ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ร่วมกับตำรวจจราจร
ได้จัดทำแผนจัดระเบียบจราจรในพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระและ
หัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 27 กิโลเมตร โดยจะเริ่มทำการปิดถนน 4 สายที่อยู่ในแนวเส้นทาง ตั้งแต่
วันที่ 24 มิ.ย. 2554 จนถึงปี 2559 เพื่อให้ผู้รับเหมาเข้าไซต์และเริ่มลงมือก่อสร้าง
แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ
1.โครงสร้างทางยกระดับ ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ
13 ก.ม. เริ่มต้นที่รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีบางซื่อ วิ่งตรงมาแยกเตาปูน เข้า ถ.ประชาราษฎร์สาย 2
ผ่านสี่แยกบางโพ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังถนนจรัญสนิทวงศ์ที่โรงเรียนเทคโนโลยีพระราม 6
ผ่านแยกบางพลัด แยกบรมราชชนนี สิ้นสุดที่แยกท่าพระ
2.โครงสร้างใต้ดิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค 14 ก.ม. เริ่มต้นที่รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีหัวลำโพง วิ่งเข้า
ถนนเจริญกรุง ผ่านวัดมังกรกมลาวาส วังบูรพา สนามไชย ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณปากคลอง
ตลาด ลอดใต้คลองบางกอกใหญ่ เข้าสู่ ถนนอิสรภาพจากนั้นจะเริ่มเปลี่ยนเป็นโครงสร้างทางยกระดับ
แล้ววิ่งเข้าสู่แยกท่าพระ ถนนเพชรเกษม ผ่านบางไผ่ บางแค มาสิ้นสุดที่แยกตัด ถนนกาญจนาภิเษก
เริ่มปิดจราจร 24 มิ.ย.นี้
โดยงานก่อสร้างมีผู้รับเหมาแบ่งเป็น 4 สัญญา คือ 1.งานอุโมงค์ (หัวลำโพง-สนามไชย) ของ บมจ.อิตาเลียนไทย
ดีเวล๊อปเมนต์ 2.งานอุโมงค์ (สนามไชย-ท่าพระ) ของ บมจ.ช.การช่าง 3.งานทางยกระดับ (เตาปูน-ท่าพระ) ของ
บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และ 4.งานทางยกระดับ (ท่าพระ-หลักสอง) ของ บมจ.ซิไน-ไทย
เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น นายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการ รฟม.กล่าวว่า ในวันที่ 24 มิ.ย.นี้จะเริ่ม
ปิดการจราจรงานทางยกระดับของสัญญาที่ 3 และ 4 บน ถ.จรัญสนิทวงศ์และเพชรเกษมก่อน โดยจะปิดเกาะ
กลางถนนฝั่งละ 1 ช่องจราจรในเวลากลางคืนตั้งแต่ 22.00-05.00 น. เพื่อทำการรื้อย้ายต้นไม้และสาธารณูปโภค
จากนั้นจะเริ่มปิดจราจรถาวรในเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไปจนถึงปี 2559 โดยปิดจราจรบริเวณเกาะกลาง 2
ช่องจราจรทั้ง ถ.จรัญสนิทวงศ์และเพชรเกษม จากเดิม 6 ช่อง เหลือ 4 ช่องจราจร เพื่อให้ผู้รับเหมาเข้าพื้นที่ก่อสร้าง
ตลอด 24 ชั่วโมง ก่อสร้างฐานรากและวางคานโครงสร้าง โดยบริษัทยูนิคฯแจ้งว่า จะเริ่มงานช่วงสามแยกเตาปูน-
แยกบางโพบน ถ.ประชาราษฎร์สาย 2 จะเริ่มปิดด้านซ้าย 1 ช่อง จราจร ฝั่งมุ่งหน้าแยกบางโพตั้งแต่ 1 ก.ค. 2554-
1 มี.ค. 2555 ส่วนฝั่งที่มุ่งหน้าแยกเตาปูนจะเริ่มปิดด้านขวา 1 ช่อง จราจรตั้งแต่ 1 ก.ย. 2554- 1 มี.ค. 2555 เพื่อ
ทำการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค ส่วนบริษัทซิโน-ไทยฯแจ้งจะเริ่มงานช่วงปลาย ถ.วงแหวนรอบนอกแล้วไล่มาจนถึง
แยกท่าพระ งานอุโมงค์สัญญาที่ 1และ 2 ผู้รับเหมาจะเข้ารื้อย้ายสาธารณูปโภควันที่ 4 ก.ค.นี้เป็นต้นไป มีกำหนดเสร็จ
ในปี 2559 "ถ.เจริญกรุง การจราจรเป็นวันเวย์ ช่วงก่อสร้างจะปิด 2 เลนด้านซ้ายให้ผู้รับเหมาเข้าพื้นที่เปิดหน้าดินเพื่อ
ก่อสร้างสถานีส่วน ถ.อิสรภาพเป็นไซต์ก่อสร้างของ ช.การช่างตั้งแต่ช่วงสนามไชยถึงท่าพระ ระยะแรกเป็นงานขุดเจาะ
สำรวจโบราณสถานจะเริ่มเข้าวันที่ 4 ก.ค.นี้ เบื้องต้นผู้รับเหมาแจ้งจะปิดเลนช่องซ้าย 1 ช่องจราจร เหลือ 3 ช่องจราจร
จากเดิม 4 ช่องจราจร"ปิดถาวร 5 ปี ห้ามจอด 24 ช.ม.
พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) รับผิดชอบงานจราจร เปิดเผยว่า เบื้องต้นผลหารือ
กับ รฟม.เกี่ยวกับการลดผลกระทบด้านการจราจรช่วงระหว่างการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจะเริ่มปิดการจราจรชั่วคราว
ถ.เพชรเกษมและถ.จรัญสนิทวงศ์ในบางช่วงก่อนในเวลากลางคืน เพื่อให้ผู้รับเหมาเข้ารื้อย้ายสาธารณูปโภค
หลังจากนั้นตั้งแต่กลางเดือน ก.ค.นี้เป็นต้นไปจะปิดการจราจรเป็นการถาวร 4 ถนน ได้แก่ ถ.เพชรเกษม จรัญสนิทวงศ์
เจริญกรุง และพระรามที่ 4(แยกหัวลำโพง) โดยจะปิดระยะยาวจนกว่าโครงการรถไฟฟ้าจะสร้างเสร็จ ใช้เวลา 4-5 ปี
"ช่วง ถ.เพชรเกษมและ ถ.จรัญฯจะปิดเกาะกลางฝั่งละ 1 ช่องจราจร พร้อมกับจะออกกฎเพื่อจัดจราจร โดยจะห้ามจอดรถ
ทั้งสองฝั่งถนนตลอด 24ชั่วโมง จากเดิมจะให้จอดได้ถึง 4 ทุ่ม"เว้นช่วง "แยกบรมราชฯ-ไฟฉาย"
ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาการจราจรบน ถ.จรัญฯที่ปัจจุบันมีปัญหาการจราจรติดขัดจากงานก่อสร้างอุโมงค์
ทางลอด 2 โครงการของกรุงเทพมหานคร (กทม.) คือ อุโมงค์แยกบรมราชชนนี (ถ.จรัญสนิทวงศ์
-บรมราชชนนี) และอุโมงค์สามแยกไฟฉาย(ถ.พรานนก-จรัญสนิทวงศ์) แนวทางคือ จะยังไม่ให้ผู้รับ
เหมารถไฟฟ้าเข้าพื้นที่บริเวณนี้ ให้รอจนกว่า กทม.จะสร้างอุโมงค์ ทั้ง 2 โครงการนี้แล้วเสร็จ คาดว่า
จะใช้เวลาประมาณ 2 ปี รอง ผบ.ช.น.กล่าวว่า ส่วนงานก่อสร้างช่วงใต้ดิน 5 ก.ม.เศษ บนแนว
ถ.เจริญกรุงมาถึง ถ.อิสรภาพ แม้ว่าจะเป็นการก่อสร้างแบบเปิดหน้าดินเพื่อสร้างสถานีรถไฟฟ้า
โดยใช้หัวเจาะเครื่องจักรในการขุดเจาะที่ใต้ดินแต่ยังมีความกังวลเรื่องปัญหาการจราจรที่อาจจะวิกฤต
ได้เช่นกัน "จะเริ่มปิดจราจรชั่วคราวช่วงแยกหัวลำโพงถนนพระรามที่ 4 ตั้งแต่ 4 ก.ค.-ส.ค.นี้ เพื่อรื้อ
ย้ายระบบสาธารณูปโภคเวลา 4 ทุ่มถึงตีห้า ซึ่งน่าเป็นห่วงที่สุดเพราะเป็นพื้นที่การจราจรค่อนข้าง
หนาแน่น" รอง ผบ.ช.น.กล่าวและว่า
"จุดกลับรถที่หลายคนเป็นห่วงว่าจะไปยูเทิร์นรถไกล ทั้ง ถ.จรัญฯและเพชรเกษมที่ต้องปิดเกาะ
กลางถนนนั้น เบื้องต้นคาดว่าจะยังคงเดิมไว้ แต่ในช่วงก่อสร้างอาจจะมีปิดบ้างบางจุดตามความจำเป็น
ขณะนี้ยังตอบไม่ได้ แต่จะไม่ให้ประชาชนที่ใช้ทางลำบากแน่นอน"สำหรับเส้นทางหลีกเลี่ยงพื้นที่ก่อสร้าง
อาทิ ให้หันไปใช้ ถ.ราชพฤกษ์ วงแหวนรอบนอก พุทธมณฑลสาย 1 ถ.กัลปพฤกษ์ บำรุงเมือง
ถ.สี่พระยา เยาวราช เป็นต้น
ขอขอบคุณ ประชาชาติธุรกิจ