7. Annelies Marie "Anne" Frank
อันเนอลีส มารี "อันเนอ" ฟรังค์ หรือมักรู้จักในภาษาไทยว่า แอนน์ แฟรงค์ เป็นเด็กหญิงชาวยิว เกิด ที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี ในปี 1929 ครอบครัวของเธอได้ย้ายไปยังประเทศเนเธอร์แลนด์ในปี 1933 หลังจากพรรคนาซีเริ่มมีอำนาจ ต่อมาเมื่อกองทัพนาซีเข้ายึดครองเนเธอร์แลนด์ พร้อมกับออกมาตรการควบคุมชาวยิวจำนวนมาก เธอและครอบครัวกับผู้อื่นอีก 4 คนจึงต้องไปหลบซ่อนตัวอยู่ในอาคารสำนักงานในเมืองอัมสเตอร์ดัมของออทโท ฟรังค์ผู้บิดาในห้องลับบนหลังคาและที่นั่นเธอได้เขียนบันทึก “Anne Frank: The Diary of a Young Girl – Anne Fran” หรือสมุดบันทึกของแอนน์ แฟรงค์ ซึ่งเธอเขียนในช่วงระหว่าง วันที่ 12 มิถุนายน จนกระทั้งหยุดลงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคมเพราะเธอถูกจับ โดยเธอเขียนและบรรยายเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในห้องลับภายในสำนักงานของพ่อของ เธอ ในประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อหลบหนีจากทหารนาซีเยอรมันที่กวาดต้อนชาวยิวเข้าค่ายกักกัน โดยเธอกับครอบครัวและคนอื่นที่เป็นชาวยิว 7 คน ได้อาศัยอยู่ที่นั่น โดยบันทึกเล่าว่าพวกเธอต้องอยู่ด้วยความหวาดกลัว และใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยความหวาดระแวง ก่อนที่ทั้งหมดจะถูกจับโดยทหารนาซี ทั้งหมดถูกส่งเข้าค่ายกักกัน ซึ่งเธอก็ตายที่นั่นเมื่อเดือนมีนาคม 1945 ด้วยอายุเพียง 15 ปี ก่อนที่ไม่กี่สัปดาห์สงครามก็สิ้นสุดลง โดยทั้ง 7 คนในห้องลับเหลือรอดเพียงพ่อของแอนน์ แฟรงค์เท่านั้นที่ไม่ได้เสียชีวิตในแคมป์ หลังสงครามพ่อของเธอได้กลับมาที่สำนักงานอีกครั้งและก็ได้พบสมุดบันทึกดัง กล่าว และเขาต้องการให้สมุดบันทึกดังกล่าวได้ตีพิมพ์จนกระทั้งเสร็จสมบูรณ์ในวัน ที่ 25 มิถุนายน 1947 ซึ่งต่อมาสมุดบันทึกของแอนน์ แฟรงค์ ก็ได้กลายเป็นบันทึกที่โลกไม่ลืมในที่สุด
6.SamanthaSmith
ซาแมนธ่า สมิธ เกิดเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 1972 เป็นเด็กนักเรียนหญิง และนักแสดงเด็กจาก ที่เมืองโฮลตัน รัฐเมน ริมชายแดนติดกับแคนาดา ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสหรัฐ อเมริกา โดยในช่วงสงครามเย็นระหว่างสหรัฐ และสหภาพโซเวียต ในปี ค.ศ. 1982 ซาแมนธ่าได้เขียนจดหมายถึง ยูริ อังโดรปอฟ ผู้นำพรรคคอมมัวนิสต์โซเวียตที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งใหม่ ในช่วงนั้น สงครามเย็นระหว่างค่ายทุนนิยมกับคอมมิวนิสต์กำลังตึงเครียดหนัก โดยเนื้อหา ที่เธอเขียน เนื้อความว่า
“ผู้นำโซเวียตกระหายสงครามหรือไม่ ถ้าไม่ เธอจะช่วยอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดสงครามขึ้น และทำไมสหภาพโซเวียตจึงอยากพิชิตโลก หรือสหรัฐ ในเมื่อพระเจ้าสร้างโลกให้เราอยู่ด้วยกัน ไม่ใช่ให้มาสู้กัน”
แต่แทนที่ผู้นำโซเวียตจะโกรธ เขายังใจดีและตอบคำถามของเธอ แล้วยังเชิญเธอมาเยือนสหภาพโซเวียตเป็นการส่วนตัวด้วย เพื่อมาดูให้เห็นกับตาว่าคนโซเวียตกระหายสงครามจริงหรือไม่ เธอใช้เวลาอยู่ ในประเทศนาน 2 สัปดาห์ โดยได้ไปทำกิจกรรมต่างๆมากมาย รวมทั้งไปพักในค่ายฤดูร้อนสำหรับเด็กโซเวียต และในการแถลงข่าว เธอบอกว่า " คนรัสเซียก็เหมือนกับพวกเราและนั้นเองทำให้สหรัฐแตกตื่นกันทั้งประเทศ แห่กันมาสัมภาษณ์เธอยกใหญ่ และเธอก็ได้รับความสนใจจากสื่อของทั้งสองประเทศ ว่าเป็น สื่อความปรารถนาดี และทำให้เป็นที่รู้จักกันในฐานะ “ทูตสหรัฐที่อายุน้อยที่สุด” ที่ได้มีส่วนร่วมกิจกรรมสร้างสันติภาพในประเทศญี่ปุ่น เธอได้เขียนหนังสือและร่วมแสดงในภาพยนตร์โทรทัศน์ และก่อนที่จะเสียชีวิตด้วยวัยเพียง 13 ปีจากอุบัติเหตุเครื่องบิน Bar Harbor Airlines Flight 1808 ตกที่สนามบินออเบิร์น รัฐเมน ระหว่างการเดินทางกลับบ้านพร้อมกับพ่อ หลังเสร็จสิ้นการถ่ายหนัง เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1985
5. Hector Pieterson
ภาพเด็กสามคนที่คุณเห็นดังกล่าวถือว่าเป็นภาพที่มีชื่อ เสียงอีกภาพหนึ่งของโลก ถูกถ่ายในวันที่ 16 มิถุนายน 1976 เป็นรูปถ่ายของ Mbuyisa Makhubo(อายุ 18 ปี) กำลังแบกเพื่อนของเขาเฮ็กเตอร์ เปียเตอร์สัน พร้อมกับน้องสาวอยู่เคียงข้าง
เฮ็กเตอร์ เปียเตอร์สัน(1964-1976) เด็กอายุเพียง 12 ปีได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านการเหยียดสีผิวและสัญลักษณ์อนุสรณ์การ ก่อการจลาจลใน Soweto ในแอฟริกาใต้ ในสมัยประเทศดังกล่าวยังมีการเหยียดสีผิวอย่างรุนแรงซึ่งเขาถูกตำรวจแอฟริกา ใต้ยิงขณะประท้วงเพื่อประชาธิปไตยเพื่อสิทธิคนผิวดำ และเพื่อนของเขาได้แบกเพื่อหนีตำรวจ และภาพดังกล่าวก็ถูกถ่ายโดย Sam Nzima ซึ่งในเวลาต่อมาทางแอฟริกาใต้ก็ได้กำหนดให้วันที่ 16 มิถุนายน เป็นวันเยาวชนแห่งชาติของแอฟริกาใต้ และได้ตั้งอนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์ ใกล้สถานที่เขาถูกยิง เพื่อเป็นเกียรติแก่เฮ็กเตอร์และบรรดาผู้เสียชีวิตทั่วประเทศจากเหตุจลาจล ดังกล่าว
เรื่องน่าเศร้ายังไม่จบเพียงเท่านี้ ทางด้าน Mbuyisa Makhubo หลังจากภาพถ่ายดังกล่าวถูกเผยแพร่ ชีวิตของเขาถูกคุกคามโดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและถูกบังคับให้ออกจาก แอฟริกาใต้ และหลังจากที่แม่ของเขาได้รับจดหมายในปี 1978 เธอก็ไม่ได้ยินเรื่องของเขาอีกเลยนับจากนั้นเป็นต้นมา
4. Iqbal Masih
http://www.kornang.com/webboard/index.php?topic=895.0
อิกมัล มาซิฮ์(1982-1995)เป็นเด็กปากีสถานคาทอลิคที่ถูกขายให้เป็นแรงงานผูกมัดใน โรงงานอุตสาหกรรมพรม เมื่อตอนอายุเพียง 4 ขวบ เขาเกิดในเมืองเล็กๆ ที่เรียกว่าMuridke ใกล้ละฮอร์ ถูกพ่อทิ้งและแม่ไม่มีปัญญาเลี้ยง เลยถูกขายเป็นทาสด้วยเงินเพียงแค่ 12 เหรียญสหรัฐ เขาถูกบังคับให้ทำงานพรม 14 ชั่วโมงต่อวัน โดยได้เพียงค่าจ้างเพียง 3 เซ็นต์เท่านั้น ทั้งที่ทำงานถึงสิบสองชั่วโมงต่อวัน เขาทำงานหนักมาก อาหารก็ไม่พอ การดูแลก็แย่ ทำให้เขาไม่เจริญเติบโตเหมือนเด็กปกติทั่วไป นอกจากนี้เขายังถูกลงโทษอย่างหนักหากไม่เชื่อฟังเจ้านาย ครั้งหนึ่งเขาหนี ออกมาเพื่อฟ้องตำรวจ แต่ตำรวจเข้าข้างเจ้านายของเขามากกว่า ทำให้ส่งตัวเขาให้แก่โรงงาน และเขาก็ถูกลงโทษโดยถูกคล้องด้วยโซ่
จนกระทั้งอิกมัล มาซิฮ์ อายุ 10 ขวบเขาได้หนีอีกครั้ง และเข้าร่วมกับ BLLF (องค์กรแรงงานของปากีสถาน) เพื่อหยุดการใช้แรงงานเด็กทั่วโลก ซึ่งเขาได้ช่วยเหลือเด็กในโรงงานนรกใน ปากีสถาน มากกว่า 3,000 คนช่วยในการหลบหนีพันธะ และให้อิสรภาพ และเข้าก็ได้กล่าวคำคำปราศรัยเรื่องของแรงงานเด็กทั่วโลก
อิกมัล มาซิฮ์ ถูกฆาตรกรรมเมื่อวันที่ 16 เมษายน 1995 ที่บ้านเกิดของเขา กลางถนนกลางวันแสก ๆ ซึ่งเข้าถูกยิงด้านหลังด้วยปืนลูกซองหลังจากที่เขาไปประกอบพิธีกรรมทาง คริสต์จักร หลังจากที่เขาเสียชีวิต สันนิษฐานว่าเขาถูกฆ่าโดยสมาชิกของกลุ่มมาเฟียพรม ซึ่งแน่นอนเหตุผลของการสังหารเข้าครั้งนี้ เพราะการต่อสู้ที่มีชื่อเสียงของเขากับอุตสาหกรรมการใช้แรงงานเด็กนั่นเอง
3. Nkosi Johnson
นโคเซ่ จอห์นสัน (1989 – 2001) เป็นเด็กจากแอฟริกาใต้เกิดที่เมืองทางทิศตะวันออกของโจฮันเนสเบิร์ก โดยเขา ไม่รู้ว่าพ่อของเขาติดเชื้อเอชไอวี่(เอดส์) เขาเริ่มเป็นที่สนใจของสาธารณ ชนเมื่อปี 1997 เมื่อโรงเรียนประถมในเขตชานเมืองปฏิเสธรับเขาเข้าเรียนเนื่องจากเขาเป็น เอดส์ และนั้นเองเขายังสู้ชีวิตโดยเป็นตัวแทนในการรณรงค์ให้สังคมตระหนักและเข้าใจ เรื่องโรคเอดส์ขึ้น และทำให้การเมืองแอฟริกาใต้ต้องเดือดอีกครั้งพร้อมกับมีการแก้ไขกฎหมายสิทธิ มนุษยชนในเวลาต่อมา ซึ่งเนลสัน มันเดลาได้นิยามเด็กคนนี้ว่า “ไอดอลของการต่อสู้ชีวิต”
นโคเซ่ จอห์นสันได้กล่าวสุนทรพจน์ที่ 3 ในงานประชุมนานาชาติเรื่องโณคเอดส์ที่เขาได้เปิดประเด็นการรักษาโรคเอดส์ให้ เท่าเทียมกัน โดยเขากล่าวว่า “การดูแลเราและยอมรับเรา – เราเหมือนมนุษย์ทุกคน เราเป็นปกติ เรามีมือ เรามีเท้า สามารถเดิน เราสามารถพูเดคุย เรามีความต้องการเช่นเดียวกับคนอื่นๆ –ไม่ต้องกลัวเรา เราเหมือนคุณทั้งหมด!”
นโคเซ่ จอห์นสันตายในปี 2001 ด้วยโรคเอดส์ในขณะอายุ 12 ปี แต่กระนั้นเขาเป็นเด็กไม่กี่คนที่สามารถมีชีวิตอยู่อย่างยาวนานทั้งที่เป็น ภาวะติดโรคเอดส์ในเด็กแรกเกิด หลังเขาตายแม่บุญธรรมของเขาได้ก่อตั้งศูนย์ดูแลคุณแม่และเด็กติดเชื้อเอชไอ วีที่โจฮันเนสเบิร์ก และตัวแทนของเขาก็ได้รับรางวัลสันติภาพเด็กระหว่างประเทศจากมือของมิกคาอิล กอร์บาชอฟ และได้รับเงินรางวัล 100,000 เหรียญสหรัฐจากมูลนิธิ KidsRights และมีการสร้างรูปหล่อของเขาเล็กๆ ในรางวัลรางวัลสันติภาพเด็ก(International Children's Peace Prize)เพื่อเป็นเกียรติต่อเขาด้วย และเรื่องราวของเขาถูกเขียนเป็นหนังสือในชื่อเดียวกับเขา โดยจิม วูตเท็น
2. Om Prakash Gurjar
โอม(เกิด 1992-ปัจจุบัน) เป็นอดีตแรงงานเด็กจากราชสถาน ประเทศอินเดีย ที่ได้รับรางวัลสันติภาพเด็กระหว่างประเทศ ในปี 2005 โดยมีเขาอายุ 5 ขวบ เขาออกห่างจากพ่อแม่เพื่อไปใช้แรงงาน หลังจากนั้นเขาก็ถูกช่วยเหลือโดยกลุ่ม Bachpan Bachao Andolan หรือ BBA องค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศอินเดีย ที่ทำงานเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็ก โดยเขาได้รณรงค์เพื่อให้คนพื้นเมืองในเมืองราชสถานของเขาได้รับการศึกษาฟรี และก่อตั้งเครือข่าย “หมู่บ้านมิตรเด็ก” เพื่อเรียกร้องสิทธิเด็กจากการใช้ แรงงานที่ไม่ได้รับอนุญาต และช่วยปกป้องเด็กจากการแสวงหาประโยชน์ และเขายังรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ การบังคับให้แต่งงาน หรือการบังคับให้เป็นทหารเด็ก ซึ่งเป็นสิ่งที่พบเห็นโดยทั่วไปในเอเชียกลาง
1. ThandiweChama
ทานดิเว ชามา(เกิด 1991-จนถึงปัจจุบัน) เป็นเด็กสาวชาวแซมเบีย ได้รับรางวัลสันติภาพ(International Children's Peace Prize)ในปี 2008 จากตัวแทนเด็ก 28 คนทั่วโลก ซึ่งรางวัลดังกล่าวเสนอให้เด็กคนหนึ่งที่มีทำกิจกรรมเรียกร้องสิทธิเด็ก และการปรับปรุงการใช้ชีวิตของเด็กกำพร้า ยากจน และเด็กติดเชื้อเอดส์
สำหรับเรื่องราวของเธอเริ่มต้นขึ้นในปี 1999 เมื่อเธออายุแปดปี โรงเรียนเก่าของเธอถูกปิดลงเพราะไม่มีครูผู้สอน เธอและเด็กคนอื่นๆ 60 คนปฏิเสธที่จะไปเรียนในโรงเรียนอื่นๆ และนับจากนั้นเป็นต้นมาเธอก็ต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิให้เด็กทุกคนได้รับ การศึกษาอย่างต่อเนื่อง และต่อมาเธอก็เริ่มพูดในคริสตจักรเกี่ยวกับเด็กและผู้ป่วยโลกเอดส์ ซึ่งเธอกับเพื่อนได้เขียนหนังสือเล่มเล็กที่เรียกว่า “ไก่กับโรคเอดส์” เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงโรคเอดส์ในเด็กเล็ก
0.Sasaki Sadako
ก็แปลกดีว่าทำไมซาดาโกะถึงไม่ติดอันดับ ทั้งๆ ที่เรื่องราวของเธอนั้นโด่งดังไม่แพ้เด็กในอันดับดังกล่าวเลย
ซาดาโกะ ซาซากิ(1943 – 1955)เป็นเด็กหญิงชาวญี่ปุ่น ที่อาศัยอยู่ใกล้กับสะพานมิซาสะในเมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น เธอมีอายุได้เพียงสองปี เมื่อระเบิดนิวเคลียร์ถูกทิ้งลงที่ฮิโรชิมา เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 1945 ซาดาโกะเป็นเด็กที่แข็งแรงรวมทั้งเป็นนักกีฬา ในปี 1954 เมื่อมีอายุได้ 11 ปี ในขณะที่กำลังซ้อมวิ่งอยู่นั้น เธอรู้สึกมึนหัวแล้วล้มลง หลังเข้ารับการตรวจก็พบว่าเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นหนึ่งในผลสืบเนื่องจากระเบิดนิวเคลียร์ ซึ่งเพื่อนของซาดาโกะได้เล่าให้เธอฟังเกี่ยวกับตำนานที่ว่า ถ้าใครพับนกกระดาษได้ครบหนึ่งพันตัว จะได้สิ่งที่ตนต้องการ ซาดาโกะหวังว่านี่อาจช่วยให้เธอหายป่วยและกับมาวิ่งได้อีกครั้ง เธอใช้เวลา 14 เดือนในโรงพยาบาล และพับนกมากกว่า 1,300 ตัว ก่อนที่จะเสียชีวิตลงด้วยอายุเพียง 12 ปี (ในเรื่องเล่าที่ค่อนข้างแพร่หลายกล่าวว่าเธอพับนกได้แค่ 644 ตัวก่อนจะเสียชีวิต และเพื่อนของเธอพับนกให้เธอจนครบหนึ่งพันตัว และฝังนกเหล่านั้นพร้อมกับร่างของเธอ) ปัจจุบันที่ฐานอนุสาวรีย์ของเธอในบริเวณอนุสรณ์สถานสันติภาพ ฮิโรชิมา ผู้คนจากทั่วโลกยังคงแวะเวียน นำพวงมาลัยนกกระเรียนกระดาษมาวางเพื่อระลึกถึงเธอ ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากสงคราม
เครดิต:CAMMY
อ้างอิงจากบทความใน
http://listverse.com/2008/07/16/7-children-who-changed-the-world/