เพลงจากวรรณคดี /วรรณกรรม (2) พรานล่อเนื้อ

เพลงจากวรรณคดี/วรรณกรรม(2):พรานล่อเนื้อ

โดย คีตา พญาไท 5 กรกฎาคม 2554 17:34 น.          เมื่อพาดพิงถึง ศรีปราชญ์ กวีเอกของไทยในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช แล้ว ก็ขอนำเอา บทเพลงที่ครูแก้ว อัจฉริยะกุล แต่งขึ้น โดยมีความบันดาลใจ จาก ความไพเราะ ของ วรรณคดี อันเป็นผลงานที่มีชื่อเสียง ของ ศรีปราชญ์ คือ เพลงนวลปรางนางหมอง มาเสนออีกเพลงหนึ่ง
        ...
       เพลงนวลปรางนางหมอง
       คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน
       นวลปรางนางดูช้ำใครทำให้หมอง รัญจวนในนวลน้องฉันมองเศร้าใจ
       ปรางนางเคยนวลยวนเย้าฤดี เสื่อมสิ้นราศีเศร้าไป
       
       พี่มองแก้มนางหมางดวงใจ หมองได้ไฉนเล่า
       เสียดายปรางทองต้องตรม ใครลอบชมแล้วฤาเจ้า
       
       โถใครคงชมข่มเอา เหลือจะเศร้าเร้ารัญจวน
       เหลือบจะไต่ฤาริ้นไรแกล้งทำ ฤาพรายย้ำคนลอบทำกล้ำกวน
       
       โถ ทำเสียจนสิ้นนวล เรียมสู้สงวนช้ำนวลตรมใจ
       นวลปรางนางหมอง พี่หวังปองน้องหมองไหม้
       
       ปรางทองหมองลงไป พี่พลอยหม่นหมองดวงใจ
       พี่สุดแสนจะทนได้ โอ้ใจจะขาดแล้วเอย        ใน หนังสือ ๑๐๐ เพลงดี ๑๐๐ ปี เอื้อ สุนทรสนาน เขียนบอกเอาไว้ว่า “...เป็นเพลงเอกอีกเพลงหนึ่งของ วงดนตรีสุนทราภรณ์ ในจังหวะบีกิน ที่ได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะในงานลีลาศเต้นรำ
       
        ครูแก้ว อัจฉริยะกุล คงได้ความบันดาลใจมาจาก โคลงของ ศรีปราชญ์ กวีเอกของไทย ในรัชสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ( พ.ศ.๒๑๙๖ – พ.ศ. ๒๒๓๑ ) ที่แต่ง โคลงสี่สุภาพ ต่อจากโคลงของพระองค์ท่าน ที่ทรงพระราชนิพนธ์ค้างเอาไว้ และมอบให้ พระโหราธิบดี พ่อของ ศรีปราชญ์ ไปแต่งต่อ ที่ว่า อันใดย้ำแก้มแม่ หมองหมาย ยุงเหลือบฤาริ้นพราย ลอบกล้ำ
       
        ศรีปราชญ์ ซึ่งขณะนั้นมีอายุเพียง ๗ ขวบ ได้ฉายแววกวีเอกให้เป็นที่ปรากฏ โดยแต่งต่อจนจบบทว่า...ผิวชนแต่จักกราย ยังยาก ใครจักอาจให้ช้ำ ชอกเนื้อเรียมสงวน
       
        ต่อมา ศรีปราชญ์ ได้เข้ารับราชการเพื่อสนองพระเดชพระคุณ โดยได้รับพระราชทานยกเว้นการลงโทษประหารชีวิต ให้เหลือเพียงโทษการเนรเทศเพียงอย่างเดียว เป็นกรณีพิเศษ
       
        จากฝีปาก ปฎิภาณไหวพริบและความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน ของ ศรีปราชญ์ ที่เลื่องชื่อกันมาก ก็คือ การต่อปากต่อคำกับ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกของ สมเด็จพระนารายณ์ เป็นโคลงที่ว่า...หะหายกระต่ายเต้น ชมจันทร์ มันบ่เจียมตัวมัน ต่ำต้อย นกยูงหากกระสัน ถึงเมฆ มันบ่จียมตัวน้อย ต่ำต้อยเดียรฉาน
       
        ศรีปราชญ์ จึงแต่งโคลงแก้ โต้ตอบไปว่า...หะหายกระต่ายเต้น ชมแข สูงส่งสุดตาแล ของฟ้า ฤดูฤดีแด สัตว์สู่ กันนา อย่าว่าเราเจ้าข้า อยู่พื้นเดียวกัน ( ดู เพลงกระต่ายโง่ )
       
        จนเป็นเหตุให้ถูกเนรเทศไปอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช และก็มีเรื่องชู้สาวเกิดขึ้นอีก จึงถูกเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ลงโทษประหารชีวิต
       
        อันเป็นต้นกำเนิดของโคลงที่ ศรีปราชญ์ เขียนเอาไว้ว่า...ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน เราก็ศิษย์อาจารย์ หนึ่งบ้าง เราผิดท่านประหาร เราชอบ เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนี้คืนสนอง
       
        ครูเพลงในสมัยก่อน มักจะให้ความสำคัญ และสนใจในวรรณคดีโบราณ สามารถนำเอามาดัดแปลงแก้ไข ให้เกิดความไพเราะ ทั้งในรูปแบบของ วรรณศิลป์ และ คีตศิลป์ ผิดกับบทเพลงที่กำลังนิยมกันอยู่ในสมัยปัจจุบัน อย่างฟ้ากับดินเลยทีเดียว...”
       
        เพลงที่ ครูแก้ว อัจฉริยะกุล นำเอามาจาก โคลงของ ศรีปราชญ์ นอกจาก เพลงกระต่ายโง่ และ เพลงนวลปรางนางหมอง แล้ว ยังมี เพลงพรานล่อเนื้อ อยู่ด้วย อีกเพลงหนึ่ง
        ...
       เพลงพรานล่อเนื้อ
       คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน
       เจ้า ยักคิ้ว ให้พี่ เจ้ายิ้มในที เหมือนเจ้าจะมี รักอารมณ์
       ยั่วเรียม ให้เหงา มิใช่เจ้าชื่นชม อกเรียมก็ตรม ตรมเพราะ คมตาเจ้า
       
       เรียม พะวักพะวง เรียมคิดทะนง แล้วเรียมก็คง หลงตายเปล่า
       ดังพรานล่อเนื้อ เงื้อแล้วเล็ง เพ่งเอา ยั่วใจให้เมา เมาแล้วยิง นั่นแล
       
       น้าวศรเล็ง เพ่งเอาทุกสิ่ง หากเจ้าหมายยิง ก็ยิงซิแม่
       ยิง อกเรียม สักแผล เงื้อแล้วแม่ อย่าแปร อย่าเปลี่ยนใจ
       
       เรียม เจ็บช้ำอุรา เจ้าเงื้อเจ้าง่า แล้วเจ้าก็ลาถอย ทันใด
       เจ็บปวดหนักหนา เงื้อแล้วรา เลิกไป เจ็บยิ่งสิ่งใด ไยไม่ยิง พี่เลย
       
        ครูแก้ว อัจฉริยะกุล เลือกใช้คำว่า เจ้า แทน คำสรรพนาม บุรุษที่ ๒ อยู่ด้วยกัน ๙ คำ คือ...เจ้า ยักคิ้ว / เจ้า ยิ้มในที / เจ้า จะมี / มิใช่ เจ้า / คมตา เจ้า / หาก เจ้า หมายยิง / เจ้า เงื้อ / เจ้า ง่า / เจ้า ก็ล่า
       
        เลือกใช้ คำว่า เรียม แทน คำสรรพนาม บุรุษที่ ๑ อยู่ ๗ คำ ด้วยกัน คือ...ยั่ว เรียม / อก เรียม / เรียม พะวักพะวง / เรียม คิดทะนง / แล้ว เรียม ก็คง / ยิงอก เรียม สักแผล / เรียม เจ็บช้ำอุรา
       
        ส่วนที่เป็น วรรคทอง ของ เพลงพรานล่อเนื้อ เพลงนี้ก็คือ...น้าวศรเล็ง เพ่งเอาทุกสิ่ง หากเจ้าหมายยิง ก็ยิงซิแม่ ยิงอกเรียมสักแผล เงื้อแล้วแม่ อย่าแปร อย่าเปลี่ยนใจ
       
        ซึ่งสอดคล้องเข้ากันกับ ทำนองเพลง ของ ครูเอื้อ สุนทรสนาน ที่กระชับ ได้จังหวะลงตัวพอดี และขับร้อง ตีความโดย วินัย จุลละบุษะปะ เพลงนี้จึงเป็นที่นิยมในหมู่นักเต้นรำ และแฟนๆ เพลงสุนทราภรณ์ กันมาก
       
        ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ได้ความบันดาลใจในการแต่ง เพลงพรานล่อเนื้อ มาจาก โคลงของ ศรีปราชญ์ ที่ว่า...เจ้าอย่ายักคิ้วให้ เรียมเหงา ดูดุจนายพรานเขา ล่อเนื้อ จะยิงก็ยิงเอา อกพี่ ราแม่ เจ็บไป่ปานเจ้าเงื้อ เงือดแล้วลาโรย (อ่านต่อสัปดาห์หน้า)
Credit: ผุ้จัดการออนไลน์
#วรรณคดี
THEPOco
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
6 ก.ค. 54 เวลา 06:50 3,708 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...