ภาพจากสถาบันวิทยาศาสตร์แคลิฟอร์เนีย เผยสปีชีส์ใหม่ของ “ปากกาทะเล” (sea pen) ที่จัด
อยู่ในสกุล (genus) เวอเรทิลลัม (Veretillum) ซึ่งพบสัตว์ชนิดนี้ได้เฉพาะเวลากลางคืนเมื่อมัน
โพล่ขึ้นมาจากทราย และขยายติ่งเนื้อที่ดูคล้ายประกายดาวออกจับแพลงก์ตอนในน้ำ (เอเอฟพี)
ทีมสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพนำทัพโดยนักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ ค้นพบสิ่งมีชีวิต
หลากสี ทั้งพืชและสัตว์ คาดเป็นสปีชีส์ใหม่กว่า 300 ชนิดในฟิลิปปินส์ ทั้งกุ้งมังกรไร้เปลือก
ฉลามจิ๋วที่พองตัวหลอกศัตรูให้กลัว ระบุต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนยืนยันสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่
ทั้งหมด
สถาบันวิทยาศาสตร์แคลิฟอร์เนีย (The California Academy of Sciences)
www.calacademy.org เผยว่าได้ค้นพบสิ่งมีชีวิตใหม่ทั้งพืชและสัตว์มากกว่า 300 ชนิด ระหว่าง
การสำรวจทางบกและทางทะเลเป็นเวลา 42 วันเมื่อเร็วๆ นี้ ในหมู่เกาะขนาดใหญ่ทางเอเชียตะวัน
ออกเฉียงใต้ที่กำลังถูกคุกคามทางนิเวศน์
“หมู่เกาะฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในจุดที่มีความหลากหลายชีวภาพสูงสุดและสิ่งมีชีวิตถูก
คุกคามมากที่สุดในโลก แม้ว่าเรายังไม่ทราบถึงความหลากหลายทางชีวภาพอย่างเป็นทางการ
ของที่นั่น แต่เราก็พบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่เกือบๆ ทุกครั้งที่เราดำน้ำและไต่เขา เพื่อสำรวจแนว
ปะการัง ป่าฝนและก้นมหาสมุทรของประเทศนี้” เอเอฟพีรายงานคำแถลงของ เทอร์เรนซ์ กอ
สไลเนอร์ (Terrence Gosliner) ในเว็บไซต์ของสถาบันวิทยาศาสตร์แคลิฟอร์เนีย
ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตอันโดดเด่นที่ทีมสำรวจค้นพบ มีทั้งฉลามขนาดเล็กที่สามารถพองตัว
หลอกศัตรูด้วยการกลืนน้ำลงไปในกระเพาะตัวเอง ปลาดาวที่กินเฉพาะเศษไม้ที่ลอยมาตามน้ำ
กุ้งมังกรชนิดใหม่ 3 ชนิด ปูมีหนามแหลมตรงก้ามเรียงกันคล้ายฟัน หรือตัวหนอนคล้ายปลาจิ้ม
ฟันจรเข้ (pipefish) ซ่อนตัวอยู่ในแนวปะการังอ่อน
สิ่งมีชีวิตที่ค้นพบในครั้งนี้หลายชนิดตกจากการสำรวจก่อนหน้า เพราะขนาดที่เล็กเกินไป
เช่น แมงมุมก็อบลิน (goblin spider) ปลิงทะเล (sea slug) และตัวเพรียง เป็นต้น และบางชนิดก็
อยู่ในแหล่งที่ยากจะพบโดยมนุษย์ อย่างเช่น ปลาไหลงู (snake eel) ที่อาศัยอยู่ก้นมหาสมุทร
และมอสซึ่งอยู่ในพื้นที่สูงชันและอันตรายของภูเขาเมาท์อิซารอก (Mount Isarog) ที่สูงถึง
1,976 เมตร
หลังเสร็จสิ้นการสำรวจหมาดๆ เมื่อ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทีมวิจัยแถลงว่าพบสิ่งมีชีวิตที่น่าจะ
เป็นสปีชีส์ใหม่ 75 สปีชีส์ แต่พวกเขาไม่ได้ให้เหตุผลถึงตัวเลขคาดการ์ณสปีชีส์ใหม่ที่พุ่งสูงขึ้น
ไปหลายร้อย บอกเพียงว่ากำลังเก็บตัวอย่างและเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลเดิม และจะยืนยันจำ
นวนสปีชีส์ใหม่ที่แน่ชัดในอีกหลายเดือนข้างหน้า ซึ่รวมถึงการศึกษาลงไปถึงระดับดีเอ็นเอด้วย
การค้นพบล่าสุดนี้ให้น้ำหนักแนวคิดที่ว่าแหล่งน้ำของฟิลิปปินส์เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต
หลากหลายสปีชีส์มากกว่าสิ่งแวดล้อมทางทะเลอื่นๆ บนโลก ซึ่งทางสถาบันวิทยาศาสตร์
แคลิฟอร์เนียได้เรียกร้องให้ฟิลิปปินส์ขยายพื้นที่ปกป้อง สิ่งแวดล้อมทางทะเล และควบคุมขยะ
พลาสติกไม่ให้ไปสะสมที่ก้นมหาสมุทร อีกทั้งยังบอกอีกว่ามาตรการปกป้องระบบนิเวศน์ใน
ปัจจุบันเป็นแค่ “เสือกระดาษ” ที่ไม่อาจหยุดยั้งการทำลายป่าและล่าสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติได้
หนอนสปีชีส์ใหม่ในสกุล ไมเรียนิดา (Myrianida ) ซึ่งพบอยู่ในเศษปะการัง
ปลิงทะเลสปีชีส์ใหม่ แอโอลิด นูดิบรันช์ (aeolid nudibranch) ที่ผลิตพิษออกมาไล่ศัตรูได้เช่นกัน
(เอเอฟพี)
ปลิงทะเลสปีชีส์ใหม่ แอโอลิด นูดิบรันช์ (aeolid nudibranch) เป็นปลิงทะเลที่มีสีสันและผลิตพิษออกมาไล่ศัตรูได้เช่นกัน (เอเอฟพี)
ปลิงทะเลสปีชีส์ใหม่ กิมโนโดริส นูดิบรันช์ (Gymnodoris nudibranch) ผลิตออกมาไล่ศัตรูได้ (เอเอฟพี)
ปลิงทะเลสปีชีส์ เนมโบรธา นูดิบรันช์ (Nembrotha nudibranch) ที่ผลิตพิษออกมาไล่ศัตรูนักล่าได้
(เอเอฟพี)
ปูสปีชีส์ใหม่ที่มีซี่คล้ายฟันที่ก้าม (เอเอฟพี)
ปลิงทะเลสปีชีส์ใหม่ชื่อ เนมโบรธา นูดิบรันช์ (Nembrotha nudibranch) ซึ่งสัตว์จำพวกหอยหมึกชนิดนี้ไม่ต้องมีเปลือกมาห่อหุ้มป้องกันอันตราย แต่สามารถผลิตสารพิษที่ทำให้ศัตรูนักล่าถอยห่างไปไกลๆ ได้ (เอเอฟพี)
ปะการังอ่อนสปีชีส์ใหม่ในสกุล เอฟฟลาทัวนาเรีย (Efflatounaria) ที่ปลายท่อสีน้ำตาลมีสาหร่ายทำหน้าที่สังเคราะห์แสงเพื่อผลิตอาหารให้ปากะรัง (เอเอฟพี)
ปะการังอ่อนคล้ายต้นไม้ที่สูงได้ถึงครึ่งเมตรซึ่งพบเฉพาะในเขตน้ำลึก นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้จำแนกสัตว์ชนิดนี้ที่มีลักษณะคล้ายสปีชีส์ใหม่ที่อยู่ในสกุล อัมเบลิอูลิเฟอรา (เอเอฟพี)
ปากกาทะเลในสกุล เทอโรไอด์ส (Pteroeides) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า 100 มิลลิเมตร และไม่มีสีสัน
จัดจ้านเหมือนสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่พบในการสำรวจครั้งนี้ และโผล่ออกมาจากพื้นทรายในเวลากลาง
คืน เพื่อจับแพลงก์ตอนเป็นอาหาร สัตว์ชนิดนี้ยังไม่ได้รับการจำแนกชัดเจน และยังมีลักษณะ
คล้ายปากกาทะเลสปีชีส์ใหม่ที่อยู่ในสกุล อัมเบลิอูลิเฟอรา (Umbeliulifera) (เอเอฟพี)
เม่นทะเลพันธุ์ใหม่ที่มีสีแดงโดดเด่น (เอเอฟพี)
ฉลามพันธุ์ใหม่ที่สามารถพองตัวด้วยการกลืนน้ำลงกระเพาะให้ตัวใหญ่ขึ้นเพื่อข่มขวัญศัตรู
(เอเอฟพี)
นักวิจัยสถาบันวิทยาศาสตร์แคลิฟอร์เนียโชว์ฉลามจิ๋วพันธุ์ใหม่ 2 ตัว ที่นำขึ้นมาจากทะเลลึก
ระหว่างการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพที่ฟิลิปปินส์ ซึ่งฉลามชนิดนี้สามารถขยาย
กระเพาะตัวเองด้วยการกลืนน้ำลงไป เพื่อข่มขวัญนักล่าที่จะมาทำร้าย (เอเอฟพี)