หรือนี่จะเป็นหน้าตาของ Tablet เพื่อนักเรียนตามนโยบายนายกหญิงยิ่งลักษณ์!

 

อย่างที่ทราบกันดีว่าหนึ่งในนโยบายหาเสียงของนายกไทยคนล่าสุดอย่าง น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทยก็คือโครงการ 1 student 1 tablet ที่จะช่วยให้เด็กไทยไม่ต้องแบกหนังสือเรียนเล่มหนาๆไปโรงเรียนอีกต่อไปและหันมาให้ความสนใจกับเทคโนโลยีใหม่ๆมากขึ้นนั่นเอง

ซึ่งล่าสุดมีผู้พัฒนาไอทีรายหนึ่งของประเทศไทยชื่อว่าบริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ได้ขันอาสาออกมารับสมัครนักพัฒนาหน้าใหม่ชาวไทยทั้งหลายผ่านทางหน้าเว็บไซต์ PDAMobiz เพื่อเข้าร่วมกับโปรเจกต์พัฒนาแทบเลตรุ่นล่าสุดของพวกเขานี้ด้วย ซึ่งไม่แน่เหมือนกันว่าหากนายกหญิงคนแรกของไทยสนใจอยากจะร่วมงานกับบริษัท สัญชาติเดียวกันในการพัฒนาแทบเลตก็อาจจะมาลงเอยกับบริษัท Forte ที่ว่านี้ก็ได้เหมือนกัน


สำหรับสเปคของแทบเลตไทยทำเครื่องที่ว่านี้แบบคร่าวๆก็จะค่อนข้างคล้าย คลึงกับแทบเลตจีนอยู่ไม่น้อย คือหากจะเอามาใช้งานแบบยูสเซอร์ทั่วไปคงไม่เหมาะเท่าไหร่ทว่าสำหรับนักเรียน ไทยแล้วก็น่าจะตอบสนองความต้องการพื้นฐานของน้องๆได้เป็นอย่างดีทีเดียว โดยตัวเครื่องจะเลือกใช้งานซีพียู ARM Cortex A8 ความเร็ว 800MHz, 256MB RAM, ระบบปฏิบัติการ Android, หน้าจอ LCD แบบสัมผัส resistive ขนาด 7 นิ้ว, มาพร้อมพอร์ต USB และ Ethernet รวมถึงรองรับการ์ด microSD เพิ่มสูงสุด 32GB ด้วย

ส่วนรายละเอียดแบบเต็มๆผมขออนุญาตนำมาจากเว็บไซต์ PDAMobiz ทั้งหมดเลยตามด้านล่างนี้ก็แล้วกันครับ...

ช่วงนี้กระแส Tablet กำลังมาแรง  พวกเราอาจไม่ทราบว่า นักพัฒนาไทย ก็สามารถวิจัยพัฒนา Android Tablet ขึ้นมาได้เองแล้วเช่นกันครับ โดยเป็นการพัฒนาขึ้นเองทั้งหมด ตั้งแต่ระดับออกแบบ Hardware,ออกแบบ PCB, เขียนsoftware driver, Build ROM, จนถึงขั้นประกอบและผลิตเอง

ถ้ารัฐจะมีโครงการ One Tablet per Child ขึ้นมาจริง เราน่าจะพัฒนาเข้าสู่ Commercial ได้จริง และด้วยจำนวน 8 แสนตัว/ปี อาจจะทำให้เราขึ้นเป็น TOP10 ของโลกก็ได้ครับ
โครงการนี้พัฒนาขึ้น โดย FORTH  บริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน)  ซึ่งเป็นบริษัทของคนไทย100% วิศวกรทุกคนที่ทำโครงการนี้ก็เป็นคนไทย โดยมีประสบการณ์ด้านการออกแบบอุปกรณ์โทรคมต่างๆมากว่า20ปี  แรกเริ่มจริงๆ แล้วต้องการพัฒนาบอร์ด Module CPU ประสิทธิภาพสูงเพื่อนำมาใช้ในผลิตภัณท์ตู้สาขาโทรศัพท์ IP-PBX รุ่นใหญ่ของบริษัท  ต่อมาจึงนำไปสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยต่างๆให้เกิดการ เรียนรู้ด้าน embedded linux + android  เพราะที่ผ่านมานักศึกษาก็มีแต่ซื้อชุดบอร์ดชุดพัฒนาจากต่างประเทศทั้งสิ้น  เราจึงพัฒนาต่อยอดเป็นบอร์ด Android Development Tools ขึ้นมาครับ

มาดูกันชัดๆกับ บอร์ด CPU โดยพยายามออกแบบให้เป็นบอร์ดขนาดเล็กที่สุด PCB 8 Layers ลงอุปกรณ์ทั้งสองด้าน เลือกใช้ CPU ตัวแรงที่สุดณ.ตอนนั้นของ Freescale ตระกูล i.MX51  (บอร์ดนี้ทำเสร็จตั้งแต่กลางปีที่แล้ว ถ้าทำใหม่ตอนนี้คงเลือก cpu dualcore)

Spec:

-CPU Freescale i.MX51 ARM Cortex A8 – 800Mhz  (Support OpenGL)
-DDR2 -256MB , Flash / MicroSD up to 32GB
-All GPIO connect to socket

ถ้าเปรียบเทียบกับ Android จีนราคาถูกในท้องตลาด คนที่เคยใช้จะรู้ว่าอย่าไปหวังมาก ถ้าใช้งานเป็นประจำทุกวันไม่มีใครทนใช้ได้แน่ เพราะเขาจะใช้ CPU ตระกูล VIA/WM หรือ rockchip, CPU พวกนี้ถ้าลองเปิดดู video จะเห็นว่าราบรื่นดีเพราะมันมี video decoder ในตัว แต่การใช้งานทั่วไป,เกม,หรือเปิดเวบจะรู้สึกว่าตอบสนองไม่ดี ต่างกับ FreeScale ที่เราเลือกใช้จะมีประสิทธิภาพสูงกว่ามากโดยเฉพาะรองรับ OpenGL จึงทำให้การใช้งานราบรื่นกว่ามาก และ Resistive touch screen ของจีนก็ได้ชื่อในด้านคุณภาพแย่ตอบสนองไม่ดี  เราจะเลือกใช้ Resistive touch panel ของญี่ปุ่นซึ่งก็แพงกว่าแต่คุณภาพดีมาก ความรู้สึกลื่นติดนิ้วเพียงแต่ทำ multi touch ไม่ได้
ปล.ชักเป็นห่วง รัฐบาล ถ้าคิดจะแจก Tablet ราคาถูกคุณภาพต่ำจากจีนให้เด็กนักเรียน น่าเป็นห่วงถึงการใช้งานและเสถียรภาพ ถ้าใช้ๆไปแล้วเจ๊งกันมากๆกลัวจะโดนด่าใช้กันได้แค่ปีเดียวเลิกเลย

(รูปบอร์ดด้านหน้า)   ถ้าไม่บอกคงไม่มีใครคิดว่าคนไทยออกแบบเอง เทคโนโลยีอุปกรณ์ที่ใช้ไม่ต่างกับยี่ห้อต่างประเทศชั้นนำเลยครับ


(บอร์ดด้านหลัง)


ส่วนบอร์ดล่าง (baseboard) ออกแบบด้วยบอร์ดที่ไม่ซับซ้อน เป็น PCB 4 Layers  เพื่อนำ I/O เชื่อมต่อกับโลกภายนอก

- 7″ TFT LCD interface + Resistive Touch Panel
- Touch screen controller
- USB Port Host/slave
- Ethernet port

นอกจากการทำเป็น Tablet , เราสามารถนำบอร์ด Base ไปพัฒนาเป็นอุปกรณ์อื่นๆได้มากมายเพราะเผื่อมี I/O เชื่อมต่อไว้ เช่น สร้างเป็น Tablet ชนิดพิเศษที่มีเครื่องอ่านลายนิ้วมือ,RFID ในตัว หรือทำเป็นเครื่องควบคุมเครื่องจักรในงานอุตสาหกรรม โดยใช้หน้าจอ Android GUI ก็ได้ครับ

ทดลองกัด CNC มาก้อนนึง เพื่อมาประกอบเป็น android tablet



ก็ถือว่าเป็นต้นแบบ android tablet ตัวแรกของคนไทยที่ FORTH พัฒนาขึ้นนะครับ ยังไม่คิดจะทำขายจริงจัง ส่วนเรื่องความหนาไม่ต้องพูดถึง เพราะมีพอร์ต RJ-45 ด้วย แต่ถ้ามีความต้องการจริง เราคงพัฒนาเป็นบอร์ดเดียวที่เล็กและบางไม่แพ้ product จากต่างประเทศครับ

รูปนี้คือบอร์ดต้นแบบที่ตั้งใจนำบอร์ด CPU module ไปใช้ครับ โดยเป็นบอร์ด High density VoIP DSP array


Video นี้อาจจะเก่าหน่อยนะครับ ถ่ายเมื่อปีที่แล้ว ตอนนี้ลงเป็น Android 2.3 แล้ว

ชุดบอร์ดพัฒนานี้ ทาง FORTH ได้ร่วมกับ TESA (สมาคมสมองกลฝังตัวไทย) ได้นำไปต่อยอดให้นักศึกษาพัฒนา embedded system ชุดต่อพ่วง Fingle print , web cam , Home remote control ในปิดภาคฤดูร้อนที่ผ่านมาด้วยครับ

ผมเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยของฟอร์ทเองครับ โครงการ One Tablet per child ถือเป็นโครงการใหญ่ของชาติ ถ้ามีโวลุ่มนับล้านตัว  เราสามารถทำต้นทุนได้ไม่แพ้จีนเลยครับ  อยากเชิญชวนทีมงานเซียน rom cook มาช่วยกันนะครับ  ใครสนใจติดต่อผมได้เลยครับที่  0817204037

ยิ่งลักษณ์ เขียน:

4. ตัวอย่างประโยชน์คอมพิวเตอร์มือถือที่นักเรียนใช้งานออนไลน์และดิจิตอลที่เหนือกว่าแค่หนังสือกระดาษ

    Ebook เครื่องหนึ่งจุหนังสือได้เกินพอเป็นพันๆเล่ม     Web ค้นหา ศึกษาหัวข้อได้ไม่จำกัดจากทั่วโลก     Participate มีส่วนร่วม เขียนอ่านบทความ Blog กระดานเว็บบอร์ด ฯลฯ     Library ห้องสมุดและแหล่งข้อมูล     Service เช่น ลงทะเบียน สมัครเรียน สอบ ตารางเรียน สอบ กิจกรรม ฯลฯ     Chat/Skype/Email ถาม หารือกับเพื่อน ครู     App พจนานุกรม ทำข้อสอบ     Multimedia ฝึกสนทนาฝึกภาษาต่างประเทศ เรียนดนตรี กีฬา ฯลฯ

5. เป็นโอกาสได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Android ของไทยเอง

เนื่องจาก Android เป็นระบบเปิด Open Source สามารถดัดแปลงเป็นเฉพาะของไทยได้ เช่น ให้เข้าได้เฉพาะเว็บหรือลงโปรแกรมที่กระทรวงอนุมัติ ผ่านเฉพาะตลาดของกระทรวง หรือ ทุกเครื่องสามารถมีชื่อเฉพาะ มีรหัสลับ หากเครื่องหาย จะล็อกเครื่องทางไกลได้ ทำให้ลดการขโมย เพราะเอาไปใช้ไม่ได้

ที่จีน มีผู้ทำระบบปฏิบัติการ Tapas และ oPhone (ของบริษัท China Mobile) สำหรับโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์มือถือ ก็ดัดแปลงมาจาก Android

บทความโดย: ekk TechXcite

ที่มา: pdamobiz

Credit: http://hitech.sanook.com
8 ก.ค. 54 เวลา 14:52 4,762 12 130
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...