เบรสต์ - ป้อมวีรบุรุษ (70 ปีสงครามนาซี-โซเวียต)

 

ตอนไปเรียน หนังสือที่โซเวียต ผมถูกส่งไปที่เบลารุส หนึ่งในสาธารณรัฐของโซเวียต และดูเหมือนจะเป็นธรรมเนียมสำหรับนักศึกษาต่างชาติที่ถูกส่งมาที่นี่ทุกคน ที่ทางสถาบันที่เราเรียนอยู่ จะต้องพาเรามาทัศนศึกษาที่เมืองเล็กๆริมชายแดนติดกับโปแลนด์ ที่ชื่อ เบรสต์ ( Brest )
 
เหตุผล ของการพาพวกเรามาที่นี่ก็เพื่อให้เราได้รับรู้ถึงวีรกรรมของทหารโซเวียตสมัย สงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะเมืองเบรสต์ เป็นเมืองพรมแดน มีป้อมปราการสำคัญแห่งหนึ่งที่จะเป็นด้านหน้าในการรับมือกับข้าศึกที่รุกล้ำ ผ่านพรมแดนเข้ามา
และ เช้ามืดวันที่ 22 มิถุนายน 1941 หรือเมื่อ 70 ปีก่อน ฮิตเลอร์ ก็สั่งให้ทหารของเขาบุกสหภาพโซเวียตแบบขี้ขลาด คือไม่มีการประกาศล่วงหน้าให้ข้าศึกได้มีโอกาสเตรียมรับมือ นับเป็นการเปิดฉากสงครามที่รัสเซียตั้งชื่อว่า Great Patriotic War
 
ภาย ใต้ปฏิบัติการณ์มีชื่อว่า Operation Barbarossa นาซีเยอรมันบุกโซเวียตเข้ามาแบบเป็นแผง คือบุกพร้อมกันตั้งแต่ทางเหนือ ตอนกลาง และทางใต้ของพรมแดนฝั่งตะวันตกของโซเวียต และก็แน่นอนว่า เบรสต์ ก็เป็นหนึ่งในเป้าหมายการโจมตีลำดับแรกๆ เพราะเบรสต์ มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการสัญจรข้ามแม่น้ำ Bug ที่เป็นพรมแดนทางธรรมชาติระหว่างโซเวียตกับโปแลนด์ นอกจากนั้น มันก็ยังคุมเส้นทางการขนส่งทางรถไฟที่ติดต่อระหว่างโซเวียตกับกรุงวอร์ซอของ โปแลนด์ด้วย
เบรสต์ อยู่ในความรับผิดชอบในการโจมตีของกลุ่มกองทัพกลางของเยอรมัน และด้วยกำลังที่โหมเข้ามา พวกกับการบุกแบบไม่ให้รู้เนื้อรู้ตัว และการประเมินว่าฝ่ายทหารโซเวียต ไม่มีการเตรียมพร้อมรับมือการบุก ทำให้ฮิตเลอร์คาดว่า พวกเขาจะสามารถยึดป้อมปราการที่เบรสต์ ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ได้ในเวลาแค่ 15 นาทีเท่านั้นเมื่อทหารราบบุกเข้ามา ( ตามแผนบอกว่าพวกเขาควรยึดมันได้ ในเวลาไม่ควรเกิน 12 ชั่วโมง )
 
ทั้ง นี้เพราะในป้อมมีทหารแท้ๆที่พร้อมรบแค่ 3,500 นาย แม้จะยังมีทหารหน่วยอื่นๆที่บางส่วนไม่เกี่ยวข้องกับการสู้รบเลย ซึ่งรวม 2 ส่วนนี้ก็ประมาณ 7-8 พันนาย นอกจากนั้นก็ยังมีครอบครัวทหารอีกราว 300 ครอบครัว ส่วนฝ่ายฮิตเลอร์มีมากถึง 20,000 นาย
 
การสู้รบที่เบรสต์ ถือเป็นการสู้รบของแท้ครั้งแรกๆระหว่าง 2 ประเทศนี้ในสงครามโลกครั้งที่ 2
 
เยอรมัน เปิดฉากการโจมตีป้อมด้วยการยิงปืนใหญ่ และทิ้งระเบิดเข้าใส่ จากนั้นครึ่งชั่วโมง ทหารราบก็บุกเข้ามา แต่ที่ฮิตเลอร์ลืมนึกถึงก็คือ ความกล้าหาญของคนโซเวียตในการปกป้องบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง ทั้งทหารและประชาชน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ในป้อม ที่ต่างก็ช่วยกันทำทุกอย่างที่พอจะทำได้เพื่อต่อสู้กับศัตรู
ทำให้ท้ายที่สุดแล้ว นาซีเยอรมันต้องใช้เวลาถึง 9 วันกว่าจะยึดส่วนใหญ่ของป้อมปราการ ที่พรมแดนแห่งนี้ได้ในวันที่ 30 มิถุนายน และแม้จะยึดได้ แต่ปรากฏว่า การต่อต้านของทหารประจำค่าย ก็ยังมีอยู่ประปรายอยู่นานเป็นเดือน ซึ่งแม้ในเวลานั้น เยอรมันจะรุกเข้าไปได้ไกลถึงเกือบ 500 กิโลเมตรแล้วก็ตาม
 
ความ ดุเดือดของการสู้รบที่นี่ ดูได้จากยอดการสูญเสียตลอดแนวรบของเยอรมันคิดตั้งแต่เริ่มสงครามจนถึงวันที่ ยึดป้อมได้มีทั้งสิ้น 8,886 นาย โดยในจำนวนนั้น ราว 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นการสูญเสียที่ป้อมแห่งนี้เพียงแห่งเดียว
 
ต้อง เข้าใจด้วยว่าในช่วงเวลาดังกล่าว ทหารในป้อม แทบไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆจากภายนอกเลย เพราะเป็นช่วงกำลังวุ่นวาย และทหารเยอรมันสามารถยึดพื้นที่โดยรอบได้ทั้งหมดในเวลาอันรวดเร็ว ทหารในป้อมจึงขัดสนทั้งน้ำ อาหาร และกระสุน
 
สุดท้ายแล้ว น้ำน้อยก็ย่อมแพ้ไฟ ทหารในป้อมเสียชีวิตเกือบทั้งหมดจากการสู้รบ
และในวันท้ายๆ ก่อนตาย ทหารผู้รักษาป้อมนายหนึ่งได้ขีดเขียนเอาไว้ที่ที่ผนังของป้อมว่า " ถึงจะตายแต่ก็จะไม่ทิ้งป้อม ถึงจะตายแต่ก็ไม่ยอมจำนน ลาก่อน มาตุภูมิ 20.VII.41 "
ปัจจุบัน ข้อความส่วนนี้ถูกสกัดออกมา และนำมาเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ทหารในกรุงมอสโก
 
มี รายงานว่าทหารรักษาป้อมบางนาย เพิ่งจะถูกทหารเยอรมันจับได้ในเดือนสิงหาคม เพราะช่วงนั้นฮิตเลอร์จะเดินทางมาดูป้อม จึงต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยมากเป็นพิเศษ และเพื่อกวาดล้างทหารชุดสุดท้ายที่อาจจะยังซุกซ่อนอยู่ภายในป้อม ก็มีการผันน้ำจากแม่น้ำเข้ามาให้ท่วมป้อม
 
วีรกรรมของทหารที่นี่ ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์การต่อต้านนาซีเยอรมันของฝ่ายโซเวียต และในปี 1965 ป้อมแห่งนี้ ได้รับสถานะเป็น Hero Fortress จากวีรกรรมเมื่อปี 1941

ผมเองก็ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ ก็ไ่ม่รู้ว่าเขาสู้กันดุเดือดขนาดไหน ก็เลยเอาตัวอย่างหนังเรื่อง " ป้อมเบรสต์ " มาให้ดูกัน เผื่อว่าจะได้จินตนาการออกว่าสงครามที่จุดนี้เป็นอย่างไร
 
 
ที่มา http://www.oknation.net/blog/russky/2011/06/22/entry-3
object width="560" height="349">
Credit: http://www.unigang.com/Article/7544
2 ก.ค. 54 เวลา 20:48 5,285 4 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...