ Drama Chula) ณ ศูนย์ศิลปการละคร สดใส พันธุมโกมล โรงละครแห่งใหม่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าสยาม

 

วาชลาฟ นิชินสกี้ (Vaslav Nijinsky) เป็นนักบัลเลต์ชาวรัสเซีย ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักบัลเลต์ชายที่ดีที่สุดในคริตศตวรรษที่ 20   เมื่อประมาณ 1 ศตวรรษมาแล้ว เขาได้ทำการแสดง 1 ชุดซึ่งได้รับอิทธิพลจากนาฏศิลป์ไทย ในชื่อว่า ลา ดองซ์ ซิอามัวส์ (La Danse Siamoise)  เปิดการแสดงที่โรงละครมาริอินสกี้ (Mariinsky Theatre) กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และ โรงละครปารีส

โอเปร่า (Paris Opera) กรุงปารีส  การแสดงทั้งสองครั้งนั้นมิได้มีการบันทึกเป็นภาพยนตร์ไว้ มีแต่เพียงแค่ภาพนิ่งและภาพวาดของนิชินสกี้จากการแสดงเท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นเครื่องแต่งกายและและท่าทางในการแสดงครั้งนั้น

 

อาจารย์พิเชษฐ กลั่นชื่น เจ้าของรางวัลศิลปินศิลปาธร ประจำปี 2549 และรางวัล “Routes” ECF Princess Margriet Award for Cultural Diversity จาก Eupean Cultural Foundation ประจำปี 2551  เป็นศิลปินไทยที่ได้รับเชิญจากเทศกาลศิลปะการแสดงนานาชาติทั่วโลกให้ไปเปิดการแสดงมากที่สุดในปัจจุบัน     เขาได้รวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์และภาพถ่ายจากการแสดงชุด

ลา ดองซ์ ซิอามัวส์ (La Danse Siamoise) มาได้กว่า 20 ภาพ ด้วยความช่วยเหลือจากนักวิชาการชาวฝรั่งเศส ฟิลิปป์ เดอ ลุสตราค (Philippe de Lustrac) และ  ซิลวี ด็อนเครอ (Sylvie Dancre) และนำท่าที่ได้จากภาพถ่ายและภาพวาดเหล่านั้นมาวิเคราะห์ถึงความเชื่อมโยงและค้นหาความหมายที่เกี่ยวข้องกับท่ารำไทยที่มีอยู่เดิม   โดยอาศัยศิลปะการแสดงหนังใหญ่มาเป็นจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวอีกครั้งจนสามารถสร้างเป็นชุดการแสดงที่ชื่อว่า “Siamese Dance” เพื่อเปิดเผยความหมายและความลับที่ซ่อนอยู่ในภาพเหล่านั้นของ ลา ดองซ์ ซิอามัวส์ (La Danse Siamoise) ซึ่งเป็นความลับมาถึง 100 ปีแล้ว

#นาฏยศิลป์ #Vaslav #Nijinsky
delivery
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
11 ก.ค. 54 เวลา 11:55 2,738 1 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...