โฉมหน้า เครื่องบินรบ กริพเพน เขี้ยวเล็บใหม่ทัพฟ้าไทย

 

โฉมหน้า เครื่องบินรบ กริพเพน เขี้ยวเล็บใหม่ทัพฟ้าไทย โฉมหน้า เครื่องบินรบ กริพเพน เขี้ยวเล็บใหม่ทัพฟ้าไทย





โฉมหน้า"กริพเพน" เขี้ยวเล็บใหม่ทัพฟ้าไทย (ข่าวสด)
กิจจา เจริญเกียรติก้อง รายงาน

          ในทางภูมิศาสตร์ ประเทศไทยมีพื้นดินมากกว่าพื้นน้ำ ยุทธศาสตร์การรบจึงต้องเตรียมกำลังทางบกเป็นหลัก ขณะเดียวกัน กำลังทางน้ำและกำลังทางอากาศก็มีส่วนสำคัญทำให้การรบบรรลุเป้าหมาย 

          เมื่อรูปแบบการรบพัฒนาไปพร้อมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ยุทโธปกรณ์ทางการรบก็ต้องพัฒนา โดยเฉพาะกำลังทางอากาศที่เปิดทางให้ทหารราบทำการรบได้ง่ายขึ้น ความทันสมัยของเครื่องบินรบจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนสำคัญ

          พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผบ.ทอ. มอบหมาย พล.อ.ท.ประจิน จั่นตอง รองเสธ.ทอ. นำคณะสื่อมวลชนไปเยี่ยมชมกองบิน 7 สุราษฎร์ธานี ดูพื้นที่ที่เครื่องบินกริพเพน 6 ลำ จะเข้ามาประจำการในเดือน ม.ค. - มี.ค. ปี 2554 ซึ่งใช้งบประมาณจัดเตรียมพื้นที่กว่า 700 ล้านบาท

          มี พล.อ.ต.ชูชีพ แผ้วสมบูรณ์ จก.กร.ทอ. น.อ.สุทธิพงษ์ อินทรียงค์ รองจก.ยก.ทอ. ร่วมคณะ พร้อมเปิดตัว น.ท.จักรกฤษณ์ ธรรมวิชัย ว่าที่ผู้นำฝูงเครื่องบินกริพเพน 39 ซี/ดี และ น.อ.มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บังคับการกองบิน 7 ในฐานะผู้บังคับบัญชาคนแรกของเครื่องบินกริพเพน

          กริพเพน 39 ซี/ดี ถูกออกแบบมาให้มีขนาดเครื่องเล็ก น้ำหนักเบา แต่มีประสิทธิภาพบินได้คล่องแคล่ว รบได้หลากหลายรูปแบบ มีระบบการทำลายสูง คู่ต่อกรปัจจุบันมีเพียง เอฟ 18 และ ซู-30 ไม่ว่าจะเป็นการรบด้วยระบบอากาศสู่อากาศ อากาศสู่พื้นดิน และอากาศสู่ทะเล

          ปัจจุบันมี 6 ชาติที่สวีเดนยอมขายกริพเพนให้ประจำการ คือกองทัพอากาศสวีเดน อังกฤษ ฮังการี เช็ก แอฟริกาใต้ และไทย ส่วนประเทศที่กำลังจัดซื้อประกอบด้วย กองทัพอากาศ บราซิล อินเดีย บัลแกเรีย โครเอเชีย กรีซ โรมาเนีย และสโลวะเกีย

          โครงการจัดซื้อเครื่องบินกริพเพน จำนวน 12 ลำ เกิดขึ้นสมัย พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข เป็นผบ.ทอ. เพื่อนำมาทดแทนเครื่องบินขับไล่ เอฟ 5 บี/อี ที่ประจำการอยู่ฝูง 701 กองบิน 7 ที่เข้ามาประจำการตั้งแต่ปี 2519 และจะปลดประจำการปี 2554 เครื่องบินแบบกริพเพน 39 ซี/ดี จึงเป็นทางเลือกของกองทัพอากาศไทยในการเสริมเขี้ยวเล็บ

          มีการเปิดเจรจากับกองทัพอากาศสวีเดน เมื่อปี 2548-2549 วงเงิน 34,400 ล้านบาท แบ่งการจัดซื้อเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่หนึ่ง จำนวน 6 ลำ วงเงิน 19,000 ล้านบาท จะได้รับเครื่องในปี 2554 เดือนม.ค. 3 เครื่อง เดือนมี.ค. 3 เครื่อง 

          ส่วนโครงการระยะที่ 2 จำนวน 6 ลำ วงเงิน 15,400 ล้านบาท เดิมจะให้ครม. อนุมัติจัดซื้อปี 2553 เพื่อรับเครื่องในปี 2556 แต่เมื่อมีผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก โครงการจัดซื้อระยะ 2 อีก 6 ลำ จึงชะงัก ซึ่งกองทัพอากาศได้ทำหนังสือปกขาวชี้แจง ครม.และรัฐบาล รับทราบความจำเป็น



          พล.อ.ท.ประจิน จั่นตอง รองเสธ.ทอ. หนึ่งในคณะกรรมการจัดหาเครื่องบินกริพเพน กล่าวว่า หากไม่สามารถจัดหา กริพเพนได้ครบ 12 ลำ อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของไทยอย่างมหาศาล โดยจะเห็นผลในระยะยาว  เพราะอาวุธกองทัพไทยขณะนี้ล้าหลังกว่าชาติอื่น ๆ ในอาเซียนทั้งหมด มีเพียงลาวชาติเดียวเท่านั้นที่เราเข้มแข็งกว่า เมื่อโครงการเฟส 2 ของเครื่องบินกริพเพนสะดุด ย่อมหมายถึงการพัฒนาศักยภาพของอากาศยานรบของกองทัพอากาศต้องขาดตอน 

          การจะเดินหน้าให้กองทัพอากาศไทย เป็นหมายเลข 1 ในภูมิภาคนี้ตามแผนพัฒนาของ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผบ.ทอ. จึงเป็นเรื่องท้าทายกองทัพอากาศอย่างมาก แต่ในเมื่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นเช่นนี้ ฝ่ายกองทัพ ทหารก็เข้าใจรัฐบาลดี

          ที่กองทัพอากาศทำได้ขณะนี้คือการตั้งงบประมาณและชี้แจงผ่านสมุดปกขาว เพื่อขอความเห็นใจ เพราะที่ผ่านมากองทัพไม่ได้รับงบประมาณเพิ่มเลย ในปี 2550 ที่พอจะเริ่มได้งบประมาณมาปรับปรุงก็ต้องดำรงสภาพให้พร้อมรบ

          การไม่ได้เครื่องบินกริพเพนเพิ่มเติมอีก 6 ลำ กองทัพอากาศจึงต้องเตรียมแผนสำรองโดยการอัพเกรด เครื่องบินเอฟ 5 ที่ประจำการที่กองบิน 7 จ.สุราษฎร์ธานี ต่อไปอีกสักระยะแม้ว่าเครื่องบินเหล่านี้จะปลดประจำการในปี 2554 ทั้งยังเป็นเครื่องที่มีอายุการใช้งานมากและต้นทุนการซ่อมบำรุงสูง
 
          น.อ.สุทธิพงษ์ อินทรียงค์ รองเจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ ยืนยันว่า หากมีกริพเพนครบ 1 ฝูง ที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมระบบ กองทัพอากาศไทยจะไม่แพ้ใคร เพราะกริพเพนทำได้หมดทุกอย่างและใช้โอกาสแค่นัดเดียวศัตรูจอด ประเทศไทยจะล้าหลังไม่ได้อีกต่อไป เพราะปัจจุบันเป็นยุคที่ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล ไม่ใช่ยุคแห่งอนาล็อก 

          คนที่แข็งแรงกว่า คือคนกำหนดเกม ซึ่งสิ่งนี้คือเกียรติภูมิและศักดิ์ศรี ภาคใต้สำคัญยิ่งในภูมิศาสตร์ทางทหาร และยังมีทรัพยากรใต้ทะเลที่มีค่ามหาศาล ดังนั้น กริพเพนคือยุทธศาสตร์สำคัญที่ต้องวางไว้ใจกลางภาคใต้

          น.อ.มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บังคับการกองบิน 7 อธิบายความสามารถของเครื่องบินกริพเพน ว่า เป็นเครื่องบินรบที่คล่องตัวที่สุดในโลกในการต่อสู้ทางอากาศระยะประชิด มีความแม่นยำทุกเป้าหมาย ลดโอกาสการตรวจการณ์จากเรดาร์และอาวุธนำวิถีด้วยความร้อน หรือเรียกว่าเป็นเครื่องบิน "Steath" คือเครื่องบินที่มีความสามารถในด้านเทคโนโลยีล่องหน

          นอกจากนี้ ระบบของกริพเพนจะประสานงานเป็นเครือข่าย เครื่องบินแต่ละลำสามารถเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้ และมีระบบอิเล็กทรอนิกส์การบินเต็มรูปแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการรบและการใช้อาวุธนำวิถีที่แม่นยำสูงสุด 

          น.ท.จักรกฤษณ์ ธรรมวิชัย ว่าที่ผู้ฝูงกริพเพนคนแรก กล่าวว่า ภารกิจการคัดเลือกนักบินกริพเพนทั้ง 10 คน ขณะนี้คัดเลือกได้หมดแล้วจากนักบินรบที่มีชั่วโมงบินตั้งแต่ 500-700 ชั่วโมงขึ้นไป และเป็นคนที่กลับมาแล้วจะสามารถรับเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด แถมเทคโนโลยีบางตัวก็ยังใช้งานง่ายและไฮเทคกว่าเอฟ-16


ขีดความสามารถ กริพเพน 39 ซี/ดี

           เป็นเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ยุคที่ 4.5 (4.5 Generation Fighter) มีความอ่อนตัวและคล่องตัว ใช้อาวุธสมัยใหม่ได้แม่นยำสูง และมีพิสัยการยิงไกล ปฏิบัติภารกิจได้หลากหลายรูปแบบในลักษณะ Multi-Role เมื่อประกอบเข้ากับระบบบัญชาการและควบคุม (Command and Control System : C2) ที่เปรียบเสมือนมีกำลังน้อยแต่เหมือนมีกำลังมาก (System of Systems) ในลักษณะการทวีกำลัง (Force Multiplier)

           มีสมรรถนะสูง ใช้ระบบอาวุธได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งระบบอาวุธที่ผลิตจากสหรัฐและสหภาพยุโรป รวมทั้งแผนการจัดหาเพิ่มเติมโจมตีเรือผิวน้ำ RB S-15 มีสมรรถนะและเทคโนโลยีทันสมัยและสามารถพัฒนาต่อเนื่องในอนาคต ทั้งมีความเหมาะสมตามสภาพภูมิยุทธศาสตร์ในการวางกำลังในพื้นที่ภาคใต้ ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองและการปฏิบัติการร่วมกันระหว่างเหล่าทัพในการป้องกันประเทศ

           วิ่งขึ้นได้จากรันเวย์ยาว 800 เมตร และลงจอดบนถนนหลวงที่มีความยาวเพียง 500 เมตร ต้องการเจ้าหน้าที่สนับสนุนภาคพื้นดินเพียงแค่ 5 คน มีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการที่ต่ำกว่าเครื่องบินแบบอื่นๆ สามารถใช้อาวุธได้หลากหลายมีความเร็วสูงสุด 1.4 มัค ที่ระดับน้ำทะเล และ 2 มัคที่ความสูงที่สูงกว่า

           ระหว่างปฏิบัติภารกิจเป็นหมู่ กริพเพน สามารถเปิดเรดาร์เพียงเครื่องเดียวเพื่อลดการตรวจจับ แต่สามารถส่งข้อมูลของเป้าหมายให้เครื่องบินอื่น ๆ ในหมู่บินได้ เครื่องบินที่ไม่ได้เปิดเรดาร์จึงสามารถเข้าโจมตีได้โดยที่ถูกตรวจจับได้ยากและข้าศึกไม่รู้ตัว ระบบนี้สวีเดนเป็นชาติแรกที่พัฒนา คล้ายกับระบบที่ติดตั้งในเครื่องบิน เอฟ-22 ของสหรัฐฯ
โฉมหน้า เครื่องบินรบ กริพเพน เขี้ยวเล็บใหม่ทัพฟ้าไทย โฉมหน้า เครื่องบินรบ กริพเพน เขี้ยวเล็บใหม่ทัพฟ้าไทย





โฉมหน้า"กริพเพน" เขี้ยวเล็บใหม่ทัพฟ้าไทย (ข่าวสด)
กิจจา เจริญเกียรติก้อง รายงาน

          ในทางภูมิศาสตร์ ประเทศไทยมีพื้นดินมากกว่าพื้นน้ำ ยุทธศาสตร์การรบจึงต้องเตรียมกำลังทางบกเป็นหลัก ขณะเดียวกัน กำลังทางน้ำและกำลังทางอากาศก็มีส่วนสำคัญทำให้การรบบรรลุเป้าหมาย 

          เมื่อรูปแบบการรบพัฒนาไปพร้อมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ยุทโธปกรณ์ทางการรบก็ต้องพัฒนา โดยเฉพาะกำลังทางอากาศที่เปิดทางให้ทหารราบทำการรบได้ง่ายขึ้น ความทันสมัยของเครื่องบินรบจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนสำคัญ

          พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผบ.ทอ. มอบหมาย พล.อ.ท.ประจิน จั่นตอง รองเสธ.ทอ. นำคณะสื่อมวลชนไปเยี่ยมชมกองบิน 7 สุราษฎร์ธานี ดูพื้นที่ที่เครื่องบินกริพเพน 6 ลำ จะเข้ามาประจำการในเดือน ม.ค. - มี.ค. ปี 2554 ซึ่งใช้งบประมาณจัดเตรียมพื้นที่กว่า 700 ล้านบาท

          มี พล.อ.ต.ชูชีพ แผ้วสมบูรณ์ จก.กร.ทอ. น.อ.สุทธิพงษ์ อินทรียงค์ รองจก.ยก.ทอ. ร่วมคณะ พร้อมเปิดตัว น.ท.จักรกฤษณ์ ธรรมวิชัย ว่าที่ผู้นำฝูงเครื่องบินกริพเพน 39 ซี/ดี และ น.อ.มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บังคับการกองบิน 7 ในฐานะผู้บังคับบัญชาคนแรกของเครื่องบินกริพเพน

          กริพเพน 39 ซี/ดี ถูกออกแบบมาให้มีขนาดเครื่องเล็ก น้ำหนักเบา แต่มีประสิทธิภาพบินได้คล่องแคล่ว รบได้หลากหลายรูปแบบ มีระบบการทำลายสูง คู่ต่อกรปัจจุบันมีเพียง เอฟ 18 และ ซู-30 ไม่ว่าจะเป็นการรบด้วยระบบอากาศสู่อากาศ อากาศสู่พื้นดิน และอากาศสู่ทะเล

          ปัจจุบันมี 6 ชาติที่สวีเดนยอมขายกริพเพนให้ประจำการ คือกองทัพอากาศสวีเดน อังกฤษ ฮังการี เช็ก แอฟริกาใต้ และไทย ส่วนประเทศที่กำลังจัดซื้อประกอบด้วย กองทัพอากาศ บราซิล อินเดีย บัลแกเรีย โครเอเชีย กรีซ โรมาเนีย และสโลวะเกีย

          โครงการจัดซื้อเครื่องบินกริพเพน จำนวน 12 ลำ เกิดขึ้นสมัย พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข เป็นผบ.ทอ. เพื่อนำมาทดแทนเครื่องบินขับไล่ เอฟ 5 บี/อี ที่ประจำการอยู่ฝูง 701 กองบิน 7 ที่เข้ามาประจำการตั้งแต่ปี 2519 และจะปลดประจำการปี 2554 เครื่องบินแบบกริพเพน 39 ซี/ดี จึงเป็นทางเลือกของกองทัพอากาศไทยในการเสริมเขี้ยวเล็บ

          มีการเปิดเจรจากับกองทัพอากาศสวีเดน เมื่อปี 2548-2549 วงเงิน 34,400 ล้านบาท แบ่งการจัดซื้อเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่หนึ่ง จำนวน 6 ลำ วงเงิน 19,000 ล้านบาท จะได้รับเครื่องในปี 2554 เดือนม.ค. 3 เครื่อง เดือนมี.ค. 3 เครื่อง 

          ส่วนโครงการระยะที่ 2 จำนวน 6 ลำ วงเงิน 15,400 ล้านบาท เดิมจะให้ครม. อนุมัติจัดซื้อปี 2553 เพื่อรับเครื่องในปี 2556 แต่เมื่อมีผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก โครงการจัดซื้อระยะ 2 อีก 6 ลำ จึงชะงัก ซึ่งกองทัพอากาศได้ทำหนังสือปกขาวชี้แจง ครม.และรัฐบาล รับทราบความจำเป็น



          พล.อ.ท.ประจิน จั่นตอง รองเสธ.ทอ. หนึ่งในคณะกรรมการจัดหาเครื่องบินกริพเพน กล่าวว่า หากไม่สามารถจัดหา กริพเพนได้ครบ 12 ลำ อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของไทยอย่างมหาศาล โดยจะเห็นผลในระยะยาว  เพราะอาวุธกองทัพไทยขณะนี้ล้าหลังกว่าชาติอื่น ๆ ในอาเซียนทั้งหมด มีเพียงลาวชาติเดียวเท่านั้นที่เราเข้มแข็งกว่า เมื่อโครงการเฟส 2 ของเครื่องบินกริพเพนสะดุด ย่อมหมายถึงการพัฒนาศักยภาพของอากาศยานรบของกองทัพอากาศต้องขาดตอน 

          การจะเดินหน้าให้กองทัพอากาศไทย เป็นหมายเลข 1 ในภูมิภาคนี้ตามแผนพัฒนาของ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผบ.ทอ. จึงเป็นเรื่องท้าทายกองทัพอากาศอย่างมาก แต่ในเมื่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นเช่นนี้ ฝ่ายกองทัพ ทหารก็เข้าใจรัฐบาลดี

          ที่กองทัพอากาศทำได้ขณะนี้คือการตั้งงบประมาณและชี้แจงผ่านสมุดปกขาว เพื่อขอความเห็นใจ เพราะที่ผ่านมากองทัพไม่ได้รับงบประมาณเพิ่มเลย ในปี 2550 ที่พอจะเริ่มได้งบประมาณมาปรับปรุงก็ต้องดำรงสภาพให้พร้อมรบ

          การไม่ได้เครื่องบินกริพเพนเพิ่มเติมอีก 6 ลำ กองทัพอากาศจึงต้องเตรียมแผนสำรองโดยการอัพเกรด เครื่องบินเอฟ 5 ที่ประจำการที่กองบิน 7 จ.สุราษฎร์ธานี ต่อไปอีกสักระยะแม้ว่าเครื่องบินเหล่านี้จะปลดประจำการในปี 2554 ทั้งยังเป็นเครื่องที่มีอายุการใช้งานมากและต้นทุนการซ่อมบำรุงสูง
 
          น.อ.สุทธิพงษ์ อินทรียงค์ รองเจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ ยืนยันว่า หากมีกริพเพนครบ 1 ฝูง ที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมระบบ กองทัพอากาศไทยจะไม่แพ้ใคร เพราะกริพเพนทำได้หมดทุกอย่างและใช้โอกาสแค่นัดเดียวศัตรูจอด ประเทศไทยจะล้าหลังไม่ได้อีกต่อไป เพราะปัจจุบันเป็นยุคที่ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล ไม่ใช่ยุคแห่งอนาล็อก 

          คนที่แข็งแรงกว่า คือคนกำหนดเกม ซึ่งสิ่งนี้คือเกียรติภูมิและศักดิ์ศรี ภาคใต้สำคัญยิ่งในภูมิศาสตร์ทางทหาร และยังมีทรัพยากรใต้ทะเลที่มีค่ามหาศาล ดังนั้น กริพเพนคือยุทธศาสตร์สำคัญที่ต้องวางไว้ใจกลางภาคใต้

          น.อ.มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บังคับการกองบิน 7 อธิบายความสามารถของเครื่องบินกริพเพน ว่า เป็นเครื่องบินรบที่คล่องตัวที่สุดในโลกในการต่อสู้ทางอากาศระยะประชิด มีความแม่นยำทุกเป้าหมาย ลดโอกาสการตรวจการณ์จากเรดาร์และอาวุธนำวิถีด้วยความร้อน หรือเรียกว่าเป็นเครื่องบิน "Steath" คือเครื่องบินที่มีความสามารถในด้านเทคโนโลยีล่องหน

          นอกจากนี้ ระบบของกริพเพนจะประสานงานเป็นเครือข่าย เครื่องบินแต่ละลำสามารถเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้ และมีระบบอิเล็กทรอนิกส์การบินเต็มรูปแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการรบและการใช้อาวุธนำวิถีที่แม่นยำสูงสุด 

          น.ท.จักรกฤษณ์ ธรรมวิชัย ว่าที่ผู้ฝูงกริพเพนคนแรก กล่าวว่า ภารกิจการคัดเลือกนักบินกริพเพนทั้ง 10 คน ขณะนี้คัดเลือกได้หมดแล้วจากนักบินรบที่มีชั่วโมงบินตั้งแต่ 500-700 ชั่วโมงขึ้นไป และเป็นคนที่กลับมาแล้วจะสามารถรับเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด แถมเทคโนโลยีบางตัวก็ยังใช้งานง่ายและไฮเทคกว่าเอฟ-16


ขีดความสามารถ กริพเพน 39 ซี/ดี

           เป็นเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ยุคที่ 4.5 (4.5 Generation Fighter) มีความอ่อนตัวและคล่องตัว ใช้อาวุธสมัยใหม่ได้แม่นยำสูง และมีพิสัยการยิงไกล ปฏิบัติภารกิจได้หลากหลายรูปแบบในลักษณะ Multi-Role เมื่อประกอบเข้ากับระบบบัญชาการและควบคุม (Command and Control System : C2) ที่เปรียบเสมือนมีกำลังน้อยแต่เหมือนมีกำลังมาก (System of Systems) ในลักษณะการทวีกำลัง (Force Multiplier)

           มีสมรรถนะสูง ใช้ระบบอาวุธได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งระบบอาวุธที่ผลิตจากสหรัฐและสหภาพยุโรป รวมทั้งแผนการจัดหาเพิ่มเติมโจมตีเรือผิวน้ำ RB S-15 มีสมรรถนะและเทคโนโลยีทันสมัยและสามารถพัฒนาต่อเนื่องในอนาคต ทั้งมีความเหมาะสมตามสภาพภูมิยุทธศาสตร์ในการวางกำลังในพื้นที่ภาคใต้ ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองและการปฏิบัติการร่วมกันระหว่างเหล่าทัพในการป้องกันประเทศ

           วิ่งขึ้นได้จากรันเวย์ยาว 800 เมตร และลงจอดบนถนนหลวงที่มีความยาวเพียง 500 เมตร ต้องการเจ้าหน้าที่สนับสนุนภาคพื้นดินเพียงแค่ 5 คน มีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการที่ต่ำกว่าเครื่องบินแบบอื่นๆ สามารถใช้อาวุธได้หลากหลายมีความเร็วสูงสุด 1.4 มัค ที่ระดับน้ำทะเล และ 2 มัคที่ความสูงที่สูงกว่า

           ระหว่างปฏิบัติภารกิจเป็นหมู่ กริพเพน สามารถเปิดเรดาร์เพียงเครื่องเดียวเพื่อลดการตรวจจับ แต่สามารถส่งข้อมูลของเป้าหมายให้เครื่องบินอื่น ๆ ในหมู่บินได้ เครื่องบินที่ไม่ได้เปิดเรดาร์จึงสามารถเข้าโจมตีได้โดยที่ถูกตรวจจับได้ยากและข้าศึกไม่รู้ตัว ระบบนี้สวีเดนเป็นชาติแรกที่พัฒนา คล้ายกับระบบที่ติดตั้งในเครื่องบิน เอฟ-22 ของสหรัฐฯ
26 มิ.ย. 54 เวลา 20:28 2,130 1 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...