ตะลึง!! ใหญ่กว่านี้มีอีกไหม นักวิทยาศาสตร์ออสซี่พบฟอสซิล "สัตว์ยักษ์ดึกดำบรรพ์"

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ฟอสซิลของตัววอมแบทยักษ์ที่มีขนาดใหญ่เท่ารถยนต์ได้ถูกค้นพบในควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งฟอสซิลดังกล่าวถือได้ว่าเป็นหนึ่งในฟอสซิลที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดใน บรรดาฟอสซิลของสัตว์ประเภทนี้


ฟอสซิลดังกล่าวมีน้ำหนักประมาณ 3 ตัน มีความสูง 2 เมตร ขนาดลำตัวยาว 3.5 เมตร โดยวอมแบทยักษ์จัดเป็นสัตว์กินพืชประเภทที่มีกระเป๋าหน้าท้องขนาดใหญ่ที่สุด เท่าที่โลกเคยมีมา และพวกมันมีชีวิตอยู่บนโลกเมื่อประมาณ 2 ล้านถึง 50,000 ปีที่แล้ว

 


วอมแบทยักษ์มีความเกี่ยวพันกับวอมแบทสายพันธุ์ปัจจุบัน และนักวิทยาศาสตร์คาดว่าฟอสซิลดังกล่าวอาจช่วยให้วงการบรรพชีวินวิทยาค้นพบ สาเหตุการสูญพันธ์ของพวกมันได้ โดยทั้งนี้ ตัววอมแบทยักษ์และสัตว์โบราณขนาดใหญ่อื่นๆ เช่น จิงโจ้ยักษ์ หรือจระเข้ยักษ์ ได้สูญพันธ์ไปในช่วงที่มนุษย์ยุคโบราณกำเนิดขึ้น


"มีข้อถกเถียงหลายอย่างเกี่ยวกับประเด็นที่ว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สัตว์ขนาดใหญ่เหล่านี้สูญพันธ์ และข้อถกเถียงดังกล่าวก็กำลังเป็นประเด็นที่เผ็ดร้อนในวงการบรรพชีวินวิทยา ปัจจุบัน" ซู แฮนด์ ศาสตราจารย์ผู้เป็นหนึ่งในทีมค้นพบกล่าวกับนักข่าวเอเอฟพี


ทั้งนี้ บรรดานักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่า สาเหตุที่สัตว์ขนาดใหญ่ดังกล่าวได้พัฒนารูปร่างให้มีขนาดใหญ่โตก็เพื่อ ต่อสู้กับสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยและปริมาณอาหารที่ขาดแคลนในสมัยโบราณ

Credit: Matichon Online
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...