นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นสำรวจพบแหล่งแร่เอิร์ธปริมาณมหาศาลใต้พื้น
มหาสมุทรแปซิฟิก และสามารถนำขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ทันที หัวหน้าทีมสำรวจเผยวันนี้
แหล่งแร่ดังกล่าวถูกพบโดยทีมนักวิจัยของคาโตะ และเจ้าหน้าที่จากสถาบันธรณีศาสตร์ภาคพื้นสมุทร
และเทคโนโลยีแห่งญี่ปุ่น โดยมีการตรวจพบแร่ในโคลนใต้ทะเลราว 78 จุด ที่ความลึกประมาณ
3,500-6,000 เมตร โดย 1 ใน 3 ของพื้นที่พบว่ามีแร่เอิร์ธและแร่อิตเทรียม (Yttrium)ในปริมาณสูง
มาก
แหล่งแร่เหล่านี้อยู่ในเขตน่านน้ำสากล กินพื้นที่เป็นแนวยาวตั้งแต่ฝั่งตะวันตกจรดตะวันออกของ
หมู่เกาะฮาวาย รวมถึงภาคตะวันออกของตาฮีตีและเฟรนช์โปลินีเซีย
คาโตะประเมินว่า แหล่งแร่นี้น่าจะมีปริมาณแร่เอิร์ธไม่ต่ำกว่า 80,000-100,000 ล้านตัน เมื่อ
เทียบกับปริมาณแร่เอิร์ธสำรองทั่วโลกที่เหลือเพียง 110 ล้านตันจากการสำรวจของสำนักงานสำรวจ
ทางธรณีวิทยาสหรัฐฯ (ยูเอสจีเอส) โดยส่วนใหญ่อยู่ในจีน, รัสเซีย, อดีตดินแดนสหภาพโซเวียต และสหรัฐฯ
คาโตะเผยด้วยว่า ยูเรเนียมและธอเรียมซึ่งเป็นธาตุกัมมันตรังสีที่พบในแหล่งแร่และอาจเป็น
อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม มีปริมาณเพียง 1 ใน 5 ของแหล่งแร่บนภาคพื้นทวีป
รายละเอียดการค้นพบแรร์เอิร์ธในมหาสมุทรแปซิฟิก จะเผยแพร่ในวารสารออนไลน์ เนเจอร์ จีโอ
ไซแอนซ์ของอังกฤษ
ความขาดแคลนแร่เอิร์ธซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, แม่เหล็ก และ
แบตเตอรี่ ทำให้มีการสำรวจแหล่งแร่เหล่านี้เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อีกทั้งจีนซึ่งเป็นผู้ผลิต
แร่เอิร์ธถึง 97 เปอร์เซ็นต์ของโลกก็จำกัดโควตาการส่งออก ทำให้ราคาแร่หายากเหล่านี้ทะยานสูงขึ้นเรื่อยๆ
การนำแร่เอิร์ธจากมหาสมุทรแปซิฟิกขึ้นมาใช้ประโยชน์ จะต้องใช้วิธีดูดโคลนใต้พื้นทะเลขึ้นมา
บนเรือ จากนั้นจึงสกัดแร่เอิร์ธด้วยสารละลายกรด (acid leaching) ซึ่ง คาโตะ บอกว่า “เป็นวิธีที่
รวดเร็ว และสามารถแยกแร่เอิร์ธออกจากโคลนได้ 80-90 เปอร์เซ็นต์ ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง”