ชาวญี่ปุ่นกำลังช่วยกันลงแขกมุงหลังบ้านกัสโช
บนที่ราบ เชิงเขาฮาคูซานอันศักดิ์สิทธิ์ ที่นอกจากจะเป็นที่ตั้งของสถาบันสิ่งแวดล้อมโตโยต้า
ชิราคาวา-โก แล้วยังเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชิราคาวา-โก ที่งดงามที่สุดในประเทศญี่ปุ่นซึ่งอยู่ทาง
ตะวันออกเหนือสุดของเขตปกครองจังหวัดกิฟุ (Gifu) เชื่อมต่อกับเขตปกครองจังหวัดโทยามะ
(Toyama) ซึ่งมีตำนานเล่าขานว่าเคยเป็นถิ่นที่พำนักของกลุ่มชนชาวไฮคิ (Heiki) ที่อพยพ
ออกจากเกียวโตเมืองหลวงในขณะนั้นแล้ว ย้ายมาสร้างถิ่นฐานของตนเองใหม่ที่นี่ และที่แห่งนี้
จะเป็นอีกหนึ่งสถานที่เรียนรู้วิถีชีวิตอีกมุมหนึ่งของชาว ญี่ปุ่นที่ผู้ชนะเลิศจากโครงการลดเมือง
ร้อน ด้วยมือเรา ปีที่ 6 ซึ่งจัดขึ้นโดยบ.โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และสถาบันสิ่ง
แวดล้อมไทยมอบให้กับ 3 โรงเรียน 3 ชุมชนก่อการดี อันได้แก่ โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง
จ.ลำปาง, โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่, โรงเรียนพระซองสามัคคีวิทยาลัย
จ.นครพนม, ชุมชนน้ำด้วน 1 เทศบาลตำบลวังทอง จ.พิษณุโลก, ชุมชุนเกตุไพเราะ 3-5 และ
สำนักงานเขตพระโขนง กทม. และชุมชนโนนอุทุมพร และเทศบาลอุดรธานี จ.อุดรธานี มา
ทัศนศึกษาที่แห่งนี้...
นาโอกิ ฟุรุตะ (Naoki Furuta) Chief of commerce Industry & Tourism,
Shirakawa Village Office เริ่มต้นถ่ายทอดเรื่องราวของหมู่บ้านแห่งนี้ให้ฟังว่า
เมื่อ เอ่ยถึงหมู่บ้านชิราคาวา-โก ก็จะต้องนึกถึงบ้านแบบกัสโชสึคุริ (Gassho-zukuri) ซึ่ง
กัสโชหมายถึงบ้านรูปทรงพนมมือไหว้ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษมีอายุราว 300-400 ปี เช่น
บ้านของตระกูลวาดะซึ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมภายในบ้านมีการสืบทอดมาถึง รุ่นที่ 12 แล้ว
โดยหมู่บ้านแห่งนี้ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม
แห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก เมื่อปี ค.ศ.1995
สำหรับตัวบ้านแบบกัสโชนั้น หลังคาชันจะมีความถึง 60 องศา มุ่งด้วยหญ้าหนาประมาณ
50-60 เซนติเมตรเพื่อสามารถรองรับหิมะที่ตกมาอย่างหนักในช่วงฤดูหนาวได้เป็นอย่าง ดี ขณะ
ที่โครงสร้างของบ้านสร้างขึ้นโดยไม่ต้องใช้ตะปูเหมือนกับบ้านทรงไทยของ บ้านเรา นอกจากนี้
ตัวบ้านยังตั้งหันไปทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออกตามลำน้ำโชกาวา (Shogawa) เพื่อ
ป้องกันกระแสลมแรงที่อาจจะมาแบบพายุไต้ฝุ่นอีกด้วย
นาโอกิ เล่าต่อว่า ด้วย เหตุที่ตัวบ้านทำมาจากไม้และหญ้าจึงต้องระวังเรื่องไฟไหม้ดังนั้น
จึงมีการจัดหน่วยลาดตะเวนโดยผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่จะใช้ไม้ 2 อันเคาะกันพร้อมกับตะโกนให้ระวัง
ไฟไหม้ไปทั่วไปหมู่บ้าน อีกทั้งยังมีการฉีดน้ำด้วยสปริงเกอร์อีกด้วย และที่สำคัญเพื่อเป็นการ
อนุรักษ์ให้บ้านแบบกัสโช ยังคงอยู่พวกเราจะยึดถือกฎ ระเบียบอย่างเคร่งครัดมาตั้งแต่ก่อนที่
จะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกซึ่งเป็นการ สืบต่อมาแต่สมัยโบราณจำนวน 3 ข้อ ด้วยกัน คือ
1.บ้านกัสโชในเขตโอกิมาชิ (Ogimashi) จะไม่มีการขาย
2.ไม่มีการให้ยืม และ 3.ไม่ให้รื้อทำลาย
“เรายังมีกิจกรรม หลักที่ให้เด็กที่อาศัยในเขตนี้ได้เข้าร่วมก็คือการลงแขกมุง
หลังคาบ้านกัสโช เพื่อให้พวกเขาทราบว่ากว่าจะได้มาเป็นบ้านแต่ละหลังนั้นมีความ
ลำบากขนาดไหน ซึ่งจะทำให้พวกเขาซึมซับและเกิดความรู้สึกที่ต้องการจะช่วยกัน
อนุรักษ์บ้าน กัสโชให้คงอยู่ต่อไป ซึ่งการเปลี่ยนหลังคาบ้านแต่ละหลังนั้นจะใช้คนลงแขก
ประมาณ 300 คนใช้เวลา 2 วันต่อการมุงหลังคาให้เสร็จ 2 ข้าง แต่หากใช้เอกชนก็อาจ
จะใช้เวลานาน 1-2 เดือนเนื่องจากจำนวนคนจำกัด และหากอากาศไม่ดีก็ต้องขยายเวลา
ออกไปทำให้ใช้เวลานาน ทั้งนี้การเปลี่ยนหลังคาแต่ละครั้งจะมีอายุประมาณ 30-40 ปี ”
หัวหน้าฝ่ายอุตสาหกรรมการค้าและการท่องเที่ยว สำนักงานหมู่บ้านชิราคาโก ระบุ
สำหรับสิ่งบ่งชี้ที่จะบอกให้ชาวบ้านรู้ว่าถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยน หลังคาบ้านใหม่นั้น
สังเกตได้จากหลังคาบ้านหลังนั้นๆจะมีมอสปกคลุมอยู่นั้น เอง
นาโอกิ ยังเล่าต่อว่า