โดยทั่วไปคนเรียกมันว่า "ผ้าห่อศพแห่งตูริน" (Shroud of Turin)
ผ้า ห่อศพแห่งตูรินเป็นแถบผ้าลินินซึ่งเป็นสมบัติอันล้ำค่าและมีความเกี่ยวข้อง ผูกพันกับหลายแผ่นดิน ทั้งพระเจ้าแผ่นดิน ขุนนาง นักรบ และผู้นำทางศาสนาคริสต์ รวมไปถึงพวกนักหลอกลวงหากินด้วย
ใน ปัจจุบันการสืบสวนหาความจริงของเรื่องที่มาของผ้าห่อศพแห่งตูรินได้กระทำกัน โดยผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่าย ได้แก่ นักประวัติศาสตร์ นักภาษาศาสตร์ นักพยาธิวิทยา นักศึกษาคัมภีร์ไบเบิล ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการถักทอ นักเคมี นักฟิสิกส์และผู้เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพ
ร่องรอยที่สำคัญคือรูปร่างอันเด่นชัดที่ปรากฏอยู่บนผ้าห่อศพผืนนั้นที่เป็นภาพเสมือนภาพถ่ายหรือเงา ซึ่งมีรูปร่างคล้ายปิศาจขนาดเท่าคนจริง เป็นเรือนร่างของผู้ชายไม่ได้ใส่เสื้อผ้า มีหนวดเครายาว ผมยาว มีรูปใบหน้าดูเงียบสงบแม้จะเป็นขณะอยู่ในห้วงของความตายก็ตาม ดูเสมือนว่าความสง่างาม แฝงด้วยความเงียบสงบภายใต้ความน่ากลัว ประกอบกันขึ้นโดยผลงานอันพึงมีจากศิลปินยอดเยี่ยมของโลกเลยทีเดียว
รูป ร่างแม้จะถูกต้องตามหลักกายภาพทุกสัดส่วน แต่ก็ยังปรากฏให้เห็นถึงร่องรอยของการถูกทรมานอย่างทารุณด้วยการเฆี่ยนตี การถูก ตรึงไว้บนไม้กางเขน การถูกแทงด้วยหอกหรือของแหลมคม ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับเรื่องราวในตำนานคริสต์ (Gospel) แล้ว ก็ตรงกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับองค์ "พระเยซูเจ้าแห่งนาซาเรท" (Jessus of Nazareth)
และปัจจุบันก็มีผู้ที่เชื่อว่าผ้าห่อศพสีงาช้างนี้ เป็นผ้าผืนเดียวกับ ที่ โยเซฟแห่งอริมาเธีย (Joseph of Arimathaea) ใช้รองข้างใต้ และคลุมพระวรกายของพระเยซู ในหลุมฝังศพใกล้กับเมืองกอลกอตทา (Golgotha) เมื่อประมาณเกือบ 2,000 ปีมาแล้ว
ผ้าห่อศพนี้ค้นพบครั้งแรกราวกลางคริสตศตวรรษที่ 14 ณ เมืองลิเรย์ (Lirey) ประเทศฝรั่งเศส เจ้าของเดิมเป็นอัศวินผู้มีชื่อเสียง ชื่อ จอฟฟรีย์ เดอ ชาร์นี (Geoffrey de Charny) จากนั้นผ้าห่อศพผืนนี้ก็ได้ถูกเปลี่ยนมือและระเหเร่ร่อนไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมาประดิษฐานที่ตูรินหรือโตริโน (Torino) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเพียดมองต์ (Piedmont) ในประเทศอิตาลี
รอย โลหิตที่ปรากฏมีสีเข้มกว่าส่วนอื่นที่เป็นรอยร่างกาย และมองเห็นได้อย่างเห็นชัด รอยโลหิตที่ไหลลงมาเป็นทางจากส่วนศีรษะ และส่วนของแขนทั้งสอง รอยเปื้นเป็นรอยใหญ่ที่ด้านข้างของร่างกาย ข้อมือและเท้ามีรอยที่เข้าใจว่าเกิดการตอกตะปู บาดแผลนับสิบๆ แผลตามร่างกายอันเกิดจากการเฆี่ยนตี ที่ปลายของรอยแผลแบบนี้จะเป็นรอยชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากแส้ที่ใช้เฆี่ยนตีของชาวโรมัน เรียกว่า "ฟลากรัม" (flagrum)
ตรง ปลายสายแส้ซึ่งทำด้วยเชือกหรือเส้นหนัง จะมีปุ่มหรือก้อนตะกั่วหรือกระดูกผูกติดไว้ด้วย มองเห็นได้ชัดเจนว่าเจ้า ของรูปร่างที่ปรากฏอยู่บนผืนผ้านี้ได้ผ่านการทารุณที่โหดเหี้ยมอย่างไร้ มนุษยธรรม
ในปี ค.ศ.1898 เซคอนโด เปีย (Secondo Pia) ได้ทำการถ่ายภาพผ้าห่อศพผืนนี้ แล้วตรวจสอบภาพเนกาทีฟที่ปรากฏออกมา เขารู้สึกตกใจมากเพราะมันไม่ไช่ภาพเนกาทีฟ แต่มันกลับเป็นภาพโพสิทีฟที่ชัดเจน ส่วนแสงและเงาที่ปรากฏบนผ้านั้นปรากฏออกมาอย่างเด่นชัด และดูเป็นภาพที่เหมือนจริงอย่างยิ่ง และยังแสดงถึงรายละเอียดต่างๆ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อนอีกด้วย นั่นก็แสดงว่าภาพจริงๆ บนผ้าห่อศพเป็นภาพเนกาทีฟอยู่ก่อนแล้วนั่นเอง.....
จะเป็นไปได้อย่างไรเพราะในสมัยนั้นยังไม่ได้คิดค้นการถ่ายรูป ดังนั้น ยูลีส เชวาเลีย (Ulysse Chevalier) บุรุษผู้มีความรู้ผู้หนึ่งของฝรั่งเศสจึงบอกว่าผ้าห่อศพผืนนี้เป็นของปลอมแน่นอน
จาก นั้นได้มีการศึกษาผ้าห่อศพนี้อีก โดยมีคนพยายามที่จะวาดภาพแบบเนกาทีฟลงบนผืนผ้าโดยใช้สีต่างๆ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จากนั้นจึงได้มีการทดลองใช้ "เมอร์" (Myrrh เป็นยางหอมที่ได้จากต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทำน้ำหอมและธูปบูชา ) ทดลองใช้ "อโลส์" (Aloes เครื่องเทศชนิดหนึ่ง ใช้ผสมกับน้ำมันหอมใช้มากในพิธีศพ )
โดย พบว่าถ้านำเมอร์ผสมกับอโลส์ทาตัวศพซึ่งคาดว่าคนในสมัยโบราณใช้วิธีการนี้ใน พิธีทางศาสนา อาจจะมีปฏิกิริยากับผ้าที่ใช้ห่อศพก็ได้ และเหงื่อของคนตายที่ตายเพราะถูกรมานอย่างเจ็บปวด จะมียูเรียขับออกมาเป็นจำนวนมาก สารนี้นานไปก็จะสลายเป็นแอมโมเนีย ระเหยออกมา ไอระเหยนี้เข้าใจว่าจะทำปฏิกิริยากับน้ำมันที่ชุ่มอยู่ในผ้าห่อศพ และทำให้เกิดการเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลได้ อย่างไรก็ตามการค้นพบนี้ก็ไม่เป็นที่ยอมรับเท่าใดนัก
ต่อ มาได้มีการศึกษาด้านสรีรวิทยา โดยทดลองกับศพจริงๆ หลายศพ พบว่าตะปูที่ตอกอุ้งมือนั้นไม่สามารถยึดร่างคนไว้บนไม้กางเขนได้ เพราะเนื้อ เอ็น กระดูกบริเวณอุ้งมือจะฉีกขาด ทานน้ำหนักตัวไม่อยู่ การตอกตะปูจึงต้องตอกที่ข้อมือ หรือส่วนแขนตั้งแต่ข้อมือไป จนถึงข้อศอกเท่านั้น.........
จาก ความจริงนี้ทำให้เชื่อได้ว่าผ้าห่อศพนี้เป็นของจริง เพราะรอยที่เกิดบนผ้านั้นปรากฏอย่างชัดเจนว่า การตอก ตะปูยึดกระทำที่แขน ไม่ใช่อุ้งมือเหมือนภาพวาดศิลปะที่นิยมวาดกันทั่วไป
ในปี ค.ศ.1973 ได้มีการค้นพบสิ่งน่าประหลาดอย่างหนึ่ง คือภาพที่ปรากฎอยู่บนผ้านั้นเป็นภาพที่อยู่ส่วนบนของผิวของเส้นด้าย ไม่ได้แทรกซึมลงไปในเนื้อเส้นด้ายเลย และส่วนที่ทำให้เกิดภาพก็ไม่ใช่องค์ประกอบของสีด้วย นอกจากนี้ได้มีการนำตัวอย่างเศษผ้าชิ้นเล็กๆ ไปตรวจสอบ พบว่า เนื้อผ้าเป็นผ้าลินินและใช้กันทั่วไปในปาเลสไตน์สมัยโบราณ เส้นใยทำจากฝ้าย ซึ่งมาจากตะวันออกกลาง ถักทอแบบ "Doubled Thread" ลายก้างปลา เป็นแบบฉบับการทอที่โบราณที่สุด เส้นด้ายนั้นปั่นด้วยมือเป็นวิธีโบราณเช่นกัน
ใน ปี ค.ศ. 1978 ได้มีการจัดตั้งโครงการเพื่อทดสอบผ้าห่อศพทางด้านวิทยาศาสตร์ขึ้น นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการฉายแสง UV และ เอกซเรย์ มีการถ่ายรูปอย่างละเอียดทุกๆ ตารางมิลลิเมตร ประมาณ 5,000 รูป โดยใช้คลื่นแสงที่มีความถี่ต่างๆ กัน นอกจากนี้ยังมีการใช้เทปเหนียวและเครื่องดูด เพื่อดักจับเอาบางส่วนของเส้นใยเล็กๆ ฝุ่นผง ละอองเกสร และอณูอื่นๆ ไปวิเคราะห์ การดำเนินการตรวจสอบเป็น ไปอย่างช้าๆ โดยอาศัยเวลาว่างเท่านั้น.......เวลาล่วงเลยไปถึงปีครึ่ง
ผลที่ได้ก็มีทั้งที่สร้างความผิดหวังและข้อขัดแย้ง แต่ส่วนใหญ่ของผลงานที่ได้รับก็นำมาซึ่งคำตอบ
ผล การวิเคราะห์จากโครงการนี้พบว่า สีเหลืองอ่อนที่เป็นภาพ จะปรากฏอยู่บนสุดของเส้นด้าย สีนั้นไม่ได้กระจายหรือซึมลงไปในเนื้อ เส้นด้าย ไม่ได้ไหลลงไปข้างๆ และก็ไม่ได้มีสีปรากฏระหว่างช่องว่างของเส้นด้าย แสดงว่าสีนั้นจับอยู่บนเส้นด้าย ไม่ใช่ด้วยวิธีวาดหรือถูสีไปบนผ้า
ดังนั้นพวกนักวิทยาศาสตร์จึงเชื่อว่าผ้าห่อศพแห่งตูรินไม่ใช่ภาพเขียน เพราะไม่พบเม็ดสี หรือรงค์ของสีแต่อย่างใดนอกจากเหล็ก ออกไซด์ปริมาณน้อยเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามก็มีนักวิทยาศาสตร์ผู้ร่วมทีมบางคนมีความคิดที่แปลกแตกต่าง ออกไป ดังนั้นจึงไม่สามารถสรุป แน่นอนถึงที่มาของภาพบนผ้าห่อศพได้
สำหรับรอยเปื้อนเลือดที่ปรากฏอยู่บนผ้านั้น เมื่อตรวจสอบจากภาพถ่ายของ เซคอนโด เปีย ( Secondo Pia ) แล้ว พบว่าส่วนที่เป็นเลือดจะปรากฏเป็นโพสิทีฟ ซึ่งต่างกับภาพบนผ้าที่ปรากฏเป็นเนกาทีฟ และเมื่อลองเลาะรอยเย็บข้างหลังผ้าออก ก็พบรอยเลือดที่ไหลผ่านทะลุผ้าลงมา ตรงข้ามกับภาพที่จะเห็นเฉพาะเพียงด้านหน้าของภาพเท่านั้น ดังนั้นจึงเห็นได้ชัดว่า รอยเปื้อนเลือดกับรอยที่เกิดเป็นภาพนั้น
เกิด ขึ้นด้วยวิธีที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งผลการตรวจสอบก็ปรากฏออกมาว่า รอยเลือดนั้นเกิดจากเลือดจริงๆ โดยผลจากการเอกซเรย์ แสดงให้เห็นเปอร์เซนต์ของธาตุเหล็กในเลือดมนุษย์อย่างถูกต้อง และได้มีนักวิทยาศาสตร์พบร่องรอยผลึกเล็กๆ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นผลึกของ เฮโมโกลบิน
แม้ ว่าการวิจัยต่างๆ ทั้งหมด จะเห็นพ้องต้องกันว่าผ้าห่อศพนี้เป็นของเก่าแก่โบราณแน่ แต่ก็ยังไม่อาจสรุปผลได้ว่าภาพปริศนาบนผ้าผืนนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ผ้าห่อศพแห่งตูรินยังคงเป็นสิ่งปริศนาอยู่เหนือข้อพิสูจน์ใดๆ ตราบจนวันนี้
ที่มาจาก satitcmu